วันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างการนำสูตรมุมสองเท่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติไปหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติ ก่อนอื่นเราไปดูสูตรของมุมสองเท่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติก่อนครับ  ซึ่งก็จะมีต่างๆทั้งหมดดังนี้ จำเป็นต้องท่องจำนะครับ เพราะข้อสอบชอบออกจริงเลย อันไหนง่ายๆไม่ออกชอบออกอันที่มันยากๆ กลัวจะทำข้อสอบได้555

สูตรมุมสองเท่า

\(sin2A=2sinAcosA\)

\(\sin2A=\frac{2tanA}{1+tan^{2}A}\)

\(cos2A=cos^{2}A-sin^{2}A\)

\(\cos2A=\frac{1-tan^{2}A}{1+tan^{2}A}\)

สูตรสองเท่าของฟังก์ชัน คอสมีหลายตัวนะครับ เลือกใช้ให้เหมาะสมแล้วกัน

\(cos2A=2cos^{2}A-1\)

\(cos2A=1-2sin^{2}A\)

\(tan2A=\frac{2tanA}{1-tan^{2}A}\)

\(cot2A=\frac{cot^{2}A-1}{2cotA}\)

สูตรมีหลายสูตรเหลือเกิน ปวดหัว ไปดูการนำสูตรไปใช้กันเลยดีกว่าครับ

ตัวอย่างที่ 1 กำหนดให้ \(\frac{3\pi}{2}<A<2\pi\)   และ    \(cosA=\frac{3}{5}\)     จงหาค่าของ

1.1 \(sinA\)

วิธีทำ จากมุม A  ที่โจทย์กำหนดให้คือ \(\frac{3\pi}{2}<A<2\pi\)     แสดงว่ามุม A  ตกอยู่ในควอร์ดเรนท์ที่ 4  ซึ่งค่าของฟังก์ชันตรีโกณที่อยู่ในควอร์ดเรนท์ที่ 4 ค่าของ cos  จะเป็นบวก นอกนั้นเป็นลบหมดนะครับ นี่คือสิ่งที่เรารู้คราวๆก่อนทำโจทย์  ผมจะใช้เอกลักษณ์ตรีโกณมิติในการหาค่า  \(sinA\)  นะครับ ใครจะใช้สามเหลี่ยมมุมฉากก็ได้

จากเอกลักษณ์ตรีโกณมิติ   

\(sin^{2}A+cos^{2}A=1\)

\(sin^{2}A+(\frac{3}{5})^{2}=1\)

\(sin^{2}A=1-\frac{9}{25}\)

\(sin^{2}A=\frac{16}{25}\)

\(sinA=\pm \frac{4}{5}\)

แต่ มุม A  อยู่ควอร์ดเรนท์ที่ 4  ค่าของ sinA  ต้องติดลบนะครับ ระวังตรงนี้ด้วย  ดังนั้น

\(sinA=-\frac{4}{5}\)


1.2 \(sin2A\)

วิธีทำ ใช้สูตรมุมสองเท่าเลยนะครับ

จากสูตร  \(sin2A=2sinAcosA\) แทนค่าลงไปเลย  เอาค่า cosA  ในข้อ 1.1  มาใช้ได้เลยครับ

\(sin2A=2sinAcosA\)

\(sin2A=2(-\frac{4}{5})\frac{3}{5}\)

\(sin2A=-\frac{24}{25}\)


1.3  \(cos2A\)

วิธีทำ  ข้อนี้เลือกใช้สูตรไหนก็ได้นะครับ ผมใช้สูตรนี้แล้วกัน

\(cos2A=cos^{2}A-sin^{2}A\)

\(cos2A=(\frac{3}{5})^{2}-(-\frac{4}{5})^{2}\)

\(cos2A=\frac{9}{25}-\frac{16}{25}\)

\(cos2A=-\frac{7}{25}\)


1.4  \(sin4A\)

วิธีทำ เราไม่มีสูตรมุม 4 เท่านะครับแต่จะประยุกต์จากมุมสองเท่านี่แหละ

จาก  \(sin4A=sin2(2A)\)    ดังนั้นข้อนี้ก็คือการหาค่า  \(sin2(2A)\)   นั่นเอง 

\(sin2(2A)=2sin2Acos2A\)         ดูดีๆนะเชื่อเลยว่าต้องมีคนไม่เข้าใจลองค่อยๆอ่านนะ

\(sin2(2A)=2(-\frac{24}{25})(-\frac{7}{25})\)

\(sin2(2A)=\frac{336}{625}\)


ตัวอย่างที่ 2 จงใช้สูตรมุมสองเท่า เพื่อหาค่าที่กำหนดให้

2.1  \(2sin15^{\circ}cos15^{\circ}\)

วิธีทำ ถ้าผมให้ 15=A  แทนลงไปในโจทย์เราก็จะได้   \(2sinAcosA\)    จากสูตรที่เรารู้มาคือ  \(2sinAcosA=sin2A\)     ดังนั้น

\(2sin15^{\circ}cos15^{\circ}=sin2(15^{\circ})=sin30^{\circ}=\frac{1}{2}\)


2.1 \(cos 22.5^{\circ} sin22.5^{\circ}\)

วิธีทำ  ทำเหมือนเดิมให้ลองให้  22.5=A   เราก็จะได้

\(cosAsinA\)      ต่อไปผมจะเอา  \(\frac{2}{2}\)    คูณเข้าทั้งเศษและส่วน คิดตามนะทำไมถึงเอาเลขนี้คูณเข้า จะได้

\(\frac{2sinAcosA}{2}\)       จะเห็นว่า \(2sinAcosA=sin2A\)  เข้าสูตรที่เราต้องการแล้วนะ จะได้

\(=\frac{sin2A}{2}\)          แทนค่า A  ด้วย  22.5  ลงไป

\(=\frac{sin(2\times 22.5)^{\circ}}{2}\)

\(=\frac{sin45^{\circ}}{2}\)

\(=\frac{\frac{\sqrt{2}}{2}}{2}\) 

\(=\frac{\sqrt{2}}{4}\)        Ans.     


2.3  \(sin15^{\circ}sin75^{\circ}\)

วิธีทำ ข้อนี้ต้องใช้เทคนิคนิดหนึ่งครับ   เนื่องจาก   \(sin75^{\circ}=cos15^{\circ}\)   แทนลงไปในโจทย์เลยครับจะได้

\(sin15^{\circ}sin75^{\circ}\)   แทนไซน์75ด้วยคอส15ครับจะได้

\(=sin15^{\circ}cos15^{\circ}\)     ต่อไปเหมือนเดิม เอา  \(\frac{2}{2}\)  คูณเข้าไปเพื่อให้เข้าสูตร

\(=\frac{2sin15^{\circ}cos15^{\circ}}{2}\)            ต่อไป  \(2sin15^{\circ}cos15^{\circ}=sin(2\times 15)^{\circ}\)

\(=\frac{sin(2\times 15)^{\circ}}{2}\)

\(=\frac{sin30^{\circ}}{2}\)

\(=\frac{\frac{1}{2}}{2}\)

\(=\frac{1}{4}\)


2.4  \(\frac{sin1^{\circ}sin88^{\circ}sin89^{\circ}}{sin4^{\circ}}\)

วิธีทำ ข้อนี้เหมือนจะยากแต่ไม่ยากทำไปทำมาเนียะสามารถตัดทอนกันได้หมดครับ  ทำเหมือนข้อที่ผ่านมาเลยครับเอาสองส่วนสองคูณเข้าครับเริ่มทำเลยนะ

\(\frac{sin1^{\circ}sin88^{\circ}sin89^{\circ}}{sin4^{\circ}}\)      เนื่องจาก  \(sin89^{\circ}=cos1^{\circ}\)   จะได้

\(=\frac{sin1^{\circ}sin88^{\circ}cos1^{\circ}}{sin4^{\circ}}\)      จัดรูปนิดหนึ่ง

\(=\frac{sin1^{\circ}cos1^{\circ}sin88^{\circ}}{sin4^{\circ}}\)      ต่อไปเอาสองส่วนสองคูณเข้าครับ

\(=\frac{2sin1^{\circ}cos1^{\circ}sin88^{\circ}}{2sin4^{\circ}}\) 

\(=\frac{sin2^{\circ}sin88^{\circ}}{2sin(2\times 2)^{\circ}}\)

\(=\frac{sin2^{\circ}sin88^{\circ}}{2\times 2sin2^{\circ}cos2^{\circ}}\)   จะเห็นว่าไซน์สองตัดกันได้นะตัดกันเลยครับ

\(=\frac{sin88^{\circ}}{4cos2^{\circ}}\)     ต่อไป \(sin88^{\circ}=cos2^{\circ}\)     แทนค่าลงไปเลยครับจะได้

\(=\frac{cos2^{\circ}}{4cos2^{\circ}}\)      คอสสองตัดทอนได้นะ

\(=\frac{1}{4}\)


2.5    \((sin15^{\circ}-cos15^{\circ})^{2}\)

วิธีทำ  ข้อนี้ยกกำลังสองเลยแล้วจะเห็นภาพชัดเจนว่าควรทำไงต่อครับ

\((sin15^{\circ}-cos15^{\circ})^{2}\)

\(=sin^{2}15^{\circ}-2sin15^{\circ}cos15^{\circ}+cos^{2}15^{\circ}\)          จัดรูปนิดหนึ่งจะได้

\(=sin^{2}15^{\circ}+cos^{2}15^{\circ}-2sin15^{\circ}cos15^{\circ}\)           จำได้ไหมเอกลักษณ์ตรีโกณมิติ  \(sin^{2}A+cos^{2}A=1\)          ดังนั้น  \(=sin^{2}15^{\circ}+cos^{2}15^{\circ}=1\)          แทนลงไปเลยครับ

\(=1-2sin15^{\circ}cos15^{\circ}\)

\(=1-sin(2\times 15)^{\circ}\)

\(=1-sin30^{\circ}\)

\(=1-\frac{1}{2}\)

\(=\frac{1}{2}\)


2.6    \(cosec10^{\circ}-\sqrt{3}sec10^{\circ}\)

วิธีทำ  ข้อนี้ต้องใช้พวกความรู้ส่วนกลับ พวกการหาผลต่างของฟังก์ชันตรีโกณมิติเช่น 

\(cosec\theta =\frac{1}{sin\theta}\)

\(sec\theta=\frac{1}{cos\theta}\)

\(sinAcosB-cosAsinB=sin(A-B)\)

อะไรพวกนี้แหล่ะครับมาดูการทำเลยดีกว่า

 \(cosec10^{\circ}-\sqrt{3}sec10^{\circ}\)

\(=\frac{1}{sin10^{\circ}}-\sqrt{3}\frac{1}{cos10^{\circ}}\)         ทำการคูณไขว้

\(=\frac{cos10^{\circ}-\sqrt{3}sin10^{\circ}}{sin10^{\circ}cos10^{\circ}}\)

ต่อไปเอา \(\frac{2}{2}\)      คูณเข้าไปครับ

\(=\frac{2(cos10^{\circ}-\sqrt{3}sin10^{\circ})}{2sin10^{\circ}cos10^{\circ}}\)

\(=\frac{2(cos10^{\circ}-\sqrt{3}sin10^{\circ})}{sin20^{\circ}}\)     ต่อไปเอา \(\frac{2}{2}\)  คูณเข้าเฉพาะตัวเศษ ดูดีๆนะขั้นตอนนี้

\(=\frac{2\times \frac{2}{2}(cos10^{\circ}-\sqrt{3}sin10^{\circ})}{sin20^{\circ}}\)

\(=\frac{2\times 2(\frac{1}{2}cos10^{\circ}-\frac{\sqrt{3}}{2}sin10^{\circ})}{sin20^{\circ}}\)     

อย่าลืมนะ  \(sin30^{\circ}=\frac{1}{2}\)       และ     \(cos30^{\circ}=\frac{\sqrt{3}}{2}\)

\(=4\frac{(sin30^{\circ}cos10^{\circ}-cos30^{\circ}sin10^{\circ})}{sin20^{\circ}}\)

\(=4\frac{sin(30^{\circ}-10^{\circ})}{sin20^{\circ}}\)

\(=4\frac{sin20^{\circ}}{sin20^{\circ}}\)

\(=4\)


ตัวอย่างที่ 3    กำหนดให้  \(sin\theta cos\theta=\frac{1}{8}\)    จงหาค่าของ   \(cos^{2}2\theta\)

วิธีทำ  ข้อนี้ใช้ความรู้ของมุมสองเท่าเช่นกันครับ โจทย์ให้หาตัวนี้    \(cos^{2}2\theta\)    ลองกระจายมันออกมาก่อนครับ  มันยกกำลังสองอยู่แสดงว่ามันคูณกันอยู่สองตัวครับ จะได้

\(cos^{2}2\theta=cos2\theta cos2\theta\)          ต่อไปลองใช้สูตรมุมสองเท่าของคอสครับ

จะเห็นว่าสูตรมุมสองเท่าของคอสที่เรามีจะมีอยู่เยอะ ก็คือ

\(cos2A=2cos^{2}A-1\)        อีกอัน

\(cos2A=1-2sin^{2}A\)        ผมจะใช้สองอันนี้เลยนะครับแทนค่าลงไปใน \(cos2\theta\)      ข้างบนไม่ต้องงงนะครับ  \(\theta\)         ในที่นี้ก็คือมุม  A  ในเองจะได้

\(cos^{2}2\theta=cos2\theta cos2\theta\) 

\(cos^{2}2\theta=(2cos^{2}\theta-1)(1-2sin^{2}\theta)\)          จับคูณกันเหมือนคูณพหุนามธรรมดา  คือ หน้าคูณหน้า หลังคูณหลัง ใกล้คูณใกล้  ไกลคูณไกลครับ

\(cos^{2}2\theta=2cos^{2}\theta+2sin^{2}\theta-1-4sin^{2}\theta cos^{2}\theta\)

\(cos^{2}2\theta=2(cos^{2}\theta+sin^{2}\theta)-1-4sin^{2}\theta cos^{2}\theta\)       อย่าลืมเอกลักษณ์ตรีโกณมิติต้องใช้งานเสมอนะก็คือ  \(cos^{2}\theta+sin^{2}\theta=1\)

\(cos^{2}2\theta=2(1)-1-4sin^{2}\theta cos^{2}\theta\) 

อีกอันที่โจทย์ให้มาก็คือ

\(sin\theta cos\theta=\frac{1}{8}\)     ลองยกกำลังสองทั้งสองข้างดูจะได้

\(sin^{2}\theta cos^{2}\theta=(\frac{1}{8})^{2}\)

\(sin^{2}\theta cos^{2}\theta=(\frac{1}{64})\)     เห็นข้างบนที่เราค้างไว้ไหมที่คิดค้างไว้คือค่านี้นะ    \(sin^{2}\theta cos^{2}\theta\)   ซึ่งมีค่าเป็นหนึ่งส่วนหกสิบสี่  ทำต่อเลยนะ

\(cos^{2}2\theta=2(1)-1-4sin^{2}\theta cos^{2}\theta\) 

\(cos^{2}2\theta=2(1)-1-4(\frac{1}{64})\) 

\(cos^{2}2\theta=2-1-4(\frac{1}{64})\)           4 ตัดกับ 64  ได้นะ

\(cos^{2}2\theta=1-(\frac{1}{16})\)  

\(cos^{2}2\theta=\frac{16-1}{16}\)

\(cos^{2}2\theta=\frac{15}{16}\)         Ans.    ไม่ยากนะค่อยๆอ่านกันครับ


ตัวอย่างที่ 4 ค่าของ  \(\left(\frac{sin30^{\circ}}{sin10^{\circ}}-\frac{cos30^{\circ}}{cos10^{\circ}}\right)\)    เท่ากับเท่าใด [Pat1(ก.ค.52)]

วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้อสอบเข้ามหาลัยครับไม่ยากครับอย่างน้อยถ้าเราเจอข้อนี้ก็ควรลองคูณไขว้ดูก่อนครับ

\(\left(\frac{sin30^{\circ}}{sin10^{\circ}}-\frac{cos30^{\circ}}{cos10^{\circ}}\right)\)

\(=\frac{(sin30cos10-cos30sin10)}{sin10cos10}\)

\(=\frac{sin(30-10)}{sin10cos10}\)

\(=\frac{sin20}{sin10cos10}\)

\(=\frac{2sin20}{2sin10cos10}\)

\(=\frac{2sin20}{sin20}\)

\(=2\)