Print
Parent Category: ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
Category: ความรู้คณิตศาสตร์ม.5
Hits: 39658

ฟังก์ชันตรีโกณมิติของผลบวกและผลต่างของมุมหรือจำนวนจริง

ในเรื่องนี้จะพูดถึงการหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุมหรือว่าจำนวนจริงที่อยู่ในรูปของผลบวกหรือว่าผลต่างอย่างเช่น  \(\sin(45^{\circ}+30^{\circ})\) ซึ่งในการหาค่าพวกนี้เราสามารถหาได้จากสูตรของผลบวกและผลต่างได้ เรามาดูสูตรกันเลยดีกว่า

สูตร

\(1.\sin(A+B)=sinAcosB+cosAsinB\)

\(2.sin(A-B)=sinAcosB-cosAsinB\)

\(3.cos(A+B)=cosAcosB-sinAsinB\)

\(4.cos(A-B)=cosAcosB+sinAsinB\)

\(5.tan(A+B)=\frac{tanA+tanB}{1-tanAtanB}\)

\(6.tan(A-B)=\frac{tanA-tanB}{1+tanAtanb}\)

เมื่อ A และ B เป็นจำนวนจริงใดๆหรือมองเป็นมุม ซึ่งอาจจะเป็นมุนในหน่วยเรเดียนหรือว่ามุมในหน่วยองศาก็ได้

ต่อไปเรามาดูวิธีการนำสูตรไปใช้กันเลยครับ

1.จงใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติของผลบวกและผลต่างของจำนวนจริงหรือมุมหาค่าต่อไปนี้

1)\(cos(60^{\circ}+45^{\circ})\)

\(cos(60^{\circ}+45^{\circ})=cos60^{\circ}cos45^{\circ}-sin60^{\circ}sin45^{\circ}\)

\(\quad\quad\quad\quad\quad\quad\quad=\frac{1}{2}\frac{\sqrt{2}}{2}-\frac{\sqrt{3}}{2}\frac{\sqrt{2}}{2}\)

\(\quad\quad\quad\quad\quad\quad\quad=\frac{\sqrt{2}-\sqrt{6}}{4}\)


2)\(sin105^{\circ}\)

\(sin105^{\circ}=sin(60^{\circ}+45^{\circ})\)

\(\quad\quad\quad\quad=sin60^{\circ}cos45^{\circ}+cos60^{\circ}sin45^{\circ}\)

\(\quad\quad\quad\quad=\frac{\sqrt{3}}{2}\frac{\sqrt{2}}{2}+\frac{1}{2}\frac{\sqrt{2}}{2}\)

\(\quad\quad\quad\quad=\frac{\sqrt{6}+\sqrt{2}}{4}\)


3)\(tan75^{\circ}\)

\(tan75^{\circ}=tan(30^{\circ}+45^{\circ})\)

\(\quad\quad\quad=\frac{tan30^{\circ}+tan45^{\circ}}{1-tan30^{\circ}tan45^{\circ}}\)

\(\quad\quad\quad=\frac{\frac{1}{\sqrt{3}}+1}{1-\frac{1}{\sqrt{3}}(1)}\)

\(\quad\quad\quad=\frac{\frac{\sqrt{3}}{3}+1}{1-\frac{\sqrt{3}}{3}}\)

\(\quad\quad\quad=\frac{3+\sqrt{3}}{3-\sqrt{3}}\)


4)\(sin(-\frac{\pi}{12})\)

\(sin(-\frac{\pi}{12})=-sin(\frac{\pi}{12})\)

\(\quad\quad\quad\quad=-[sin(\frac{\pi}{3}-\frac{\pi}{4})]\)

\(\quad\quad\quad\quad=-[sin\frac{\pi}{3}cos\frac{\pi}{4}-cos\frac{\pi}{3}sin\frac{\pi}{4}]\)

\(\quad\quad\quad\quad=-[\frac{\sqrt{3}}{2}\frac{\sqrt{2}}{2}-\frac{1}{2}\frac{\sqrt{2}}{2}]\)

\(\quad\quad\quad\quad=-(\frac{\sqrt{6}-\sqrt{2}}{4})\)

\(\quad\quad\quad\quad=\frac{\sqrt{2}-\sqrt{6}}{4}\)


5) \(sin15^{\circ}\)

วิธีทำ

\(sin15^{\circ}=sin(45^{\circ}-sin30^{\circ})\)

\(=sin45cos30-cos45sin30\)

\(=\frac{\sqrt{2}}{2}\frac{\sqrt{3}}{2} - \frac{\sqrt{2}}{2}\frac{1}{2}\)

\(=\frac{\sqrt{6}-\sqrt{2}}{4}\)


6)  \(sin\frac{7\pi}{12}\)

วิธีทำ พยายแยกเจ็ดไพส่วนสิบสองให้อยู่ในรูปผลบวกหรือผลต่างให้ได้ครับ  ซึ่งต้องอาศัยความสามารถนิดหนึ่งใครไม่ชอบมุมเรเดียนก็เปลียนเป็นองศาก่อนได้แล้วค่อยแยกเป็นผลบวกหรือผลต่างครับ

\(sin\frac{7\pi}{12}=sin(\frac{\pi}{4}+\frac{\pi}{3})\)

\(=sin(\frac{\pi}{4})cos(\frac{\pi}{3})+cos(\frac{\pi}{4})sin(\frac{\pi}{3})\)

\(=\frac{\sqrt{2}}{2}\frac{1}{2}+\frac{\sqrt{2}}{2}\frac{\sqrt{3}}{2}\)

\(=\frac{\sqrt{6}+\sqrt{2}}{4}\)


7) \(tan105^{\circ}\)

วิธีทำ  ทำเหมือนเดิมครับคือแยก 105 องศาให้อยู่ในรูปผลบวกหรือผลต่าง

\(tan105^{\circ}=tan(60^{\circ}+45^{\circ})\)

\(=\frac{tan60+tan45}{1-tan60tan45}\)

\(=\frac{\sqrt{3}+\frac{\sqrt{2}}{2}}{1-\sqrt{3}\frac{\sqrt{2}}{2}}\)

\(=\frac{\frac{2\sqrt{3}+\sqrt{2}}{2}}{\frac{2-\sqrt{6}}{2}}\)

\(=\frac{2\sqrt{3}+\sqrt{2}}{2-\sqrt{6}}\)

ทำให้ดูแค่นี้นะครับถ้าอยากได้คำตอบที่สวยงามก็เอาคอนจูเกตตัวส่วนมาคูณเข้าครับ


8)  \(cot\frac{\pi}{12}\)

วิธีทำ ถ้าจำสูตร cot ไม่ได้ก็ใช้สูตร tan ก็ได้ครับ แล้วค่อยกลับเศษส่วนเอาครับเพราะ cot เป็นส่วนกลับของ tan ฉะนั้นข้อนี้ผมหา   \(tan\frac{\pi}{12}\)

\(tan\frac{\pi}{12}=tan(\frac{\pi}{3}-\frac{\pi}{4})\)

\(=\frac{\sqrt{3}-1}{1+(\sqrt{3})(1)}\)

\(=\frac{\sqrt{3}-1}{1+\sqrt{3}}\)

\(=\frac{(\sqrt{3}-1)(1-\sqrt{3})}{(1+\sqrt{3})(1-\sqrt{3})}\)

\(=\frac{\sqrt{3}+\sqrt{3}-1-3}{1-3}\)

\(=\frac{2\sqrt{3}-4}{-2}\)

\(=\frac{4-2\sqrt{3}}{2}\)

\(=2-\sqrt{3}\)

ดังนั้น

\(tan\frac{\pi}{12}=2-\sqrt{3}\)

ดังนั้นจะได้ว่า

\(cot\frac{\pi}{12}=\frac{1}{2-\sqrt{3}}\)  ตรงนี้ใครจะทำต่อเพื่อทำให้ตัวส่วนไม่ติดกรณฑ์ก็ได้นะครับ

สลับเศษส่วนครับเพราะเป็นส่วนกลับกัน


ตัวอย่างที่ 2  จงหาค่าในแต่ละข้อต่อไปนี้

1)  \(sin20^{\circ}cos25^{\circ}+cos20^{\circ}sin25^{\circ}\)

วิธีทำ จากโจทย์

\(sin20^{\circ}cos25^{\circ}+cos20^{\circ}sin25^{\circ}\)

จะเห็นว่าเข้ากับสูตรนี้พอดีเลย

\(sinAcosB+sinAcosB=sin(A+B)\)

จะเห็นว่า  A=20 ,B=25   ดังนั้นข้อนี้จะได้ว่า

\(sin20^{\circ}cos25^{\circ}+cos20^{\circ}sin25^{\circ}=sin(20+25)=sin45^{\circ}=\frac{\sqrt{2}}{{2}}\)


ตัวอย่างที่ 3   กำหนดให้ \(sec A=3\) เมื่อ \(A\) อยู่ในจตุภาคที่ 4 จงหาค่าของ \(tan\left(\frac{\pi}{4}+A\right)\)

วิธีทำ เนื่องจาก \(sec A=3\) ดังนั้น \(cosA=\frac{1}{3}\) เอาข้อมูลตรงนีัไปวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากครับ อย่าลืมนะ มุม A ของเราอยู่ในจตุภาคที่ 4 ค่า \(cosA\) จะเป็นบวก  ค่า \(sin A\) จะติดลบ และ ค่า \(tan A\) ติดลบด้วย  ารหาคำตอบข้องนีัต้องระวังเครืองหมายบวก ลบ ด้วยนะครับ

วาดรูป สามเหลี่ยมมุมฉากก่อนครับผม จะได้รูปดังนี้

จากรูปเราจะเห็นว่า \(tanA=-2\sqrt{2}\) อย่าลืมนะค่า \(tan A\) ติดลบเพราะมุม A อยู่ในจตุภาคที่ 4  เอาละเริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

สูตรที่จำเป็นต้องรู้ก่อนหาคำตอบคือ  \(tan(A+B)=\frac{tanA+tanB}{1-tanAtanB}\)

เริ่มทำกันเลย

\begin{array}{lcl}tan\left(\frac{\pi}{4}+A\right)&=&\frac{tan\frac{\pi}{4}+tanA}{1-tan\frac{pi}{4}tanA}\\&=&\frac{1+(-2\sqrt{2})}{1-(1)(-2\sqrt{2})}\\&=&\frac{1-2\sqrt{2}}{1+2\sqrt{2}}\end{array}

แต่คำตอบที่เราได้ ถ้าเป็นข้อสอบตัวเลือกไม่มีตัวเลือกแบบนี้แน่ๆ เราต้องทำต่อโดยการเอา คอนจูเกตตัวส่วนคูณเข้าทั้งเศษและส่วนครับจะได้

\begin{array}{lcl}\frac{1-2\sqrt{2}}{1+2\sqrt{2}}\times \frac{1-2\sqrt{2}}{1-2\sqrt{2}}&=&\frac{1+8-2\sqrt{2}-2\sqrt{2}}{1-8}\\&=&\frac{9-4\sqrt{2}}{-7}\\&=&\frac{4\sqrt{2}-9}{7}\end{array}


ตัวอย่างที่ 4  กำหนดให้ \(cosec A= 3\) เมื่อ A อยู่ในจตุภาคที่ 2 จงหาค่าของ \(cos\left(A-\frac{\pi}{3}\right)\)

วิธีทำ ข้อนี้ทำเหมือนตัวอย่างข้อที่ผ่านมาครับผม  

เนื่องจาก \(cosecA=3\) ดังนั้น \(sinA=\frac{1}{3}\) และสิ่งที่เราต้องพิจารณาต่อคือ เนื่องจาก มุม A ตกอยู่ในจตุภาคที่ 2  ค่าของ \(cosA\) จะติดลบ ต้องระวังเครื่องหมายด้วย ส่วนค่า \(sinA\) เป็นบวกครับ  ไปวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากกันเลยครับ

จากรูป \(cosA=-\frac{2\sqrt{2}}{3}\)  และ \(sinA=\frac{1}{3}\)  อย่าลืม \(cos\frac{\pi}{3}=\frac{1}{2},\quad sin\frac{\pi}{3}=\frac{\sqrt{3}}{2}\)

\begin{array}{lcl}cos\left(A-\frac{\pi}{3}\right)&=&cosAcos\frac{\pi}{3}+sinAsin\frac{\pi}{3}\\&=&-\frac{2\sqrt{2}}{3}(\frac{1}{2})+\frac{1}{3}(\frac{\sqrt{3}}{2}\\&=&-\frac{2\sqrt{2}}{6}+\frac{\sqrt{3}}{6}\\&=&\frac{\sqrt{3}-2\sqrt{2}}{6}\end{array}