1) พิจารณาเศษส่วน \(\frac{12}{28}\)
ตัวเศษคือ 12 จะเห็นได้ว่า 4 ไปหาร 12 ซี่งเป็นตัวเศษได้ลงตัว
ตัวส่วนคือ 28 จะได้ได้ว่า 4 ไปหาร 28 ซึ่งเป็นตัวส่วนได้ลงตัวเหมือนกัน
ดังนั้น \(\frac{12}{28}\) ยังไม่เป็นเศษส่วนอย่างต่ำครับ ต้องเอา 4 ไปหารทั้ง 12 และ 28 ก่อนครับ
จะได้ \(\frac{12\div 4}{28\div 4}=\frac{3}{7}\)
พิจารณา \(\frac{3}{7}\) จะเห็นได้ว่าไม่มีจำนวนใดเลยที่มากกว่า 1 ซึ่งไปหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนได้ลงตัว ดังนั้น\(\frac{3}{7}\) เป็นเศษส่วนอย่างต่ำแล้วครับ
นั่่นคือ \(\frac{12}{28}\) สามารถเขียนเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้คือ \(\frac{3}{7}\)
2) พิจารณาเศษส่วน \(\frac{24}{48}\)
ตัวเศษคือ 24 จะเห็นได้ว่า 24 ไปหาร 24 ซึ่งเป็นตัวเศษได้ลงตัว
ตัวส่วนคือ 48 จะเห็นได้ว่า 24 ไปหาร 48 ซึ่งเป็นตัวส่วนได้ลงตัวเหมือนกัน
ดังนั้น\(\frac{24}{48}\) ยังไม่เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ ต้องเอา 24 ไปหารทั้งเศษและส่วนก่อนครับ
จะได้ \(\frac{24\div 24}{48 \div 24}=\frac{1}{2}\)
พิจารณา\(\frac{1}{2}\) จะเห็นได้ว่าไม่มีจำนวนใดเลยที่มากกว่า 1 ซึ่งไปหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนได้ลงตัว ดังนั้น
\(\frac{1}{2}\)เป็นเศษส่วนอย่างต่ำแล้วครับ
นั่นคือ\(\frac{24}{48}\) สามารถเขียนเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้คือ \(\frac{1}{2}\)
แบบฝึกหัด
1.จงทำจำนวนต่อไปนี้ให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ
1) \(\frac{15}{25}\)
\(\frac{15\div 5}{25 \div 5}=\frac{3}{5}\)
ตอบ\(\frac{15}{25}\) สามารถทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้คือ\(\frac{3}{5}\)
2) \(\frac{21}{27}\)
\(\frac{21 \div 3}{27 \div 3}=\frac{7}{9}\)
ตอบ\(\frac{21}{27}\) สามารถทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้คือ\(\frac{7}{9}\)
3) \(\frac{49}{56}\)
\(\frac{49 \div 7}{56 \div 7}=\frac{7}{8}\)
ตอบ\(\frac{49}{56}\) สามารถทำเป็นเศษส่วนอย่างต่ำได้คือ\(\frac{7}{8}\)