Main menu

ผ่านจากเรื่องของกรณฑ์ที่สองต่อไปก็เป็นเรื่องของการแยกตัวประกอบ ซึ่งเรื่องนี้ก็สำคัญและจำ

เป็นต้องเข้าใจ  เรื่องนี้คล้ายๆกับว่า ถ้าเราเห็นโค้กขวดหนึ่ง  ถ้าให้แยกตัวประกอบของโค้กขวดนี้ก็สามารถแยกออกมาเป็น

โค้ก=น้ำ +น้ำตาล+ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

การแยกตัวประกอบของพหุนามก็คือแยกให้เห็นให้ชัดเจนว่าพหุนามตัวนั้นประกอบด้วยตัวอะไรบ้างประกอบกันอยู่ ซึ่งก็ไม่ยาก

ขอยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน เช่น การแยกตัวประกอบของจำนวนเต็ม

\(16=8 \times 2\)  จะเห็นว่า 8 แยกต่อได้อีกจึงควรแยกต่อจะได้

\(16=4\times 2 \times 2 \) จะเห็นว่า 4 แยกต่อได้อีก จึงแยกต่อ

\(16=2\times 2 \times 2 \times 2 \)

ดังนั้น 16 สามารถแยกตัวประกอบออกมาคือ\(2\times 2\times 2 \times 2  \)

การแยกตัวประกอบของพหุนามก็ใช้หลักการเดียวกันกับการแยกตัวประกอบของจำนวนเต็มคับ

เช่นพหุนามกำลังสอง \(x^{2}+7x+10\) สามารถแยกตัวประกอบออกมาเป็น

\(x^{2}+7x+10=(x+5)(x+2)\)

บทความนี้คงเป็นแนวทางให้ทุกคนได้เห็นคอนเซปต์ของการแยกตัวประกอบน่ะคับ

และแบบฝึกหัดนี้เป็นแบบฝึกหัดที่สามารถดาวน์โหลดไปลองทำเองที่บ้านได้คับ คิดว่าคงเป็นประโยชน์อย่างมากเลยสำหรับการฝึกฝน  ถ้าทำไม่ได้ข้อไหนก็ถามได้น่ะคับ

We have 166 guests and no members online