แต่ละคณะเขาเรียนอะไรกัน?

บทความนี้สำหรับน้องๆนักเรียนชั้น ม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษา ไม่รู้ว่าจะเลือกสอบเรียนต่อคณะอะไรดี ไม่รู้ว่าตัวเองชอบ

อะไร ไม่รู้ว่าแต่ละคณะเขาเรียนอะไรกัน เรียนจบแล้วลักษณะงานลักษณะอาชีพเป็นอย่างไร วันนี้ก็เลยนำความรู้เกี่ยวกับคณะต่างๆที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย มาให้อ่านกันครับ ..... แต่สำหรับตัวผมวิธีการเลือกคณะที่จะเรียนคือ .....เลือกที่ตัวเองชอบ...ตัวเองชอบอะไรก็เลือกเรียนตัวนั้น ......แล้วเวลาเรียนก็จะมีความสุขครับ....อย่าเลือกตามเพื่อน.....เลือกตามความถนัดของตัวเองดีกว่า....อย่าลืมน่ะว่าเราต้องเรียนอย่างน้อยก็ 4 ปีน่ะครับ....ถ้าเราไม่ชอบในสิ่งที่เราเรียน....บังเอิญไปเลือกตามเพิ่อน...คิดดูสิว่ามันคงเป็น 4 ปี...ที่ต้องตกนรกทั้งเป็น....

มาดูกันซิว่าเราจะเลือกเรียนคณะอะไรดี....ไปดูกันเลยครับ.....

คณะแพทยศาสตร์ : แพทย์ เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์ เกี่ยวกับการตรวจโรค วินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การผดุงครรภ์ การปรับสายตาด้วยเลนส์สัมผัส การแทงเข็ม หรือการฝังเข็มเพื่อการบำบัดโรค หรือเพื่อระงับความรู้สึก และหมายรวมถึง การทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การฉีดยาหรือสาร การสอดใส่วัตถุใด ๆ เข้าไปในร่างกาย การเสริมสวย หรือการบำรุงร่างกาย แพทย์ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จะเป็นแพทย์ที่มีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มุ่งให้ประชาชนในขาติมีคุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า

นอกจากนั้น ยังต้องสามารถวางแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาสุขภาพของ ชุมชนใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ตามความจำเป็นของผู้ป่วย และสังคม มีมนุษยสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารตลอดจนมีคุณธรรม และความรับผิดชอบต่อหน้าที่คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา โดยคนที่จะเรียนคณะนี้ต้องเป็นผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ และมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้หลังจากจบการศึกษาแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ ต้องเป็นคนที่รักและชอบที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนมนุษย์

สำหรับแนวทางในการประกอบอาชีพของน้องๆ ที่เรียนแพทย์ ซึ่งการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐนั้น รัฐต้องมีค่าใช้จ่ายโดยตรงต่อนิสิต - นักศึกษา แต่ละคนในอัตราที่สูงมาก ดังนั้นจึงถือว่าผู้ที่เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าเรียน และจะต้องทำสัญญาที่จะปฏิบัติงานตามความต้องการของทางราชการเป็นเวลา 3 ปี (ยกเว้นผู้เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของเอกชน) เข้าใจง่ายๆ คือเหมือนทำงานชดใช้ทุนที่ใช้ในตอนที่เรียน และหลังจากปฏิบัติงานตามความต้องการของทางราชการแล้ว แพทย์ที่สนใจสามารถกลับเข้าศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นทั้งทางด้านวิชาการและ วิชาชีพ เช่น หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต หรือเข้ารับการฝึกอบรมในสาขาวิชาชีพหลักสูตร 3 ปี เพื่อวุฒบัตรแพทย์เฉพาะทางของแพทยสภา...ขึ้นชื่อว่า "แพทยศาสตร์" เรียบจบแล้วก็คงหนีไม่พ้นวงการแพทย์อย่างแน่นอน...


คณะวิศวกรรมศาสตร์: วิศวกรรมศาสตร์ เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อสนองความ ต้องการของมนุษย์ ด้วยการใช้องค์ความรู้ต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ และประสบการณ์ เพื่อออกแบบอุปกรณ์และกระบวนการต่างๆ คนที่ทำงานด้านวิศวกรรมจะเรียกว่า วิศวกร (วิศวกรในบางสาขาจำเป็นจะต้องขึ้นทะเบียนเพื่อขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมจากสภาวิศวกรก่อน ถึงจะออกแบบและเซ็นรับรองแบบได้)
ถามว่า เด็กวิศวะ ทำอะไรได้บ้าง ตอบง่ายๆ คือ เรียนจบมาก็ต้องเป็นวิศวกรแน่นอน แต่ก็จะแตกต่างกันไปตามสาขา เช่น เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์, วิศวกรไฟฟ้า, วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ, วิศวกรเคมี, วิศวกรระบบ, วิศวกรโยธา, วิศวกรอากาศยาน, เป็นต้น อาจารย์มหาวิทยาลัย, นักวิชาการ, นักวิจัย, พนักงานบริษัทต่างๆ เช่น บริษัทคอมพิวเตอร์, บริษัทรถยนต์, บริษัทน้ำมัน, เป็นต้น

น้องๆ คนไหนที่สนใจเรียนคณะนี้ ต้องรักและชื่นชอบการคำนวณ เลข ฟิสิกส์ เพราะใช้เป็นพื้นฐานในการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของการเรียนวิศวะ และแน่นอนว่า การเรียนวิศวะ ซึ่งสอนให้คิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์อย่างละเอียดรอบคอบนี้ ย่อมสร้างน้องๆ ให้เป็นคนที่มีความรอบคอบอย่างที่สุด...

สถาปัตยกรรม: เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการออกแบบกายภาพด้านต่างๆ เช่น การออกแบบอาคารสิ่งก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์การออกแบบภายใน ตลอดจนการปรุงแต่งสภาพแวดล้อมให้ได้ประโยชน์ใช้สอยที่ดีที่สุดแก่เจ้าของงาน และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงออกถึงคุณค่าแห่งศิลปะในสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้น นั้น นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึงด้านการวางแผนและเคหการอีกด้วย

การศึกษาในคณะนี้มีสาขาให้เลือกศึกษาดังต่อไปนี้...
1.สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมโดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมการใช้วัสดุ วิธีการก่อสร้าง และความรู้ทางสาขาวิชาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง คำนึงสภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยทั้งส่วนของโครงการที่ปฏิบัติและผลกระทบต่อส่วน รวม ทั้งนี้จะเน้นปัจเจกภาพเฉพาะบุคคลเป็นสำคัญ
2.สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมไทย และศึกษาแหล่งที่มาอิทธิพลขององค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยศึกษา และฝึกหัดเขียนลายไทยชนิดต่าง ๆตั้งแต่ง่ายไปจนถึงการบบรจุลายลงบนส่วนประกอบสถาปัตยกรรมให้ถูกต้องตาม หน้าที่ และสามารถออกแบบสถาปัตยกรรมไทยให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและสังคมปัจจุบัน
3.สาขาวิชาการปัตยกรรมภายใน เป็นศาสตร์ที่ประสานกันระหว่างงานสถาปัตยกรรม และงานออกแบบภายใน เป็นวิชาชีพทางด้านการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมซึ่งเน้นการจัด ที่ว่างภายในอาคารเพื่อประโยชน์ใช้สอย และความงามโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมวัสดุและเทคโนโลยีในการก่อสร้างความรู้ทาง วิศกรรมที่เกี่ยวข้อง การประหยัดพลังงานและทรัพยากร สภาพเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้การใช้สอยภายในอาคารเกิดสภาพแวดล้อมที่ดีมีคุณภาพเหมาะสมแก่ผู้ใช้ อาคารทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4.สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม เน้นหนักการออกแบบ 5 สาขา คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบเลขะนิเทศ การออกแบบเครื่องเคลือบดินเผา และการออกแบบสิ่งทอ โดยจะต้องศึกษาพื้นฐานทั้ง 5 สาขา แล้วเลือกเน้นสาขาที่ตนถนัด และทำวิทยานิพนธ์ในสาขานั้น
5.สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม เน้นหนักด้านการปรุงแต่งสิ่งแวดล้อมของมนุษย์และธรรมชาติให้มีความสมดุลซึ่ง กันและกัน ศึกษาด้านสุนทรียภาพและการใช้สอยของเมืองและที่อยู่อาศัยของมนุษย์ รวมถึงออกแบบสวนสาธารณะ สวนสัตว์ การอนุรักษ์ธรรมชาติ ป่า ต้นน้ำ ตลอดจนการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์

น้องๆ ที่จบการศึกษาตามหลักสูตรด้านการออกแบบสาขาต่างๆ ข้างต้นสามารถประกอบวิชาชีพอิสระ รับราชการ หรือทำงานบริษัทต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะด้านการพัฒนา เช่น การออกแบบการก่อสร้าง การอุตสาหกรรม การโฆษณา รวมทั้งการอนุรักษ์ด้านต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ธรรมชาติ โบราณสถาน และสถาปัตยกรรม ฉะนั้นแล้วคนที่จะเรียนและประกอบอาชีพด้านสถาปัตยกรรมควรเป็นผู้ที่มีความ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการและทักษะในด้านทัศนศิลป์ที่สมดุลกับความรู้พื้นฐานทางด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะวิชาการออกแบบเป็นวิชาศิลปประยุกต์ ผู้สมัครเข้าเรียนจะต้องสอบผ่านวิชาความถนัด ด้านการออกแบบ จึงจะมีสิทธิ์เข้าศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้

ทันตแพทยศาสตร์: เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องฟัน อวัยวะในช่องปาก และอวัยวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทำหน้าที่ในการบดเคี้ยวอาหาร ช่วยออกเสียงและส่งเสริมบุคลิกภาพอันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความสมบูรณ์ของ ชีวิตและสุขภาพของ มนุษย์ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย วางแผน และบำบัดรักษาโรคในช่องปากและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบูรณะเพื่อฟื้นฟูสุขภาพ อีกทั้งมีความสามารถในการป้องกันโรคฟันผุแก่ชุมชน เผยแพร่ความรู้ทางทันตสุขศึกษา และทำการวิจัยทางด้านทันตแพทยศาสตร์ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา จะต้องเป็นผู้จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ และมีคุณสมบัติที่จะเข้ารับราชการได้ นอกจากนี้ควรเป็นผู้มีฝีมือปั้นพอสมควร

มาดูกันสิว่าแนวทางในการประกอบอาชีพเมื่อจบหลักสูตรมีอะไรกันบ้าง...ขึ้น ชื่อว่าทันตแพทย์ ก็คงหนีไม่พ้นกับเรื่องของ "ฟัน" ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต จะมีความรู้ความสามารถในทางทันตกรรม และสามารถประกอบอาชีพได้ ดังนี้

1.เป็นอาจารย์สอนและวิจัย เป็นทันตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย ฯลฯ
2. ประกอบอาชีพสาขาทันตกรรมในคลินิกส่วนตัวและโรงพยาบาลเอกชน

พยาบาลศาสตร์: เป็นการศึกษาที่เน้นหนักในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ผู้ป่วยทางกาย หรือทางจิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพพลภาพและผู้สูงอายุ การให้บริการด้านพยาบาล คำนึงถึงความต้องการของคนไข้ ตามลักษณะของโรคที่เป็น สังเกตและบันทึกความเปลี่ยนแปลงของคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใด ๆ ที่อาจเกิดจากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้และประชาชนทั่วไปให้รู้จักรักษา และส่งเสริมสุขภาพ ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝายการแพทย์ แลอนามัยแขนงอื่น ๆ ในด้านบริการคนไข้


ใครที่อยากเรียนพยาบาล จะต้องเป็นคนที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้...

1.มีความรู้พื้นฐานวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นอย่างดี จบมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์
2.มีสุขภาพกายและจิตดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้ป่วย มีเมตตากรุณา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์
3.เสียสละทั้งด้านเวลาและตนเองให้แก่ผู้ป่วยทุกคน มีความอดทน อดกลั้น


ส่วนแนวทางในการประกอบอาชีพของผู้จบหลักสูตรนี้ ก็คงต้องเป็น "พยาบาล" นั่นเอง ซึ่งจะรับราชการในหน่วยงานของรัฐ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ รายได้ค่อนข้างดี แถมยังสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และเอกสาขาพยาบาลศาสตร์ได้ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย!

 

เภสัชศาสตร์ คือ ศิลปะและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการปรุงผสม ผลิต และจ่ายยา รวมถึงการเลือกสรรจัดหายาสำเร็จรูป เวชภัณฑ์ต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวขอ้งเพื่อให้บริการ และให้คำปรึกษาแนะนำที่เหมาะสม ตรวจสอบทบทวนการใช้ยา พร้อมทั้งติดตามดูแลการใช้ยาของผู้ป่วย โดยภาพรวมคือ ระบบความรู้ที่ก่อให้เกิดความสามารถที่จะให้บริการด้านสุขภาพด้วยความเข้าใจ ในเรื่องยา และผลที่เกิดจากยา เพื่อให้การบำบัดรักษาได้ผลดีที่สุด โดยรับผิดชอบร่วมกับบุคลากรสุขภาพอื่น ๆ ในอันที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับการค้นคว้าประดิษฐ์ ผลิตยาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกต่อการนำมาใช้บำบัดรักษาโรคในผู้ป่วย ตลอดจนควบคุมคุณภาพให้ได้มาตรฐานตามกำหนด โดยการศึกษาเน้นหนักการให้บริการการศึกษาพื้นฐานสำหรับวิชาชีพเภสัชกรรม ในแนวกว้าง และเลือกเรียนวิชาเฉพาะทางใน2 สาขา ดังนี้

1.เภสัชกรรมปฏิบัติและการบริหารเภสัชกิจ
ประกอบด้วยสาขาย่อย คือ เภสัชกรรมคลินิก การบริหารเภสัชกรรมในโรงพยาบาล สาธารณสุข และเภสัชธุรกิจ

2.เภสัชศาสตร์ และเทคโนโลยี
ประกอบด้วยสาขาย่อย คือ เภสัชผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและชีววัตถุ ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอาง และการประกันควบคุมคุณภาพ


คนไหนอยากเรียนในหลักสูตรนี้ก็ต้องจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิทยาศาสตร์ ต้องไม่เป็นโรค หรือความพิการที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการปฏิบัติหน้าที่เภสัชกร


แล้วถ้าเรียนจบหลักสูตรเภสัชศาสตร์แล้ว แนวทางในการประกอบอาชีพต่อไปละเป็นอย่างไร...ซึ่งคนที่เรียนจบเภสัชฯ แล้วก็จะสามารถทำงานในหน่วยงานของรัฐและเอกชน เช่น เภสัชกรโรงพยาบาล ศูนย์อนามัย สถานีอนามัย เป็นเภสัชกรอุตสาหกรรม ในโรงพยาบาล หรือบริษัทจำหน่ายยาทั้งของรัฐและเอกชน แบ่งออกเป็นแผนกผลิต แผนกควบคุมมาตรฐาน และแผนกวิจัย เภสัชกรชุมชน เป็นเจ้าของผู้จัดการหรือเภสัชกรประจำร้านขายยา เภสัชกรการตลาด ทำหน้าที่แนะนำผลิตภัณฑ์ยา และสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก ทั้งในและต่างประเทศ

mathpaper.net เป็นกำลังใจให้ทุกคนได้เดินตามทางที่ตัวเองฝันไว้น่ะครับ อย่าลืมไม่มีอะไรได้มาง่ายดาย การทำงานทุกอย่างอยากได้กำไร อยากได้ผลตอบแทนที่ดี ก็ต้องมีการลงทุน...น่ะครับ...สู้ๆน่ะครับ..เป็นกำลังใจให้ทุกคน...ครับ

อ้างอิงขอบคุณบทความดีๆจาก: http://www.act.ac.th/service/info/jib/page/jib01.html