• ตัวกลางเรขาคณิต

    วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับตัวกลางเรขาคณิตนะครับ หลังจากที่เราเรียนเกี่ยวกับตัวกลางเลขคณิตไปแล้ว ตัวกลางเรขาคณิตความหมายก็คล้ายกับตัวกลางตัวกลางเลขคณิตเลยครับ ก็คือสมมติผมมีลำดับเรขาคณิตคือ

    2,4,8   ตัวกลางเรขาคณิตของลำดับเรขาคณิตนี้คือ ตัวที่อยู่ตรงกลางก็คือ 4 นั่นเองครับ

    2,4,8,16 ตัวกลางเรขาคณิตของลำดับเรขาคณิตนี้คือ ตัวที่อยู่ตรงกลางซึ่งมีสองตัวนั่นคือ 4 และ 8

    เอาละต่อไปเราก็ไปดูตัวอย่างที่ยากขึ้นครับ

    ปล.ก่อนที่จะศึกษาเรื่องตัวกลางเรขาคณิต อย่างน้อยต้องมีความรู้เรื่องลำดับเรขาคณิต ก่อนนะครับทุกคน

    1.จงหาตัวกลางเรขาคณิตระหว่างจำนวนต่อไปนี้

    1) 4 และ 36

    วิธีทำ ผมให้ \(x\) เป็นตัวกลางเรขาคณิตที่อยู่ระหว่าง 4 และ 36 นั่นคือเราจะได้ลำดับเรขาคณิตดังต่อไปนี้

    \(4,x,36\)  จากสมบัติของลำดับเรขาคณิตคือมีอัตราส่วนร่วม(r) เท่ากันซึ่งก็คือ

    \begin{array}{lcl}\frac{x}{4}&=&\frac{36}{x}\\x^{2}&=&36\times 4\\x^{2}&=&144\\x&=&\pm\sqrt{144}\\x&=&\pm 12\end{array}

    ดังนั้นตัวกลางเราขาคณิตระหว่าง 4 และ 36  คือ 12 หรือ -12 ก็ได้ครับ

    2)  \(b\) และ \(b^{5}\)

    วิธีทำ ผมให้ \(x\) เป็นตัวกลางเรขาคณิตที่อยู่ระหว่าง \(b\) และ \(b^{5}\) นั่นคือจะได้ลำดับเรขาคณิตต่อไปนี้

    \(b,x,b^{5}\)  เราสามารถใช้สมบัติของลำดับเรขาคณิตเพื่อหาค่า \(x\) ได้ดังต่อไปนี้

    \begin{array}{lcl}\frac{x}{b}&=&\frac{b^{5}}{x}\\x^{2}&=&b^{5}\times b\\x^{2}&=&b^{6}\\x&=&\pm\sqrt{b^{6}}\\x&=&\pm b^{3}\end{array}


    2. ถ้าตัวกลางเรขาคณิตระหว่าง 3 กับ \(x\) คือ \(\pm 15\) แล้ว จงหาค่า \(x\)

    วิธีทำ จากโจทย์เราจะได้ลำดับเรขาคณิตดังต่อไปนี้ครับ

    \(3,15,x\)  อีกอันคือ \(3,-15,x\)  เราก็หาค่า \(x\) ครับ ก็ทำเหมือนข้อข้างบนเลย

    จาก  \(3,15,x\) จากสมบัติของลำดับเรขาคณิตจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{15}{3}&=&\frac{x}{15}\\x&=&\frac{15}{3}\times 15\\x&=&75\end{array}

    จาก \(3,-15,x\) จากสมบัติของลำดับเรขาคณิตจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{-15}{3}&=&\frac{x}{-15}\\x&=&\frac{-15}{3}\times (-15)\\x&=&75\end{array}

    ดังนั้น \(x=75\) นั่นเองครับ


    4. จงหาตัวกลางเรขาคณิต 2 จำนวนระหว่าง 6 กับ 48

    วิธีทำ เราให้ \(r\) คืออัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิตนี้ ดังนั้นจากโจทย์เราจะได้ว่า

    \(6,6r,6r^{2},48\)  ทำการคำนวณหาค่า \(r\) ออกมาก่อนเราก็จะได้ตัวกลางเรขาคณิต 2 จำนวนนี้มาคำนวณกันเลยครับ  จากสมบัติของลำดับเรขาคณิตจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{6r}{6}&=&\frac{48}{6r^{2}}\\r&=&\frac{8}{r^{2}}\\r^{3}&=&8\\r&=&2\end{array}

    นั่นคือ \(r=2\) นั่นเอง ตัวกลางเรขาคณิต 2 จำนวนที่อยู่ระหว่าง 6 และ 48 คือ

    \(6r=(6)(2)=12\)

    \(6r^{2}=(6)(2^{2})=24\)

    นั่นคือตัวกลางเรขาคณิต 2 จำนวนที่อยู่ระหว่าง 6 และ 48 คือ 12 และ 24 นั่นเองครับ


    5. จงหาตัวกลางเรขาคณิต 4 จำนวนที่อยู่ระหว่าง \(3\) กับ \(384\sqrt{2}\) 

    วิธีทำ ข้อนี้ ผมจะใช้สูตรในการหาตัวกลางเรขาคณิตเลย นะครับ ไม่ทำเหมือนข้อข้างบนแล้ว เพราะข้อข้างบนมีแค่สองตัวทำแบบธรรมดามันง่าย แต่นี่มีทั้งหมด 4 ตัว ใช้สูตรในการทำง่ายกว่าครับ สูตรในการหาตัวกลางเรขาคณิตก็คือ

    \[r^{k+1}=\frac{b}{a}\]

    เมื่อ \(r\) คืออัตราส่วนร่วมของดับนี้

    \(b\) คือ ตัวเลขตัวสุดท้ายของลำดับ อย่างเช่นข้อนี้ \(b=384\sqrt{2}\)

    \(a\) คือ คือ ตัวเลขตัวแรกของลำดับ อย่างเช่นข้อนี้ \(a=3\)

    \(k\) คือ จำนวนตัวเลขที่เป็นตัวกลางเรขาคณิต ในข้อนี้ \(k=4\)   

    เริ่มทำกันเลย แทนค่าลงไปในสูตรเลยครับ

    \begin{array}{lcl}r^{k+1}&=&\frac{b}{a}\\r^{4+1}&=&\frac{384\sqrt{2}}{3}\\r^{5}&=&128\sqrt{2}\\r^{5}&=&2^{7}2^{\frac{1}{2}}\\r^{5}&=&2^{7+\frac{1}{2}}\\r^{5}&=&2^{\frac{15}{2}}\\r&=&2^{\frac{15}{2}\times \frac{1}{5}}\\r&=&2^{\frac{3}{2}}\\r&=&\sqrt{2^{3}}\\r&=&\sqrt{8}\\r&=&2\sqrt{2}\end{array}

    ยังไม่เสร็จนะครับ ตอนนี้เราได้อัตราส่วนร่วมหรือว่า \(r=2\sqrt{2}\) ซึ่งจากโจทย์ลำดับเรขาคณิตนี้

    \(a_{1}=3\)  ดังนั้นพจน์ที่สองหรือตัวที่อยู่ถัดมาคือ

    \(a_{2}=a_{1}r=(3)(2\sqrt{2})=6\sqrt{2}\)

    \(a_{3}=a_{2}r=(6\sqrt{2})(2\sqrt{2})=24\)

    \(a_{4}=a_{3}r=(24)2\sqrt{2}=48\sqrt{2}\)

    \(a_{5}=a_{4}r=(48\sqrt{2})(2\sqrt{2})=192\)

    \(a_{6}=384\sqrt{2}\)

    เพราะฉะนั้นเราจะได้ลำดับเรขาคณิตดังนี้คือ \(3,6\sqrt{2},24,48\sqrt{2},192,384\sqrt{2}\)  นั่นก็คือตัวกลางเรขาคณิต 4 ตัวที่อยู่ระหว่าง \(3\) และ \(384\sqrt{2}\) คือ \(6\sqrt{2},24,48\sqrt{2},192\)


    6. จงหาตัวกลางเรขาคณิต 3 จำนวน ที่อยู่ระหว่าง \(-5\) กับ \(-405\) 

    วิธีทำข้อนี้ใครจะใช้สูตรหรือหาแบบธรรมดาก็ได้นะครับ แต่ผมขอใช้สูตรทำให้ดูอีกสักข้อนะครับผม

    จากสูตร

    \[r^{k+1}=\frac{b}{a}\]

    จากโจทย์จะได้ว่า

    \(k=3\)

    \(a=-5\)

    \(b=-405\)

    แทนค่าลงไปในสูตรจะได้

    \begin{array}{lcl}r^{3+1}&=&\frac{-405}{-5}\\r^{4}&=&81\\r^{4}&=&3^{4}\\r&=&\pm 3\end{array}

    ปล. อย่าลืมนะว่า \(r^{4}=81\) คืออะไรเอ่ยคูณกัน 4 ตัวแล้วได้ 81 จะเห็นว่า \(3\times 3\times 3\times 3=81\) หรือ \(-3\times (-3)\times (-3)\times (-3)=81\) ดังนั้น \(r=\pm 3\)

    ดังนั้น ได้ว่า \(r=\pm 3\)

    เพื่อจะไม่ให้เรางงผมจะแบ่งกรณีแสดงให้ดูคือ กรณีที่ 1 คือ \(r=3\)     กรณีที่ 2 คือ \(r=-3\)

    จากโจทย์จะได้ว่า

    กรณีที่ 1 คือ \(r=3\)

    \(a_{1}=-5\)

    \(a_{2}=a_{1}r=(-5)(3)=-15\)

    \(a_{3}=a_{2}r=(-15)(3)=-45\)

    \(a_{4}=a_{3}r=(-45)(3)=-135\)

    \(a_{5}=-405\)

    ในกรณีที่ \(r=3\)จะได้ลำดับเรขาคณิตคือ \(-5,-15,-45,-135,-405\) ดังนั้นตัวกลางเรขาคณิต 3 จำนวนที่อยู่ระหว่าง -5 และ -405 คือ \(-15,-45,-135\)

     กรณีที่ 2 คือ \(r=-3\)

    \(a_{1}=-5\)

    \(a_{2}=a_{1}r=(-5)(-3)=15\)

    \(a_{3}=a_{2}r=(15)(-3)=-45\)

    \(a_{4}=a_{3}r=(-45)(-3)=135\)

    \(a_{5}=-405\)

     ในกรณีที่ 2 คือ \(r=-3\)จะได้ลำดับเรขาคณิตคือ \(-5,15,-45,135,-405\) ดังนั้นตัวกลางเรขาคณิต 3 จำนวนที่อยู่ระหว่าง -5 และ -405 คือ \(15,-45,135\)

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (58)

    58. กำหนดให้ \(n\) เป็นจำนวนเต็มบวก

    เซตของจำนวนจริง \(x\) ทั้งหมดที่ทำให้ \((x+3)^{2}+(x+3)^{4}+(x+3)^{6}+\cdots +(x+3)^{2n}+\cdots \) เป็นอนุกรมลู่เข้าคือข้อใด

    1. \((-4,-2)\)
    2. \([-2,1)\)
    3. \((2,4)\)
    4. \(-\infty ,-2)\)
    5. \((-1,1)\)

    วิธีทำ ข้อนี้ไม่ยาก ตรวจสอบอนุกรมที่เขาให้มาจะเห็นว่ามันเป็นอนุกรมเรขาคณิตอนันต์ และมีอัตราส่วนร่วม \(r=\frac{(x+3)^{4}}{(x+3)^{2}}=(x+3)^{2}\)

    ซึ่งอนุกรมเรขาคณิตอนันต์จะลู่เข้าเมื่อ \(|r|<1\) ดังนั้นเราก็หาคำตอบได้จากตรงนี้เลยคับ

    \begin{array}{lcl}|r|&<&1\\|(x+3)^{2}|&<&1\\(x+3)^{2}&<1&\\(x+3)^{2}-1&<&0\\(x+2)(x+4)&<&0\end{array}

    แสดงว่า \(-4<x<-2\)

    ดังนั้นอนุกรมลู่เข้าเมื่อ \(x\in (-4,-2)\)

  • ลำดับเรขาคณิต

    เรื่องลำดับเรขาคณิต เป็นเรื่องที่จะได้เรียนในชั้นม้ธยมศึกษาปีที่ 5 สิ่งที่จะต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้หลักๆที่

    สำคัญเลยคือ

    1. นิยามของลำดับเรขาคณิต ว่าลำดับเรขาคณิตนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไรถึงจะเป็นลำดับเรขาคณิตได้
    2. พจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิต หรือ \(a_{n}\) อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากไม่ว่าจะเป็นลำดับเลขคณิตหรือลำดับเรขาคณิต จำเป็นต้องจำและเข้าใจพจน์ทั่วไปให้ได้

    สองสิ่งนี้แหล่ะเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้  ต่อไปก็ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมเยอะๆคับ

  • เอกสารประกอบการสอนเรื่องลำดับและอนุกรม

    เอกสารประกอบการสอนเรื่องลำดับและอนุกรม ส่วนใครที่ต้องการอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องลำดับและอนุกรมก็สามารถอ่านตามลิงก์ด้านล่างเลยคับผม