• การอินทิเกรตโดยการแทนค่าตัวแปร

    การอินทิเกรตบางทีเราไม่สามารถอินทิเกรตออกมาแบบตรงๆได้ จำเป็นต้องใช้เทคนิคบางอย่าง ซึ่งเทคนิคที่จะใช้ในวันนี้เรียกว่า เทคนิคการแทนค่าด้วยตัวแปร  เรามาดูว่าเป็นอย่างไร 

    1.จงหาค่าของ \(\int(2x^{3}+3)^{7}x^{2}dx\)

    วิธีทำถ้าทำแบบตรงข้อนี้ไม่ได้แน่เพราะเลขยกกำลังมันเยอะ ฉะนั้นเราต้องใช้เทคนิคการอินทิเกรตสักหน่อย ก็คือใช้วิธีการแทนค่าด้วยตัวแปร

    คือ กำหนดให้ \(u=2x^{3}+3\)

    \begin{array}{lcl}\frac{du}{dx}&=&\frac{d}{dx}(2x^{3}+3)\\&=&6x^{2}\\du&=&6x^{2}dx\\\frac{1}{6}du&=&x^{2}dx\end{array}

    เมื่อเรากำหนดตัวแปรแล้ว เราก็เริ่มอินทิเกรตกันเลยครับผม จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\int(2x^{3}+3)^{7}x^{2}dx&=&\int u^{7}\frac{1}{6}du\\&=&\frac{1}{6}\int u^{7}du\\&=&\frac{1}{6}[\frac{u^{8}}{8}+c]\end{array}

    เมื่อเราอินทิเกรตเสร็จแล้วเราก็แทนค่ากลับครับผม ได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{1}{6}[\frac{u^{8}}{8}+c]&=&\frac{1}{6}[\frac{(2x^{3}+3)^{8}}{8}+c]\quad \underline{Ans}\end{array}


    2.จงหาค่าของ \(\int\frac{x}{\sqrt{x+1}}dx\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องใช้เทคนิคการแทนค่าด้วยตัวแปรนะครับถึงจะง่ายครับ ดูวิธีการทำดีๆ

    กำหนดให้ \(u=(x+1\)

    \begin{array}{lcl}\frac{du}{dx}&=&\frac{d}{dx}(x+1)\\&=&1\\so\\du&=&dx\end{array}

    เนื่องจากที่เรากำหนดให้ \(u=x+1\) เพราะฉะนั้น \(x=u-1\) เมื่อได้ค่าตัวแปรแล้วเริ่มอินทิเกรตเลยครับ

    \begin{array}{lcl}\int\frac{x}{\sqrt{x+1}}dx&=&\int\frac{u-1}{\sqrt{u}}du\\&=&\int u^{-1/2}(u-1)du\\&=&\int u^{-1/2}u-u^{-1/2}du\\&=&\int u^{1/2}-u^{-1/2} du\\&=&\frac{u^{3/2}}{\frac{3}{2}}-\frac{u^{1/2}}{\frac{1}{2}}+c\\&=&\frac{2}{3}u^{3/2}-2u^{1/2}+c\end{array}

    แทนค่ากลับนะครับ ก็คือ แทน \(u\) ด้วย \(x+1\) จะได้

    \begin{array}{lcl}\frac{2}{3}u^{3/2}-2u^{1/2}&=&\frac{2}{3}(x+1)^{3/2}-2(x+1)^{1/2}\quad\underline{Ans}\end{array}


    3.จงหาค่าของ \(\int\sqrt[3]{x^{3}+5}x^{2}dx\)

    วิธีทำ ใช้วิธีการแทนค่าด้วยตัวแปรเหมือนเดิมในครับถึงจะอินทิเกรตได้

    ให้ \(u=x^{3}+5\)

    \begin{array}{lcl}\frac{du}{dx}&=&\frac{d}{dx}x^{3}+5\\&=&3x^{2}\\so\\\frac{1}{3}du&=&x^{2}dx\end{array}

    ได้ค่าตัวแปรแล้วเอาไปแทนค่าเพื่ออินทิเกรตครับ จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\int\sqrt[3]{x^{3}+5}x^{2}dx&=&\int u^{1/3}\frac{1}{3}du\\&=&\frac{1}{3}\int u^{1/3}du\\&=&\frac{1}{3}[\frac{u^{4/3}}{\frac{4}{3}}+c\\&=&\frac{1}{3}[\frac{3}{4}u^{4/3}+c]\end{array}

    แทนค่ากลับเลยครับจะได้

    \begin{array}{lcl}\frac{1}{3}[\frac{3}{4}u^{4/3}+c]&=&\frac{1}{3}[\frac{3}{4}(x^{3}+5)^{4/3}+c]\end{array}


    4. จงหาค่าของ \(\int (x^{4}+1)^{1/3}x^{7}dx\)

    วิธีทำ ข้อนี้ทำเหมือนกันกับข้อที่ผ่านๆมาเลยครับผม 

    กำหนดให้ \(u=x^{4}+1\) และได้ \(x^{4}=u-1\)

    \begin{array}{lcl}\frac{du}{dx}&=&4x^{3}\\\frac{1}{4}du&=&x^{3}dx\end{array}  เอาไปแทนค่าแล้วอินทิเกรตเลยครับ

    \begin{array}{lcl}\int (x^{4}+1)^{1/3}x^{7}dx&=&u^{1/3}x^{4}\cdot x^{3}dx\\&=&\int u^{1/3}(u-1)\frac{1}{4}du\\&=&\frac{1}{4}\int (u^{4/3}-u^{1/3})du\\&=&\frac{1}{4}[\frac{u^{7/3}}{\frac{7}{3}}-\frac{u^{4/3}}{\frac{4}{3}}+c]\\&=&\frac{1}{4}[\frac{3}{7}(x^{4}+1)^{7/3}-\frac{3}{4}(x^{4}+1)^{4/3}+c]\end{array}


    5. จงหาค่าของ \(\int (5-12x)^{4}dx\)

    วิธีทำ  ข้อนี้ง่ายครับผม เห็นมันยกกำลังเยอะแบบนี้ใช้วิธีการแทนค่านะคับในการอินทิเกรต

    กำหนดให้ \(u=5-12x\) จะได้

    \begin{array}{lcl}\frac{du}{dx}&=&-12\\dx&=&-\frac{1}{12}du\end{array} เมื่อกำหนดตัวแปรแล้วแทนค่าลงไปเลยครับผมจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\int (5-12x)^{4}dx&=&\int u^{4}(-\frac{1}{12})du\\&=&-\frac{1}{12}[\frac{u^{5}}{5}+c]\\&=&-\frac{1}{12}[\frac{(5-12x)^{5}}{5}+c]\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (71)

    71.กำหนดให้ \(f\) เป็นฟังก์ชันพหุนามกำลังสาม ซึ่ง \(f(0)=1=f(1)\) ถ้า \(f^{\prime}(0)=1\) และ\(\displaystyle_{-1}^{1} f(x)dx=6\) แล้ว \(f(-1)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. -7
    2. -1
    3. 13
    4. 15

    วิธีทำ  ขั้นตอนแรกเราต้องกำหนดให้พหุนามกำลังสามขึ้นมาก่อนก็คือ

    \[f(x)=ax^{3}+bx^{2}+cx+d\]

    เมื่อ \(a,b,c,d\) คือค่าคงตัว

    ต่อไปเราก็หาค่าคงตัวก็คือหาค่า \(a,b,c,d\) ก็หาจากสิ่งที่โจทย์ให้มานั่นแหละไม่ยากมากเริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f^{\prime}(x)&=&3ax^{2}+2bx+c\\f^{\prime}(0)=1\\so\\f^{\prime}(0)&=&0+0+c\\1&=&c\\\color{red}{c}&=&1\end{array}

    ต่อไปหาค่า \(d\)

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f(0)=1\\so\\f(0)&=&0+0+0+d\\1&=&d\\\color{green}{d}&=&1\end{array}

    ต่อไปหา \(a,b\) ต่อไปอีก

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f(1)=1\\so\\f(1)&=&a+b+c+d\\c=1,d=1\\so\\f(1)&=&a+b+1+1\\1&=&a+b+2\\\color{blue}{a+b}&=&-1\end{array}

    หา \(b\) ต่ออีก

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\int_{-1}^{1}f(x)dx&=&6\\\displaystyle\int_{-1}^{1}ax^{3}+bx^{2}+cx+d \quad dx&=&6\\\displaystyle\int_{-1}^{1}ax^{3}+bx^{2}+cx+d\quad dx&=&6\\\displaystyle\int_{-1}^{1}ax^{3}+bx^{2}+x+1\quad dx&=&6\\\frac{ax^{4}}{4}+\frac{bx^{3}}{3}+\frac{x^{2}}{2}+x\quad |_{-1}^{1} &=&6\\\left(\frac{a}{4}+\frac{b}{3}+\frac{1}{2}+1\right)-\left(\frac{a}{4}-\frac{b}{3}+\frac{1}{2}-1\right)&=&6\\\frac{2b}{3}+2&=&6\\b&=&\frac{12}{2}\\b&=&6\end{array}

    จาก \(a+b=-1\) และ\(b=6\) ดังนั้นจะได้ \(a+6=-1\) จึงได้ว่า \(a=-7\)  

    ณ ตอนนี้เราได้ว่า

    \(a=-7\)

    \(b=6\)

    \(c=1\)

    \(d=1\)

    นั่นคือ

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f(x)&=&-7x^{3}+6x^{2}+x+1\\so\\f(-1)&=&7+6-1+1\\f(-1)&=&13\quad\underline{Ans}\end{array}