เครื่องหมายรากหรือเครื่องหมายกรณฑ์ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า radicals

เครื่องหมายรากหรือกรณฑ์ คือ เครืองหมายนี้ ครับ  \(\sqrt[n]{a}\)   อ่านว่ารากที่เอ็นของเอ หรือ กรณฑ์ที่เอ็นของเอ ครับ

\(n\) เรียกว่า ดัชนีของราก(index of root)

ยกตัวอย่างเช่น

\(\sqrt{4}\)    อ่านว่ารากที่สองของ 4  หรือ กรณฑ์ที่สองของ 4

\(\sqrt[3]{4}\)  อ่านว่ารากที่สามของ 4  หรือ กรณฑ์ที่สามของ 4

\(\sqrt[5]{4}\) อ่านว่ารากที่ห้าของ 4 หรือ กรณฑ์ที่ห้าของ 4

\(\sqrt[10]{25}\) อ่านว่ารากที่สิบของ 25 หรือ กรณฑ์ที่สิบของ 25

หมายเหตุ:ถ้าเป็นรากที่สองจะไม่มีตัวดัชนีน่ะครับ คือ

จะไม่เขียนแบบนี้ \(\sqrt[2]{16}\) แต่จะเขียนแบบนี้ครับ \(\sqrt{16}\)


อีกตัวหนึ่งที่อยากสอนก็คือ ตัวนี้ครับจะเจอตอนมอปลายน่ะครับ แต่รู้ไว้จะได้เปรียบคนอื่นน่ะครับ

\( a^{\frac{1}{2}}\) จะหมายถึง \(\sqrt{a}\)

นั่นคือ \(a^{\frac{1}{2}}=\sqrt{a}\)

ตัวอย่างเช่น

\( 4^{\frac{1}{2}}=\sqrt{4}=2\)

\(25^{\frac{1}{2}}=\sqrt{25}=5\)

\(a^{\frac{1}{3}}\)  หมายถึง  \(\sqrt[3]{a}\)

นั่นคือ \(a^{\frac{1}{3}}=\sqrt[3]{a}\)

ตัวอย่างเช่น

\( 8^{\frac{1}{3}}=\sqrt[3]{8}=2\)

\(27^{\frac{1}{3}}=\sqrt[3]{27}=3\)

สรุป : ก็คือ

  • ถ้ายกกำลัง หนึ่งส่วนสอง จะหมายถึง รากที่สอง
  • ถ้ายกกำลังหนึ่งสวนสาม จะหมายถึง  รากที่สาม
  • ถ้ายกกำลังหนึ่งส่วนสี่ จะหมายถึง รากที่สี่