ช่วงและการแก้อมการจริงๆเรื่องนี้เคยเขียนไว้แล้วครับใครอยากอ่านก็ตามลิงค์นี้ไป อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว โจทย์ปัญหาอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แต่เป็นการแก้อสมการที่เป็นของ ม.3 ไม่ยากเท่าไรครับแต่ที่จะเขียนต่อไปนี้เป็นการแก้อสมการของ ม.4 ครับ อสมการนี้จะมีคำตอบเป็นช่วงดังนั้นก่อนที่จะแก้อสมการ ม.4 เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับช่วงก่อนครับ มาดูนิยามของช่วงกันครับ
บทนิยาม เมื่อกำหนดเอกภพสัมพัทธ์คือเซตของจำนวนจริงและ \(a,b\) เป็นจำนวนจริงที่ \(a<b\)
ช่วงเปิด \((a,b)\) หมายถึง \(\{x|a<x<b\}\)
ช่วงปิด \([a,b]\) หมายถึง \(\{x|a\leq x \leq b\}\)
ช่วงครึ่งเปิด \((a,b]\) หมายถึง \(\{x|a<x\leq b\}\)
ช่วงครึ่งเปิด \([a,b)\) หมายถึง \(\{x|a \leq x <b\}\)
ช่วง \((a,\infty)\) หมายถึง \(\{x|x>a\}\)
ช่วง \([a,\infty)\) หมายถึง \(\{x|x\geq a\}\)
ช่วง \((-\infty,a)\) หมายถึง \(\{x|x<a\}\)
ช่วง \((-\infty,a]\) หมายถึง \(\{x|x\leq a\}\)
ช่วง \((-\infty,\infty)\) หมายถึง เซตของจำนวนจริง R
ตัวอย่างการแสดงช่วงด้วยเส้นจำนวน
อันนี้เป็นความรู้ก่อนการแก้อสมการนะครับ มาดูหลักการในการแก้อสมการกันครับว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
ขั้นตอนการแก้อสมการ
1. ทำข้างใดข้างหนึ่งของอสมการให้กลายเป็นศูนย์
2. ถ้าแยกตัวประกอบได้ให้แยก เช่นแยกให้อยู่ในรูป \((x-a)(x-b)>0\)
3. หาค่า \(x\) ที่ทำให้แต่ละวงเล็บเท่ากับศูนย์ในที่นี้จากจากข้อ 2 ค่า \(x\) ที่ทำให้แต่ละวงเล็บเท่ากับศูนย์คือ \(x=a,x=b\)
4. เขียนเส้นจำนวนกำหนดค่า \(a\) และ \(b\) บนเส้นจำนวน เขียนเครื่องหมายบวกสลับกับเครื่องหมายลบบนเส้นจำนวน โดยเริ่มเขียนจากฝั่งขวาของเส้นจำนวนก่อน เช่น
5. ถ้าอสมการเป็นครื่องหมาย\(>,\geq\)ให้ตอบในช่วงบวก แต่เป็นเครื่องหมาย\(<,\leq\)ให้ตอบในช่วงลบ
การระบายจุดทึบหรือจุดโปร่ง
ถ้าอสมการเป็นเครื่องหมาย \(>,<\) ให้ระบายจุดโปร่ง
ถ้าอสมการเป็นเครื่องหมาย \(\geq ,\leq\) ให้ระบายจุดทึบ
ข้อสังเกต การแก้อสมการที่กล่าวมาตามขั้นตอนข้างต้นทำได้เมื่อสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร \(x\) หลังจากแยกตัวประกอบแล้วต้องเป็นบวกเท่านั้น ถ้าเป็นสัมประสิทธิ์หน้า \(x\) ติดลบต้องทำให้เป็นบวกก่อนครับ
มาทำแบบฝึกหัดกันเลยครับเพื่อความไม่งงบางทีอ่านขั้นตอนแล้วอาจจะงงทำแบบฝึกหัดเลยดีกว่าครับ
แบบฝึกหัดอสมการ ม.4
1. จงหาเซตคำตอบของอสมการต่อไปนี้
1) \(x^{2}-x-6\leq 0\)
วิธีทำ
\begin{array}{lcl}x^{2}-x-6&\leq &0\\(x-3)(x+2)&\leq &0\end{array}
แยกตัวประกอบเสร็จแล้วจะเห็นว่า ค่า x ที่ทำให้แต่ละวงเล็บเป็นศูนย์คือ \(x=3\) และ \(x=-2\) ครับต่อไปก็เขียนบนเส้นจำนวนจะได้
เครื่องหมายอสมการในข้อนี้คือน้อยกว่าหรือเท่ากับดังนั้นต้องตอบในช่วงลบ
ดังนั้นถ้าตอบเป็นเซตคือ \(\{x|-2\leq x \leq 3\}=[-2,3]\)
2) \(3x^{2}+2\geq 7x\)
วิธีทำ
\begin{array}{lcl}3x^{2}+2&\geq &7x\\3x^{2}-7x+2&\geq &0\\(3x-1)(x-2)&\geq& 0\end{array}
แยกตัวประกอบเสร็จแล้วจะเห็นว่า ค่า x ที่ทำให้แต่ละวงเล็บเป็นศูนย์คือ \(x=\frac{1}{3}\) และ \(x=2\) ครับต่อไปก็เขียนบนเส้นจำนวนจะได้ เครื่องหมายอสมการในข้อนี้คือมากกว่าหรือเท่ากับฉะนั้นต้องตอบในช่วงบวกจุดต้องเป็นจุดทึบ
ดังนั้นเซตคำตอบของอสมการนีัคือ \(\{x|x\leq \frac{1}{3} \quad หรือ \quad x \geq 2\}=(-\infty,\frac{1}{3}]\cup [2,\infty)\)
3) \(6x-x^{2}\geq 5\)
วิธีทำ
\begin{array}{lcl}6x-x^{2}&\geq& 5\\-x^{2}+6x-5&\geq& 0\\x^{2}-6x+5&\leq& 0\\(x-5)(x-1)&\leq& 0\end{array}
แยกตัวประกอบเสร็จแล้วจะเห็นว่า ค่า x ที่ทำให้แต่ละวงเล็บเป็นศูนย์คือ \(x=5\) และ \(x=1\) ครับต่อไปก็เขียนบนเส้นจำนวนจะได้ เครื่องหมายอสมการในข้อนี้คือน้อยกว่าหรือเท่ากับฉะนั้นต้องตอบในช่วงลบจุดต้องเป็นจุดทึบ
ดังนั้นเซตคำตอบของอสมการข้อนี้คือ \(\{x|1\leq x \leq 5\}=[1,5]\)
4) \(\frac{x^{2}+12}{x}>7\)
วิธีทำ ข้อนี้อย่างน้อยเราต้องรู้ว่าคำตอบ ไม่ใช่ศูนย์แน่เพราะถ้า x เป็นศูนย์ตัวส่วนจะเป็นศูนย์ อย่าลืมส่วนเป็นศูนย์ไม่ได้ครับ เริ่มทำเลยครับ
\begin{array}{lcl}\frac{x^{2}+12}{x}&>&7\\\frac{x^{2}+12}{x}-7&>&0\\\frac{x^{2}+12-7x}{x}&>&0\\\frac{x^{2}-7x+12}{x}&>&0\\\frac{(x-4)(x-3)}{x}&>&0\\&เอา x^{2} คูณเข้า\\\frac{x^{2}(x-4)(x-3)}{x}&>&0\\x(x-4)(x-3)&>&0\end{array}
แยกตัวประกอบเสร็จแล้วจะเห็นว่า ค่า x ที่ทำให้แต่ละวงเล็บเป็นศูนย์คือ \(x=0\quad,x=4\) และ \(x=3\) ครับต่อไปก็เขียนบนเส้นจำนวนจะได้ เครื่องหมายอสมการในข้อนี้คือมากกว่าฉะนั้นต้องตอบในช่วงบวกจุดต้องเป็นจุดโปร่ง
ดังนั้นเซตคำตอบของอสมการข้อนี้คือ
\(\{x|0\leq x \leq 3\quad หรือ \quad x>4\}=(0,3)\cup (4,\infty)\)
5) \(\frac{1}{x+1}\geq \frac{1}{x+4}\)
วิธีทำ การทำข้อนี้ก็ทำคล้ายๆกับข้อที่ผ่านมานั่นแหละครับเริ่มทำกันเลยครับ
\begin{array}{lcl}\frac{1}{x+1}&\geq& \frac{1}{x+4}\\\frac{1}{x+1}-\frac{1}{x+4}&\geq& 0\end{array}
ต่อไปทำการคูณไขว้เลยครับ
\begin{array}{lcl}\frac{(x+4)-(x+1)}{(x+4)(x+1)}&\geq& 0\\\frac{(x+4-x-1)}{(x+4)(x+1)}&\geq& 0\\\frac{3}{(x+4)(x+1)}&\geq& 0\end{array}
ต่อไปนำ \((x+4)^{2}(x+1)^{2}\) คูณเข้าทั้งสองข้างของอสมการครับ เหตุที่ต้องยกกำลังสองเพราะยกกำลังสองแล้วมันมากกว่าเท่ากับศูนย์ดังนั้นเครื่องหมายอสมการไม่เปลี่ยนแน่นอนครับ ต่อไปจะได้
\begin{array}{lcl}\left[(x+4)^{2}(x+1)^{2}\right]\frac{3}{(x+4)(x+1)}&\geq& 0\\(x+4)(x+1)3&\geq& 0\\(x+4)(x+1)&\geq& 0\end{array}
อย่าลืมนะข้อนี้ถ้าเราดูที่โจทย์จะเห็นว่า \(x\neq -4\) และ \(x\neq -1\) ครับเพราะจะทำให้ตัวส่วนเป็นศูนย์
แยกตัวประกอบเสร็จแล้วจะเห็นว่า ค่า x ที่ทำให้แต่ละวงเล็บเป็นศูนย์คือ \(x=-4\) และ \(x=-1\) ครับต่อไปก็เขียนบนเส้นจำนวนจะได้ เครื่องหมายอสมการในข้อนี้คือมากกว่าหรือเท่ากับฉะนั้นต้องตอบในช่วงบวกจุดต้องเป็นจุดโปร่งนะครับเพราะเราไม่เอา -4 กับ -1 ระวังด้วยตรงนี้เพราะ -4 กับ -1 จะทำให้ตัวส่วนเป็นศูนย์ จะได้คำตอบดังแสดงดังรูปครับ
ดังนั้นเซตคำตอบของอสมการข้อนี้คือ
\(\{x|x <-4 \quad หรือ \quad x>-1\}=(-\infty,-4)\cup (-1,\infty)\)
6) \(\frac{(x^{2}+3x-10)(x^{2}+x-6)}{x^{2}+2x-15}\geq 0\)
วิธีทำ ข้อนี้ทำเหมือนข้อข้างบนแหละครับแต่ก่อนทำต้องแยกตัวประกอบก่อนก็เท่านั้นเองครับ เริ่มทำเลยครับ
\begin{array}{lcl}\frac{(x^{2}+3x-10)(x^{2}+x-6)}{x^{2}+2x-15}&\geq& 0\\\frac{(x+5)(x-2)(x+3)(x-2)}{(x+5)(x-3)}\end{array}
จากที่เราแยกตัวประกอบตรงนี้เราจะเห็นว่าคำตอบเราต้องห้ามเป็น -5 กับ 3 เพราะจะทำให้ตัวส่วนเป็นศูนย์ครับ ต่อไปพจน์ไหนตัดทอนกันได้ก็ตัดกันเลยครับซึ่งจะเห็นว่า (x+5) ตัดกันได้ตัดทิ้งเลยครับต่อไปจะได้
\begin{array}{lcl}\frac{(x-2)(x-2)(x+3)}{(x-3)}&\geq& 0\\\frac{(x-2)^{2}(x+3)}{(x-3)}&\geq& 0\end{array}
ต่อไปก็เอา \((x-3)^{2}\) คูณเข้าทั้งสองข้างของอมการจะได้
\begin{array}{lcl}(x-3)^{2}\left[\frac{(x-2)^{2}(x+3)}{(x-3)}\right]&\geq& 0\\(x-3)(x+3)(x-2)^{2}&\geq& 0\end{array}
จะเห็นว่าไอ้เจ้าพจน์นี้ \(x-2)^{2}\) ยังไงก็มากกว่าหรือเท่ากับศูนย์อยู่แล้วไม่ว่าแทน x ด้วยจำนวนจริงอะไรก็ตามดังนั้นจะเหลือที่ต้องนำเอาไปพิจารณาคือ \((x+3)(x-3)\geq 0\) เอาไปเขียนบนเส้นจำนวนเลยครับ แต่อย่าลืมที่ตอนแรกที่เราแก้อสมการคือ x ห้ามเป็น -5 กับ 3 นะครับก็จะได้เส้นจำนวนดังนี้ครับ
ดังนั้นเซตคำตอบของอสมการข้อนี้คือ
\(\{x|x<-5 \quad หรือ \quad -5<x\leq -3 \quad หรือ \quad x>3\}=(-\infty,-5)\cup (-5,3]\cup (3,\infty)\)