สมบัติที่สำคัญของผลคูณเชิงสเกลาร์   สมบัตินี้เอาไว้ใช้สำหรับการหาผลคูณเชิงสเกลาร์หรือว่า dot product ในแบบต่างๆครับ ซึ่งมีเยอะมากครับ มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง

กำหนดให้ \(\vec{u},\vec{v},\vec{w}\)   เป็นเวกเตอร์ใดๆ และ  \(a\) เป็นจำนวนจริงใดๆ

1. ถ้า  \(\vec{u}\cdot \vec{u}=0\)    แล้ว   \(\vec{u}=\vec{0}\)

2.\(\vec{u}\cdot \vec{v}=\vec{v}\cdot \vec{u}\)

3.\(\vec{u}\cdot \vec{u}=|\vec{u}|^{2}\)

4.\((a\vec{u})\cdot \vec{v}=\vec{u}\cdot (a\vec{v})=a(\vec{u}\cdot \vec{v})\)      กฎการเปลี่ยนกลุ่ม

5.\(\vec{u}\cdot (\vec{v}+\vec{w})=\vec{u}\cdot \vec{v}+\vec{u}\cdot \vec{w}\)      กฎการแจกแจง

6. ถ้า \(\theta\)  เป็นมุมระหว่าง  \(\vec{u}\)  และ  \(\vec{v}\)   แล้ว    \(\vec{u}\cdot \vec{v}=|\vec{u}||\vec{v}|cos\theta\)

7.   \(\vec{u}\)   ตั้งฉากกับ  \(\vec{v}\)    ก็ต่อเมื่อ  \(\vec{u}\cdot \vec{v}=0\)

8. \(\vec{i}\cdot \vec{i}=\vec{j}\cdot \vec{j}=\vec{k}\cdot \vec{k}=1\)

9.\(\vec{i}\cdot \vec{j}=\vec{j}\cdot \vec{i}=\vec{i}\cdot \vec{k}=\vec{k}\cdot \vec{i}=\vec{j}\cdot \vec{k}=\vec{k}\cdot \vec{j}=0\)

10. \(|\vec{u}+\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}+|\vec{v}|^{2}+2\vec{u}\cdot \vec{v}\)

11.\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}+|\vec{v}|^{2}-2\vec{u}\cdot \vec{v}\)

12.\((\vec{u}+\vec{v})\cdot (\vec{u}-\vec{v})=|\vec{u}|^{2}-|\vec{v}|^{2}\)

เอาละต่อไปก็เป็นการนำสมบัติของผลคูณเชิงสเกลาร์ไปใช้ทำโจทย์ผลคูณเชิงสเกลาร์ครับ ไปดูตัวอย่างกันเลย

ตัวอย่างที่ 1

เวกเตอร์ที่กำหนดให้ต่อไปนี้ เวกเตอร์คู่ใดบ้างที่ตั้งฉากกัน

\(1)  3\vec{i}+4\vec{j}\)    กับ   \(8\vec{i}-6\vec{j}\)

วิธีทำ  การตรวจสอบว่าเวกเตอร์คู่ที่กำหนดให้ตั้งฉากกันหรือไม่ให้เอามาดอทกันดูถ้าผลลัพธ์จากการดอทออกมาเป็น 0 แสดงว่าเวกเตอร์คู่นั้นตั้งฉากกันตามสมบัติผลคูณเชิงสเกลาร์ข้อที่ 7  ครับ  ลองดอกกันดูเลยครับ

ผมให้   \(\vec{u}=3\vec{i}+4\vec{j}\)    และ  

\(\vec{v}=8\vec{i}-6\vec{j}\)     ดังนั้น

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=(3)(8)+(4)(-6)\)

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=24-24\)

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=0\)

ดอทแล้วผลลัพธ์ออกมากเป็น 0 ก็แสดงว่าเวกเตอร์คู่ที่กำหนดให้ตั้งฉากกันครับ

\(2) \vec{i}-\vec{k}\)    กับ   \(-\vec{i}+\vec{j}-\vec{k}\)

วิธีทำ   ทำเหมือนเดิมครับ ลองเอามาดอทกันดูครับ

ผมให้ \(\vec{u}=\vec{i}-\vec{k}\)    และ  \(\vec{v}=-\vec{i}+\vec{j}-\vec{k}\)   จะได้

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=(1)(-1)+(0)(1)+(-1)(-1)\)

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=-1+0+1\)

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=0\)

เวกเตอร์คู่นี้ตั้งฉากกันครับ


ตัวอย่างที่ 2  ถ้า  \(a\vec{i}+5\vec{j}\)    ตั้งฉากกับ \(10\vec{i}+6\vec{j}\)   จงหาค่า \(a\)

วิธีทำ โจทย์กำหนดให้สองเวกเตอร์นี้ตั้งฉากกันแสดงว่าดอทกันแล้วได้ 0 ครับ จึงได้สมการ

\((a\vec{i}+5\vec{j})\cdot  (10\vec{i}+6\vec{j})=0\)  

\((a)(10)+(5)(6)=0\)       ต่อไปก็แก้สมการหาค่า a  ครับ

\(10a=-30\)

\(a=\frac{-30}{10}\)

\(a=-3\)


ตัวอย่างที่ 3   กำหนด \(\vec{u}\)   กับ   \(\vec{v}\)   เป็นเวกเตอร์  โดย  \(\vec{u}=6\vec{i}+8\vec{j}\)  และ  \(\vec{v}=\vec{i}+5\vec{j}\)    จงหาเวกเตอร์ที่มีขนาดเท่ากับ \(\vec{u}\)   และ ตั้งฉากกับ   \(\vec{v}\)

วิธีทำ  ข้อนี้เหมือนจะยาก แต่ไม่ยากนะทำตามสเต็บเลยครับ 

ผมกำหนดให้   \(\vec{w}=a\vec{i}+b\vec{j}\)     เป็นเวกเตอร์ใดๆที่มีขนาดเท่ากับ     \(\vec{u}\)   และตั้งฉากกับ   \(\vec{v}\)

เนื่องจาก \(\vec{w}\)    ตั้งฉากกับ \(\vec{v}\)  ดังนั้นถ้าเอามาดอทกันจะมีค่าเป็นศูนย์จึงได้ว่า

\(\vec{w}\cdot \vec{v}=0 \)

\((a)(1)+(5)(b)=0\)       ให้เป็นสมการที่ 1   เก็บสมการนี้ไว้ก่อน

ต่อไปโจทย์บอกว่าเวกเตอร์ที่ให้หานั้นมีขนาดเท่ากับเวกเตอร์ยู ซึ่งเราให้เป็นดับเบิลยูดังนั้นขนาดของเวกเตอร์ยูเท่ากับขนาดของเวกเตอร์ดับเบิลยู   หาขนาดของเวกเตอร์ยูก่อนครับ

จาก 

\(\vec{u}=6\vec{i}+8\vec{j}\)

\(|\vec{u}|=\sqrt{6^{2}+8^{2}}=\sqrt{100}=10\)

ดังนั้นเราจะได้ว่า ขนาดของดับเบิลยูเท่ากับ 10  ด้วยครับ  จึงได้ว่า

จาก

\(\vec{w}=a\vec{i}+b\vec{j}\)

\(|\vec{w}|=\sqrt{a^{2}+b^{2}}=10\)

จังได้อีกสมการคือ

\(\sqrt{a^{2}+b^{2}}=10\)        ยกกำลังสองทั้งสองข้างของสมการครับ  

\(a^{2}+b^{2}=100\)              ให้เป็นสมการที่ 2

ต่อไปมาดูสมการที่  1  กับ สมการที่ 2   เพื่อแก้สมการ

จากสมการที่ 1  คือ

\((a)(1)+(5)(b)=0\)     จะได้

\(a=-5b\)      เอาค่านี้ไปแทนในสมการที่ 2

จากสมการที่ 2  คือ

\(a^{2}+b^{2}=100\) 

แทน    \(a\)     ด้วย   \(-5b\)   ในสมการที่ 2  จะได้

\((-5b)^{2}+b^{2}=100\)

\(25b^{2}+b^{2}=100\)

\(26b^{2}=100\)

\(b^{2}=\frac{100}{26}\)

\(b^{2}=\frac{50}{13}\)

\(b=\pm\frac{50}{13}\)

ตอนนี้เราได้ค่า \(b\)  แล้วนะต้องหาค่า  \(a\)  ต่อครับจากที่เรามีคือ

\(a=-5b\) 

ถ้า  \(b=\frac{50}{13}\)  จะได้   \(a\)  คือ

\(a=(-5)(\frac{50}{13})\)

\(a=-\frac{250}{13}\)

ถ้า   \(b=-\frac{50}{13}\)    จะได้    \(a\)    คือ

\(a=(-5)(-\frac{50}{13})\)

\(a=5(\frac{50}{13})\)

\(a=\frac{250}{13}\)

ดังนั้นตอบได้แล้วครับ เวกเตอร์ที่ขนาดเท่ากับ \(\vec{u}\)   และตั้งฉากกับ   \(\vec{v}\)  คือ

\(\vec{w}=-\frac{250}{13}\vec{i}+\frac{50}{13}\vec{j}\)

\(\vec{w}=\frac{250}{13}\vec{i}-\frac{50}{13}\vec{j}\)


ตัวอย่างที่ 4  กำหนด \(|\vec{u}|=4\),\(|\vec{v}|=3\)     และ    \(\vec{u}\)      ตั้งฉากกับ    \(\vec{v}\)     จงหา  \(|\vec{u}-\vec{v}|\)

วิธีทำ  จากที่เรารู้คือ

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}+|\vec{v}|^{2}-2\vec{u}\cdot \vec{v}\)

แต่โจทย์บอกว่าเวกเตอร์ยูกับเวกเตอร์วีตั้งฉากกันนั่นคือ  \(\vec{u}\cdot \vec{v}=0\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}+|\vec{v}|^{2}-2\vec{u}\cdot \vec{v}\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=4^{2}+3^{2}-2(0)\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=25\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|=5\)


ตัวอย่างที่ 5    กำหนด  \(\vec{u}=4\vec{i}-3\vec{j}\)    และ   \(\vec{v}=8\vec{i}+6\vec{j}\)    จงหา    \(|\vec{u}-\vec{v}|\)

วิธีทำ จากที่เรารู้คือ 

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}+|\vec{v}|^{2}-2\vec{u}\cdot \vec{v}\)

แต่ข้อนี้ไม่ได้กำหนดขนาดมาให้เหมือนข้อข้างบน เราต้องหาขนาดของเวกเตอร์ยูกับเวกเตอร์วีออกมาก่อนครับ

จาก

\(\vec{u}=4\vec{i}-3\vec{j}\)

\(|\vec{u}|=\sqrt{4^{2}+(-3)^{2}}\)

\(|\vec{u}|=\sqrt{16+9}\)

\(|\vec{u}|=\sqrt{25}\)

\(|\vec{u}|=5\)

จาก

\(\vec{v}=8\vec{i}+6\vec{j}\)

 \(|\vec{v}=8\vec{i}+6\vec{j}|=\sqrt{8^{2}+6^{2}}\)

 \(|\vec{v}=8\vec{i}+6\vec{j}|=\sqrt{100}\)

\(|\vec{v}=8\vec{i}+6\vec{j}|=10\)

ได้ขนาดของเวกเตอร์ยูกับวีแล้วครับ ต่อไปหายู dot วีบ้าง

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=(4)(8)+(-3)(6)\)

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=14\)

เอาไปแทนค่าในสูตรเลยครับ

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}+|\vec{v}|^{2}-2\vec{u}\cdot \vec{v}\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=5^{2}+10^{2}-2(14)\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=97\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|=\sqrt{97}\)


ตัวอย่างที่ 6  กำหนดให้   \(\vec{u}\)     และ   \(\vec{v}\)    เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วย และมุมระหว่าง     \(\vec{u}\)   และ   \(\vec{v}\)   เท่ากับ    \(120^{\circ}\)     จงหา    \(|\vec{u}-\vec{v}|\)

วิธีทำ   เนื่องจากเวกเตอร์ยูและเวกเตอร์วี เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยดังนั้นมีขนาดเท่ากับ 1   นั่นคือ    \(|\vec{u}|=1\)     และ     \(|\vec{v}=1|\)

เนื่องจากข้อนี้เขากำหนดมุมระหว่างเวกเตอร์สองเวกเตอร์มากให้ ดังนั้นเราสามารถหาค่าของ ยู  dot  วี  จากสูตรนี้ครับ

\(\vec{u} \cdot \vec{v}=|\vec{u}||\vec{v}|cos\theta\)

\(\vec{u} \cdot \vec{v}=(1)(1)cos120^{\circ}\)

\(\vec{u} \cdot \vec{v}=-\frac{1}{2}\)

ดังนั้น

\(\vec{u} \cdot \vec{v}=-\frac{1}{2}\)

แต่โจทย์ต้องการให้เราหา

\(|\vec{u}-\vec{v}|\)     แต่เราหาตรงๆไม่ได้เราต้องหาโดยผ่านสูตรนี้ครับ

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}+|\vec{v}|^{2}-2\vec{u}\cdot \vec{v}\)

แทนค่าลงไปในสูตรจะได้

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=1^{2}+1^{2}-2(-\frac{1}{2})\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=2+1\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=3\)

\(|\vec{u}-\vec{v}|=\sqrt{3}\)


ตัวอย่างที่ 7  กำหนดให้   \(\vec{u}=2\vec{i}+5\vec{j}\)     และ    \(\vec{v}=\vec{i}+\frac{5}{2}\vec{j}\)     จงหามุมระหว่าง    \(\vec{u}\)     กับ     \(\vec{v}\)

วิธีทำ   แน่นอนข้อนี้มุมระหว่างเวกเตอร์ยูกับเวกเตอร์วีคือใช้สูตรนี้

\(\vec{u} \cdot \vec{v}=|\vec{u}||\vec{v}|cos\theta\)

แต่ก่อนจะใช้สูตรนี้เราต้องรู้ขนาดของเวกเตอร์ยูกับขนาดของเวกเตอร์วีก่อนครับ

\(|\vec{u}|=\sqrt{2^{2}+5^{2}}=\sqrt{29}\)

\(|\vec{v}|=\sqrt{1^{2}+(\frac{5}{2})^{2}}=\frac{\sqrt{29}}{2}\)

หาเวกเตอร์ยู dot  เวกเตอร์วี ต่อครับ

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=(2)(1)+(5)\frac{5}{2}=\frac{29}{2}\)

ได้สิ่งที่เราต้องการหมดแล้วเอาไปแทนค่าในสูตรนี้เลย

\(\vec{u} \cdot \vec{v}=|\vec{u}||\vec{v}|cos\theta\)

\(\frac{29}{2}=(\sqrt{29})(\frac{\sqrt{29}}{2})cos\theta\)

\(\frac{29}{2}=\frac{29}{2}cos\theta\)

\(\frac{29}{2}\times \frac{2}{29}=cos\theta\)

\(1=cos\theta\)

เนื่องจาก  \(cos0^{\circ}=1\)

ดังนั้น    \(\theta=0^{\circ}\)

นั่นคือเวกเตอร์ยูและเวกเตอร์วีทับกันอยู่หรือจะกล่าวว่าขนานกันก็ได้


ตัวอย่างที่ 8 กำหนดให้  \(\vec{u}=2\vec{i}-\vec{j}+\vec{k}\)  และ  \(\vec{v}=\vec{i}+\vec{j}+2\vec{k}\)  ถ้า \(\theta\)  เป็นมุมระหว่าง \(\vec{u}\)  และ \(\vec{v}\)  แล้วค่าของ \(\cos2\theta\) เท่ากับเท่าใด

วิธีทำ  อันนี้ใช้สมบัติข้อที่ 6 ครับ ก็คือ

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=|\vec{u}||\vec{v}|\cos\theta\)

หา  \(\vec{u}\cdot \vec{v}\)

\(\vec{u}\cdot \vec{v}=(2)(1)+(-1)(1)+(1)(2)=3\)

หา \(|\vec{u}|,|\vec{v}|\)

\(|\vec{u}|=\sqrt{2^{2}+(-1)^{2}+(1)^{2}}=\sqrt{6}\)

\(|\vec{v}|=\sqrt{1^{2}+(1)^{2}+2^{2}}=\sqrt{6}\)

เริ่มทำต่อเลยครับจาก

\begin{array}{lcl}\vec{u}\cdot \vec{v}&=&|\vec{v}||vec{u}|\cos\theta\\\cos\theta&=&\frac{\vec{u}\cdot\vec{v}}{|\vec{u}||\vec{v}|}\\\cos\theta&=&\frac{3}{\sqrt{6}\sqrt{6}}\\\cos\theta&=&\frac{3}{6}\\\cos\theta&=&\frac{1}{2}\end{array}

เนื่องจาก

\(\cos 60^{\circ}=\frac{1}{2}\)

ดังนั้น

\(\theta=60^{\circ}\)

ต่อไปก็หาค่า \(\cos 2\theta\)  หรือก็คือ \(\cos 2(60^{\circ})\)  นั่นเอง

เนื่องจาก  \(\cos 2\theta=\cos^{2}\theta-\sin^{2}\theta\)  ดังนั้น

\begin{array}{lcl}cos 2(60^{\circ})&=&\cos^{2}60^{\circ}-\sin^{2}60^{\circ}\\&=&(\frac{1}{2})^{2}-(\frac{\sqrt{3}}{2})^{2}\\&=&\frac{1}{4}-\frac{3}{4}\\&=&-\frac{1}{2}\end{array}


ตัวอย่างที่ 9 ถ้า  \(a\vec{i}+b\vec{j}+c\vec{k}\) เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยและมีทิศทางเดียวกันกับเวกเตอร์  \(-2\vec{i}+3\vec{j}+6\vec{k}\) จงหาค่าของ \(a+b+c\)

วิธีทำ ข้อนี้ ผมกำหนดให้

\(\vec{u}=a\vec{i}+b\vec{j}+c\vec{k}\)  เนื่องจากโจทย์บอกว่าเวกเตอร์นี้เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยดังนั้น

\(|\vec{u}|=1\)

และกำหนดให้

\(\vec{v}=-2\vec{i}+3\vec{j}+6\vec{k}\)  จะได้ว่า

\(|\vec{v}|=\sqrt{(-2)^{2}+3^{2}+6^{2}}=7\)

จะเห็นได้ว่า  \(|\vec{u}|=1\)  และ  \(|\vec{v}|=7\)  จึงได้ว่า

\(\vec{v}=7\vec{u}\) จึงได้อีกว่า

\begin{array}{lcl}\begin{bmatrix}-2\\3\\6\end{bmatrix}&=&7\begin{bmatrix}a\\b\\c\end{bmatrix}\end{array}

จะได้อีกว่า

\(-2=7a\rightarrow a=-\frac{2}{7}\)

\(3=7b \rightarrow b=\frac{3}{7}\)

\(6=7c\rightarrow c=\frac{6}{7}\)

ดังนั้น

\begin{array}{lcl}a+b+c&=&-\frac{2}{7}+\frac{3}{7}+\frac{6}{7}\\&=&1\end{array}


ตัวอย่างที่ 10 กำหนดให้ \(|\vec{u}|=6\) และ \(|\vec{v}|=3\) ถ้า \(\vec{u}\) ตั้งฉากกับ \(\vec{v}\) ค่าของ \(|\vec{u}-\vec{v}|\) เท่ากับเท่าใด

วิธีทำ เนื่อง \(\vec{u}\) ตั้งฉากกับ \(\vec{v}\) ดังนั้น \(\vec{v}\cdot \vec{u}=0\)

จาก 

\begin{array}{lcl}|\vec{u}-\vec{v}|^{2}&=&|\vec{u}|^{2}-2\vec{u}\cdot\vec{v}+|\vec{v}|^{2}\\&=&6^{2}-2(0)+3^{2}\\&=&36+9\\&=&45\\so\\|\vec{u}-\vec{v}|&=&\sqrt{45}\\&=&3\sqrt{5}\end{array}


ตัวอย่างที่ 11    ถ้า \(|\vec{u}+\vec{v}|=\sqrt{3}\) และ \(|\vec{u}-\vec{v}|=\sqrt{5}\) แล้ว \(\vec{u}\cdot \vec{v}\) เท่ากับเท่าใด

วิธีทำ ข้อนี้ไม่มีอะไรเป็นการเล่นกับสมบัติ 2 ข้อของการคูณแบบสเกลาร์ (scalar product or dot product) สมบัติที่ว่านั้นก็คือ

\begin{array}{lcl}|\vec{u}+\vec{v}|^{2}&=&|\vec{u}|^{2}+2\vec{u}\cdot\vec{v}+|\vec{v}|^{2}\\|\vec{u}-\vec{v}|^{2}&=&|\vec{u}|^{2}-2\vec{u}\cdot \vec{v}+|\vec{v}|^{2}\end{array}

ลองเอาสิ่งที่โจทย์ให้มาไปแทนค่าในสมการข้างบนจะได้

\begin{array}{lcl}(\sqrt{3})^{2}&=&|\vec{u}|^{2}+2\vec{u}\cdot\vec{v}+|\vec{v}|^{2}\quad\cdots (1)\\(\sqrt{5})^{2}&=&|\vec{u}|^{2}-2\vec{u}\cdot\vec{v}+|\vec{v}|^{2}\quad\cdots (2)\\(2)-(1)\\5-3&=&-4\vec{u}\cdot\vec{v}\\2&=&-4\vec{u}\cdot\vec{v}\\\vec{u}\cdot\vec{v}&=&-\frac{2}{4}\\\vec{u}\cdot\vec{v}&=&-\frac{1}{2}\end{array}


ตัวอย่างที่ 12  กำหนด \(\vec{u}=\begin{bmatrix}2\\0\\4\end{bmatrix}\)  และ \(\vec{v}=\begin{bmatrix}-4\\2\\1\end{bmatrix}\) จงหาค่าของ \(\vec{u}\cdot\vec{v}\)

วิธีทำ ข้อนี้ไม่มีอะไรครับก็ทำตามนิยามของการดอทเวกเตอร์เลยครับ

\begin{array}{lcl}\vec{u}\cdot\vec{v}&=&(2)(-4)+(0)(2)+(4)(1)\\&=&-8+4\\&=&-4\end{array}


ตัวอย่างที่ 13   ถ้า \(2\vec{i}+a\vec{j}+4\vec{k}\) ตั้งฉากกับ \(-3\vec{i}-4\vec{j}-2\vec{k}\) แล้ว \(a\) มีค่าเท่ากับเท่าใด

วิธีทำ  ขอนี้ก็ใช้สมบัติที่ว่า เวกเตอร์ตั้งฉากกันดอทกันจะเท่ากับศูนย์จึงได้ว่า

ก่อนทำผมกำหนดให้ 

\(\vec{u}=2\vec{i}+a\vec{j}+4\vec{k}\)

\(\vec{v}=-3\vec{i}-4\vec{j}-2\vec{k}\)

เวกเตอร์ทั้งสองนี้ตั้งฉากกันดังนั้น \(\vec{u}\cdot\vec{v}=0\) นั่นคือ

\begin{array}{lcl}(2)(-3)+(a)(-4)+(4)(-2)&=&0\\-6-4a-8&=&0\\-4a&=&8+6\\a&=&-\frac{14}{4}\\a&=&-\frac{7}{2}\end{array}


ตัวอย่างที่ 14  ถ้า \(\vec{u}\cdot\vec{v}=25\quad ,|\vec{u}|=4\) มุมระหว่าง \(\vec{u}\) และ \(\vec{v}\) คือ 60 องศา จงหาค่าของ \(|\vec{u}-\vec{v}|\) 

วิธีทำ  ถ้าเห็น \(|\vec{u}-\vec{v}|\) ให้เรานึกถึงสมบัติข้อนี้

\(|\vec{u}-\vec{v}|^{2}=|\vec{u}|^{2}-2\vec{u}\cdot\vec{v}+|\vec{v}|^{2}\) 

เริ่มทำต่อเลยครับ

\begin{array}{lcl}|\vec{u}-\vec{v}|^{2}&=&|\vec{u}|^{2}-2\vec{u}\cdot\vec{v}+|\vec{v}|^{2}\\&=&4^{2}-(2)(25)+|\vec{v}|^{2}\quad (1)\end{array}

จะเห็นได้ว่าจากสมการที่ \((1)\) เราไปต่อไม่ได้เพราะเราไม่รู้ค่าของ \(|\vec{v}|\)  ต้องไปหาก่อนนะครับ

แต่เรารู้ว่า มุมระหว่างเวกเตอร์ยูและวี คือ 60 องศาดังนั้นเราสามารถใช้สมบัติข้อนี้ในการหา \(|\vec{v}|\) ได้ครับ

\begin{array}{lcl}\vec{u}\cdot\vec{v}&=&|\vec{u}||\vec{v}|\cos\theta\\25&=&(4)|\vec{v}|\cos 60^{\circ}\\25&=&4|\vec{v}|\frac{1}{2}\\25&=&4\times\frac{1}{2}|\vec{v}|\\25&=&2|\vec{v}|\\|\vec{v}|&=&\frac{25}{2}\quad \cdots (2)\end{array}

เอาค่าของ \(|\vec{v}|\) ไปแทนในสมการที่ \((1)\) จะได้

\begin{array}{lcl}|\vec{u}-\vec{v}|^{2}&=&4^{2}-(2)(25)+|\vec{v}|^{2}\\&=&16-50+(\frac{25}{2})^{2}\\&=&16-50+\frac{625}{4}\\&=&-34+\frac{625}{4}\\&=&\frac{-136+625}{4}\\&=&\frac{489}{4}\\so\\|\vec{u}-\vec{v}|&=&\sqrt{\frac{489}{4}}\\&=&\frac{\sqrt{489}}{2}\end{array}