การคูณพหุนามด้วยเอกนาม เป็นเรื่องที่ไม่ยากค่อนข้างง่ายบอกได้เลยว่าเรื่องนี้ต้องหัดทำแบบฝึกหัดเยอะๆ
ทำโจทย์หลายๆแบบ เริ่มจากโจทย์ง่ายไปหายากน่ะครับไม่ยากเลย น่ะครับ ลองทำความเข้าใจจากตัวอย่างน่ะครับ อ่าน ลิงค์นี้ก่อน ก็ดีครับ จะช่วยให้เราเข้าใจง่ายขึ้นเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการคูณของเลขยกกำลังครับเพราะต้องนำไปใช้ครับ
จงหาผลคูณต่อไปนี้
1) \(2(x+1)\)
วิธีทำ \(2(x+1)\) นำ 2 คูณเข้าไปในวงเล็บครับ จะได้
\(x(2)+1(2)\)
\(2x+2\) เห็นไหมครับไม่ยากเลย ดูข้อต่อไปครับ
2) \(5(x^{2}+4)\)
วิธีทำ \(5(x^{2}+4)\) ทำเหมือนข้อ 1 ครับ เอา 5 คูณเข้าไปข้างในครับ
\(x^{2}(5)+4(5)\)
\(5x^{2}+20\) เสร็จแล้วครับง่ายๆ
3) \(4x(x+4)\)
วิธีทำ \( 4x(x+4)\) ข้อนี้เอา 4x คูณเข้าไปข้างในครับ
\((x(4x)+4(4x)\)
\(4x^{2}+16x\) เสร็จแล้ว ง่ายไหม
5) \( \frac{1}{2}(x^{2}+12)\)
วิธีทำ \( \frac{1}{2}(x^{2}+12)\) นำ \(\frac{1}{2}\) คูณเข้าไปในวงเล็บเลยครับ
\((x^{2}(\frac{1}{2})+12(\frac{1}{2})\)
\(\frac{1}{2} x^{2}+6\)
6) \(10(5x^{2}+2x+5\)
วิธีทำ \(10(5x^{2}+2x+5\) นำ 10 คูณเข้าไปในวงเล็บเลยครับ
\(5x^{2}(10)+2x(10)+5(10)\)
\(50x^{2}+20x+50\)
ง่ายจังเสร็จแล้วครับ
7) \((-4c)(c+7)\)
วิธีทำ \((-4c)(c+7)\) นำ \(-4c\) คูณเข้าไปในวงเล็บเลยครับ
\(c(-4c)+7(-4c)\) เครื่องหมายต่างกันคูณกันได้ลบน่ะครับ เช่น \(-2(5x)=-10x\) แต่ถ้าเครื่องหมายเหมือนกันคูณกันได้บวก เช่น \(-2(-5x)=10x\)
\(-4c^{2}-28c\)