• ลิมิตของฟังก์ชัน

    ลิมิตของฟังก์ชัน ก่อนที่เราจะทำแบบฝึกหัดลิมิตของฟังก์ชัน ให้พวกเราศึกษา concept ของลิมิตฟังก์ชันจากตัวอย่างในคลิปด้านล่างก่อนให้เข้าใจ concept เบื้องต้นก่อนนะครับแล้วก็ลองทำแบบฝึกเพิ่มเติมครับ

    ต่อไปเราลองมาทำแบบฝึกหัดกันครับ

    แบบฝึกหัด

    1. จงหาค่าของลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าได้

    1) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}(3x^{2}+7x-12)\)

    วิธีทำ ใช้สมบัติของลิมิตหาค่าได้เลยครับ

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}(3x^{2}+7x-12)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}3x^{2}+\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}7x-\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}12\\&=&3\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}x^{2}+7\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}x-\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}12\\&=&3(0)^{2}+7(0)-12\\&=&-12\end{array}

    ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow0}(3x^{2}+7x-12)=-12\)


    2) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow-1} (x+3)(x^{2}+2)\)

    วิธีทำ 

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow-1} (x+3)(x^{2}+2)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow\infty} (x+3)\cdot \displaystyle\lim_{x\rightarrow-1} (x^{2}+2)\\&=&(-1+3)((-1)^{2}+2)\\&=&(2)(3)\\&=&6\end{array}

    ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow-1} (x+3)(x^{2}+2)=6\)


    3)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow-5}\frac{x^{2}-25}{x+5}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ระวังด้วยถ้า แทน -5 ไปเลยจะทำให้ส่วนติด 0 ดังนั้นต้องทำการแยกตัวประกอบก่อนคับ

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow-5}\frac{x^{2}-25}{x+5}&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow-5}\frac{(x+5)(x-5)}{(x+5)}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow-5}(x-5)\\&=&-5-5\\&=&-10\end{array}


    4)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 9}\frac{3-\sqrt{x}}{9-x}\)

    วิธีทำ  ข้อนี้ก็เหมือนกันแทน x ด้วย 9 เลยไม่ได้เพราะจะทำให้ตัวส่วนเป็น 0 ต้องแยกตัวประกอบก่อนครับ

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 9}\frac{3-\sqrt{x}}{9-x}&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 9}\frac{3-\sqrt{x}}{3^{2}-\sqrt{x}^{2}}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 9}\frac{3-\sqrt{x}}{(3+\sqrt{x})(3-\sqrt{x})}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 9}\frac{1}{3+\sqrt{x}}\\&=&\frac{1}{6}\end{array}


    2. จงหาค่าของลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตหาค่าได้

    1) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}\frac{|x+4|}{x+4}\)

    วิธีทำ จะเห็นว่าเป็นการหาลิมิตของฟังก์ชัน \(\frac{|x+4|}{x+4}\) เมื่อ \(x\) เข้าสู่ \(-4\) ทางลบหรือว่าทางซ้าย ซึ่งเราสังเกตดีๆ ทางซ้ายของ -4 ก็จะเป็นจำนวนจริงลบที่น้อยกว่า -4 ซึ่งถ้าเราลองเลือก x มาตัวหนึ่งเช่น ให้ x=-5 แทนลงไปใน \(|-5+5|\) จทำให้ให้ข้างในค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า 0 หรือจะลองเลือกเป็นตัวอื่นก็ได้ เช่นเป็น -6 ก็จะทำให้ \(|-6+4|\) ข้างในค่าสัมบูรณ์น้อยกว่า 0 เช่นกัน ดังนั้นตรงนี้ทำให้เราได้ว่าเมื่อ \(x\) เข้าสู่ -4 ทางด้านลบจะทำให้ \(x+4<0\)  จากความรู้เรื่องค่าสัมบูรณ์(Absolute)

    จะได้ว่า \(|x+4|=-(x+4)\) ดังนั่นลิมิตข้อนี้คือ

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}\frac{|x+4|}{x+4}&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}\frac{-(x+4)}{x+4}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}-1\\&=&-1\end{array}


    2)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5}\frac{2x^{2}-3x}{|2x-3|}\)

    วิธีทำ  ข้อนี้เราต้องพิจารณาทั้งลิมิตทางซ้ายและลิมิตทางขวานะครับเพราะตัวฟังก์ชันมันติดเครื่องหมายค่าสัมบูรณ์และลิมิตมันเข้าหา 1.5 ดังนั้นจะเข้าทางด้านซ้ายก็ได้ ทางด้านขวาก็ได้ แต่ไม่เหมือนข้อข้างบนนะครับ ข้างบนเข้าหาทางด้านซ้ายด้านเดียว ซึ่งเราจะเห็นว่า

    ถ้า x เข้าหา 1.5 ทางด้านขวาจะทำให้ \(2x-3>0\) ดังนั้นทำให้ \(|2x-3|=2x-2\)

    ถ้า x เข้าหา 1.5 ท้างด้านซ้ายจะทำให้ \(2x-3<0\) ดังนั้นทำให้ \(|2x-3|=-(2x-3)\)

    ดังนั้นเราจะหาลิมิตของฟังก์ชันนี้โดยหาทั้งสองฝั่งครับแล้วดูว่าเท่ากันไหม ถ้าลิมิตทางฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเท่ากันก็แสดงว่าลิมิตหาค่าได้ครับ ไปดูกันเลยครับ

    ดูลิมิตทางฝั่งขวาก่อน

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{+}}\frac{2x^{2}-3x}{|2x-3|}&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{+}}\frac{2x^{2}-3x}{2x-3}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{+}}\frac{x(2x-3)}{2x-3}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{+}}x\\&=&1.5\end{array}

    ดูลิมิตทางฝั่งซ้าย

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{-}}\frac{2x^{2}-3x}{|2x-3|}&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{-}}\frac{2x^{2}-3x}{-(2x-3)}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{-}}\frac{x(2x-3)}{-(2x-3)}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5^{-}}-x\\&=&-1.5\end{array}

    จะเห็นว่าลิมิตทางซ้ายและมิมิตทางขวาของฟังก์ชันนี้ไม่เท่ากันดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1.5}\frac{2x^{2}-3x}{|2x-3|}\)  หาค่าไม่ได้


    3)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}\left(\frac{1}{x}-\frac{1}{|x|}\right)\)

    วิธีทำ ข้อนี้ให้หาลิมิตของก้อนนี้ \(\left(\frac{1}{x}-\frac{1}{|x|}\right)\) เมื่อ \(x\) เข้าสู่ \(0\) ทางด้านขวาหรือทางด้านบวกนั่นเอง ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อ \(x\) เข้าสูู่ \(0\) ทางด้านบวกจะทำให้ \(x\) จะมีค่ามากกว่า \(0\) ดังนั้น \(|x|=x\) นั่นคือทำให้ได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}\left(\frac{1}{x}-\frac{1}{|x|}\right)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}\left(\frac{1}{x}-\frac{1}{x}\right)\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}0\\&=&0\end{array}


    4)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4}|x+4|\)

    วิธีทำ จะเห็นว่าข้อนี้เขาให้หาลิมิตของฟังก์ชันเมื่อ x เข้าสู่ -4  เมื่อเราพิจารณาจะเห็นว่า

    เมื่อ \(x\) เข้าสู่ -4 ทางขวาจะทำให้ \(x+4>0\) นั่นก็คือ

    ถ้า \(x\) เข้าสู่ -4 ทางขวา \(|x+4|\)=x+4\)

    และเมื่อ \(x\) เข้าสู๋ -4 ทางซ้ายจะทำให้ \(x+4\)<0\) นั่นก็คือ

    ถ้า \(x\) เข้าสู่ -4 ทางซ้ายจะทำให้ \(|x+4|=-(x+4)\)

    ต่อไปเราก็ไปหาว่าลิมิตทางซ้ายและลิมิตทางขวาเท่ากันไหม เริ่มเลย

    ลิมิตทางซ้ายก่อน

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}|x+4|&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}-(x+4)\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}-(-4+4)\\&=&0\end{array}

    ลิมิตทางขวา

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{+}}|x+4|&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}(x+4)\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4^{-}}(-4+4)\\&=&0\end{array}

    จะเห็นว่าลิมิตทางซ้ายและลิมิตทางขวาเท่ากัน ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow -4}|x+4|=0\)


    5) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\left(\frac{1}{x}-\frac{1}{|x|}\right)\)

    วิธีทำ เนื่องจาก \(x\) เข้าสู่  0 ทางขวาทำให้ได้ว่า \(|x|=-x\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\left(\frac{1}{x}-\frac{1}{|x|}\right)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\left(\frac{1}{x}-(-\frac{1}{x})\right)\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\left(\frac{1}{x}+\frac{1}{x}\right)\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\frac{2}{x}\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\frac{2}{0}\end{array}

    นั่นคือ  \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\left(\frac{1}{x}-\frac{1}{|x|}\right)\)  หาค่าไม่ได้นั้นเองครับ


    3. กำหนดให้

    \(f(x)=\left\{\begin{matrix}
    & x-1\quad เมื่อ\quad x<2 & \\
    & x^{2}-4x+6  \quad เมื่อ \quad x\geq 2 &
    \end{matrix}\right.\)

    จงหา

    1) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}} f(x)\)

    วิธีทำ ข้อนี้ให้หาลิมิตของฟังก์ชันเมื่อ x เข้าสู่ฟังก์ชันนี้ทางซ้าย แสดงว่า \(x<2\) ตามเงื่อนไขในโจทย์จึงได้ว่า \(f(x)=x-1\)  เริ่มหาลิมิตกันเลย

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}} f(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}} x-1\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}} (2-1)\\&=&1\end{array}

    2)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}f(x)\)

    วิธีทำ ข้อนี้ให้หาลิมิตของฟังก์ชัน เมื่อ x เข้าสู่ 2 ทางด้านซ้าย แสดงว่า x > 2 ดังนั้นตามเงื่อนไขในโจทย์จึงได้ว่า \(f(x)=x^{2}-4x+6\) เริ่มหาลิมิตกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}f(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}x^{2}-4x+6\\&=&2^{2}-4(2)+6\\&=&2\end{array}

    3)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2}f(x)\)

    วิธีทำ ข้อนี้ให้หาลิมิตของฟังก์ชันเมื่อ x เข้าสู่ 2  เราต้องไปหาลิมิตของฟังก์ชันเมื่อ x เข้าสู่ 2 ทางขวา และหาลิมิตของฟังก์ชันเมื่อ x เข้าสู่ 2 ทางซ้ายครับ แล้วก็นำลิมิตที่หาทั้งสองฝั่งมาเปรียบเทียบกันดูครับ

    ซึ่งเราหาไว้แล้วในข้อ 1) และ 2) ซึ่งจะเห็นว่า \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}}f(x)\neq \displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}f(x)\)

    ดังนั้น\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2} f(x)\)  หาลิมิตไม่ได้ครับ


    4.  กำหนดให้

    \(f(x)=\left\{\begin{matrix}&x \quad เมื่อ \quad x<0\\&x^{2}\quad เมื่อ\quad 0<x\leq 2\\&8-x\quad เมื่อ \quad x>2\end{matrix}\right.\)

    1) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}f(x)\)

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}f(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}x^{2}\\0\end{array}

    2) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}f(x)\)

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}f(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}x\\&=&0\end{array}

    3)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)\)

    เนื่องจาก \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}f(x)=\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}f(x)\)

    ดังนั้น \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)=0\)

    4)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}}f(x)\)

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}}f(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}}x^{2}\\&=&4\end{array}

    5)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}f(x)\)

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}f(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}(8-x)\\&=&6\end{array}

    ต่อไปเดี่ยวจะทำแบบฝึกหัดจากหนังสือ สสทว. ให้ดูสักข้อสองข้อเพื่อเป็นแนวทาง แบบฝึกหัด 2.1ก

    1. จงเติมค่าของฟังก์ชันต่อไปนี้ในตารางให้สมบูรณ์ พร้อมทั้งพิจารณาว่าลิมิตของฟังก์ชันที่กำหนดให้ในแต่ละข้อมีค่าหรือไม่ ถ้ามี จงหาลิมิต

    1) \(f(x)=\frac{\sqrt{x}-2}{x-4},\quad \displaystyle\lim_{x\rightarrow 4} f(x)\)

    \(x\) \(3.9\) \(3.99\) \(3.999\)
    \(f(x)\) 0.251582 0.250156 0.250016

    \(x\) \(4.1\) \(4.01\) \(4.001\)
    \(f(x)\) 0.248457 0.249844 0.249984

    จากตารางทั้่งสองจะสังเกตเห็นว่า \(f(x)\) เข้าใกล้ \(0.25\)  เมื่อ \(x\) เข้าใกล้ \(4\) ทั้งทางด้านซ้ายและขวาของ \(4\) ดังนั้น \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 4}\frac{\sqrt{x}-2}{x-4}=0.25\)


    2. \(f(x)=\frac{x-2}{x^{2}+x-6}\quad ,\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2} f(x)\)

    \(x\) 1.9 1.99 1.999
    \(f(x)\) 0.204082 0.200401 0.200401

    \(x\) 2.1 2.01 2.001
    \(f(x)\) 0.196078 0.199601 0.199601

    จะเห็นว่าจากตาราง \(f(x)\) เข้าใกล้ \(0.2\) เมื่อ \(x\) เข้าใกล้ \(2\) ทั้งทางด้านซ้ายและขวาของ \(2\) ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2}\frac{x-2}{x^{2}+x-6}=0.2\)


    3. \(f(x)=\frac{3x-3}{x^{3}-1} \quad , \displaystyle\lim_{x\rightarrow 1}f(x)\)

    \(x\) 0.9 0.99 0.999
    \(f(x)\) 1.107011 1.010067 1.001001

    \(x\) 1.1 1.01 1.001
    \(f(x)\) 0.906344 0.990066 0.999001

    จากตารางจะเห็นว่า \(f(x)\) เข้าใกล้ \(1\) เมื่อ \(x\) เข้าใกล้ \(1\) ทั้งทางด้านซ้ายและขวาของ \(1\) ดังนั้น \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1}\frac{3x-3}{x^{3}-1}\)


    4. \(f(x)=\frac{e^{x}-1}{x}\quad ,\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)\)

    \(x\) -0.1 -0.01 -0.001
    \(f(x)\) 0.951626 0.995017 0.999500

    \(x\) 0.1 0.01 0.001
    \(f(x)\) 1.051709 1.005017 1.000500

    จากตารางจะเห็นว่า \(f(x)\) เข้าใกล้ \(1\) เมื่อ \(x\) เข้าใกล้ \(0\) ทั้งทางด้านซ้ายและขวาของ \(0\) ดังนั้น \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}\frac{e^{x}-1}{x}=1\)


    2. กำหนดกราฟของฟังก์ชัน \(f\) ดังรูป จงหา

    1. \(f(1)=2\)

    2.\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1^{-}}f(x)=2\)

    3. \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1^{+}}f(x)=3\)

    4. \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1}f(x) \text{ไม่มีค่าเนื่องจากลิมิตซ้ายและขวาไม่เท่ากัน}\)

    5. \(f(5) \text{ไม่มีค่า}\)  เนื่องจากกราฟที่จุดนี้มันขาดก็คือไม่นิยามนั่นเอง

    6.\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 5^{+}}f(x)=4\)

    7.\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 5^{-}}f(x)=4\)

    8. \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 5}f(x)=4\) 


    3. กำหนดกราฟของฟังก์ชัน \(f\) ดังรูป จงหา

    1) \(f(0)=3\)

    2)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)=3\)

    3) \(f(3)=3\)

    4) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 3^{-}}f(x)=4\)

    5) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 3^{+}}f(x)=2\)


    4. กำหนดกราฟของฟังก์ชัน \(g\) ดังรูป จงหา

    1) \(g(0)=-1\)

    2) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}g(x)=-1\)

    3) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}g(x)=-2\)

    4) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}g(x)\) หาค่าไม่ได้

    5)\(g(2)=1\)

    6) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}}g(x)=2\)

    7) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{}+}g(x)=0\)


    5. กำหนดกราฟของฟังก์ชัน \(f\) ดังรูป จงหา

    1) \(f(1)=0\)

    2) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1^{-}}f(x)=-1\)

    3) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 1^{+}}f(x)=0\)

    6. กำหนดกราฟของฟังก์ชัน \(f\) ดังรูป จงหา

    1)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{-}}f(x)=2\)

    2) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2^{+}}f(x)=-2\)

    3) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 2}f(x)\) ไม่มีค่า

    4)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow -2^{-}}f(x)=0\)

    5)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow -2^{+}}f(x)=0\)

    6)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow -2}f(x)=0\)


    5. กำหนดให้

    \(f(x)=\left\{\begin{matrix}&\frac{|x|}{x} \quad เมื่อ \quad x\neq 0\\&1\quad เมื่อ\quad x=0\end{matrix}\right.\)

    และ \(g(x)=x\) จงหาลิมิตต่อไปนี้ ถ้าลิมิตมีค่า

    1)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)\)

    วิธีทำ ข้อนี้ให้พวกเราไปหาลิมิตซ้าย และลิมิตขวา เพื่อเปรียบเทียบว่าลิมิตทั้งสองข้างมันเท่ากันไหม

    หาลิมิตซ้ายก่อนแล้วกัน

    จะเห็นว่าเมื่อ \(x\) เข้าใกล้ \(0\) จากทางด้านซ้าย ก็คือ \(x<0\) จะได้ว่า \(|x|=-x\) นั่นคือ

    \(f(x)=\frac{|x|}{x}=\frac{-x}{x}=-1\)  ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}=-1\)

    หาลิมิตขวา

    จะเห็นว่าเมื่อ \(x\) เข้าใกล้ \(0\) จากทางด้านขวา ก็คือ \(x>0\) จะได้ว่า \(|x|=x\) นั่นคือ

    \(f(x)=\frac{|x|}{x}=\frac{x}{x}=1\) ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}=1\)

    จะเห็นได้ว่าลิมิตซ้ายและลิมิตขวาไม่เท่ากัน ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)\) หาค่าไม่ได้

    2) \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}g(x)\)

    วิธีทำ เนื่องจาก \(g(x)=x\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}g(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}x\\&=&0\end{array}

    3)\(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)\cdot g(x)\)

    วิธีทำ ข้อนี้หาลิมิตซ้ายและลิมิตขวาเหมือนเดิมคับ ดูข้อที่ 1) ประกอบด้วยนะ

    ลิมิตซ้ายก่อน

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}f(x)\cdot g(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\frac{|x|}{x}\cdot x\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}\frac{-x}{x}\cdot x\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}-1\cdot x\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{-}}-x\\&=&0\end{array}

    ลิมิตขวา

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}f(x)\cdot g(x)&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}\frac{|x|}{x}\cdot x\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}\frac{x}{x}\cdot x\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}1\cdot x\\&=&\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0^{+}}x\\&=&0\end{array}

    จะเห็นว่าลิมิตซ้ายเท่ากับลิมิตขวา ดังนั้น

    \(\displaystyle\lim_{x\rightarrow 0}f(x)\cdot g(x)=0\quad \underline{Ans}\)