วันนี้เราจะมาดูกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติครับ  จะมาดูว่ากราฟของแต่ละฟังก์ชันตรีโกณมิตินั้นหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง แต่ผมจะไม่วาดให้ดูนะครับทุกคนสามารถเข้าไปวาดกราฟเองได้ครับแค่คีย์สมการของแต่ละฟังก์ชันเข้าไป  เช่นอยากรู้ว่าหน้าตาของฟังก์ชันไซน์เป็นอย่างไรก็คีย์คำว่า

\(y=\sin x\)      เข้าไปแล้วกด enter  หน้าตาของกราฟก็จะปรากฏขึ้นมาเลยครับมีฟังก์ชันปรับแต่งมากมายลองเล่นดูสนุกครับ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดกราฟนี้ชื่อว่าโปรแกรม Geogebra  ครับมีความสามารถที่หลากหลายที่สำคัญยังมีเครื่องมือสำหรับใช้ทำงานออนไลน์ได้แบบนี้ด้วยครับ ต่อไปถ้าเราอยากรู้ว่ากราฟของแต่ละฟังก์ชันแต่ละความสัมพันธ์เป็นอย่างไรก็แค่คีย์ข้อมูลลงไปก็จะเห็นหน้าตาได้กราฟออกมาโดยง่ายดาย นี้คือความสามารถของเจ้าโปรแกรม Geogebra ลองฝึกใช้งานดูครับ   ออกนอกเรื่องไปไกล  เข้ามาที่เรื่องของเราบ้างก็คือ กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติก็จะมีดังนีั ลองคีย์ดูนะครับ

\(y=\sin x\)

\(y=\cos x\)

\(y=\tan x\)

\(y=\cot x\)

\(y=\sec x\)

\(y=\csc x\)

นี้คือฟังก์ชันพื้นฐานที่เราต้องรู้หน้าตาของมัน และเราสามารถขยายความรู้เพิ่มเติมออกไปได้ เช่น

\(y=2\sin x\)

\(y=3\cos x\)

สามารถลองวาดดูทำได้หมดครับ  รอหน่อยพักหนึ่งโปรแกรมอาจจะโหลดช้าหน่อยครับ

ผมจะขอสรุปให้ครับสำหรับเรื่องกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติและจะทำแบบฝึกหัดให้ดู สักสองสามข้อครับ

ถ้าฟังก์ชันอยู่ในรูปของ \(y=n\sin(n\theta) , n>0\)

สามาถาหาคาบได้จาก \(\frac{2\pi}{n}\)

แอมพลิจูดคือ \(1\)

เรนจ์คือ \([-1,1]\)

ถ้าฟังก์ชันอยู่ในรูปของ \(y=n\cos(n\theta) ,n>0\)

สามารถหาคาบได้จาก \(\frac{2\pi}{n}\)

แอมพลิจูดคือ \(1\)

เรนจ์คือ \([-1,1]\)

ถ้าฟังก์ชันอยู่ในรูปของ \(y=a\sin(n\theta),n>0\)

คาบคือ \(\frac{2\pi}{n}\)

แอมพลิจูดคือ \(|a|\)

เรนจ์คือ \([-a,a]\)

ถ้าฟังก์ชันอยู่ในรูปของ \(y=a\cos(n\theta),n>0\)

คาบคือ \(\frac{2\pi}{n}\)

แอมพลิจูดคือ \(|a|\)

เรนจ์คือ \([-a,a]\)

แบบฝึกหัดเกี่ยวกับกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ

1. จงหาแอมพลิจูดและคาบของฟังก์ชันต่อไปนี้

1) \(y=\frac{1}{2}\sin\theta\)

ได้กราฟหน้าตาแบบนี้คือ

จะเห็นว่าฟังก์ชันที่เขาให้มาคือ \(y=\frac{1}{2}\sin\theta\) อยู่ในรูปแบบ \(y=a\sin(n\theta\)

จะได้ว่า \(a=\frac{1}{2},\quad n=1\)

นั่นคือ \( คาบ=\frac{2\pi}{n}=\frac{2\pi}{1}\)

แอมพลิจูดคือ \(|a|=|\frac{1}{2}|\)


2) \(y=3\sin\theta\)

ได้กราฟหน้าตาแบบนี้ครับ

จะเห็นฟังก์ชันที่เขาให้มาคือ \(y=3\cos\theta\) อยู่ในรูปแบบ \(y=a\cos(n\theta)\)

จะได้ \(a=3,\quad n=1\)

นั่นคือ \( คาบ=\frac{2\pi}{n}=\frac{2\pi}{1}=2\pi\)

แอมพลิจูดคือ \(|a|=|3|=3\)


3)\(y=3\sin\frac{1}{2}\theta\)

จะได้กราฟหน้าตาแบบนี้ครับ

จะเห็นว่าฟังก์ชันที่เขาให้มาคือ \(y=3\sin\frac{1}{2}\theta\)  ซึ่งอยู่ในรูปแบบ \(y=a\sin(n\theta\)

จะได้ \(a=3,\quad n=\frac{1}{2}\)

นั่นคือ \(คาบ=\frac{2\pi}{n}=\frac{2\pi}{\frac{1}{2}}=4\pi\)

แอมพลิจูดคือ \(|a|=|3|=3\)


4) \(y=3\cos\theta +1\)

ผมอยากให้ทุกคนเปรียบเทียบกันระหว่าง 2 กราฟนี้ว่ามันมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรก็คือ

\(y=3\cos\theta\)

\(y=3\cos\theta+1\)

ดูรูปด้านล่างประกอบนะครับ จะเห็นว่ากราฟสองฟังก์ชันนี้ไม่ต่างกันมากเลย ต่างกันนิดเดียว คาบของทั้งสองฟังก์มีค่าเท่ากันครับคือ \(2\pi\) และค่าของแอมพลิจูดก็เท่ากันคือ 3  แต่ที่รูปร่างกราฟต่างกันเพราะว่า \(y=3\cos\theta+1\) มันต้องเลื่อนขึ้นบนไปตามแกน Y อีกหนึ่งหน่วย 

เรามาดูความหมายของคำว่า คาบ กัน แอมพลิจูด กัน เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพราะบางคนอาจจะลืมไปแล้ว

          ฟังก์ชันตรีโกณมิติทุกฟังก์ชันเป็นฟังก์ชันคาบ กล่าวคือ สามารถแบ่งแกน X ออกเป็นช่วงย่อย โดยที่ความยาวของแต่ละช่วงย่อยเท่ากันและกราฟในแต่ละช่วงย่อยมีลักษณะเหมือนกัน ความยาวของช่วงย่อยที่สั้นที่สุดที่มีสมบัติดังกล่าวเรียกว่า คาบ

            สำหรับฟังก์ชันที่เป็นคาบซึ่งมีค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด จะเรียกค่าที่เท่ากับครึ่งหนึ่งของค่าสูงสุดลบด้วยค่าต่ำสุดของฟังก์ชันนั้นว่า แอมพลิจูด (amplitude)

             นั่นก็คือ ถ้า \(a\) เป็นค่าสูงสุดและ \(b\) เป็นค่าต่ำสุดของฟังก์ชันที่เป็นคาบ จะได้ว่า แอมพลิจูดของฟังก์ชันนี้คือ \(\frac{1}{2}(a-b)\)


5) \(y=\sin(-\theta)-1\)

จะได้กราฟดังรูปครับ จะเห็นว่ากราฟของฟังก์ชันนี้คล้ายกราฟของฟังก์ชัน \(y=\sin\theta\) เลยครับแค่เลื่อนแกน Y ลงมาล่างหนึ่งหน่วยก็เท่านั้นเองครับ ดูรูปประกอบด้านล่าง

\(คาบ =2\pi\)

แอมพลิจูดเท่ากับ \(1\)