Main menu

  • การหารพหุนามด้วยเอกนาม

    การหารพหุนามด้วยเอกนาม ใช้หล้กการเดียวกันกับการหารเอกนามด้วยเอกนามครับ ไม่ยากเลย ถ้าเข้าเรื่องการหารเอกนามด้วยเอกนาม เรื่อยนี่ก็ไม่ยากครับผ่านฉลุยเลยครับมาดูตัวอย่างกันเลย  บอกได้เลยว่า การเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่งนั้น สำคัญอยู่ที่การฝึกทำโจทย์ครับ พยายาม ทำด้วยตัวเองพยายามทำด้วยตัวเองก่อน พอทำเสร็จก็มาดูเฉลยครับว่าเราทำถูกไหม แล้วถ้าผิดก็ดูว่าตัวเองผิดตรงไหนผิดเพราะอะไร  ความผิดพลาดเนียะแหล่ะ มันจะช่วยให้เราเก่งขึ้นครับ

  • พหุนาม

    สำหรับหัวข้อพหุนามนี้นะครับ ผมจะพูดถึงพวกพหุนามในเรื่องของบทจำนวนจริงของ ม.4 นะครับ ส่วนพหุนามต่างๆที่เป็นของ ม.1 ของ ม.3 ก็สามารถหาอ่านได้ครับในเว็บนี้แหละครับ แต่ของ ม.4 ก็จะเพิ่มความยากขึ้นมาอีกนิดหนึ่งครับ

    นั่นแหละครับผมได้เขียนเกี่ยวกับพหุนามไว้เยอะมากหลาย ใครต้องการศึกษาก็ไปตามลิงค์ข้างบนเลยครับ อ่านให้ตาแฉะกันเลยคับ ส่วนอันนี้ก็สำหรับ ม.4 หรือสำหรับคนที่สนใจ โดยเฉพาะน้องๆ ม.ต้น อ่านได้ทุกคนครับ มาเริ่มกันเลยครับ

    ก่อนจะเริ่มทำแบบฝึกหัด เรามารูจักกับ ความหมายของพหุนามก่อน   พหุนาม คือ การเอาเอกนามมาบวกกันครับ เช่น

    \(5x+2xy,\quad 7x^{2}+34zxy,\quad 6yx^{3}+45xy^{8}\) ทั้งหมดนี้เป็นพหุนามหมดเลยครับ  แล้วมีคนถามต่ออีกว่าถ้าเป็นการลบแบบนี้เป็นพหุนามไหม เช่น \(5x-2xy,\quad 4x^{2}-8xyz\) เป็นครับเป็นพหุนามหมดเลย เพราะมันเขียนให้อยู่ในรูปการบวกได้ครับเช่น

    \(5x-2xy=5x+(-2xy)\) นั่นเองครับ  ไปทำแบบฝึกหัดกันเลยครับ

    แบบฝึกหัด

    1. กำหนดให้ \(P(x)=x^{2}-1,\quad Q(x)=3x+2,\quad R(x)=P(x)-Q(x)\) จงหาค่าของ \(R(2)\)

    วิธีทำ  ข้อนี้ไม่ยากครับทำแบบตรงๆเลยไม่มีอะไรยากเลยครับ ทุกคน เริ่มเลย ค่อยๆดูตามนะคับ

    \begin{array}{lcl}R(x)&=&P(x)-Q(x)\\&=&(x^{2}-1)-(3x+2)\\&=&x^{2}-1-3x-2\\&=&x^{2}-3x-3\\so\\R(2)&=&(2)^{2}-3(2)-3\\&=&-5\end{array}


    2. ถ้า \(P(x)\) หารด้วย \(2x-1\) ลงตัว ได้ผลลัพธ์ \(x+2\) แล้ว จงหา \(P(x)\)

    วิธีทำ  ข้อนี้ถ้าอ่านโจทย์แล้ว งง ให้ดูนี่ครับ  \(10\div 2=5\) เมื่อเราเอาคำตอบคือ 5 ไปคูณกับตัวหารคือ 2 จะมีค่าเท่ากับตัวตั้งคือ 10 นั่นก็คือ \(10=5\times 2\) นั่นเอง จึงได้ว่าข้อนี้ก็คือ

    \begin{array}{lcl}P(x)&=&(x+2)(2x-1)\\&=&2x^{2}+3x-2\end{array}

    นั่นก็คือ \(P(x)=2x^{2}+3x-2\)


    3. ถ้า \(P(x)\) หารด้วย \(x^{2}-1\) ได้ผลลัพธ์ \(2x+3\) เศษ \(x-1\) แล้ว จงหา \(P(x)\)

    วิธีทำ ข้อนี้คล้ายข้อข้างบนครับ แต่หารเหลือเศษ ถ้าใครอ่านโจทย์แล้ว งง ดูนี่ครับ

    \(11\div 5\) คำตอบคือ ตอบ 2 เศษ 1 หรือสามเขียนได้ดังนี้คือ \(11=(5\times 2)+1\) นั่นเองครับ มองภาพเห็นไหมเอ่ย ข้อนี้จึงได้ว่า

    \begin{array}{lcl} P(x)&=&[(x^{2}-1)(2x+3)]+(x-1)\\&=&2x^{3}+3x^{2}-2x-3+(x-1)\\&=&2x^{3}+3x^{2}-x-4\end{array}


    4. ถ้า \(ax^{2}+bx+c=(2x+1)(2x-3)\) แล้ว จงหาค่าของ \(a+b+c\)

    วิธีทำ ไปเจอข้อแบบนี้หวานเลยสิครับ ข้อนี้ใช้วิธีการเทียบสัมประสิทธิ์เลยครับ แต่ก่อนจะเทียบต้องจัดพหุนามด้านขวาของสมการก่อนครับพูดง่ายๆก็คือคูณกันให้เรียบร้อยแล้วเรียงดีกรีจากน้อยไปหามากนั่นแหละครับไปกันเลย

    \begin{array}{lcl}ax^{2}+bx+c&=&(2x+1)(2x-3)\\ax^{2}+bx+c&=&4x^{2}-4x-3\end{array}

    จากบรรทัดสุดท้ายข้างบนลองเทียบสัมประสิทธิ์กันดูจะเห็นว่า

    \(a=4,\quad b=-4,\quad c=-3\)

    ดังนั้น เราจะได้ว่า  \(a+b+c=4+(-4)+(-3)=-3\)  นั่นเองครับ


    5. ถ้า \((ax+b)^{2}=4x^{2}-12x+c\) และ \(a>0\) แล้ว จงหาค่าของ \(a+b+c\)

    วิธีทำ ข้อนี้ไม่ต้องทำอะไรมากครับทำเหมือนข้อข้างบน จัดพหุนามด้านซ้ายของสมการให้เรียบร้อยคือยกกำลังสองให้เสร็จแล้วค่อยเทียบสัมประสิทธิ์ครับ

    \begin{array}{lcl}(ax+b)^{2}&=&4x^{2}-12x+c\\(ax+b)(ax+b)&=&4x^{2}-12x+c\\a^{2}x^{2}+2abx+b^{2}&=&4x^{2}-12x+c\end{array}

    จากบรรทัดสุดท้ายเมื่อเทียบสัมประสิทธิ์กันจะได้ว่า

    \(a^{2}=4,\quad 2ab=-12,\quad b^{2}=c\)  แก้สมการหาค่า \(a,b,c\) กันเลยครับ

    \(a^{2}=4\rightarrow a=2\)

    \(2ab=-12 \rightarrow 2(2)b=-12\rightarrow b=\frac{-12}{4}=-3\)

    \(b^{2}=c\rightarrow (-3)^{2}=c\rightarrow c=9\)

    ดังนั้น \(a+b+c=2+(-3)+9=8\) ตอบ


    6. ถ้า \((P(x))^{2}=x^{2}+6x+c\) แล้ว จงหาค่า c

    วิธีทำ  ข้อนี้ไม่ต้องคิดเยอะครับ คิดมากจะปวดหัว วิธีการทำคือหา พหุนามมาตัวหนึ่งแล้วยกกำลังสองดูแล้วให้ได้พจน์กลางเป็น \(6x\) ซึ่งมันก็ไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยคิดในใจออกเลยซึ่งเราจะเห็นว่า

    \begin{array}{lcl}(x+3)^{2}&=&(x+3)(x+3)\\&=&x^{2}+6x+9\end{array}

    จากตรงนี้หลายคนคงจะเห็นแล้วว่า \(c\) คืออะไร  หรือถ้าเขียนให้มันดีๆหน่อยเพื่อความเข้าใจเป็นระเบียบหน่อยก็จะประมาณนี้

    ให้ \(P(x)=(x+3)\) จะมีคนถามว่าทำไมต้อง P(x)=(x+3)  อันนี้คิดเอาเองในใจต้องใช้ประสบการณ์นิดหนึ่งครับ เรียนเยอะๆอ่านเยอะๆก็จะคิดออกเองคับไม่ต้องกังวล  ซึ่งจากโจทย์

    \begin{array}{lcl}(P(x))^{2}&=&x^{2}+6x+c\\(x+3)^{2}&=&x^{2}+6x+c\\(x+3)(x+3)&=&x^{2}+6x+c\\x^{2}+6x+9&=&x^{2}+6x+c\end{array}

    จากบรรทัดสุดท้ายเมื่อเทียบสัมประสิทธิ์จะได้ว่า

    \(c=9\) นั่นเองครับ ข้อนี้ตอบ \(c=9\)


    7. ถ้า \(a,b,c\) และ \(d\) เป็นจำนวนจริงซึ่ง \((x-1)^{2}(ax+b)=cx^{3}+dx+4\) ทุกจำนวนจริง \(x\) แล้ว \(a+b+c+d\) เท่ากับเท่าใด [o-net 54/25]

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้อสอบ o-net นะคับไม่มีอะไรมากต้องใช้พลังกรรมกรในการคูณพหุนามครับข้อนี้ เอาละ มาเริ่มคูณพหุนามกันเลยคับทุกคน

    \begin{array}{lcl}(x-1)^{2}(ax+b)&=&cx^{3}+dx+4\\(x-1)(x-1)(ax+b)&=&cx^{3}+dx+4\\ax^{3}-2ax^{2}+ax+bx^{2}-2bx+b&=&cx^{3}+dx+4\\ax^{3}+(b-2a)x^{2}+(a-2b)x+b&=&cx^{3}+dx+4\end{array}

    จากบรรรทัดสุดท้ายเมื่อเทียบสัมประสิทธิ์ดูจะได้ว่า

    \(a=c\quad \cdots (1)\)

    \(b-2a=0\quad \cdots (2)\)

    \(a-2b=d\quad \cdots (3)\)

    \(b=4\quad \cdots (4)\)

    เมื่อเทียบสัมประสิทธิ์กันแล้วจะเห็นว่าเราได้ \(b=4\) ผมให้เป็นสมการที่ \((4)\) นะ 

    แทน \(b\) ด้วย \(4\) ในสมการที่ \((2)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}4-2a&=&0\\-2a&=&-4\\a&=&\frac{-4}{-2}\\a&=&2\end{array}

    ตอนนี้ได้ \(a=2\) แล้วนะคับ

    จากสมการที่ \((1)\) คือ \(a=c\) ดังนั้น \(c=2\)

    ตอนนี้ได้ \(c=2\) แล้วนะคับ

    ต่อไปก็แทน \(a\) ด้วย \(2\) และแทน \(b\) ด้วย \(4\) ลงในสมการที่ \((3)\) เพื่อหาค่า \(d\) จะได้

    \begin{array}{lcl}a-2b&=&d\\2-(2)(4)&=&d\\2-8&=&d\\-6&=&d\end{array}

    และสุดท้ายได้ \(d=-6\) ครับ

    ดังนั้นจะได้ว่า \(a+b+c+d=2+4+2+(-6)=2\quad \underline{Ans}\)

     

We have 288 guests and no members online