• ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ม.5

    การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตเป็นการหาค่ากลางของข้อมูล  ซึ่งเชื่อว่าหลายคนโดยเฉพราะ ม.5 น่าจะหาได้ดังนั้นในบทความนี้จึงไม่ขออธิบายอะไรมากแต่จะนำโจทย์ที่เกี่ยวกับค่าเฉลี่ยเลขคณิตมาพาทำ ใครอ่านไม่เข้าใจก็พยายามอ่านหลายๆรอบแลัวกัน

  • ค่าเฉลี่ยเลขคณิต(arithmetic mean)

    ค่าเฉลี่ยเลขคณิต หรือ ค่าเฉลี่ย คือ จำนวนที่ได้จากผลรวมของข้อมูลทั้งหมดหารด้วยจำนวนชุดของข้อมูล 

    สัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าเฉลี่ยคือ \(\overline{x}\)

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (11)

    1. ห้องเรียนห้องหนึ่งมีนักเรียนชายสูงโดยเฉลี่ย 172  เซนติเมตร ส่วนนักเรียนหญิงเฉลี่ยสูง 152 เซนติเมตร ถ้านักเรียนห้องนี้เฉลี่ยสูง  160 เซนติเมตร อัตราส่วนจำนวนชายต่อจำนวนนักเรียนหญิงเป็นเท่าใด

    วิธีทำข้อนี้เป็นเรื่องของ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ไม่ยากมากนัก ลองๆอ่านกันดูนะคับ

    กำหนดให้

    \(\sum M\) คือความสูงรวมของนักเรียนชายทั้งหมด

    \(M\) คือจำนวนนักเรียนชายทั้งหมด

    \(\sum F\) คือความสูงรวมของนักเรียนหญิงทั้งหมด

    \(F\) คือ จำนวนนักเรียนหญิงทั้งหมด

    จากโจทย์เราจะได้ว่า

    \(172=\frac{\sum M}{M}\) จะได้ \(\sum M=172M\)

    \(152=\frac{\sum F}{F}\) จะได้ \(\sum F=152F\)

    และจากโจทย์จะได้ความสูงรวมของนักเรียนทั้งห้องคือ 

    \(\frac{\sum M+\sum F}{M+F}=160\quad \cdots (1)\)

    ลองเอาสมการ \((1)\) ไปจัดดูจะได้แบบนี้

    \begin{array}{lcl}\frac{\sum M+\sum F}{M+F}&=&160\\\sum M+\sum F&=&160(M+F)\\172M+152F&=&160M+160F\\172M-160M&=&160F-152F\\12M&=&8F\\\frac{M}{F}&=&\frac{8}{12}\\\frac{M}{F}&=&\frac{2}{3}\end{array}

    นั่นก็คืออัตราส่วนจำนวนนักเรียนชายต่อจำนวนนักเรียนหญิงเท่ากับ \(2:3\)

     

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (27)

    27. ข้อมูลชุดหนึ่งเรียงจากน้อยไปหามากดังนี้ \(1,1,1,a,4,4,5,6,8,10,b\) ค่าฐานนิยมมีค่าเดียว และค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ \(5\) แล้ว \(b-a\) จะมีค่าเป็นจำนวนเต็มน้อยที่สุดเท่ากับเท่าใด

    1. 7
    2. 8
    3. 9
    4. 10

    วิธีทำ เรามาวิเคราะห์โจทย์ข้อนี้คร่าวๆก่อน จะเห็นได้ว่า ค่า \(a\) ที่เป็นไปได้คือ \(1,2,\) และ \(3\)  จะเห็นว่า \(a\) เป็น \(4\) ไม่ได้นะคับ เพราะจะทำข้อมูลนี้มีฐานนิยม 2 ตัว  ที่เราก็เริ่มทำจากสิ่งที่โจทย์ให้มาก่อนคือ ค่าเฉลี่ยข้อมูลชุดนี้เท่ากับ \(5\) นั่นก็คือ

    \begin{array}{lcl}\frac{1+1+1+a+4+4+5+6+8+10+b}{11}&=&5\\\frac{40+a+b}{11}&=&5\\a+b&=&(5\times 11)-40\\a+b&=&15\end{array}

    จะเห็นได้ว่าข้อนี้ เมื่อนำ \(a\) ไปบวกกับ \(b\) ค่าที่ได้ต้องเท่ากับ 15 เท่านั้น ฉะนั้น

    ถ้าผมให้ \(b=10\) จะได้ \(a=5\) ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ \(a\) จะเท่ากับ 5 เพราะข้อมูลโจทย์บอกว่าเรียงจากน้อยไปมาก กรณีนี้ยกเลิกไป

    ถ้าผมให้ \(b=11\) จะได้ \(a=4\) ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ \(a\) จะเท่ากับ 4 เพราะว่าจะทำให้ข้อมูลชุดนี้มีฐานนิยมสองตัวครับ

    ถ้าผมให้ \(b=12\) จะได้ \(a=3\) ซึ่งเป็นไปได้ ดังนั้น \(b-a=12-3=9\)

    ถ้าผมให้ \(b=13\) จะได้ \(a=2\) ซึ่งเป็นไปได้ ดังนั้น \(b-a=13-2=11\)

    ถ้าผมให้ \(b=14\) จะได้ \(a=1\) ซึ่งเป็นไปได้ ดังนั้น \(b-a=14-1=13\)

    ถ้าผมให้ \(b=15\) จะได้ว่า \(a=0\) ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า \(a\) ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ขึ้นไช่ไหม

    ดังนั้น \(b-a\) ที่มีค่าเป็นจำนวนเต็มน้อยสุดคือ เท่ากับ \(9\) นั่นเองคับ

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์(14)

    1. ข้อมูลชุดหนึ่งเรียงจากน้อยไปมากดังนี้ \(1,1,1,a,4,4,5,6,8,10,b\)  ค่าฐานนิยมมีค่าเดียว และค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ \(5\) แล้ว \(b-a\) จะมีค่าเป็นจำนวนเต็มน้อยที่สุดเท่ากับเท่าใด

    1. 7
    2. 8
    3. 9
    4. 10

    วิธีทำ ข้อนี้โจทย์บอกว่าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้เท่ากับ \(5\) นั่นก็คือ

    \begin{array}{lcl}\frac{1+1+1+a+4+4+5+6+8+10+b}{11}&=&5\\\frac{40+a+b}{11}&=&5\\a+b&=&55-40\\a+b&=&15\end{array}

    ตอนนี้เราได้ว่า \(a+b=15\) เก็บสมการนี้เอาไว้ก่อนคับ

    ต่อไปพิจารณาข้อมูลชุดนี้  \(1,1,1,a,4,4,5,6,8,10,b\) จะเห็นว่าค่าของ \(a\) ที่เป็นไปได้คือ

    \(a=1\) ก็ได้

    \(a=2\) ก็ได้

    \(a=3\) ก็ได้

    \(a=4\) ไม่ได้นะเพราะโจทย์บอกว่าค่านิยมมีค่าเดียว ดังนั้น

    ถ้า \(a=1\) จะได้ \(1+b=15\quad , b=14\)  นั่นคือ \(b-a=14-1=13\)

    ถ้า \(a=2\) จะได้ \(2+b=15\quad ,b=13\) นั่นคือ \(b-a=13-2=11\)

    ถ้า \(a=3\) จะได้ \(3+b=15\quad ,b=12\) นั่นคือ \(b-a=12-3=9\)

    ดังนั้น \(b-a\) มีค่าเป็นจำนวนเต็มที่น้อยที่สุดคือ \(9\) นั่นเองคับ

  • สมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย

    สมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย

    1. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลใดๆ จะต้องเป็นจำนวนจริงบวกหรือศูนย์เสมอ

    2. ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลจะเท่ากับศูนย์ ก็ต่อเมื่อ ค่าทุกค่าในข้อมูลนั้นเท่ากันหมด 

    3. ถ้านำจำนวนจริง \(b\) ไปบวกกับค่าแต่ละค่าในข้อมูลเดิมแล้ว  ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยหรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลใหม่ จะเท่ากับส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ย หรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเดิมตามลำดับ

    4. ถ้านำจำนวนจริง \(a\) ไปคูณค่าแต่ละค่าในข้อมูลเดิมเดิมแล้ว  ส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยหรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลใหม่ จะเท่ากับ \(|a|\)เท่าของส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยหรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลเดิมตามลำดับ

    5. ถ้า \(x\) แทนค่าในข้อมูลชุดหนึ่ง และ \(y\) แทนค่าในข้อมูลอีกชุดหนึ่ง โดยที่

    \[y=ax+b\]

    เมื่อ \(a\) และ \(b\) เป็นค่าคงตัวแล้ว

    \[M.D._{y}=|a|M.D._{x}\]

    และ

    \[S.D._{y}=|a|S.D._{x}\]

    6. ถ้าคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ค่ากลางของข้อมูลอย่างอื่นที่ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่หาได้จะมีค่ามากกว่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่หาได้จากค่าเฉลี่ยเลขคณิตเสมอ

    มาดูตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดกัน

    1. ถ้าข้อมูลชุดหนึ่งคือ \(a,b,c,d\) มี่ส่วนเบี่ยงเบนมาตรเท่ากับ \(p\) แล้ว ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล \(2-3a,2-3b,2-3c,2-3d\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ใช้สมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเลยคับ 

    จะเห็นได้ว่า

    \(-3a,-3b,-3c,-3d\)  คือการเอา \(-3\) คูณเข้ากับข้อมูลเดิม ดังนั้นส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลนี้จึงเท่ากับ \(|-3|p=3p\)

    และจะเห็นว่า

    \(2-3a,2-3b,2-3c,2-3d\) คือการเอา \(2\) ไปบวกเข้ากับข้อมูล \(-3a,-3b,-3c,-3d\)  ดังนัั้นตามสมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะยังเท่ากับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดเดิมคือ \(3p\)

    ข้อนี้ตอบ \(3p\)


    2. ในการศึกษาน้ำหนักมังคุด 10 ผล ปรากฎว่าส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยของน้ำหนักมังคุดมีค่าเป็นศูนย์ ถ้าผลรวมกำลังสองของน้ำหนักมังคุดแต่ละผลเป็น 9000 กรัม มังคุดแต่ละผลหนักกี่กรัม

    วิธีทำ จากโจทย์เนื่องจากส่วนเบี่ยงเบนเฉลี่ยเท่ากับศูนย์ เราจึงได้ว่าน้ำหนักมังคุดทั้ง 10 ผลนี้ มันหนักเท่ากัน

    ผมสมมติให้ แต่ละผลหนักเท่ากับ \(x\) กรัม ดังนั้น กำลังสองของน้ำหนังมังคุดแต่ละลูกคือ \(x^{2}\)

    และจะได้อีกว่าผลรวมกำลังสองของน้ำหนักมังคุดทั้งหมดคือ \(10x^{2}\) ซึ่งจากโจทย์เราจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}10x^{2}&=&9000\\x^{2}&=&\frac{9000}{10}\\x^{2}&=&900\\x&=&\pm 30\end{array}

    เนื่องจาก \(x\) คือน้ำหนักมังคุดแต่ละลูก ดังนั้น \(x=30\) กรัม นั่นคือมังคุดแต่ละลูกหนัก 30 กรัม


    3. เมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา คุณพ่อตั้งใจจะเห็นเงินแก่ลูก 7 คน เรียงตามลำดับอายุดังนี้ \(31,30,29,28,27,26,25\) บาท ตามลำดับ คุณพ่อนึกขึ้นมาได้ว่าปัจจุบันค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ควรจะให้เงินแก่ลูกเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของแต่ละคน ซึ่งเมื่อคิดส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเงินที่ได้รับครั้งหลังแล้วได้เท่ากับ 3 บาท จงหาว่าลูกคนที่สองจะได้รับเงินกี่บาท

    วิธีทำขั้นตอนการทำข้อนี้คือ เอาข้อมูลนี้คือ \(31,30,29,28,27,26,25\) ซึ่งผมจะเรียกว่าข้อมูลเดิม มาหา S.D. ซึ่งจะได้ S.D. ของข้อมูลเดิมนี้เท่ากับ 2  ไปหากันเองนะคับไม่แสดงวิธีทำให้ดู

    ขั้นตอนต่อไปคือพิจารณาจากโจทย์  พ่อเพิ่มเงินให้แก่ลูกตามสัดส่วนของแต่ละคน สมมติให้พ่อเพิ่มเงินให้แต่ละคนคิดเป็นสัดส่วนคือ \(a\) นั่นคือ แต่ละคนได้เงินเพิ่มเป็น \(31a,30a,29a,28a,27a,26a,25a\) ซึ่งหลังจากที่พ่อเพิ่มให้เงินแก่ลูกๆแล้ว ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของเงินครั้งหลังนี้มีค่าเท่ากับ \(3\) ตามสมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เราได้ว่า

    \begin{array}{lcl}3&=&|a|2\\|a|&=&\frac{3}{2}\\|a|&=&1.5\\a&=&1.5\end{array}

    นั่นก็คือลูกคนที่สองได้รับเงิน \(30a=30(1.5)=45\) บาท

    *** ค่าของ \(a\) ต้องใช้เป็น 1.5 นะคับเพื่อให้เข้ากับเงื่อนไขของโจทย์คือได้เงินเพิ่มขึ้น แต่ถ้าใช้ \(a\) เป็น \(-1.5\) เงินจะติดลบซึ่งไม่ตรงตามเงื่อนไขของโจทย์


    4. ข้อมูล 2 ชุด มีจำนวนข้อมูลเท่ากัน  ในการคำนวณค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ปรากฏผลดังนี้ \(\overline{x_{1}}:\overline{x_{2}}=3:5\) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากัน ถ้าข้อมูลชุดที่หนึ่งเป็น  \(1,4,6,9,10\)  จงหาข้อมูลชุดที่สอง

    วิธีทำ จากข้อมูลชุดที่หนึ่งที่โจทย์ให้มา ทำให้เราได้ว่าข้อมูลชุดที่หนึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต \(\overline{x_{1}}=6\)  ดังนั้นเราจึงได้ว่า

    \(\overline{x_{2}}=10\) ก็คือข้อมูลชุดที่สองมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ \(10\) นั่นเองครับ อันนี้ไม่คำนวณให้ดูนะ ลองไปหาเองไม่ยาก

    ต่อไปคิดตามดีๆ นะ เนื่องจากข้อมูลชุดที่สองมันมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ \(10\) ดังนั้นผลรวมของข้อมูลชุดที่สองซึ่งมีข้อมูลอยู่ 5 ตัวจะเท่ากับ \(50\) นะคับคิดตามดีๆ

    การหาข้อมูลชุดที่สอง ให้เริ่มต้นจากข้อมูลชุดที่หนึ่ง  และใช้สมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มาช่วยในการหานิดหน่อย ก็คือว่า

    ข้อมูลชุดที่หนึ่งคือ \(1,4,6,9,10\)  ซึ่งผลรวมของข้อมูลชุดที่หนึ่งคือ 30 

    แต่ข้อมูลชุดที่สอง ที่เราต้องการหาอยู่นี้เราต้องการผลรวมของมันคือให้ได้เท่ากับ 50 ดังนั้นเราต้องเอา \(4\) ไปบวกเข้ากับทุกตัวของข้อมูลชุดที่ 1 ก็จะได้ข้อมูลชุดที่สองเป็น \(1+4,4+4,6+4,9+4,10+4\) หรือก็คือ \(5,8,10,13,14\)  ตามสมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะเห็นได้ว่า ข้อมูลชุดที่หนึ่ง กับ ข้อมูลชุดที่สอง ก็ยังมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากัน ไม่เชื่อลองคำนวณดู  ดังนั้นข้อมูลชุดที่สอง ก็คือ \(5,8,10,13,14\)


    5. ในการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดหนึ่ง นักคำนวณได้ใช้ค่ามัธยฐานซึ่งมีค่า 45 มาคำนวณแทนค่าเฉลี่ยเลขคณิต ซึ่งมีค่า 48 ปรากฎหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 5 ถ้านักคำนวณผู้นี้ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมาคำนวณหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแล้ว จะคำนวณได้เท่าใด

    วิธีทำ จากโจทย์เราได้ว่า

    \begin{array}{lcl}5&=&\sqrt{\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-median)^{2}}{N}}\\25&=&\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-45)^{2}}{N}\quad\cdots (1)\end{array}

    และจากโจทย์อีกอันคือ

    \begin{array}{lcl}S.D.&=&\sqrt{\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-\overline{x})^{2}}{N}}\\S.D.&=&\sqrt{\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-48)^{2}}{N}}\\S.D.^{2}&=&\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-48)^{2}}{N}\quad\cdots (2)\end{array}

    จากสมการที่ \((1)\) และ \((2)\) และข้อมูลที่โจทย์ให้มาคือ \(\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}x_{i}}{N}=48\)

    เริ่มหาคำตอบกันเลยครับผม

    \begin{array}{lcl}S.D.^{2}&=&\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-48)^{2}}{N}\\&=&\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-45-3)^{2}}{N}\\&=&\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}\left[(x_{i}-45)^{2}-6(x_{i}-45)+9\right]}{N}\\&=&\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-45)^{2}}{N}-\frac{6\displaystyle\sum_{i=1}^{N}(x_{i}-45)}{N}+\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}9}{N}\\&=&25-6\left[\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}x_{i}}{N}-\frac{\displaystyle\sum_{i=1}^{N}45}{N}\right]+\frac{9N}{N}\\&=&25-6[48-\frac{45N}{N}]+9\\&=&25-6[3]+9\\&=&25-9\\&=&16\end{array}

    เนื่องจาก

    \(S.D.^{2}=16\)

    นั่นคือ

    \(S.D.=4\)

    ก็คือถ้าใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตมาคำนวณค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะได้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4


    6.ถ้า \(\mu\) และ \(\sigma\) เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยประมาณเป็นจำนวนเต็มของข้อมูล \(12,13,15,17,23\) ตามลำดับ ถ้าแปลงข้อมูลใหม่ด้วยสูตร \(y_{i}=ax_{i}+b\) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดใหม่เป็น 18 และ  \(3\sigma\) ตามลำดับ จงหาค่าของ \(\mu ,\sigma ,a,b\)

    วิธีทำ จากโจทย์จะเห็นได้ว่าข้อมูลชุดใหม่ถูกแปลงด้วยสูตร \(y_{i}=ax_{i}+b\) ทำให้ข้อมูลทั้งสองชุดนี้มีความสัมพันธ์เชิงเส้น ดังนั้นเราสามารถใช้สมบัติของค่าเฉลี่ยเลขคณิตได้เลย ถ้าให้ \(\mu_{new}\) เป็นค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดใหม่เราสามารถหาค่า \(\mu_{new}\) ได้จาก

    \[\mu_{new}=a\mu+b\]

    ซึ่งเราจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\mu_{new}&=&a\mu+b\\18&=&a(16)+b\quad\cdots (1)\end{array}

    *** จากข้อมูลที่กำหนดให้คือ 12,13,15,17,23 ได้ค่าเฉลี่ยเลคณิต(\(\mu\)) เท่ากับ 16 นะ

    และข้อมูลสองชุดนี้มีความสัมพันธ์เชิงเส้นตามสมบัติของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะได้ว่า

    \[\sigma_{new}=|a|\sigma\]

    เมื่อ \(\sigma_{new}\) คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดใหม่

    \(\sigma\) คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดเดิม 

    ดังนั้นเราจึงได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\sigma_{new}&=&|a|\sigma\\3\sigma&=&|a|\sigma\quad\cdots (2)\end{array}

    จากสมการที่ \((2)\) เราได้ว่า \(a=3\) และเรานำค่า \(a=3\) ไปแทนในสมการที่ \((1)\) ได้ค่า \(b=-30\)

    เนื่องจากเราได้ค่าของ \(a\) และ \(b\) แล้ว เราจึงได้ว่า

    \[y_{i}=ax_{i}+b\]

    มีค่าเท่ากับ

    \[y_{i}=3x_{i}-30\] 

    ต่อไปเราได้ว่า เราก็คำนวณหาค่าของ \(\sigma\) ทำเองนะคับจะได้ว่า

    \[\sigma=\sqrt{\frac{76}{5}}\]