เริ่มจากข้อง่ายก่อนนะครับ

19. ผลบวกของคำตอบทั้งหมดของสมการ \(log_{3}x=1+log_{x}9\) อยู่ในช่วงใดต่อไปนี้ [Pat1 มี.ค.52]

  1. [0,4)
  2. [4,8)
  3. [8,12)
  4. [12,16)

วิธีทำ ข้อนี้จะเห็นว่ามีล็อกฐาน 3 และอีกอันคือหลังล็อกเป็นเลข 9 เข้าพยายามหลอกเราตรงนี้แหละสิ่งที่เราควรมองให้ออกคือ เราต้องทำให้เป็นล็อกฐานเดียวกันครับ เพราะถ้าฐานเดียวกันจะง่ายต่อการนำไปบวก ลบ ครับ นั่นคือเราต้องทำเป็นล็อกฐาน 3 นั่นเองเพราะว่า \(9=3^{2}\)

เริ่มจากตรงนี้ก่อน

\begin{array}{lcl}log_{x}9&=&\frac{1}{log_{9}x}\\&=&\frac{1}{log_{3^{2}}x}\\&=&\frac{1}{\frac{1}{2}log_{3}x}\\&=&\frac{2}{log_{3}x}\end{array}

พอได้ตรงนี้เราเริ่มแก้สมการกันเลยครับ

\begin{array}{lcl}log_{3}x&=&1+log_{x}9\\log_{3}x&=&1+\frac{2}{log_{3}x}\end{array}

เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้นผมจะให้ \(A=log_{3}x\) จะได้ว่า

\begin{array}{lcl}A&=&1+\frac{2}{A}\\\\ เอา A คูณเข้าทั้งสองข้างของสมการครับ \\A^{2}&=&A+2\\A^{2}-A-2&=&0\\(A-2)(A+1)&=&0\end{array}

นั่นคือ

\(A-2=0\) หรือ \(A+1=0\)

พิจารณา  \(A-2=0\) ก่อนจะได้

\begin{array}{lcl}A-2&=&0\\A&=&2\\log_{3}x&=&2\\x&=&3^{2}\\x&=&9\end{array}

พิจารณา \(A+1=0\)

\begin{array}{lcl}A+1&=&0\\A&=&-1\\log_{3}x&=&-1\\x&=&3^{-1}\\x&=&\frac{1}{3}\end{array}

ดังนั้นผลบวกของคำตอบคือ \(9+\frac{1}{3}=\frac{28}{3}=9.33\) ซึ่งจะเห็นได้ว่า

\(9.33\in [8,12)\)  ข้อนี้ตอบ choice 3 ครับ


PAT 1 (พ.ย.57)

14. ถ้า \(x\) และ \(y\) เป็นจำนวนจริงบวกและสอดคล้องกับสมการ \(2log_{2}(x-2y)+log_{\frac{1}{2}}x+log_{\frac{1}{2}}y=0\)  แล้ว \(\left(\frac{x}{y}\right)^{2}+1\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

  1. 2
  2. 5
  3. 10
  4. 17

 วิธีทำ  ข้อนี้ไม่ยากครับ แก้สมการลอการิทึมเหมือนเดิมครับ วิธีการคือต้องทำฐานของลอการิทึมเท่ากันก่อนคับ ขอนี้ผมจะทำให้เป็นฐาน 2 นะครับผม เริ่มเลยครับ

\begin{array}{lcl}2log_{2}(x-2y)+log_{\frac{1}{2}}x+log_{\frac{1}{2}}y&=&0\\log_{2}(x-2y)^{2}+log_{2^{-1}}x+log_{2^{-1}}y&=&0\\log_{2}(x-2y)^{2}-log_{2}x-log_{2}y&=&0\\log_{2}\frac{(x-2y)^{2}}{x\cdot y}&=&0\\\frac{(x-2y)^{2}}{x\cdot y}&=&2^{0}\\\frac{(x-2y)^{2}}{x\cdot y}&=&1\\(x-2y)^{2}&=&x\cdot y\\x^{2}-4xy+4y^{2}&=&xy\\x^{2}-5xy+4y^{2}&=&0\\(x-y)(x-4y)&=&0\end{array}

ดังนั้นจะได้

\(x-y=0\)  หรือ \(x-4y=0\)

พิจาณา \(x-y=0\) จะได้

\(x=y\)

แต่ถ้าเราลองไปแทนค่า y ด้วย x  ดูตรงนี้ \(log_{2}(x-2y)\) จะได้

\(log_{2}(x-2x)=log_{2}-x\)  ซึ่ง x เป็นจำนวนจริงบวกดังนั้นหลังล็อกตรงนี้จึงเป็นลบ เนื่องจากโดเมนของลาการิทึมต้องเป็นบวกเท่านั้น ง่ายๆก็คือตัวเลขหลังล็อกต้องเป็นบวกห้ามเป็นลบ  ฉะนั้นในกรณี คำตอบ \(x=y\) จึงไม่ใช่ 

พิจารณา \(x-4y=0\) จะได้

\begin{array}{lcl}x&=&4y\\\frac{x}{y}&=&4\\\left(\frac{x}{y}\right)^{2}&=&16\end{array}

ดังนั้น

\begin{array}{lcl}\left(\frac{x}{y}\right)^{2}&=&16+1&=&17\end{array}

ตอบ choice 4 ครับ


Pat 1 มี.ค. 52

10. กำหนดให้ \(x\) และ \(y\) เป็นจำนวนจริงบวกและ \(y\neq 1\)

ถ้า \(log_{y}2x=a\) และ \(2^{y}=b\) แล้ว \(x\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

  1. \(\frac{1}{2}(log_{2}b)^{a}\)
  2. \(2(log_{2}b)^{a}\)
  3. \(\frac{a}{2}(log_{2}b)\)
  4. \(2a(log_{2}b)\)

วิธีทำ ข้อนี้ถือว่าง่ายทีเดียวเลยครับ แค่เปลี่ยนสมการลอการิทึมให้เป็นสมการยกกำลังได้ กาหาคำตอบได้แล้ว เริ่มทำกันเลยครับ

\begin{array}{lcl}log_{y}2x&=&a \leftrightarrow 2x&=&y^{a}\end{array}

ดังนั้นจึงได้ว่า

\(x=\frac{1}{2}y^{a}\quad\cdots (1)\)

เก็บสมการนี้ไว้ก่อนครับ ต่อไป ก็ไปดูสมการอีกอันที่โจทย์ให้มา

\begin{array}{lcl}2^{y}&=&b\\so\\\log 2^{y}&=&\log b\\y\log 2&=&\log b\\y&=&\frac{\log b}{\log 2}\\y&=&\log_{2}b\end{array}

แทน \(y\) ด้วย \(\log_{2}b\) ในสมการที่ (1) จะได้

\begin{array}{lcl}x&=&\frac{1}{2}y^{a}\\x&=&\frac{1}{2}(\log_{2}b)^{a}\end{array}

ตอบ ตัวเลือกที่ 1 นั่นเองครับ


Pat 1 (มี.ค.58)

33. กำหนดให้ \(A\) เป็นเซตคำตอบของสมการ \(\log_{m}\sqrt{4x^{2}+4x+1}+\log_{n}(6x^{2}+11x+4)=4\) เมื่อ \(m=\sqrt{3x+4}\) และ \(n=2x+1\) และให้ \(B=\{8x^{2}|x\in A\}\) ผลบวกของสมาชิกทั้งหมดในเซต \(B\) เท่ากับเท่าใด

วิธีทำ ข้อนี้ถ้าใครเดาใจคนออกข้อสอบออก ก็ไม่ยากครับ ผมแนะนำว่าถ้าเห็นสมการกำลังสองให้พยายามลองแยกตัวประกอบดูก่อนเลยครับ ซึ่งจากข้อนี้เราก็ลองแยกดูเลยครับ

\(4x^{2}+4x+1=(2x+1)(2x+1)\)

\(6x^{2}+11x+4=(2x+1)(3x+4)\)

และจากตรงนี้

\(m=\sqrt{3x+4}\)  จะได้ \(m^{2}=3x+4\)

เห็นไหมละต้องแยกได้พอถึงตรงนี้ ก็น่าจะเดาใจคนออกสอบได้แล้วว่าควรทำอย่างไรต่อ ข้อสอบออกแบบคล้ายกันทุกปี มุกเดิมๆครับ เริ่มทำต่อเลยครับ

\begin{array}{lcl}\log_{m}\sqrt{4x^{2}+4x+1}+\log_{n}(6x^{2}+11x+4)&=&4\\\log_{m}\sqrt{(2x+1)^{2}}+\log_{n}[(3x+4)(2x+1)]&=&4\\\log_{m}(2x+1)+\log_{n}(3x+4)+\log_{n}(2x+1)&=&4\\จาก\\n=2x+1,m^{2}=3x+4\\so\\\log_{m}n+\log_{n}m^{2}+\log_{n}n&=&4\\\log_{m}n+2\log_{n}m+1&=&4\\log_{m}n+2\log_{n}m&=&3\\\log_{m}n+\frac{2}{\log_{m}n}&=&3\\ให้ A=\log_{m}n\\จะได้\\A+\frac{2}{A}&=&3\\A^{2}+2&=&3A\\A^{2}-3A+2&=&0\\(A-2)(A-1)&=&0\end{array}

จะได้ 

\(A-2=0\)  หรือ \(A-1=0\)

พิจารณา

\begin{array}{lcl}A-2&=&0\\A=2\\\log_{m}n&=&2\\n&=&m^{2}\\2x+1&=&(\sqrt{3x+4})^{2}\\2x+1&=&3x+4\\x&=&-3\end{array}

พิจารณา

\begin{array}{lcl}A-1&=&0\\A=1\\\log_{m}n&=&1\\n&=&m\\2x+1&=&\sqrt{3x+4}\\(2x+1)^{2}&=&3x+4\\4x^{2}+4x+1&=&3x+4\\4x^{2}+x-3&=&0\\(4x-3)(x+1)&=&0\\so\\x=\frac{3}{4},-1\end{array}

ตอบนี้เราได้ค่า

\(x=-3,-1,\frac{3}{4}\)  อย่าพึ่งรีบร้อนตอบนะครับเพราะเราต้องเช็คดีๆนะครับ

อย่าลืมนะว่า \(m\) กับ \(n\)  นั้นเป็นฐานของล็อกซึ่งฐานของล็อกนั้นต้อง มากกว่าศูนย์และต้องไม่เท่ากับหนึ่ง นั่นก็คือ

\(m,n>0\quad ,\quad m,n\neq 1\)  ลองเช็คดูจะเห็นว่า

เมื่อ \(x=-3\)

\(n=2x+1=2(-3)+1=-5\) นั่นคือ \(x=-3\) ใช้ไม่ได้คับ

เมื่อ \(x=-1\)

\(n=2x+1=2(-1)+1=-1\) นั่น่คือ \(x=-1\) ใช้ไม่ได้คับ

ที่ใช้ได้ก็คือ \(x=\frac{3}{4}\) คับ ลองเช็คดู

นั่นคือ 

\(B=\{8x^{2}\}\)

\(B=\{8(\frac{3}{4})^{2}\}\)

\(B=\{\frac{9}{2}\}\)

เนื่องจากเซต \(B\) มีสมาชิกเพียงตัวเดียว ดังนั้นผลบวกของสมาชิกในเซต \(B\) คือ \(\frac{9}{2}=4.5\)

Pat 1 พ.ย. 57 

5. กำหนดให้ \(a\) และ \(b\) เป็นจำนวนจริงบวกที่มากกว่า 1 และสอดคล้องกับ \(\log_{a}4+\log_{b}4=9\log_{ab}2\)

ค่ามากสุดของ \(\log_{a}(ab^{5})+\log_{b}(\frac{a^{2}}{\sqrt{b}})\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

  1. 13.5
  2. 11.5
  3. 9
  4. 7

วิธีทำ   โจทย์ให้หาค่ามากสุดของอันนี้  \(\log_{a}(ab^{5})+\log_{b}(\frac{a^{2}}{\sqrt{b}})\) เราก็ลองเอาอันนี้มากระจายดูก่อนเผื่ออะไรจะดีขึ้นครับจะได้

\begin{array}{lcl}\log_{a}(ab^{5})+\log_{b}(\frac{a^{2}}{\sqrt{b}})&=&\log_{a}a+\log_{a}b^{5}+\log_{b}a^{2}-\frac{1}{2}\log_{b}b\\&=&1+5\log_{a}b+2\log_{b}a-\frac{1}{2}\end{array}

จะเห็นว่าเขาให้เราหาค่ามากสุดของไอ้นี่นั่นเองครับ \(1+5\log_{a}b+2\log_{b}a-\frac{1}{2}\) ดังนั้นถ้าเราหาค่าของ \(\log_{a}b\) หรือ \(\log_{b}a\) ได้ เราก็จะหาค่ามากสุดได้ครับ ดังนั้นเราก็ต้องหา \(\log_{a}b\) , \(\log_{b}a\) ให้ได้คับ ก็หาได้จากสมการนี้ครับ \(\log_{a}4+\log_{b}4=9\log_{ab}2\)  เริ่มหากันเลยครับ

\begin{array}{lcl}\log_{a}4+\log_{b}4&=&9\log_{ab}2\\2\log_{a}2+2\log_{b}2&=&9\log_{ab}2\\2\log_{a}2+2\log_{b}2&=&9\log_{ab}2\\ คูณ \log_{2}ab เข้าทั้งสองข้าง\\\log_{2}ab[2\log_{a}2+2\log_{b}2]&=&9\log_{ab}2\cdot \log_{2}ab\\(\log_{2}a+\log_{2}b)(\frac{2}{\log_{2}a}+\frac{2}{\log_{2}b})&=&9\\2+2+2\log_{a}b+2\log_{b}a&=&9\\2\log_{a}b+\frac{2}{\log_{a}b}&=&5\\กำหนด A=\log_{a}b\\จะได้\\2A+\frac{2}{A}&=&5\\นำ A คูณเข้าทั้งสองข้าง\\2A^{2}+2&=&5A\\2A^{2}-5A+2&=&0\\(2A-1)(A-2)&=&0\end{array}

นั่นคือได้ \(A=\frac{1}{2},A=2\)  

พิจารณา \(A=\frac{1}{2}\) จะได้

\begin{array}{lcl}A=\frac{1}{2}\\\log_{a}b&=&\frac{1}{2}\end{array}

พิจารณา \(A=2\) จะได้

\begin{array}{lcl}A&=&2\\\log_{a}b&=&2\end{array}

หลังที่ทำมาอย่างยาวนาน ตอนนี้เราได้ว่า 

\(\log_{a}b=\frac{1}{2},2\)  เราก็นำค่าที่เราได้นี้ไปแทนใน

\(1+5\log_{a}b+2\log_{b}a-\frac{1}{2}\) เพื่อหาค่าสูงสุดออกมาครับ

เมื่อแทน \(\log_{a}b=\frac{1}{2}\) จะได้

\(1+5(\frac{1}{2})+2(2)-\frac{1}{2}=7\)

เมื่อแทน \(\log_{a}b=2\) จะได้

\(1+5(2)+2(\frac{1}{2})-\frac{1}{2}=11.5\)

ดังนั้น ค่ามากที่สุดคือ \(11.5\)