การนำข้อมูลมาวิเคราะห์นั้นทำได้หลายวิธี แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถนำไปใช้ได้อย่างหลาก

หลาย ก็คือ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้แผนภาพต้น-ใบ(Stem and leaf)  เรามาดูกันว่าจะมีวิธีการอย่างไร  ไม่ยาก ง่ายๆ เรามาดูตัวอย่างกันเลยครับ

ตัวอย่างที่ 1  น้ำหนัก(กิโลกรัม)ของนักเรียนจำนวน 20 คน เป็นดังนี้

39  43  45 42  52  51  42  40  40  41 

35  39  46  44  50  48  47  43  48  38  

จงสร้างแผนภาพต้น-ใบ เพื่อแจกแจงความถี่ของข้อมูลข้างต้น

วิธีทำ  จากข้อมูลข้างต้น ถ้าเราลองวิเคราะห์แบ่งข้อมูลคร่าวๆเราก็จะได้

ดังนี้

น้ำหนักที่อยู่ในช่วง 30-39  ก็จะมี

39  35  39  38

น้ำหนักที่อยู่ในช่วง 40-49 ก็จะมี

43  45  42  42 40  40  41  46   44  48  47  43  48  

น้ำหนักที่อยุ่ในช่วง 50-59  ก็จะมี

52  51  50  

ถ้าเราลองเอาข้อมูลเหล่านั้น มาแบ่งโดยให้หลักสิบเป็น  ต้น  และ หลักหน่วยเป็น ใบ ก็จะได้ดังนี้

แผนภาพต้น-ใบ

จากแผนภาพข้างบนเราเรียกว่า แผนภาพ ต้น-ใบ ซึ่งถ้าเราลองมองจากแผนภาพ เราจะได้ว่า

เราจะได้ว่า มีคนหนักใน  ช่วง 30-39 kg. 4 คน  คือน้ำหนัก 39  35  39  38

และคนส่วนใหญ่ มีน้ำหนักอยู่ในช่วง  40-49 kg.  ซึ่งมีทั้งหมด 13 คน คือน้ำหนัก  43  45  42  42 40  40  41  46   44  48  47  43  48 

นักเรียนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 39 kg. มี 2 คน คือ  38  และ 35  kg.


ตัวอย่างที่ 2 ข้อมูลต่อไปนี้เป็นความดันโลหิตของผู้ป่วยจำนวน 30 คน

154  151  148  131  160  154  150  161  144  183 

160  206  176  166  129  151  137  159  175  129 

198  189  180  158  135  123  185  153  132  170

จงสร้างแผนภาพต้น -ใบ จากข้อมูลที่กำหนดให้

วิธีทำ ในข้อนี้ เราจะใช้ ต้น  เป็นตัวเลข สองหลักแรก และ  ใบ เป็นเลขหลักเดียวคือหลักหน่วย

ในส่วนของจำนวนหลักตัวเลขที่จะใส่ใน ต้น  และใน ใบ จะมีกี่หลักก็ได้แล้วแต่ความแตกต่างของข้อมูล ไม่มีกฎเกณฑ์บังคับ

แผนภาพต้น-ใบ

การสร้างแผนภาพต้น-ใบ เป็นเรื่องไม่ยาก ถ้าตั้งใจเรียนในห้องก็จะเข้าใจ แต่ในส่วนบทความนี้เป็นต้วอย่างคร่าวๆเอาไว้ให้สำหรับคนที่ตามไม่ทันในห้องเรียน หรือต้องการศึกษาเพิ่มเติม ใครมีเข้าใจส่วนใดหรือมีข้อผิดพลาดตรงไหนแนะนำได้ครับ