• การทำโจทย์เกี่ยวกับความน่าจะเป็น

    วันนี้เดี๋ยวจะพาทำโจทย์เกี่ยวกับเรื่องความน่าจะเป็นแบบ step by step เลยครับ เรื่องความน่าจะเป็นม.3 เนื

    ยะจะเป็นพื้นฐานของความน่าจะเป็นในตอนมอปลายซึ่งเราจะต้องศึกษากันอีกที ในตอนมอปลาย ดังนั้น พลาดไม่ได้เราต้องเข้าใจพื้นฐานมันก่อน ว่ามาจากไหนยังไง ครับ เดี๋ยววันนี้จะพาทำโจทย์และอธิบายที่มาที่ไปของคำตอบว่ามาจากไหนครับ

  • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น

    การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น หรือ ภาษาอังกฤษ คือ Linear Permutation เป็นนำสิ่งของมาเรียงสับเปลี่ยนในแนวเส้นตรง ซึ่งก็จะแบ่งการเรียงออกเป็น

    • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด
    • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่มีสิ่งของบางสิ่งเหมือนกันหรือซ้ำกัน
    • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์(12)

      1. ในการหยิบลูกบอล 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ลูก จากกล่องที่มีลูกบอล 2 ลูก สีดำกับสีขาว สีละลูก โอกาสที่จะได้ลูกบอลสีขาวเพียง 2 ครั้งเป็นเท่าใด ถ้าหยิบแล้วใส่คืนก่อนหยิบครั้งใหม่ทุกครั้ง

      1. \(\frac{1}{3}\)
      2. \(\frac{2}{3}\)
      3. \(\frac{3}{8}\)
      4. \(\frac{5}{8}\)

      วิธีทำ ข้อนี้ sample space ให้เขียนเป็นแผนภาพต้นไม้ออกมาจะเห็นภาพชัดเจนเลย จะได้แผนภาพต้นไม้ออกมาแบบนี้

      ให้ B คือลูกบอลสีดำนะคับ

          W คือลูกบอลสีขาว

      ก็จะได้ sample space ออกมาในรูปของเซตดังต่อไปนี้

      \(S=\{BBB,BBW,BWB,BWW,WBB,WBW,WWB,WWW\}\) นั่นคือ \(n(S)=8\)

      ส่วนเหตุการณ์ที่เราสนใจคือหยิบได้ลูกบอลสีขาวเพียง 2 ครั้งก็คือเหตุการณ์นี้

      \(E=\{BBW,BWB,WBB\}\) นั่นคือ \(n(E)=3\)

      โอกาสที่จะหยิบได้ลูกบอลสีขาวเพียง 2 ครั้งคือ \(P(E)=\frac{3}{8}\quad\underline{Ans}\)

    • ฝึกทำโจทย์ความน่าจะเป็น ม.5

      วันนี้มาฝึกทำโจทย์ความน่าจะเป็น ม.5  คณิตศาสตร์พื้นฐานผมจะเฉลยให้ดูบางข้อสำหรับคนที่เรียนในห้องเรียนไม่ทันหรือไม่มีเงินเรียนพิเศษ ค่อยๆอ่านทำความเข้าใจครับ ไม่ยากมากครับ

      1. ในการจับสลากชื่อของนักเรียน 30 คน ซึ่งเป็นชาย 18 คน หญิง 12 คน จงหาความน่าจะเป็นในการที่จับสลากใบแรกได้

      1) นักเรียนชาย

      2) นักเรียนหญิง

      วิธีทำ ข้อนี้ไม่ยากครับแน่นอนครับจากสูตรในการหาค่าความน่าจะเป็นคือ

      \[P(E)=\frac{n(E)}{n(S)}\]

      n(S)   ในที่นี้ก็คือจำนวนนักเรียนทั้งหมดดังนั้น   \(n(S)=30\)    

      โจทย์บอกว่าจงหาความน่าจะเป็นในการที่จับสลากใบแรกได้นักเรียนชาย จากตรงนี้เราจะได้ว่า  \(n(E)=18\)   เพราะนักเรียนชายมี 18 คน ดังนั้น

      ความน่าจะเป็นที่จะจับสลากใบแรกได้ชื่อนักเรียนชายคือ  \(\frac{18}{30}=\frac{3}{5}\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะจับสลากใบแรกแล้วได้ชื่อนักเรียนหญิงก็คือ \(\frac{12}{30}=\frac{2}{5}\)


      2. ในลิ้นชักมีถุงเท้าอยู่ 4 คู่ เป็นถุงเท้าสีดำ 2 คู่ และสีขาว 2 คู่ ถ้าทำการทดลองสุ่มโดยหยิบถุงเท้ามา 2 คู่ ให้หาความน่าจะเป็นที่จะได้ถุงเท้าทั้งสองคู่เป็นสีเดียวกัน

      วิธีทำ ข้อนี้ระวังการหาค่าของ \(n(S)\)  ครับ ข้อนี้ผมจะพยายามไม่ใช้สูตรในการหา \(n(S)\)  นะครับเพื่อการเห็นภาพที่ชัดเจน    ผมจะกำหนดให้

      ด1  คือ ถุงเท้าสีดำคู่ที่ 1

      ด2   คือ ถุงเท้าสีดำคู่ที่ 2

      ข1   คือ ถุงเท้าสีขาวคู่ที่ 1

      ข2   คือ ถุงเท้าสีขาวคู่ที่ 2

      เราก็จะได้ถุงเท้าพวกนี้อยู่ในลิ้นชักเดียวกัน

      ด1,ด2, ข1,  ข2     

      แล้วโจทย์บอกว่าสุ่มหยิบถุงเท้ามา 2 คู่ ดังนั้น เราจะได้จำนวนวิธีในการสุ่มหยิบทั้งหมดคือ

      {(ด1ด2),(ด1ข1),(ด1ข2),(ด2ข1),(ด2ข2),(ข1ข2)}

      ก็จะได้ว่า  \(n(S)=6\)

      และอีกอย่าที่เราได้คือสุ่มหยิบแล้วได้ถุงเท้าสีเดียวกันคือ

      {(ด1ด2),(ข1ข2)}

      ก็จะได้ว่า  \(n(E)=2\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่สุ่มหยิบถุงเท้าแล้วได้ถุงเท้าสีเดียวกันเท่ากับ

      \[P(E)=\frac{2}{6}=\frac{1}{3}\]

      ไม่ยากนะครับถ้าใครมองภาพออกข้อนี้ทำง่ายนิดเดียวเอง


      3.ในกล่องใบหนึ่งมีเบี้ย 6 อัน ซึ่งแต่ละอันเขียนตัวเลข 3,4,7,9,10  หรือ 11 ไว้ถ้าสุ่มหยิบเบี้ย 1 อัน ออกมาจากกล่องใบนี้ จงหาโอกาสที่จะได้เบี้ยที่มีตัวเลขที่เป็น

      1) จำนวนคู่

      2) จำนวนเฉพาะ

      3) จำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว

      4) จำนวนที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์

      วิธีทำ ข้อนี้ง่ายครับโจทย์บอกว่ามีเบี้ย 6 อันซึ่งแต่ละอันมีตัวเลขกำกับไว้สุ่มหยิบเบี้อออก 1 อันดังนัันแซมเปิลสเปสหรือ S  ก็คือ

      \(\{3,4,7,9,10,11\}\)    ซึ่ง     \(n(S)=6\)

      ต่อไปทำหาคำตอบทีละข้อย่อยนะครับ

      1) จงหาโอกาสที่จะหยิบได้เบี้ยเป็นจำนวนคู่

      แสดงว่าเหตูการณ์ที่เราสนใจคือหยิบเบี้ยได้จำนวนคู่ก็คือ

      \(E=\{4,10\}\)    ซึ่ง    \(n(E)=2\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้เบี้ยเป็นจำนวนคู่คือ

      \(P(E)=\frac{n(E)}{n(S)}=\frac{2}{6}=\frac{1}{3}\)

      2) จงหาโอกาสที่จะหยิบได้เบี้ยเป็นจำนวนเฉพาะ

      แสดงว่าเหตุการณ์ที่เราสนใจคือหยิบได้เบี้ยที่เป็นจำนวนเฉพาะก็คือ

      \(E=\{3,7,11\}\)    ซึ่ง    \(n(E)=3\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้เบี้ยเป็นจำนวนเฉพาะคือ

      \(P(E)=\frac{n(E)}{n(s)}=\frac{3}{6}=\frac{1}{2}\)

      3) จงหาโอกาสที่จะหยิบได้เบี้ยที่เป็นจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัว

      แสดงว่าเหตุการณ์ที่เราสนใจคือเบี้ยที่มีหมายที่หารด้วย 3 ลงตัวก็คือ

      \(E=\{3,9\}\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้เบี้ยที่เป็นจำนวนที่หารด้วย 3 ลงตัวคือ

      \(P(E)=\frac{n(E)}{n(S)}=\frac{2}{6}=\frac{1}{3}\)

      4) จงหาโอกาสที่จะหยิบได้เบี้ยที่เป็นจำนวนที่กำลังสองสมบูณร์  จำนวนเป็นเป็นกำลังสองสมบูรณ์คือจำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของ \(n^{2}\)    เมื่อ n เป็นจำนวนนับ นั่นคือเราจะได้ว่าเบี้ยที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์ก็คือ  4 กับ 9    เพราะ  \(4=2^{2},9=3^{2}\)

      \(E=\{3,9\}\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้เบี้ยที่เป็นกำลังสองสมบูรณ์คือ

      \(P(E)=\frac{n(E)}{n(s)}=\frac{2}{6}=\frac{1}{3}\)


      4.ในกล่องใบหนึ่งมีหลอดไฟอยู่ 5 หลอด ในจำนวนนี้มีหลอดดีอยู่ 3 หลอด และหลอดเสียอยู่ 2 หลอด ถ้าหยิบหลอดไฟฟ้าขึ้นมา 2 หลอด อย่างไม่เจาะจง จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้หลอดเสีย 1 หลอด และหลอดดี 1 หลอด

      วิธีทำ ข้อนี้ไม่ต้องคิดอะไรมาก ตาสี ตาสาไม่เคยเรียนหนังสือก็ทำได้  มีหลอดไฟ 5 หลอด

      เป็นหลอดดี 3 หลอด ผมกำหนดให้

      L1   เป็นหลอดดีดวงที่ 1

      L2   เป็นหลอดดีดวงที่ 2

      L3   เป็นหลอดดีดวงที่ 3

      เป็นหลอดเสีย 2 หลอด และกำหนดให้

      M1  เป็นหลอดเสียดวงที่ 1

      M2  เป็นหลอดเสียดวงที่ 2

      ดังนั้นสุ่มหยิบแบบไม่เจาะจงขึ้นมา 2 หลอดจะได้จำนวนวิธีทั้งหมดดังนี้

      \(S=\{(L1L2),(L1L3),(L1M1),(L1M2),(L2L3),(L2M1)\\,(L2M2),(L3M1),(L3M2),(M1M2) \}\)    ซึ่งก็คือเราจะได้จำนวนวิธีในการสุ่มหยิบหลอดขึ้นมาที่แตกต่างกันทั้งหมด 10 วิธี นั่นคือ

      \(n(S)=10\)

      แต่โจทย์บอกว่าจงหาความน่าจะเป็นที่จะได้หลอดเสีย 1 หลอด และหลอดดี 1 หลอด

      ดังนั้นเหตุการณ์ที่เราสนใจก็คือ

      \(E=\{(L1M1),(L1M2),(L2M1),\\(L2M2),(L3M1),(L3M2)\}\)   นั่นก็คือ

      \(n(E)=6\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะได้หลอดเสีย 1 หลอด และหลอดดี 1 หลอด คือ

      \(P(E)=\frac{n(E)}{n(S)}=\frac{6}{10}=\frac{3}{5}\)


      5.กล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีขาว 3 ลูก สีแดง 2 ลูก สุ่มหยิบลูกบอล 2 ลูกพร้อมกัน จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกบอลสีต่างกัน

      วิธีทำ ลูกบอลสีขาวมี 3 ลูก

      กำหนดให้

      \(w_{1}\) คือลูกบอลสีขาวลูกที่ 1

      \(w_{2}\) คือลูกบอลสีขาวลูกที่ 2

      \(w_{3}\) คือลูกบอลสีขาวลูกที่ 3

      \(r_{1}\) คือลูกบอลสีแดงลูกที่ 1

      \(r_{2}\) คือลูกบอลสีแดงลูกที่ 2

      สุ่มหยิบลูกบอลพร้อมกันก็จะได้แซมเปิลสเปซดังนี้

      \(S=\{w_{1}w_{2},w_{1}w_{3},w_{1}r_{1},w_{1}r_{2},w_{2}w_{3},w_{2}r_{1},w_{2}r_{2},w_{3}r_{1},w_{3}r_{2},r_{1}r_{2}\}\)

      \(n(S)=10\)

      ให้ \(E\) เป็นเหตุการณ์ที่หยิบออกมาแล้วลูกบอลสีต่างกันจะได้ว่า

      \(E=\{w_{1}r_{1},w_{1}r_{2},w_{2}r_{1},w_{2}r_{2},w_{3}r_{1},w_{3}r_{2}\}\)

      \(n(E)=6\)

      นั่นคือความน่าจะเป็นที่สุ่มหยิบออกมาแล้วได้ลูกบอลสีต่างกันคือ

      \(P(E)=\frac{6}{10}=\frac{3}{5}\)


      6.โยนลูกเต๋า 2 ลูก เหรียญ 2 เหรียญพร้อมๆกัน ความน่าจะเป็นที่ลูกเต่าทั้ง 2 ลูก ขึ้นหน้าตรงกันและเหรียญขึ้นหน้าต่างกันเท่ากับเท่าใด

      วิธีทำ  โยนลูกเต๋า 2 ลูก เหรียญ 2 เหรียญพร้อมๆกัน ดังนั้นจำนวนเหตูการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้คือ

      \(n(S)=6\times 6\times 2\times 2=144\)

      สนใจเหตุการณ์ที่ลูกเต่าทั้ง 2 ลูก ขึ้นหน้าตรงกันและเหรียญขึ้นหน้าต่างกัน นั่นคือสนใจอันนี้

      (1,1,T,H),(1,1,H,T)

      (2,2,T,H),(2,2,H,T)

      (3,3,T,H),(3,3,H,T)

      (4,4,T,H),(4,4,H,T)

      (5,5,T,H),(5,5,H,T)

      (6,6,T,H),(6,6,H,T)

      นั่นคือ \(n(E)=12\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าขี้นแต้มตรงกันและเหรียญขึ้นหน้าต่างกันเท่ากับ

      \(P(E)=\frac{12}{144}=\frac{1}{12}\)


      7.ความน่าจะเป็นที่จะได้จำนวนน้อยกว่า 200 จากการจัดเลขโดด 3 ตัวคือ 1,2,3 และแต่ละหลักเลขโดดต้องไม่ซ้ำกัน  เป็นเท่าใด

      วิธีทำ  หาแซมเปิลสเปซก่อนครับ แซมเปิลสเปซในที่นี้ก็คือ จำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดจากการนำเลขโดด 1,2,3 มาจัดให้เป็นจำนวนต่างๆที่เป็นไปได้ทั้งหมดโดยเลขโดดไม่ซ้ำกัน เริ่มหากันเลย แบ่งกรณีในการหาครับ

      กรณี 1 นำเลขโดด 1,2,3 มาจัดเป็นจำนวน 1 หลักได้

      3 จำนวนคือ 1,2,3

      กรณี 2 นำเลขโดด 1,2,3 มาจัดเป็นจำนวน 2 หลักได้

      6จำนวนคือ 12,13,23,21,31,32

      กรณี 3 นำเลขโดด 1,2,3 มาจัดเป็นจำนวน 3 หลักได้

      6 จำนวนคือ 123,132,213,231,312,321 สามารถใช้กฎการคูณคิดได้นะ

      ดังนั้นใช้เลขโดด 3 ตัวคือ 1,2,3 มาสร้างจำนวนได้ทั้งหมด 3+6+6=15 จำนวน 

      นั่นคือ \(n(S)=15\)

      ต่อไปเหตุการที่เราสนใจคือเหตุการณ์จำนวนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นจำนวนที่น้อยกว่า 200 จะแบ่งกรณีในการคิดเป็นดังนี้

      กรณี 1 เลขโดดหนึ่งหลักที่น้อยกว่า 200 

      ก็จะมี 3 จำนวนคือเลข 1,2 และ 3

      กรณี 2 เลขโดดสองหลักที่น้อยกว่า 200 

      ก็จะมี 6 จำนวนคือ เลข  12,13,23,21,31,32 ใช้กฎการคูณคิดก็ได้ครับ

      กรณี 3  เลขโดดสามหลักที่น้อยกว่า 200 

      ก็จะมี 2 จำนวนคือเลข 123,132

      ดังนั้นใช้เลขโดด 3 ตัวคือ 1,2,3 มาสร้างจำนวนที่น้อยกว่า 200 ได้เท่ากับ 3+6+2=11 จำนวน 

      นั่นคือ \(n(E)=11\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะได้จำนวนน้อยกว่า 200 คือ \(\frac{11}{15}\)

      นี่คือตัวอย่างการหาค่าความน่าจะเป็นที่ยังไม่ยากเท่าไรครับสามารถฝึกทำโจทย์เพิ่มเติมที่ลิงค์นี้ครับโจทย์ความน่าจะเป็น ม.5

      เรื่องนี้มีคลิปให้ดูด้วยครับตามด้านล่างเลย

    • เฉลย o-net ม.6 เรื่องความน่าจะเป็น

      1. สโมสรแห่งหนึ่งมีสมาชิกเป็นชาย \(m\) คน เป็นหญิง \(w\) คน ต่อมามีสมาชิกเพิ่มขึ้น โดยเป็นชายอีก 25 คน และเป็นหญิงอีก 35 คน ถ้าสุ่มสมาชิกมาหนึ่งคนจากทั้งหมด แล้วความน่าจะเป็นที่จะได้สมาชิกเป็นชาย เท่ากับเท่าใด (o-net 59 ข้อ 31)

      1. \(\frac{m}{w}\)
      2. \(\frac{m}{w+m}\)
      3. \(\frac{m+25}{w+35}\)
      4. \(\frac{m+25}{m+w+35}\)
      5. \(\frac{m+25}{m+w+60}\)

      วิธีทำ ข้อนี้ไม่ยาก ใครที่ต้องการศึกษาเรื่องความน่าจะเป็นเพิ่มเติมให้ไปอ่านตามลิงก์นี้คับ

      ก่อนอื่นเลยไปหาจำนวนคนทั้งหมดก่อนคือจำนวนชายและหญิงรวมกัน ก็คือ

      \(m+w+25+35=m+w+60\)

      ต่อไปเขาถามหาความน่าจะเป็นที่สุ่มสมาชิกมาหนึ่งคนแล้วได้เป็นชาย แสดงว่าเราต้องรู้จำนวนสมาชิกที่เป็นผู้ชาย ซึ่งก็คือ

      \(m+25\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่สุ่มสมาชิกมาหนึ่งคนแล้วได้เป็นผู้ชาย เท่ากับ

      \(P(E)=\frac{m+25}{m+w+60}\)


      2. ครอบครัวหนึ่งมีพ่อ แม่ และลูก 2 คน ไปเที่ยวสวนสนุกแห่งหนึ่ง ถ้าจัดคนทั้งสี่ถ่ายรูปกับรูปปั้นโดราเอมอน โดยยืนเรียงกันให้โดราเอมอนอยู่ตรงกลาง และลูกทั้งสองคนไม่ยืนติดกัน จะมีจำนวนวิธีจัดได้กี่วิธี (o-net 57 ข้อ 26)

      1. 8
      2. 10
      3. 12
      4. 16
      5. 18

      วิธีทำ

      ข้อนี้ผมจะมีรูปให้ดูประกอบ  โดราเอมอนจะยืนอยู่ตรงกลางเสมอ ดังนั้น

      ลูกคนที่ 1 เลือกที่ยืนถ่ายรูปได้ 4 วิธี

      ลูกคนที่ 2 เลือกที่ยืนถ่ายรูปได้แค่ 2 วิธี กล่าวคือ ถ้าลูกคนที่หนึ่งยืนทางด้านซ้ายโดราเอมอน ลูกคนที่ 2 ก็ต้องมายืนทางขวาตรงไหนก็ได้มีให้เลือก 2 ที่

      พ่อ เลือกที่ยืนถ่ายรูปได้ 2 วิธี กล่าวคือ ลูกสองคนยืนไปแล้ว 2 ที่ดังนั้นเหลือให้พ่อเลือกยืน  2 ที่

      แม่ เลือกที่ยืนถ่ายรูปได้ 1 วิธี

      ดังนั้น  จำนวนวิธีที่จัดได้คือ \(4\times 2\times 2\times 1=16\) วิธี


      3. กนกมีถุงเท้าสีขาว 1 คู่ สีน้ำเงิน 2 คู่ และสีดำ 3 คู่ เขาใส่ถุงเท้าไว้ในลิ้นชักโดย ไม่ได้ จัดแยกเป็นคู่ ถ้าเขาสุ่มหยิบถุงเท้าจากลิ้นชักมา 2 ข้างแล้ว ความน่าจะเป็นที่จะได้ถุงเท้าสีเดียวกันมีค่าเท่ากับข้อใด (o-net 57 ข้อ 27)

      1. \(\frac{1}{66}\)
      2. \(\frac{1}{22}\)
      3. \(\frac{1}{11}\)
      4. \(\frac{1}{6}\)
      5. \(\frac{1}{3}\)

      วิธีทำ ข้อนี้อยากให้ไปอ่านทบทวนเรื่องนี้ก่อนคับ การจัดหมู่(Combination) 

      จากโจทย์เราจะได้ว่ามีถุงเท้าทั้งหมด 10 ข้าง และเราหยิบถุงเท้าจากลิ้นชักมาครั้งละ 2 ข้าง  ดังนั้นจะได้จำนวนวิธีหยิบทั้งหมดคือ

      \(C_{12,2}=\frac{12!}{(12-2)!2!}=\frac{12!}{10!2!}=\frac{12\times 11}{2}=66\)

      จำนวนวิธีหยิบถุงเท้ามา 2 ข้างแล้วได้เป็นสีขาวทั้งคู่ คือ

      \(C_{2,2}=1\)

      จำนวนวิธีหยิบถุงเท้ามา 2 ข้างแล้วได้เป็นสีน้ำเงินทั้งคู่ คือ

      \(C_{4,2}=\frac{4!}{(4-2)!2!}=\frac{4!}{2!2!}=\frac{4\times 3}{2}=6\)

      จำนวนวิธีหยิบถุงเท้ามา 2 ข้างแล้วได้เป็นสีดำทั้งคู่ คือ

      \(C_{6,2}=\frac{6!}{(6-2)!2!}=\frac{6!}{4!2!}=\frac{6\times 5}{2}=15\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นหยิบถุงเท้ามา 2 ข้างแล้วได้สีเดียวกันคือ \(P(E)=\frac{1+6+15}{66}=\frac{22}{66}=\frac{1}{3}\)


      4. ตู้บรรจุลูกบอลสีเขียว สีเหลือง และสีแดง มีจำนวนลูกบอลเป็นอัตราส่วนดังนี้ สีเขียว : สีเหลือง เท่ากับ 4:7 และ สีเหลือง : สีแดง เท่ากับ 3:4 ถ้าสุ่มหยิบลูกบอลมาหนึ่งลูกจากตู้นี้ แล้วความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ลูกบอลสีเหลืองเท่ากับเท่าใด (o-net 58 ข้อ 28)

      1. \(\frac{1}{3}\)
      2. \(\frac{2}{5}\)
      3. \(\frac{5}{9}\)
      4. \(\frac{10}{13}\)
      5. \(\frac{21}{61}\)

      วิธีทำ ข้อนี้ต้องใช้ความรู้เรื่องอัตราส่วน มาช่วยแต่ก็ไม่ได้ยากอะไร เริ่มทำกันเลย

      ขาว : เหลือง                         เหลือ : แดง

       4   :  7                                   3  :  4

      จากข้อมูลด้านบน เราต้องทำให้ลูกบอลสีเหลืองซึ่งตอนนี้คือ 7 กับ 3 ให้มันเท่ากันก่อนคือทำให้เป็น 21 (ค.ร.น 7 กับ 3 คือ 21) เริ่มทำเลย

                ขาว : เหลือง                                                         

      \( 4\times 3 =12 :  7\times 3=21\)   

             เหลือง : แดง                           

       \( 3 \times 7=21 :  4\times 7=28\)

      ตอนนี้เราได้จำนวนลูกบอลที่แท้จริงแล้วคือ

      ขาว : เหลือง                         เหลือ : แดง

       12   :  21                                  21  :  28

      นั่นคือ

      จำนวนลูกบอลทั้งหมดคือ \(12+21+28=61\)

      จำนวนลูกบอลสีเหลืองคือ \(21\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่สุ่มหยิบมาหนึ่งลูกแล้วได้ลูกบอลสีเหลืองคือ \(P(E)=\frac{21}{61}\)


      5. ผลการสำรวจขนาดของเสื้อยืดสำหรับนักเรียนชั้น ม.6 จำนวน 250 คน เป็นดังนี้

      ขนาด จำนวนนักเรียน (คน)
      S 28
      M 96
      L 73
      XL 39
      XXL 14
      รวม 250

      ถ้าสุ่มเลือกนักเรียนกลุ่มนี้มา 1 คน ความน่าจะเป็นที่นักเรียนคนนี้จะสวมเสื้อยืดขนาด \(M\) หรือ \(XL\) เท่ากับเท่าใด (o-net 58 ข้อ 38)

      วิธีทำ  ข้อนี้ถามหาความน่าจะเป็นของ 2 เหตุการณ์ ดังนั้นนำมาบวกกันเลยครับผม จึงได้ว่า

      \(P(E)=\frac{96}{250}+\frac{39}{250}=\frac{135}{250}=\frac{27}{50}=0.54\)


      6. ถ้าแต่ละวันในเดือนสิงหาคม มีความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกตอนเช้าหรือตอนเย็นเท่ากับ 0.86 ความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกตอนเย็นเท่ากับ 0.67  และความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกทั้งตอนเช้าและตอนเย็นเท่ากับ 0.35 แล้วความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกในตอนเช้ามีค่าเท่ากับเท่าใด (o-net 57 ข้อ 40)

      วิธีทำ ข้อนี้ต้องวาดภาพ เวนน์-ออยเลอร์ ช่วยนิดหน่อยจะได้ดูง่าย

      กำหนดให้ \(P(A)\) คือ ความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกตอนเช้า ซึ่งเป็นสิ่งที่โจทย์ถามหา

      \(P(B)\) คือ ความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกตอนเย็น เท่ากับ 0.67

      \(P(A\cap B)\) คือความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกทั้งตอนเช้าและตอนเย็น เท่ากับ 0.35

      \(P(A\cup B)\) คือความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกตอนเช้าหรือตอนเย็น เท่ากับ 0.86

      จะได้รูป เวนน์-ออยเลอร์ ดังนี้

      ซึ่งความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกตอนเช้า มีค่าเท่ากับ \(0.54\) ใช้แผนภาพเวนน์ - ออยเลอร์ และบวก ลบ นิดหน่อย ก็หาคำตอบได้แล้ว

      หรือใครจะใช้สูตรตามที่เรียนมาในหนังสือคณิตศาสตร์ ม.5 ก็ได้คือ

      \begin{array}{lcl}P(A\cup B)&=&P(A)+P(B)-P(A\cap B)\\0.86&=&P(A)+0.67-0.35\\0.86&=&P(A)+0.32\\P(A)&=&0.86-0.32\\P(A)&=&0.54\end{array}

      ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่จะมีฝนตกตอนเช้า เท่ากับ \(0.54\)


      7. ในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีความน่าจะเป็นที่จะประสบภาวะน้ำท่วมเท่ากับ \(\frac{3}{11}\) และความน่าจะเป็นที่จะประสบภัยแล้งเท่ากับ \(\frac{1}{3}\)  ถ้าความน่าจะเป็นที่จะประสบภาวะน้ำท่วมหรือภัยแล้งเท่ากับ \(\frac{6}{11}\) แล้วความน่าจะเป็นที่ประเทศไทยจะประสบทั้งภาวะน้ำท่วมและภัยแล้งในปี พ.ศ. 2557 เท่าก้บเท่าใด (o-net 56 ข้อ 28)

      1. \(\frac{1}{33}\)
      2. \(\frac{2}{33}\)
      3. \(\frac{1}{11}\)
      4. \(\frac{2}{11}\)
      5. \(\frac{3}{11}\)

      วิธีทำ ข้อนี้ผมขอใช้สูตรตามที่เราเรียนในหนังสือเรียน สสวท. กันเลยนะคับผม

      กำหนดให้

      \(P(A)\) คือ ความน่าจะเป็นที่จะประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งเท่ากับ \(\frac{3}{11}\)

      \(P(B)\) คือ ความน่าจะเป็นที่จะประสบภัยแล้ว ซึ่งเท่ากับ \(\frac{1}{3}\)

      \(P(A\cup B)\) คือความน่าจะเป็นที่จะประสบภัยน้ำท่วมหรือภัยแล้ง ซึ่งเท่ากับ \(\frac{6}{11}\)

      \(P(A\cap B)\) คือ ความน่าจะเป็นที่จะประสบทั้งภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง

      จาสูตร \(P(A\cup B)=P(A)+P(B)-P(A\cap B)\) จะได้ว่า

      \begin{array}{lcl}P(A\cup B)&=&P(A)+P(B)-P(A\cap B)\\\frac{6}{11}&=&\frac{3}{11}+\frac{1}{3}-P(A\cap B)\\\frac{6}{11}&=&\frac{20}{33}-P(A\cap B)\\P(A\cap B)&=&\frac{20}{33}-\frac{6}{11}\\P(A\cap B)&=&\frac{2}{33}\quad\underline{Ans}\end{array}


      8.ทาสีเหรียญสามอัน ดังนี้

      เหรียญแรก ด้านหนึ่งทาสีขาว  อีกด้านหนึ่งทาสีแดง

      เหรียญที่สอง  ด้านหนึ่งทาสีฟ้า อีกด้านหนึ่งทาสีแดง

      เหรียญที่สาม ด้านหนึ่งทาสีฟ้า อีกด้านหนึ่งทาสีขาว

      ถ้าโยนเหรียญทั้งสามอันนี้พร้อมกัน แล้วความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสามจะขึ้นหน้าเหรียญต่างสีกันทั้งหมดเท่ากับเท่าใด(o-net 59 ข้อ 40)

      วิธีทำ  ข้อนี้วาดแผนภาพต้นไม้ (tree-diagram) เลยครับ การวาดแผนภาพต้นไม้ เป็นอีกทักษะหนึ่งในการทำโจทย์ความน่าจะเป็นนะคับใครวาดไม่เป็นรีบไปศึกษาเลยครับ จะได้แผนภาพต้นไม้ดังนี้

       โดยผมให้   ข  คือ ด้านเหรียญสีขาว , ฟ คือ ด้านเหรียญสีฟ้า , ด คือ ด้านเหรียญสีแดง 

      จากแผนภาพต้นไม้ จะเห็นว่าเมื่อเราโยนเหรียญสามอันพร้อมกัน ก็จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด 8 เหตุการณ์ เช่น ขฟฟ คือ เหรียญแรกขึ้นหน้าสีขาว เหรียญสองและสามขี้นหน้าสีฟ้า ดังนั้น \(n(S)=8\)

      แต่เหตุการณ์ที่เราสนใจคือ เหรียญขึ้นหน้าสีต่างกัน ดังนั้นก็จะมี ขดฟ , ดฟข นั่น \(n(E)=2\)

      ดังนั้น ความน่าจะเป็นที่เหรียญทั้งสามจะขี้นหน้าเหรียญสีต่างกันคือ \(\frac{2}{8}=\frac{1}{4}=0.25\)


      9. ถ้าการที่ครอบครัวจะมีลูกชายหรือลูกสาวมีโอกาสเท่าๆกันแล้ว จำนวนสมาชิกของเหตุการณ์ที่ครอบครัวที่มีลูก 4 คน มีลูกคนที่สองเป็นหญิง และลูกคนที่สี่เป็นชาย เท่าก้บเท่าใด (o-net 59 ข้อ 32)

      1. 4
      2. 6
      3. 8
      4. 10
      5. 16

      วิธีทำ ข้อนี้วาดแผนภาพต้นไม้ครับ จะง่ายมากๆ  

      ผมกำหนดให้

      ช คือ ลูกชาย

      ญ คือ ลูกสาว

      จะได้แผนภาพต้นไม้ ดังนี้

      จากแผนภาพจะเห็นว่าเหตุการณ์ที่จะมีลูกคนที่สองเป็นหญิง  และคนที่สี่เป็น ชาย มีทั้งหมด 4 เหตุการณ์คือ ชญชช , ชญญช , ญญชช,ญญญช ข้อนี้จึงตอบ ตัวเลือกที่ 1.  แต่ถ้าเขาถามหาความน่าจะเป็นที่ลูกคนที่สองเป็น หญิง และลูกคนที่สี่ เป็น ชาย ก็ตอบ \(\frac{4}{16}=\frac{1}{4}=0.25\)


      10. กล่องใบหนึ่งมีลูกบอล 10 ลูก เป็นสีแดง 1 ลูก สีน้ำเงิน 2 ลูก และสีขาว 2 ลูก นอกนั้นเป็นสีอื่นๆ ความน่าจะเป็นที่จะหยิบลูกบอล 3 ลูกจากกล่องใบนี้ให้ได้สีแดง 1 ลูก สีน้ำเงิน 1 ลูก และไม่ได้สีขาว เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (o-net 54 ข้อ 18)

      \(\frac{1}{12}\)

      \(\frac{1}{10}\)

      \(\frac{7}{60}\)

      \(\frac{2}{15}\)

      วิธีทำ  ดูที่โจทย์ก่อนว่าบอกอะไรมาบ้าง

      • มีลูกบอลสีแดง 1 ลูก
      • สีน้ำเงิน 2 ลูก
      • สีขาว 2 ลูก
      • สีอื่นอีก 5 ลูก

      รวมกันมีลูกบอลทั้งหมด 10 ลูก

      จำนวนวิธีในการหยิบลูกบอล 3 ลูกคือ \(C_{10,3}=\frac{10!}{(10-3)!3!}=\frac{10\times 9\times 8}{3\times 2}=120\)

      หยิบลูกบอล 3 ลูกไม่ได้สีขาวเลย นั่นหมายความว่าต้องได้สีแดง 1 ลูก สีน้ำเงิน 1 ลูก และสีอื่นอีก 1 ลูก ดังนั้นจำนวนวิธีในการหยิบลูกบอล 3 ลูกแล้วไม่ได้สีขาวเลยคือ

      \(C_{1,1}\times C_{2,1}\times C_{5,1}=1\times 2\times 5=10\) วิธี

      ดังนั้นความน่าจะเป็นที่หยิบลูกบอล 3 ลูกแล้วไม่ได้สีขาวเลยคือ \(\frac{10}{120}=\frac{1}{12}\)


      11. จากการสำรวจนักเรียนห้องหนึ่ง จำนวน 30 คน พบว่า มีนักเรียนไม่ชอบรับประทานปลา 12 คน และชอบรับประทานปลาหรือกุ้ง 23 คน ถ้าสุ่มนักเรียนมา 1 คน ความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนที่ชอบรับประทานกุ้งเพียงอย่างเดียวมีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

      1. \(\frac{1}{6}\)
      2. \(\frac{1}{5}\)   
      3. \(\frac{2}{5}\)
      4. \(\frac{3}{5}\)

      วิธีทำ ข้อนี้วาดรูปดูครับ ก็คือวาดแผนภาพเวนน์ - ออยเลอร์ นั่นแหละครับ

      เขาบอกว่ามีนักเรียนไม่ชอบรับประทานปลา 12 คน ก็แสดงว่านักเรียนคนนั้นอาจจะชอบกินกุ้ง หรือ ไม่ชอบกินกุ้งก็ได้ก็จะได้แผนภาพดังนี้

      พื้นที่สีส้มที่ผมระบายในรูปข้างบนคือมีจำนวนทั้งหมด 12 คนนะคับ เข้าใจไหมคือพวกไม่ชอบกินปลามีจำนวน 12 คน

      มีนักเรียนทั้งหมด  30 คน ผมเอา 30 คนนี้ไปลบออกจาก 12 คือลบออกจากพวกที่ไม่ชอบกินปลาจะเหลือ 18 คน นั่นหมายความว่านักเรียนชอบกินปลา 18 คน

      แต่เขาบอกว่าชอบกินปลาหรือกุ้งมี 23 คน แต่ตอนนี้เรารู้ว่าชอบกินปลา 18 คนแล้วแสดงว่าชอบกินกุ้งอย่างเดียว 5 คน (18+5=23)   

      นั่นก็คือ สุ่มนักเรียนมา 1 คนความน่าจะเป็นที่นักเรียนคนนั้นจะชอบกินกุ้งเพียงอย่างเดียวเท่ากับ \(\frac{5}{30}=\frac{1}{6}\)       

    • เฉลยคณิตวิชาสามัญความน่าจะเป็น

      1. ร้านขายไอศกรีมแห่งหนึ่ง มีไอศกรีม 10 รส โดยมีรสกะทิเป็น 1 ใน 10 รส ในวันเด็ก ร้านนี้ได้แจกไอศรีมฟรีให้แก่ เด็กคนละ 1 ถ้วย  ถ้วยละ 2 รส ถ้าสุ่มเด็กที่ได้รับแจกไอศกรีมมาหนึ่งคน ความน่าจะเป็นที่ถ้วยไอศกรีมของเด็กคนนี้ไม่มีรสกะทิเท่ากับเท่าใด

      วิธีทำ ตอนนี้ให้เราจินตนาการว่า เรามี ไอศกรีม 10 รศ คือ A,B,C,D,E,F,G,H,I,J   ผมให้ A เป็นรสกะทินะ ฉะนั้นในไอศกรีมหนึ่งถ้วยก็อาจจะประกอบไปด้วยรส AB อยู่ด้วยกัน หรือว่า BC อยู่ด้วยกัน ดังนั้นจะมีได้ทั้งหมด 

      \[C_{10,2}=\frac{10!}{8!2!}=45\]

      นั่นก็คือจะมีไอศกรีมที่เป็นไปได้ทั้งหมด 45 ถ้วย

      ต่อไปเราจะเห็นว่าจะมีไอศกรีมรสกะทิทั้งหมด 9 ถ้วย ก็คือ AB,AC,AD,AE,AF,AG,AH,AI,AJ 

      นั่นก็คือความน่าจะเป็นของถ้วยไอศกรีมของเด็กจะมีรสกะทิด้วยคือ \(\frac{9}{45}=\frac{1}{5}\)

      ดังนั้นความน่าจะเป็นของถ้วยไอศกรีมของเดก็จะไม่มีรสกะทิคือ \(\frac{4}{5}=0.8\quad\underline{Ans}\)


      2. จำนวนนับที่มีค่ามากกว่าเจ็ดแสนที่ได้จา่กการนำเลขโดด \( 0,7,7,8,8,9 \) มาจัดเรียง มีจำนวนทั้งหมดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

      1. 120
      2. 150
      3. 250
      4. 350
      5. 550

      วิธีทำ การทำข้อนี้เป็นการสร้างเลขหกหลักที่มีค่ามากกว่าเจ็ดแสนนั่นเอง เช่น 

      779880,988770,807898  พวกนี้มากกว่า เจ็ดแสนแน่นอน

      077889,088977,089877  พวกนี้น้อยกว่า เจ็ดแสนเพราะหลักแสนเป็นเลขศูนย์  

      ดังนั้นแนวคิดข้อนี้ก็คือ หาจำนวนวิธีทั้งหมดในการสร้างเลขหกหลักจากเลขโดดที่เขากำหนดมาให้  แล้วลบด้วยกรณีที่หลักแสนเป็นเลข 0

      ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมดหรือก็คือมีบางสิ่งซ้ำกันนั่นเอง เอาละเรามาเรียนกันเลย

      ถ้าเราเอาเลขโดย 0,7,7,8,8,9 มาสร้างเลขหกหลักก็จะได้จำนวนเลขทั้งหมด

      \[\frac{6!}{2!2!}\] 

      ในกรณีที่หลักแสนเป็นเลข 0  ก็คือนำเลขโดด 7,7,8,8,9 มาสร้างเป็นเลขห้าหลักจะได้จำนวนเลขทั้งหมด

      \[\frac{5!}{2!2!}\] 

      แล้วก็เอามาลบกันก็จะได้คำตอบคับ

      \(\frac{6!}{2!2!}-\frac{5!}{2!2!}=150\) 


      3. \(\displaystyle\sum_{r=0}^{6}(-1)^{r}\binom{6}{r}7^{6-r}5^{r}\) มีค่าเท่ากับเท่าใด

      วิธีทำ ข้อนี้ลองกระจายดูก่อนคับ 

      เอาที่โจทย์ให้มาไปกระจายดูเลย\(\displaystyle\sum_{r=0}^{6}(-1)^{r}\binom{6}{r}7^{6-r}5^{r}\)

      จะได้แบบนี้

      \(=(-1)^{0}\binom{6}{0}7^{6-0}5^{0}+(-1)^{1}\binom{6}{1}7^{6-1}5^{1}+(-1)^{2}\binom{6}{2}7^{6-2}5^{2}+\cdots +(-1)^{6}\binom{6}{6}7^{6-6}5^{6}\)

      \(=\binom{6}{0}7^{6}-\binom{6}{1}7^{5}5^{1}+\binom{6}{2}7^{4}5^{2}-\binom{6}{3}7^{3}5^{3}+\cdots +\binom{6}{6}5^{6}\)

      ซึ่งมันไปตรงกับสูตรทฤษฎีบททวินาม ไปอ่านดูตามลิงก์นะคับ นั่นก็คือ

      \(\binom{6}{0}7^{6}-\binom{6}{1}7^{5}5^{1}+\binom{6}{2}7^{4}5^{2}-\binom{6}{3}7^{3}5^{3}+\cdots +\binom{6}{6}5^{6}=(7-5)^{6}=2^{6}=64\)


      4. กำหนดให้ \(S=\{1,2,3,\cdots ,10\}\) และ \(M=\{(x,y)|x,y\in S\}\) ถ้าสุ่มหยิบ \((x,y)\) จาก \(M\) มาหนึ่งตัวแล้ว ความน่าจะเป็นที่จะได้ \((x,y)\) ซึ่ง \(x^{2}+y^{2}<25\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

      1. \(\frac{13}{100}\)
      2. \(\frac{15}{100}\)
      3. \(\frac{17}{100}\)
      4. \(\frac{19}{100}\)
      5. \(\frac{21}{100}\)

      วิธีทำ ข้อนี้เราหาสมาชิกทั้งหมดในเซต \(M\) จะได้เท่ากับ \(10\times 10=100\) ตัว หน้าตาคร่าวของเซต \(M\) ก็จะประมาณนี้

      \(M=\{(1,1),(1,2),(1,3),\cdots ,(10,10)\}\) ต่อไปเราก็ไปหาว่าคู่ไหนบ้างที่ยกกำลังสองแล้วรวมกันมีค่าน้อยกว่า 25 ซึ่งก็จะมี

      \((1,1),(2,2),(3,3),(1,2),(2,1),(1,3),(3,1),(1,4),(4,1),(2,3),(3,2),(2,4),(4,2)\) ก็คือคู่อันดับพวกนี้ ยกกำลังสองแล้วบวกกันได้ค่าน้อยกว่า 25 

      อย่างเช่น \((3,2)\to 3^{2}+2^{2}=9+4=13<25\) ซึ่งนับแล้วแบบนี้มีทั้งหมด 13 ตัว ดังนั้นความน่าจะเป็นที่สุ่มหยิบสมาชิกใน \(M\) แล้วได้คู่อันดับที่ยกกำลังสองแล้วบวกกันมีค่าน้อยกว่า 25 เท่ากับ \(\frac{13}{100}\) นั่นเอง


      5.นักเรียนห้องหนึ่งมีจำนวน 30 คน สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้เกรด A   5 คน ได้เกรดB  15 คน และได้เกรดC  10 คน ถ้าสุ่มนักเรียน 3 คน จากห้องนี้แล้ว ความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนอย่างน้อย 1 คนที่ได้เกรด A เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

      1. \(\frac{44}{203}\)
      2. \(\frac{55}{203}\)
      3. \(\frac{66}{203}\)
      4. \(\frac{77}{203}\)
      5. \(\frac{88}{203}\)

      วิธีทำ ข้อนี้ถ้าทำแบบตรงๆ ยาก ดังนั้นเราก็แบบนี้คือ เอา 1 ลบออกด้วยความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียน 3 คนแล้วไม่ใครได้เกรด A สักคนเลย

       

      มีนักเรียนอยู่ 30 คน จำนวนวิธีในการสุ่มนักเรียนมา 3 คนเท่ากับ \(\binom{30}{3}\) วิธี

      มีนักเรียนอยู่ 25 คนที่ไม่ได้เกรดA จำนวนวิธีสุ่มนักเรียนมา 3 คนซึ่งสามคนนั้นไม่ได้เกรดAเลยเท่ากับ \(\binom{25}{3}\) วิธี

      ดังนั้น

      ความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียนมา 3 คนแล้วสามคนนั้นไม่ได้เกรดA เลยเท่ากับ \(\frac{\binom{25}{3}}{\binom{30}{3}}=\frac{25\times 24\times 23}{30\times 29\times 28}=\frac{115}{203}\)

      ตอนนี้ใกล้ได้คำตอบแล้ว

      ความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียนมา 3 คนแล้วได้เกรด A อย่างน้อย 1 คน จะเท่ากับ 1 ลบออกด้วย ความน่าจะเป็นจะที่สุ่มนักเรียนมา 3 คนแล้วไม่ได้เกรด A เลยก็คือ

      \(1-\frac{115}{203}=\frac{88}{203}\quad\underline{Ans}\)


      6.ต้องการสร้างจำนวนที่มี 7 หลัก จากเลขโดด 7 ตัว คือ 1,2,3,3,4,5,6 โดยให้เลข 3 สองตัวติดกัน จะสร้างได้ทั้งหมดกี่จำนวน

      วิธีทำ  ข้อนี้หลักการทำ คือ เอาเลข 3 ที่มีสองตัวมามัดรวมกันเป็นหนึ่งมัด จะได้ว่ามีตัวเลขทั้งหมด 6 ตัว ก็คือนำตัวเลข 6 ตัวนี้มาการเรียงสับเปลี่ยนกันเพื่อให้ได้เลข 7 หลัก ซึงจะทำได้ทั้งหมด \(6!=720\) วิธี นั่นก็คือจะสร้างเลข 7 หลักที่มีเลข 3 สองตัวติดกันทั้งหมด \(720\) จำนวน


      7. ในการกระจาย \(\left(x^{2}+\frac{2}{x^{3}})^{10}\right)\) โดยใช้ทฤษฎีบททวินาม จะได้ว่าพจน์ค่าคงตัวมีค่าเท่ากับเท่าใด

      วิธีทำ   เราก็ใช้ทฤษฎีบททวินามกระจายพจน์นี้  พอเรากระจายไปเรื่อยๆ เราก็จะเจอพจน์ๆหนึ่งที่มีรูปแบบ แบบนี้

      \(\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}\) 

      ต่อไปเราจะเห็นว่าการที่ไอ้ก้อนนี้ \(\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}\) มันจะเป็นค่าคงตัว เลขชี้กำลังของ \(x\) มันต้องเป็น \(0\) ถูกต้องไหม

      เราเอาไอก้อนนี้   \(\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}\) มาจัดรูปนิดหน่อย จะได้

      \begin{array}{lcl}\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}&=&\binom{10}{r}x^{(20-2r)}2^{r}x^{-3r}\\&=&\binom{10}{r}x^{(20-5r)}2^{r}\end{array}

      ต่อไปเราจะได้ว่า เลขชี้กำลังของ \(x\) จะเป็น \(0\) ก็ต่อเมื่อ  \(20-5r=0\) นั่นก็คือถ้าเราแก้สมการจะได้ค่า \(r=4\)  ดังนั้นจะได้ว่า \(r=4\) จึงจะทำให้พจน์ที่ได้เป็นค่าคงตัว เราก็หาต่อเลยว่าค่าคงตัวที่ว่านั้นคือเลขอะไร เริ่มเลย

      \begin{array}{lcl}\binom{10}{r}x^{20-5r}2^{r}&=&\binom{10}{4}x^{20-(5)(4)}2^{4}\\&=&210\cdot x^{0}\cdot 16\\&=&210\times 16\\&=&3360\end{array}

      พจน์ค่าคงตัวที่ว่านั้นก็คือเลขนี้ครับ \(3360\) นั่นเอง