Main menu

วันนี้ผมมีคลิปการทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่อยู่ในอนุกรมเวลา อย่าลืมอ่านทบทวนเนื้อหามาบ้างก่อนนะครับแล้วค่อยฟังคลิป เพราะถ้าไปดูคลิปโดยที่ไม่อ่านก่อนเลย อาจจะไม่เข้าใจนะครับ ฉะนั้นต้องมีความรู้มาก่อนบ้าง อย่างน้อยก็ต้องทบทวนเรื่องนี้ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูล มาก่อนนะครับผม เอาละก่อนที่จะไปดูคลิป เดี๋ยวเรามาดูความหมายของศัพท์ต่างๆที่อยู่ในเรื่องนี้

   ข้อมูลที่อยู่ในรูปอนุกรมเวลา (time series) คือ ข้อมูลที่แสดงความเปลี่ยนแปลงตามลำดับก่อนหลังของช่วงเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ซึ่งปกติแล้วข้อมูลนั้น มักจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเท่าๆกัน เช่น ปริมาณข้างที่ประเทศไทยผลิตได้ในแต่ละปี จำนวนเงินที่ร้านค่าแห่งหนึ่งขายได้ในแต่ละเดือน เป็นต้น

   ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันระหว่างข้อมูลที่สนใจศึกษา (Y) กับช่วงเวลาที่ข้อมูลนั้นเกิด (t) เขียนได้เป็น

\[Y=f(t)\]

เมื่อ \(t\) เป็นตัวแปรอิสระ และ \(Y\) เป็นตัวแปรตาม 

 สำหรับการแทนค่า \(t\) ของช่วงเวลาที่เท่าๆกัน ซึ่งอาจเป็นวัน เดือน ปี นั้นโดยทั่วไป ถ้าจำนวนช่วงเวลาที่นำมาสร้างความสัมพันธ์เป็นจำนวนคี่ มักจะกำหนดให้ช่วงเวลาที่อยู่ตรงกลางเป็น \(0\) และช่วงเวลาที่อยู่ก่อนหน้า \(0\) จะเป็น \(-1,-2,-3,\cdots\) ตามลำดับและช่วงเวลาที่อยู่ถัดลงมาจาก \(0\) จะเป็น \(1,2,3,\cdots\) ตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น

พ.ศ. 2545 2546 2547 2548 2549
\(t\) -2 -1 0 1 2

สำหรับการแทนค่า \(t\) ถ้าจำนวนช่วงเวลาที่นำมาสร้างความสัมพันธ์เป็นจำนวนคู่ มักจะกำหนดให้สองช่วงเวลาที่อยู่ตรงกลางเป็น \(-1\) และ \(1\) และช่วงเวลาที่อยู่ก่อนหน้า จะเป็น \(-3,-5,-7,\cdots\) ตามลำดับ และช่วงเวลาที่อยู่ถัดลงมาจาก  จะเป็น \(3,5,7,\cdots\) ตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น

พ.ศ. 2545 2546 2547 2548 2549 2550
\(t\) -5 -3 -1 1 3 5

ตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่อยู่ในอนุกรมเวลา

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่อยู่ในอนุกรมเวลา

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่อยู่ในอนุกรมเวลา

***อ่านบทความข้างบนแล้วอาจจะงงๆ ไปดูการทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูลที่อยู่ในอนุกรมเวลากันเลยครับผม 


We have 183 guests and no members online