Print
Parent Category: ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
Category: ความรู้คณิตศาสตร์ม.3
Hits: 68820

ความหมายของสถิติสถิติ (Statistics) มาจากภาษาเยอรมันว่า Statistic มีรากศัพท์มาจาก Stat หมายถึง

ข้อมูล หรือสารสนเทศ ซึ่งจะอำนวยประโยชน์ต่อการบริหารประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น การทำสำมะโนครัว เพื่อจะทราบจำนวนพลเมืองในประเทศทั้งหมด ในสมัยต่อมา คำว่า สถิติ ได้หมายถึง ตัวเลขหรือข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เช่น จำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน อัตราการเกิดของเด็กทารก ปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี เป็นต้น สถิติในความหมายที่กล่าวมานี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ข้อมูลทางสถิติ (Statistical data)      อีก ความหมายหนึ่ง สถิติ หมายถึง วิธีการที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการตีความหมายข้อมูล สถิติในความหมายนี้เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ เรียกว่า "สถิติศาสตร์"

ประเภทของสถิติ

1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive  Statistics) เป็น สถิติเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ หรือคำอธิบายการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อแสดงความหมายในเชิงจำนวนหรือปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น เพศ ความสูง อายุ น้ำหนัก รายได้ เป็นต้น หรืออาจแสดงความหมายในเชิงคุณภาพ เช่น เจตคติต่อวิชาชีพ การนับถือศาสนา เป็นต้น การนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดจำแนกตามประเภท ลักษณะ และจุดมุ่งหมายที่ผู้วิจัยต้องการทราบในรูปแบบของแผนภูมิหรือแผนภาพต่างๆ ก่อนตีความหมายเพื่อให้เข้าใจความหมายในธรรมชาติและลักษณะของข้อมูลเหล่า นั้น สถิติเชิงพรรณนาจึงเป็นเพียงวิธีการหาข้อสรุปจากข้อมูลเท่านั้น ไม่มีเทคนิคพิเศษอะไรที่จะนำมาช่วยในการตีความหมายแต่อย่างใด

2. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เป็น เทคนิคการแก้ปัญหาอีกระดับหนึ่ง ที่มีความยุ่งยากกว่าสถิติเชิงพรรณนา และไม่ใช้สามัญสำนึกอย่างที่ใช้ในวิธีการของสถิติพรรณนา วิธีการทางสถิติเชิงอนุมานจึงเป็นวิธีของการหาข้อสรุป (Infer) จาก ข้อมูลจำนวนมากของประชากรที่ได้จากการศึกษาข้อมูลจำนวนน้อยๆ ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มมาจากประชากรกลุ่มนั้น ตัวอย่างเช่นผู้บริหารต้องการทราบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชายและหญิงที่กำลังศึกษา อยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในจังหวัด ที่สังกัดสำนักสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ มีความแตกต่างกันหรือไม่ จึงได้ทำการสุ่มเลือกนักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 860 คน เพื่อทำแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ผลที่ได้จากการศึกษากับกลุ่มตัวอย่าง 860 คน สามารถนำไปอธิบายนักเรียนทั้งจังหวัดได้ จุดมุ่งหมายของสถิติอนุมาน คือ การศึกษาคุณสมบัติของประชากรโดยใช้ความรู้ที่ได้จากการศึกษากับกลุ่ม ตัวอย่างที่สุ่มมาจากประชากรกลุ่มเดียวกัน สถิติอนุมานยังแบ่งออกได้เป็น 2ประเภท คือ

2.1 สถิติอนุมานแบบดั้งเดิม (Classical Inferential Statistics) เป็นสถิติอนุมานที่ใช้ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างในการคำนวณ และประมาณค่าสถิติต่างๆ
2.2 สถิติอนุมานแบบเบย์ (Bayesian Inferential Statostics) เป็นสถิติอนุมานที่ใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและข้อมูลจากการประมาณค่าแบบเบย์ในการคำนวณและประมาณค่าสถิติต่างๆ

3. สถิติว่าด้วยเทคนิคการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques) เป็น เทคนิคทางสถิติที่ใช้เพื่อการอธิบายการแจกแจงแบบต่างๆ ของประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ถูกนำไปใช้เพื่อการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจาก ประชากร ซึ่งจากการแจกแจงของประชากรจะมีผลต่อการเลือกใช้สถิติ

4. สถิติว่าด้วยความสัมพันธ์และการพยากรณ์ (Relationship and Prediction) เป็น วิธีการทางสถิติอนุมานที่ใช้เพื่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามที่ ผู้วิจัยต้องการศึกษากับกลุ่มของตัวแปรอิสระอื่นๆ โดยความสัมพันธ์ของตัวแปรที่นำมาศึกษาต้องมีลักษณะเป็นเส้นตรง การเก็บรวบรวมข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of data)-การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรกของระเบียบวิธีวิจัย หรือกระบวนการทางสถิติ-ข้อมูล (data) หมายถึง กลุ่มของข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นลักษณะของค่าของสิ่งที่สนใจศึกษา ที่บันทึกมาจากแต่ละหน่วยที่สังเกต(observation unit) อาจเป็นแต่ละราย เช่น คน ทัศนคติ เหตุการณ์ข้อมูลที่รวบรวมอาจมีหลายตัวแปร (variables) เช่น เพศ อายุ ความสูง น้ำหนัก ระดับความคิดเห็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย- ประเภทของข้อมูล - ประเภทของตัวแปร - แหล่งข้อมูล

- ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - ทำไมต้องใช้ตัวอย่าง - วิธีการสุ่มตัวอย่าง - ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง - การออกแบบสอบถามเพื่อการเก็บรวบรวมข้อมูล - และแบบฟอร์มการลงรหัสข้อมูล - ประเภทของข้อมูล 1.แบ่งในแง่ทั่วไป -ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) หมายถึง ข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ มักเกี่ยวข้องกับตัวแปรที่แสดงกลุ่ม หมวดหมู่ (categorical variables) เช่น เพศ เชื้อชาติ ศาสนา