การบวกจำนวนเต็มผมจะขอแยกทำให้ดูเป็นกรณีไปน่ะครับ

กรณีที่ 1 การบวกจำนวนเต็มบวกกับจำนวนเต็มบวก

กรณีนี้คงไม่ใช่ปัญหา เพราะกรณีนี้ไม่ยากครับง่ายๆ ตัวอย่างเช่น

1.จงหาผลบวกต่อไปนี้

\( 1) 2+3=5 \)

\(2)  5+12=17\)

\(20+50=70\)

กรณีนี้คงไม่ยากเชื่อว่าทุกคนทำได้น่ะครับ มาดูกรณีต่อไปเลยดีกว่า

กรณีที่ 2 การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ

กรณีนี้ก็ไม่ยากเหมือนกันครับ แค่จับหลักได้ก็ง่ายนิดเดียวครับ หลักการของมันมีอยู่ว่า จับตัวเลขบวกกันธรรมดาโดยไม่สนใจเครื่องหมายลบ  คำตอบที่ได้เติมลบเข้าไปด้วย คับหลักการมีแค่นี้ เดี๋ยวไปดูตัวอย่างครับ

1.จงหาผลบวกต่อไปนี้

\( 1) (-2)+(-4)=-6 \)

อธิบายบายวิธีการทำคือ เอาสองไปบวกกับสี่เลย ไม่ต้องไปสนใจเครื่องหมายลบ คำตอบที่ได้คือหก เวลาตอบจริงๆให้เติมลบข้างหน้าเลขหก ก็จะได้เป็น -6 ข้อนี้ตอบ -6  คับ ง่ายป่าว ผมว่าง่ายน่ะ

\(2) (-12)+(-20)=-32\)

อธิบายวิธีการทำคือ เอาสิบสองไปบวกกับยี่สิบเลย ไม่ต้องไปสนใจเครื่องหมายลบ คำตอบที่ได้คือสามสิบสอง แต่เวลาตอบจริงๆให้เติมลบข้างหน้าเลขสามสิบสองด้วยก็จะได้คำตอบข้อนี้เป็น -32 คับ

\(3) (-49)+(-11)=-60\)  วิธีการทำเหมือนข้อที่ผ่านมาน่ะครับ

\(4)(-157)+(-102)=-259\)

คงไม่ต้องยกตัวอย่างเยอะน่ะครับ จับหลักการได้ก็ไม่ยากเลยน่ะครับ

สรุปให้อีกทีน่ะครับ ถ้าเป็นการบวกกันระหว่างจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มลบ ให้นำจำนวนสองจำนวนนั้นบวกกันเลยครับโดยที่ไม่ต้องสนใจเครื่องหมาย แต่เวลาตอบจริงๆให้ใส่เครื่องหมายลบหน้าคำตอบด้วยครับ  หลักการก็มีแค่นี้ครับง่ายๆ

กรณีที่ 3 การบวกจำนวนเต็มลบกับจำนวนเต็มบวก (ตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มลบแต่อีกตัวหนึ่งเป็นจำนวนเต็มบวก)

กรณีนี้ผมว่ามันก็ไม่ยากน่ะ สรุปก็คือไม่ยากทั้ง 3 กรณี  หลักการของมันมีดังนี้คือ ขั้นแรกเราไม่ต้องไปสนใจเครื่องหมายหน้าตัวเลขมันจะเป็นลบหรือเป็นบวกช่างมันครับ  ให้เรานำจำนวนที่มีค่ามากตั้ง ลบออกด้วยจำนวนที่มีค่าน้อยกว่า ที่นี้คำตอบที่ได้มันจะเป็นบวกหรือเป็นลบให้เป็นไปตามตัวที่มีค่ามากกว่า ถ้าตัวมากติดลบคำตอบต้องติดลบ ถ้าตัวมากเป็นบวกคำตอบก็ต้องเป็นบวกด้วยครับ  อธิบายมาซะยืดยาว ผมว่าหลายๆคนคงอ่านแล้วงง งั้นไปดูตัวอย่างประกอบครับ

1.จงหาผลบวกต่อไปนี้

\(1) (-4)+1\)

อธิบายวิธีการทำข้อนี้คือ ขั้นแรกเราไม่ต้องสนใจเครื่องหมายหน้าตัวเลขครับว่าจะเป็นลบหรือบวกช่างหัวมันครับ ให้นำจำนวนที่มีค่ามากตั้งแล้วลบออกด้วยจำนวนที่น้อยกว่า ในที่นี้ คือนำ 4-1=3  คำตอบที่ได้คือสาม ยังไม่ใช่คำตอบจริงๆน่ะครับเราต้องมาดูเครื่องหมายหน้าเลขสามอีกว่าจะเป็นบวกหรือเป็นลบ การดูก็คือ พิจารณา 4 กับ 1 ว่าตัวไหนมีค่ามากกว่ากัน

แน่นอน  4 มีค่ามากกว่าอยู่แล้ว คำตอบที่ได้จะต้องมีเครืองหมายเหมือนกับตัวที่มากกว่า ตัวที่มากว่าติดลบ ดังนั้นคำต้องติดลบด้วย ข้อนี้ตอบ -3 คับ จึงได้ว่า

\( (-4)+1=-3\)


 \(2) 9+(-20)\)

อธิบายวิธีการทำคือ  นำ ตัวมากลบตัวน้อยคือ  20-9=11  สิบเอ็ดยังไม่ใช่คำตอบจริงๆครับ ที่นี้ดูว่า 20 กับ 9 อะไรมากกว่ากัน แน่นอน 20 มากกว่าและหน้ายี่สิบมีเครื่องหมายติดลบด้วย ดังนั้นข้อนี้ตอบ -11 คับ  จึงได้ว่า

\( 9+(-20)=-11\) 


 \(3) 13+(-14)\)

อธิบายวิธีการทำคือ เอาจำนวนที่มากตั้งลบด้วยจำนวนที่น้อยกว่าไม่ต้องสนใจเครื่องหมาย นั่นคือ 14-13=1  ดูที่โจทย์ตัวที่มากคือ  14 คำตอบจะมีเครื่องหมายตามตัวที่มาก ดังนั้นข้อนี้ตอบ -1 จึงได้ว่า

\( 13+(-14)=-1\) 


 \( 4) 28+(-18)\)

วิธีการทำก็คือ นำจำนวนมากลบออกด้วยจำนวนที่น้อยกว่า นั้่นคือ 28-18=10  ต่อไปดูว่า 28 กับ 18 อะไรมีค่ามากกว่ากันแน่นอน 28 มากว่า คำตอบจะมีเครืองหมายตามตัวที่มากกว่าตัวมากคือ 28 เป็นบวก คำตอบก็ต้องออกมาเป็นบวกด้วยนั้นตอบ 10 นั่นเอง จึงได้ว่า

\(28+(-18)=10\) 


 \( 5)  (-49)+12 \)

วิธีการทำข้อนี้คือ นำจำนวนมากลบออกด้วยจำนวนที่น้อยกว่า นั่นคือ 49-12=37 (ยังไม่ต้องสนใจเครื่องหมายครับ) ต่อไปดูที่โจทย์ว่า 49 กับ 12 อะไรมีค่ามากกว่ากัน แน่นอน 49 มีค่ามากกว่า คำตอบจะมีเครื่องหมายตามตัวที่มากคือ 49 ตัวที่มากมีเครื่องหมายเป็นลบอยู่ข้างหน้า นั่นคือข้อนี้ ตอบ -37 คับ จึงได้ว่า

\((-49)+12=-37 \) 


 \( 6)  (-18)+78\)

วิธีการทำข้อนี้คือ นำตัวมากลบออกด้วยตัวน้อยนั่นคือ 78-18=60  ต่อไปดูที่โจทย์ว่า 18 กับ 78 อะไรมีค่ามากกว่ากันแน่ะนอน 78 มากกว่า คำตอบจะมีเครืองหมายตามตัวที่มากคือ 78 ตัวที่มากมีเครื่องหมายเป็นบวกดังนั้นคำตอบต้องเป็นบวกด้วย นั้นคือข้อนี้ตอบ 60  จึงได้ว่า

\(   (-18)+78=60\) 

นักเรียนคนใดหรือว่าใครก็ตามน่ะครับที่อ่านบทความนี้แล้ว เข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจอย่างไรช่วยเขียนคอมเม้นให้หน่อยน่ะครับ รบกวนด้วย จะนำไปปรับปรุงวิธีการเขียนครับ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆนักเรียนทุกคนคับ....