• การหมุม

    การหมุมเป็นการแปลงทางเรขาคณิต อีกแบบหนึ่ง เมื่อเรานำรูปภาพต้นฉบันมาหมุมไม่ว่าจะหมุนในองศาใดก็ตาม รูปต้นฉบับกับ รูปที่เกิดจากหมุม ก็ยังเท่ากันทุกประการ เหมือนเดิม ดูตัวอย่างด้านล่าง

    ต่อไปจะเป็นการหมุนในระบบพิกัดฉาก ดูภาพประกอบด้านล่างนะคับ

    ผมกำหนดจุด \(B(4,2)\)  และหมุนจุด \(B\) ทวนเข็นนาฬิการอบจุดกำเนิด ให้พวกเราสังเกตพิกัดของ \(B\) ที่เปลี่ยนไปนะคับ ซึ่งในระดับ ม.2 นี้ให้สังเกตที่มุม \(90^{\circ},180^{\circ},270^{\circ},360^{\circ}\) ก็พอแล้ว ซึ่งจะเห็นว่า

    ซึ่งจากภาพข้างบนจะเห็นว่า 

    หมุน \(B(4,2)\) ทวนเข็มนาฬิกา \(90^{\circ}\) ได้พิกัดใหม่คือ \(B^{\prime}(-2,4)\)

    หมุน \(B(4,2)\) ทวนเข็มนาฬิกา \(180^{\circ}\) ได้พิกัดใหม่คือ \(B^{\prime}(-4,-2)\)

    หมุน \(B(4,2)\) ทวนเข็มนาฬิกา \(270^{\circ}\) ได้พิกัดใหม่คือ \(B^{\prime}(2,-4\)

    หมุน \(B(4,2)\) ทวนเข็มนาฬิกา \(360^{\circ}\) ได้พิกัดใหม่คือ \(B^{\prime}(4,2)\)

    ข้างล่างเป็นรูปสามเหลี่ยม ลองหมุนดูครับ จะเห็นพิกัดที่เปลี่ยนไปตามขนาดของมุมที่เรา หมุนไปครับ แล้วลองสังเกต พิกัดต่างๆเมื่อหมุนไปที่ \(90^{\circ},180^{\circ},270^{\circ},360^{\circ}\) นะคับ ลองสังเกตดีๆ พิกัดที่ได้แตกต่างกันนิดหนึ่ง