• ความชันของเส้นตรง

    ความชันของเส้นตรง  ถ้าพูดถึงความชันของเส้นตรงแน่นอนทุกคนต้องนึกถึงความเอียงของเส้นถูกหรือเปล่าครับ เอียงมาก เอียงน้อย  ถ้าใครยังคิดไม่ออก ให้เราลองนึกถึงบันได ถ้าบันไดชันมากๆ ก็จะขึ้นยาก ถูกต้องไหมครับ ที่นี้เรามาดู นิยามในทางคณิตศาสตร์บ้างว่าเขานิยามความชันของเส้นตรงไว้อย่างไรครับ 

    บทนิยาม

    กำหนดให้ \(l\) เป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด  \(P_{1}(x_{1},y_{1})\)  และ \(P_{2}(x_{2},y_{2})\)   โดยที่ \(x_{1}\) กับ \(x_{2}\) ต้องไม่เท่ากัน   

    ให้  \(m\)  เป็นความชันของเส้นตรง \(l\)  สามารถหา \(m\)  ได้จาก

    \[m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\]

    ดูภาพประกอบครับด้านล่างจะได้อ่านนิยามเข้าใจ

       นี่คือนิยามของการหาความชันของเส้นตรงหรือว่าหาค่า \(m\) นั่นเองพยายามอ่านนิยามให้มันเข้าใจในครับ แล้วตรงนิยามเขาบอกว่า \(x_{1} กับ x_{2}\)  ต้องไม่เท่ากัน ลองคิดเองนะครับว่าถ้ามันเท่ากันจะเกิดอะไรขึ้น (ดูรูปประกอบ)  หรือในกรณีที่ \(y_{1}=y_{2}\) ความชันจะเป็นอยางไรลองคิดต่อเองในครับ

      จากนิยามนี้ ก็คือถ้าเรารู้จุดสองจุดบนตรง เราก็จะหาความชัน(m) ของเส้นตรงนั้นได้ครับ

    จากสูตรกาหาความชันของเส้นตรงคือ

    \[m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\]  

    ถ้าเราลองเอา \(\frac{-1}{-1}\) คูณเข้าทั้งเศษและส่วน จะเห็นว่าลบหนึ่งส่วนลบหนึ่งก็คือ 1 นั่นเองนะครับ ลองเอาคูณเข้าดู  อย่าลืมนะเอา 1 คูณตัวอะไรก็จะได้ตัวนั้นเหมือนเดิมหน้าตาอาจเปลี่ยนแต่ค่าเท่าเดิมจะได้

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\\&=&\frac{-1}{-1}\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\\&=&\frac{-1(y_{1}-y_{2})}{-1(x_{1}-x_{2})}\\&=&\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\end{array}

    จากตรงนี้เราจะเห็นว่า

    \[m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}=\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\]

    เลือกใช้ก้อนไหนก็ได้ครับได้คำตอบเท่ากัน

    มาดูตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดกันดีกว่าครับ

    1. จงหาความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุดสองจุดต่อไปนี้

    1.1 (0,0) และ (2,6)

    วิธีทำ  จากสูตร

    \(m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\)   แทนค่าลงไปเลย

    \(m=\frac{0-6}{0-2}=\frac{-6}{-2}=3\)

    หรือใครจะใช้สูตรอีกสูตรก็ได้คำตอบเท่ากัน

    \(m=\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\)

    \(m=\frac{6-0}{2-0}=3\)

    ดูรูปประกอบด้านล่างครับ

    1.2  (5,3) และ (12,7)

    วิธีทำ จากสูตร

    \(m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\)

    \(m=\frac{3-7}{5-12}=\frac{-4}{-7}=\frac{4}{7}\)

    หรือใครจะใชูสูตรอีกสูตรก็ได้ครับคำตอบเท่ากัน

    \(m=\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\)

    \(m=\frac{7-3}{12-5}=\frac{4}{7}\)

    1.3 (t+1,s) และ (2t,s-3)

    วิธีทำ 

    เลือกใช้สูตรไหนก็ได้นะครับไม่ต้องใช้ทั้งสองสูตรเหมือนข้อข้างบนเพราะความชันของเส้นตรงจะออกมาเท่ากันครับ

    \(m=\frac{s-(s-3)}{(t+1)-2t}=\frac{3}{1-t}\)


    2. จงหาค่า x ที่ทำให้เส้นตรงที่ผ่านจุด P และจุด Q มีความชันเท่ากับ m ตามที่กำหนดให้

    2.1  P(5,2) และ Q(x,6) ; m=4

    วิธีทำ  ข้อนี้ก็ไม่มีอะไรมาก  โจทย์เขากำหนดจุดสองจุดบนเส้นตรงมาให้และกำหนดความชันของเส้นตรงมาให้ด้วย แล้วให้พิกัดของจุดที่ขาดหายไป  ก็แค่แทนลงไปในสูตรแล้วแก้สมการหาค่า x  ก็จบครับ จากสูตร

    \begin{array}{lcl}m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\end{array}

    \begin{array}{lcl}4&=&\frac{2-6}{5-x}\\5-x&=&\frac{-4}{4}\\5-x&=&-1\\-x&=&-1-5\\-x&=&-6\\x&=&6\end{array}

    2.2  P(6,-3) และ Q(9,x) ; \(m=\frac{-2}{3}\)

    วิธีทำ  ทำเหมือนเดิมครับ เหมือนข้อ 2.1 แทนค่าลงไปในสูตรได้เลยครับ

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\\ \frac{-2}{3}&=&\frac{-3-x}{6-9}\\\frac{-2}{3}\times -3&=&-3-x\\2&=&-3-x\\2+3&=&-x\\-x&=&5\\x&=&-5\end{array}


    3. จงหาความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด  \((a,\frac{a}{b})\)  และ  \((b,\frac{b}{a})\)  เมื่อ \(a\neq 0, b\neq 0\)  และ \(a\neq b\)

    วิธีทำ  การทำก็ทำเหมือนเดิมครับแต่คำตอบออกมาจะติดตัวแปรก็เท่านั้นเองครับ มาหาความชันของเส้นตรงกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{\frac{a}{b}-\frac{b}{a}}{a-b}\\m&=&\frac{\frac{a^{2}-b^{2}}{ab}}{a-b}\\m&=&\frac{(a-b)(a+b)}{ab}\cdot \frac{1}{(a-b)}\\m&=&\frac{a+b}{ab}\end{array}


    4. กำหนดให้ P(-6,4) , Q(1,4) , R(-1,-1) , และ S(-8,-1) เป็นจุดยอดของรูปสี่เหลี่ยมจงหาความชันของส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้นซึ่งแบ่งรูปสี่เหลี่ยมนี้ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีพื้นที่เท่ากัน

    วิธีทำ การทำข้อนี้ควรวาดภาพประกอบครับจะได้เห็นภาพชัดเจนครับ เรามาหาความชันของเส้นตรงกันเลยครับ ดูภาพประกอบนะ

    ตามรูปนะครับ จะเห็นว่าเส้นตรงที่แบ่งสี่เหลี่ยมออกเป็นสามเหลี่ยมสองรูปเท่าๆกันคือเส้นสีแดงและเส้นสีเขียว 

    เรามาหาความชันของเส้นตรงสีเขียวก่อนครับ ผมให้เส้นตรงสีเขียวนี้มีความชันเป็น  \(m_{1}\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}m_{1}&=&\frac{-1-4}{-8-1}\\m_{1}&=&\frac{-5}{-9}\\m_{1}&=&\frac{5}{9}\end{array}

    ต่อไปหาความชันของเส้นตรงสีแดง ผมให้เส้นตรงสีแดงมีความชันเป็น  \(m_{2}\) จะได้

    \begin{array}{lcl}m_{2}&=&\frac{-1-4}{-1-(-6)}\\m_{2}&=&\frac{-5}{5}\\m_{2}&=&-1\end{array}


    5. จงหาความชันและความยาวของแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยมซึ่งมีจุด \(A(2,10)\quad ,B(5,7)\) และ \(C(2,4)\) เป็นจุดยอด

    วิธีทำ ข้อนี้วาดรูปประกอบจะทำให้เห็นภาพชัดเจน

    ดูตามรูปเลยนะคับ ให้ \(m_{AB}\) แทนความชันของส่วนของเส้นตรง \(AB\)

    จะได้ \(m_{AB}=\frac{10-7}{2-5}=-1\)

    ให้ \(m_{BC}\) แทนความชันของส่วนของเส้นตรง \(BC\)

    จะได้ \(m_{BC}=\frac{7-4}{5-2}=1\)

    ให้ \(m_{AC}\) แทนความชันของส่วนของเส้นตรง \(AC\)

    แต่เนื่องจาก \(AC\) ขนานกับแกน \(Y\) ดังนั้น \(m_{AC}\) ไม่นิยาม

    ต่อไปหาความยาวของแต่ละด้านของรูปสามเหลี่ยม ก็ใช้ความรู้ของ ระยะห่างระหว่างจุด

    จะได้

    \begin{array}{lcl}AB&=&\sqrt{(2-5)^{2}+(10-7)^{2}}\\&=&3\sqrt{2}\\\\BC&=&\sqrt{(5-2)^{2}+(7-4)^{2}}\\&=&2\sqrt{2}\\\\AC&=&\sqrt{(2-2)^{2}+(10-4)^{2}}\\&=&6\end{array}

    ดังนั้น รูปสามเหลี่ยม \(ABC\) มีด้าน \(AB\) ยาว \(3\sqrt{2}\) หน่วย และมีความชัน \(-1\)

    มีด้าน \(BC\) ยาว \(3\sqrt{2}\) หน่วย และมีความชัน \(1\) และมีด้าน \(AC\) ยาว \(6\) หน่วยและไม่นิยามความชัน


    6. กำหนดให้ \(A(-6,-2),\quad B(2,-2),\quad C\) และ \(D\) เป็นจุดยอดของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู มีด้าน \(AB\) เป็นฐานที่ยาวเป็น 2 เท่าของด้านคู่ขนาน \(DC\) มีมุม \(A\) เป็นมุมฉาก และมีพื้นที่ \(24\) ตารางหน่วย จงหาความชันที่เป็นไปได้ทั้งหมดของด้าน \(BC\)

    วิธีทำ อ่านโจทย์แล้ววาดรูปดู เพื่อให้เราเห็นภาพและง่ายต่อการแก้โจทย์คับ ซึ่งถ้าอ่านโจทย์เราจะได้รูปออกมา 2 แบบนะคับ สาเหตุที่ได้รูปออกมา 2 แบบ ก็เพราะว่าด้าน \(CD\) นี้อาจจะอยู่ข้างบน หรือ อยู่ข้างล่างด้าน \(AB\) ก็ได้คับ

    ถ้าเราดูดีๆ เราจะเห็นว่า ความยาวของด้าน \(AB\) เท่ากับ 8 ใช้ความรู้เกี่ยวกับระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในการหา หรือดูจากรูปก็ได้ ดังนั้นเราจึงได้ว่า ความยาวของด้าน \(CD\) เท่ากับ 4  ใช่ไหมดูโจทย์ด้วยนะ จึงได้รูปออกมา แบบนี้ ผมเรียกว่าแบบที่ 1 แล้วกันคับ

    ดูรูปประกอบนะคับจะได้ไม่งง

    จากพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมูนี้เท่ากับ 24  จำสูตรในการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมูได้ไหม

    พท.สี่เหลี่ยมคางหมู = \(\frac{1}{2}\) คูณ ผลบวกด้านคู่ขนาน คูณสุง

    จะได้

    \begin{array}{lcl}24&=&\frac{1}{2}\times (8+4)\times AD\\AD&=&4\end{array}

    ความยาวของด้าน \(AD\) นี้ทำให้เรารู้พิกัดของจุด \(C\) จริงไหม ดูรูปประกอบดีนะคับ เข้าใจรูปจะเข้าใจทุกอย่างเลยโดยไม่ต้องใช้สูตรนับจุดเอา ซึ่งทำให้เราได้ว่า จุด \(C\) มีพิกัดเป็น \(C(-2,-6)\)

    ดังนั้นเราสามารถหา ความชันของด้าน \(BC\) ได้แล้ว

    ให้ \(m_{BC}\) เป็นความชันของส่วนเส้นตรง \(BC\) จะได้

    \begin{array}{lcl}m_{BC}&=&\frac{-2-(-6}{2-(-2)}\\&=&\frac{4}{4}\\&=&1\end{array}

    ต่อไป ไปดูรูปแบบที่ 2

    พอเราได้รูปแบบที่ 1 แล้ว รูปแบบที่ 2 ก็จะง่ายขึ้นครับจะได้รูปแบบนี้ พวกความยาวก็เท่าเดิมนะ แค่สลับด้าน \(AD\) ขึ้นไปข้างบน

    จึงทำให้เราได้พิกุด \(C(-2,2)\) เท่านี้เราก็หาความชันของด้าน \(BC\) ได้แล้วครับ หาเลยคับ

    \begin{array}{lcl}m_{BC}&=&\frac{(2-(-2))}{(-2-2)}\\&=&\frac{4}{-4}\\&=&-1\end{array}

    ดังนั้น ข้อนี้เวลาตอบ ต้องตอบให้ครบนะคับความชันที่เป็นไปได้ของด้าน \(BC\) คือ \(1\) หรือ \(-1\) 

    ข้อแบบถ้าวาดรูปเป็นช่วยได้เยอะเลยคับ

     

  • ความสัมพันธ์ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรง

    ความสัมพันธ์ที่กราฟเป็นเส้นตรง พูดง่ายๆก็คือพวกกราฟเส้นตรงนั่นแหละคับผม  ถ้าเรานึกถึงกราฟเส้นตรงเราจะเห็นว่าเราสามารถแบ่งเส้นตรงออกเป็นดังนี้นะคับ

    1. เส้นตรงที่ขนานกับแกน \(X\)  ซึ่งจะมีลักษณะดังรูป

    เส้นตรงที่ขนานกับแกน \(X\) คือมันจะตัดแกน \(Y\) ที่จุด \((0,a)\) ใดๆ เช่นในรูปมันตัดแกน \(Y\) ที่จุด \((0,4)\) เส้นตรงพวกนี้จะมีสมการเป็น \(y=4\) 

    ดังนั้นสรุปเป็นข้อความรู้ง่ายๆก็คือ เส้นตรงที่ขนานกับแกน \(X\) และตัดแกน \(Y\) ที่จุด \((0,a)\)ใดๆ จะมีสมการเป็น \(y=a\) 

    ***หมายเหตุ เส้นตรง \(y=4\)  คือเส้นตรงที่ขนานแกน \(X\) และตัดแกน \(Y\) ที่จุด \((0,4)\) เรียก 4 นี้ว่าระยะตัดแกน \(Y\)  (y-intercept)

    ดังนั้น ถ้าเราไปเจอสมการเส้นตรง 

    \(y=7\) รู้เลยว่าสมการนี้มีระยะตัดแกน \(Y\) เท่ากับ 7

    \(y=\frac{1}{2}\) รู้เลยว่าสมการนี้มีระยะตัดแกน \(Y\) เท่ากับ \(\frac{1}{2}\)

    2. เส้นตรงที่ขนานกับแกน \(Y\)  ซึ่งจะมีลักษณะดังรูป

     เส้นตรงที่ขนานกับแกน \(Y\) มันจะตัดก้บแกน \(X\) ในจุด \((b,0)\) ใดๆ เส้นตรงพวกนี้มันจะสมการเส้นตรงคือ \(x=b\) อย่างเช่นจากรูปข้างบน มันเป็นเส้นตรงที่ขนานแกน \(Y\) และตัดแกน \(X\) ที่จุด \((5,0)\) ดังนั้น เส้นตรงนี้มีสมการ \(x=5\) ในเอง

    ***หมายเหตุ เส้นตรง \(x=5\)  คือเส้นตรงที่ขนานแกน \(Y\) และตัดแกน \(X\) ที่จุด \((5,0)\) เรียก 5 นี้ว่าระยะตัดแกน \(X\)  (x-intercept)

    ดังนั้น ถ้าเราไปเจอสมการเส้นตรง 

    \(x=7\) รู้เลยว่าสมการนี้มีระยะตัดแกน \(X\) เท่ากับ 7

    \(x=\frac{3}{5}\) รู้เลยว่าสมการนี้มีระยะตัดแกน \(X\) เท่ากับ \(\frac{3}{5}\)

    3. เส้นตรงที่ได้ขนานทั้งแกน \(X\)หรือแกน \(Y\)  ซึ่งจะมีลักษณะดังรูป

    เส้นตรงที่ไม่ได้ขนานทั้งแกน \(X\) หรือแกน \(Y\) เส้นตรงพวกนี้เราสามารถหาสมการของมันได้จาก นิยามของความชันของเส้นตรง ซึ่งก็คือ ถ้ามีจุด \((x,y)\) และ \((x_{2},y_{2})\) อยู่บนเส้นตรง เราสามารถหาความชัน(m)ของเส้นตรงนี้ได้จาก

    \[m=\frac{y-y_{2}}{x-x_{2}}\]

    เอาสมการความชันนี้มาจัดรูปนิดหนึ่งจะได้

    \[y-y_{2}=m(x-x_{2})\]

    \[y=mx-mx_{2}+y_{2}\]

    แต่เนื่องจาก \(-mx_{2}+y_{2}\) มันคือคงตัวค่าหนึ่ง ก็เลยให้ก้อนนี้มีค่าเท่ากับ \(c\) และได้สมการใหม่คือ

    \[y=mx+c\quad \cdots (\square )\]

    สมการ \(\square\) นี้เป็นสมการเส้นตรงแบบมาตรฐานครับ และเรียกค่าคงตัว \(c\) นี้ว่าระยะตัดแกน \(Y\)

    สรุปนิดหนึ่งที่เขียนมา

    สมการเส้นตรงจะมีแบบนี้

    1. y=a

    2. x=b

    3. y=mx+c

    จากสมการทั้ง 3 ข้อนี้สามารถแปลงให้อยู่ในรูปทั่วไปของสมการเส้นตรงได้คือ

    \[Ax+By+C=0\] 

    เมื่อ \(B\) และ \(C\) ไม่เป็นศูนย์พร้อมกัน

    อ่านกันมามากแล้วเราลองทำแบบฝึกหัดกันเลยดีกว่า

    1. ให้ \(t=\{(x,y)|x-2y=4\}\) จงพิจารณาว่าคู่อันดับต่อไปนี้เป็นสมาชิกของความสัมพันธ์ \(t\) หรือไม่

    วิธีทำ ข้อนี้ให้เอาคู่อันดับที่โจทย์กำหนดมาให้ ไปแทนค่าในสมการ \(x-2y=4\) ถ้าแทนแล้วสมการเป็นจริงแสดงว่าคู่อันดับนั้นเป็นสมาชิกที่อยู่ในความสัมพันธ์ \(t\)

    1) \(1,0)\) 

    เอาคู่อันดับ \((1,0)\) ไปแทนในสมการ \(x-2y=4\) จะได้

    \begin{array}{lcl}x-2y&=&4\\1-2(0)&=&4\\1&=&4\end{array}

    จะเห็นว่าสมการเป็น เท็จ 

    ดังนั้น \((1,0)\) ไม่เป็นสมาชิกของความสัมพันธ์ \(t\)

    2) \((0,-2)\) 

    เอาคู่อันดับ \((0,-2)\) ไปแทนในสมการ \(x-2y=4\) จะได้

    \begin{array}{lcl}x-2y&=&4\\0-2(-2)&=&4\\4&=&4\end{array}

    จะเห็นว่าสมการเป็น จริง

    ดังนั้น \((0,-2)\) เป็นสมาชิกในความสัมพันธ์ \(t\)


    2. จงหาความสัมพันธ์ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ต่อไปนี้

    1) ขนานกับแกน \(X\) และอยู่เหนือแกน \(X\) เป็นระยะทาง \(\frac{3}{7}\) หน่วย

    วิธีทำ ข้อนี้อ่านโจทย์รู้เลยคือ เส้นตรงที่ตัดแกน \(Y\) ที่จุด \((0,\frac{3}{7})\)

    ดังนั้น เส้นตรงนี้มีสมการเป็น \(y=\frac{3}{7}\) หรือถ้าเขียนเป็นความสัมพันธ์ก็คือ

    \(\{(x,y)\in \mathbb{R}\times \mathbb{R}|y=\frac{3}{7}\}\)

    2) ขนากับแกน \(X\) และอยู่ห่างจากจุด \((0,3)\) เป็นระยะทาง 4 หน่วย

    วิธีทำ ข้อนี้ให้จินตนาถึงเส้นตรงที่ขนานกับแกน \(X\) ดังนั้นเส้นตรงนี้ต้องตัดกับแกน \(Y\) ที่จุด \((0,a)\) ซึ่งมีสมการเป็น \(y=a\) ซึ่งต้องไปหาว่า \(a\) คือตัวอะไร และโจทย์บอกว่าเส้นตรงนี้ อยู่ห่างจากจุด \((0,3)\) เป็นระยะทาง 4 หน่วย ดังนั้น เส้นตรงนี้ตัดแกน \(Y\) ที่จุด \((0,3+4)=(0,7)\) นั่นคือ สมการเส้นตรงนี้คือ \(y=7\) นั้นเอง

    แต่ยังไม่จบนะคับ เส้นตรงนี้อยู่ห่างจากจุด \((0,3)\) เป็นระยะทาง 4 หน่วย อาจจะไปทางด้านบนหรือห่างไปทางด้านลางก็ได้ ถ้าห่างไปทางด้านล่าง เส้นตรงนี้จะตัดแกน\(Y\) ที่จุด \((0,3-4)=(0,-1)\) นั่นคือ สมการเส้นตรงนี้คือ \(y=-1\) นั่นเอง

    ดังนั้น ความสัมพันธ์ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรงที่ขนานกับแกน \(X\) และอยู่ห่างจาก จุด \((0,3)\) เป็นระยะทาง 4 หน่วยคือ 

    \(\{(x,y)\in \mathbb{R}\times \mathbb{R} |y=7\}\) และ

    \(\{(x,y)\in \mathbb{R}\times \mathbb{R} |y=-1\}\)

    เดี่ยววาดรูปให้ดูคับ


    3. จงบอกความชัน ระยะตัดแกน \(X\) (x-intercept) และระยะตัดแกน \(Y\) (y-intercept) ของกราฟของแต่ละสมการต่อไปนี้

    แนะวิธีการทำข้อนี้

    ถ้าเรามีสมการเส้นตรงที่อยู่ในรูป \(Ax+By+C=0\)

    ความชันหรือที่เราใช้สัญลักษณ์แทนด้วย \(m\) หาได้จาก

    \[m=-\frac{A}{B}\]

    ระยะตัดแกน \(X\) หาได้โดยการให้ \(y=0\) แล้วแก้สมการหาค่า \(x\)

    ระยะตัดแกน \(Y\) หาได้โดยการให้ \(x=0\) แล้วแก้สมการหาค่า \(y\)

    ตัวอย่างเช่น เรามีสมการเส้นตรง \(2x-3y=7\) 

    นำสมการมาจัดรูปให้อยู่ในรูปของ \(Ax+By+C=0\) ก่อน จะได้

    \(2x-3y-7=0\)

    ดังนั้น \(A=2,\quad B=-3,\quad C=-7\) จึงได้ว่าความชันคือ

    \(m=-\frac{A}{B}=-\frac{2}{-3}=\frac{2}{3}\)

    ระยะตัดแกน \(X\) คือ

    \begin{array}{lcl}2x-3y-7&=&0\\2x-3(0)-7&=&0\\2x-0&=&7\\x&=&\frac{7}{2}\end{array}

    ระยะตัดแกน \(Y\) คือ

    \begin{array}{lcl}2x-3y-7&=&0\\2(0)-3y-7&=&0\\y&=&-\frac{7}{3}\end{array}

    แค่นี้คับวิธีการทำ


    4. จงแสดงว่าเส้นตรง \(3y=2x-6\) ขนานกับเส้นตรง \(y=\frac{2}{3} x+1\)

    วิธีทำ เส้นตรงขนานกันคือเส้นตรงที่มีความชันเท่ากัน

    นำสมการเส้นตรง \(3y=2x-6\) มาจัดให้อยู่ในรูป \(Ax+By+C=0\) จะได้

    \begin{array}{lcl}3y&=&2x-6\\3y-2x+6&=&0\end{array}

    ดังนั้น \(A=-2,\quad B=3\) จึงได้ความชันคือ

    \(m=-\frac{A}{B}=-\frac{-2}{3}=\frac{2}{3}\)

    สมการเส้นตรงอีกอันคือ \(y=\frac{2}{3} x+1\) จะเห็นว่าสมการเส้นตรงนี้อยู่ในรูปของ

    \(y=mx+c\) แล้ว เมื่อเทียบกันจะได้ \(m=\frac{2}{3}\) 

    นั่นก็คือ เส้นตรงสองเส้นนี้ขนานกัน เพราะมีความชันเท่ากันคือ \(\frac{2}{3}\)

  • สมการเส้นตรง

    วันนี้เราจะมาพูดถึงสมการเส้นตรงสักหน่อยหนึ่งครับว่าเป็นอย่างไร ซึ่งก่อนที่จะมาเป็นสมการเส้นตรงได้นั้นมันต้องพูดถึงความชันของเส้นตรงดังนั้นให้เราไปอ่านความชันเส้นตรงตามลิงค์ก่อนครับ เริ่มกันเลยนะครับ จากรูปเส้นตรงเส้นหนึ่งเป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด \((x_{1},y_{1})\)  และกำหนดให้

    \((x,y)\)  เป็นจุดใดๆที่อยู่บนเส้นตรงนี้ 

    ซึ่งเราสามารถหาความชัน(m)ของเส้นตรงนี้ได้ตามนิยามก็คือ

    \[m=\frac{y-y_{1}}{x-x_{1}}\]

    ซึ่งถ้าลองจัดสมการนิดหนึ่งก็คือย้ายข้างสมการนั่นแหละครับก็จะได้สมการหน้าตาอย่างนี้

    \[y-y_{1}=m(x-x_{1})\]

    สมการที่ได้มาใหม่นี้แหละครับเข้าเรียกว่าสมการเส้นตรงและเส้นตรงนี้ยังผ่านจุด \((x_{1},y_{1})\)   ด้วยนะและ m คือความชันของเส้นตรงนี้มาลองทำแบบฝึกหัดกันเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจ

    ตัวอย่างที่ 1  จงหาสมการเส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ 3 และเส้นตรงนั้นผ่านจุด (4,5)

    วิธีทำ  โจทย์ให้ความชันมาแล้ว ก็คือ  m=3  และเส้นตรงนี้ผ่านจุด (4,5)  ซึ่งมันก็คือ \(x_{1}=4,y_{1}=5\)

    จากสมการเส้นตรงที่เรามีข้างบนคือ 

    \begin{array}{lcl}y-y_{1}&=&m(x-x_{1})\end{array}

    แทนค่าลงไปเราก็จะได้

    \begin{array}{lcl}y-5=3(x-4)\end{array}

    นี่คือหน้าตาของสมการเส้นตรงที่มีความชันเท่ากับ 3 และผ่านจุด (4,5)

    แต่อย่ากระนั้นเลยเนื่องจากสมการนี้ที่เราได้

    \[y-y_{1}=m(x-x_{1})\]

    มันยังไม่สวยงามเท่าไรเขาจึงนำสมการนี้มาจัดรูปใหม่อีกนิดเหมือนนำมาทำศัลยกรรมนั้นแหละครับก็จะได้

    \begin{array}{lcl}y-y_{1}&=&m(x-x_{1})\\y-y_{1}&=&mx-mx_{1}\\y&=&mx+y_{1}-mx_{1}\end{array}

    เนื่องจาก   \( y_{1}-mx_{1}\)  เป็นค่าคงที่ตัวหนึ่ง ดังนั้นนักคณิตศาสตร์จึงกำหนดให้   \( y_{1}-mx_{1}=C\)  จึงได้สมการใหม่คือ

    \begin{array}{lcl}y&=&mx+C\end{array}

    สมการนี้เรียกว่าสมการเส้นตรงในรูปแบบมาตรฐาน โดย m คือความชัน  และ C  คือค่าคงที่หรือก็คือตัวเลขตัวหนึ่ง  

    ตัวอย่างของสมการเส้นตรงที่อยู่ในรูปแบบมาตรฐานเช่น

    \(y=4x+3\\y=-3x+8\\y=2x-4\\y=\frac{1}{3}x+\frac{2}{7}\)   

    เป็นต้น ซึ่งถ้าเราจัดสมการเส้นตรงให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานได้เราก็จะหาความชันได้ซึ่งความชันก็คือสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร x  นั่นเองครับ

    เช่น 

    \(y=3x+4\)  ความชัน(m) มีค่าเท่ากับ 3

    \(2y=10x-2\)  อันนี้ความชันไม่ใช่ 10 นะครับต้องจัดรูปให้อยู่ในแบบมาตรฐานก่อนก็จะได้

    \(y=\frac{10x-2}{2}\\y=5x-1\)

    นั่นก็คือมีความชันเท่ากับ 5 นั่นเองครับ

    \(2y-8x+2=0\)  อันนี้เป็นสมการเส้นตรงเหมือนกันนะครับแต่ยังไม่ได้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน เราสามารถจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานได้ครับก็คือ

    \(2y=8x-2\)

    \(y=\frac{8x-2}{2}\)

    \(y=4x-1\)    แล้วความชันมีค่าเท่ากับ 4  นั่นเอง

    จากตรงนี้จะเห็นว่าสมการเส้นตรง \(2y-8x+2=0\) ซึ่งถ้าเขียนให้อยู่ในรูปแบบทั่วไปมันก็คือ \(Ax+By+C=0\)  ซึ่งสมการเส้นตรงที่อยู่ในรูป

    \[Ax+By+C=0\]   เรียกว่าสมการเส้นตรงในรูปแบบทั่วไปครับ

    ผมจะลองจัดสมการให้ดูนะครับจากสมการเส้นตรงในรูปแบบทั่วไปคือ

    \begin{array}{lcl}Ax+By+C&=&0\\By&=&-Ax-C\\y&=&\frac{-A}{B}x-\frac{C}{B}\end{array}

    จะเห็นว่าถ้าเรามีสมการเส้นตรงในรูปแบบทั่วไป ความชันของสมการเส้นตรงในรูปแบบทั่วไปมีค่าเท่ากับ \(\frac{-A}{B}\)

    ตัวอย่าง เช่น

    1.1 \(5x+3y+2=0\)  มี A=5,B=3  ดังนั้นความชัน

    \(m=\frac{-A}{B}=\frac{-5}{3}\)   นั่นเองครับ

    1.2  \(-4x+6y-4=0\)   มี A=-4,B=6  ดังนั้นความชัน

    \(m=\frac{-A}{B}=\frac{-(-4)}{6}=\frac{4}{6}=\frac{2}{3}\)

    สรุป อีกทีหนึ่งนะครับท่านผู้ชม สมการเส้นตรงโดยตามหนังสือทั่วไปนั้นมีจะมีอยู่ 3 แบบคือ

    1) \[y-y_{1}=m(x-x_{1})\]

    สมการนี้เป็นสมการตั้งต้นนะครับ ถ้าโจทย์กำหนดความชันมาให้และกำหนดจุดที่เส้นตรงนั้นผ่าน เราสามารถหาสมการเส้นตรงได้โดยใช้สูตรอันนี้ครับดังที่ผมได้เขียนตัวอย่างให้ดูด้านบนครับ

    2) \[y=mx+C\]

    สมการนี้มีชื่อเรียกว่า สมการเส้นตรงในรูปแบบมาตรฐาน   ความชันคือสัมประสิทธิ์หน้าตัวแปร x

    3) \[Ax+By+C=0\] 

    สมการนี้มีชื่อเรียกว่า สมการเส้นตรงในรูปแบบทั่วไป    ความชันคือ \(m=\frac{-A}{B}\)

    มาลองทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมครับ

    1. จงหาสมการของเส้นตรงที่ผ่านจุด (7,5)  และขนานกับเส้นตรง \(x+2y+12=0\)

    วิธีทำ  เส้นตรง \(x+2y+12=0\)  มีความชัน \(m=\frac{-A}{B}=\frac{-1}{2}\)   ดังนั้นเส้นตรงที่ขนานกับเส้นตรงนี้ต้องมีความชันเท่ากับ  \(\frac{-1}{2}\)   ด้วยครับ จากสมการเส้นตรง

    \[y-y_{1}=m(x-x_{1})\]  

    จะเห็นว่า  \(m=\frac{-1}{2},x_{1}=7,y_{1}=5\)   แทนค่าลงไปเลยครับจะได้

    \begin{array}{lcl}y-5&=&\frac{-1}{2}(x-7)\end{array}

    จัดสมการนิดหนึ่งเพื่อความสวยงามจะได้

    \begin{array}{lcl}2(y-5)&=&-1(x-7)\\2y-10&=&7-x\\x+2y-10-7&=&0\\x+2y-17&=&0\end{array}

    ดังนั้นสมการของเส้นตรงที่ผ่านจุด (7,5)  และขนานกับเส้นตรง \(x+2y+12=0\)  คือ  \(x+2y-17=0\)


    2. จงหาสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (3,5) และ (-2,4)

    วิธีทำ  ผมจะใช้สมการนี้  \(y-y_{1}=m(x-x_{1})\)  ในการหาคำตอบ ก่อนอื่นต้องหา m หรือความชันของเส้นตรง หากันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\\m&=&\frac{5-4}{3-(-2)}\\m&=&\frac{1}{5}\end{array}   

    เมื่อได้ความชันแล้วก็หาสมการเส้นตรงได้ครับเลือกจุดหนึ่งจุด จุดไหนก็ได้ที่เส้นตรงนี้ผ่านผมเลือกจุด (3,5) แล้วกันเพื่อเอาไปแทนในสมการ

    \begin{array}{lcl}y-y_{1}&=&m(x-x_{1})\end{array}

    จะได้สมการเส้นตรงคือ

    \begin{array}{lcl}y-5&=&\frac{1}{5}(x-3)\\y-5&=&\frac{x-3}{5}\\5(y-5)&=&x-3\\5y-25&=&x-3\\5y-x-25+3&=&0\\5y-x-22&=&0\end{array}

    ดังนั้น สมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (3,5) และ (-2,4) คือ  \(5y-x-22=0\)


    3.จงหาสมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (-1,4)  และตั้งฉากกับ(-1,3)  และ (-2,-2)

    วิธีทำ ข้อนี้ไม่ยากครับพยายามอ่านโจทย์ช้าๆ 

    ขั้นตอนแรก  เขาให้เราหาสมการเส้นตรงซึ่งเส้นตรงที่ให้เราหานั้นมันตั้งฉากกับเส้นตรงซึ่งผ่านจุด (-1,3)  และ (-2,-2) จากตรงนี้เราสามารถหาความชันได้ใช้ไหมครับ

    ความชันของเส้นตรงจุด(-1,3)  และ (-2,-2) คือ

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{3-(-2)}{-1-(-2)}\\m=\frac{5}{1}\\m&=&5\end{array}

    อย่าลืมนะเส้นตรงที่เรากำลังหาตั้งฉากกับเส้นตรงที่ผ่านจุด (-1,3)  และ (-2,-2)  เนื่องจากเส้นตรงที่ผ่านจุด (-1,3)  และ (-2,-2) มีความชันเท่ากับ 5  ดังนั้นเส้นตรงที่ตั้งฉากกับเส้นตรงนี้ย่อมมีความชันเท่ากับ  \(-\frac{1}{5}\)   ใกล้ได้คำตอบแล้วครับ

    ตอนนี้เรารู้แล้วว่าเส้นตรงที่เราต้องการมีความชันเท่ากับ \(-\frac{1}{5}\) และผ่านจุด (-1,4)   ดังนั้นเรานำข้อมูลนี่แหละไปหาสมการเส้นตรง  จาก

    \[y-y_{1}=m(x-x_{1})\]     เมื่อ  \(m=-\frac{1}{5},\quad x_{1}=-1,\quad y_{1}=4\)     แทนค่าลงไปจะได้

    \begin{array}{lcl}y-4=-\frac{1}{5}(x-(-1))\\y-4&=&\frac{x+1}{-5}\\-5(y-4)&=&x+1\\-5y+20&=&x+1\\-5y-x+20-1&=&0\\-5y-x+19&=&0\end{array}

    ดังนั้น สมการเส้นตรงที่ผ่านจุด (-1,4)  และตั้งฉากกับ(-1,3)  และ (-2,-2)  คือ \(-5y-x+20-1=0\)