Main menu

ฟังก์ชันนั้นมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ละแบบก็มีการตั้งชื่อไม่เหมือนกัน ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลก็เป็นอีกรูป

แบบหนึ่งของฟังก์ชันซึ่งเราจะไปดูว่าฟังก์ชันเอกซ์โพนเนนเชียลนั้นมีรูปแบบอย่างไร ก็ต้องไปดูนิยามของมันครับ ว่านิยามของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลนั้นเป็นอย่างไร

นิยาม ฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียลคือ ฟังก์ชัน

\(f=\{(x,y)\in R \times R^{+} \mid y=a^{x} ,a>0,a\neq  1\}\)

จากบทนิยามของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันนี้มีรูปแบบในรูปของเลขยกกำลัง โดยฐานของมันต้องมากกว่า 0 และฐานต้องไม่เป็น 1  ตัวอย่างของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลเช่น

\(y=10^{x}\)

\(y=\left(\frac{1}{5}\right)^{x}\)

\(y=(\sin 30^{\circ})^{x}\)

\(y=(\sqrt{2})^{x}\)

ตัวอย่างข้างต้นเป็นตัวอย่างของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลครับ ซึ่งมีมากมายครับ นี่เป็นแค่ส่วนหนี่งเท่านั้นครับ

ต่อไปเราลองมาพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ครับ

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟของฟังก์ชัน \(y=3^{x}\)

การที่เราจะเขียนกราฟได้เราต้องกำหนดค่า x ขึ้นมาก่อน แล้วหาค่า y ครับ ดังนี้

ถ้า \(x=-2\) จะได้

จาก \(y=3^{x} \) แทน x ด้วย -2 ได้ว่า

\(y=3^{-2}\)

\(y=\frac{1}{3^{2}}\)

\(y=\frac{1}{9}\)

นั่นคือ ถ้า \(x=-2\) ได้ว่า \(y=\frac{1}{9}\)

ถ้า \(x=-1\) จะได้

จาก  \(y=3^{x} \) แทน x ด้วย -1 ได้ว่า

\(y=3^{-1}\)

\(y=\frac{1}{3^{1}}\)

\(y=\frac{1}{3}\)

นั่นคือ ถ้า \(x=-1\) ได้ว่า \(y=\frac{1}{3}\)

ถ้า \(x=0\) จะได้

จาก  \(y=3^{x} \) แทน x ด้วย 0 ได้ว่า

\(y=3^{0}\)

\(y=1\)

นั่นคือ ถ้า \(x=0\) ได้ว่า \(y=1\)

ถ้า \(x=1\) จะได้

จาก  \(y=3^{x} \) แทน x ด้วย 1 ได้ว่า

\(y=3^{1}\)

\(y=3\)

นั่นคือ ถ้า \(x=1\) ได้ว่า \(y=3\)

ถ้า \(x=2\) จะได้

จาก  \(y=3^{x} \) แทน x ด้วย 2 ได้ว่า

\(y=3^{2}\)

\(y=9\)

นั่นคือ ถ้า \(x=2\) ได้ว่า \(y=9\)

นำค่า x และค่า y ที่ได้มาเขียนลงในตารางเพื่่อเตรียนการพลอตกราฟขึ้นมาครับ

\(x\) \(-2\) \(-1\) \(0\) \(1\) \(2\)
\(y\) \(\frac{1}{9}\) \(\frac{1}{3}\) \(1\) \(3\) \(9\)

จากตารางจะได้คู่อันดับ

\((-2,\frac{1}{9}),(-1,\frac{1}{3}),(0,1),(1,3),(2,9)\)

นำคู่อันดับไปพลอตกราฟครับ ก็จะได้กราฟดังนี้ครับ

เส้นกราฟจะไม่เตะแกน x น่ะครับแต่จะเข้าใกล้แกน x เรื่อยๆ เมื่อค่าของ x ลดลงครับ


ตัวอย่างที่ 2 จงเขียนกราฟของฟังก์ชัน \(y=\left(\frac{1}{4}\right)^{x}\)

การที่เราจะเขียนกราฟได้เราต้องกำหนดค่า x ขึ้นมาก่อน แล้วหาค่า y ครับ ดังนี้

ถ้าให้ \(x=-2\)    จะได้ค่า y คือ

\(y=\left(\frac{1}{4}\right)^{-2}  \)

\(y=\frac{(1)^{-2}}{(4)^{-2}}=4^{2}=16\)

นั้นคือ ถ้าให้ \(x=-2\) ได้ \(y=16\)

ถ้าให้ \(x=-1\) จะได้ค่า y คือ

\(y=\left(\frac{1}{4}\right)^{-1}\)

\(y=\frac{(1)^{-1}}{(4)^{-1}}=4\)

นั่นคือ ถ้าให้ \(x=-1\) จะได้ \(y=4\)

ถ้าให้ \(x=0\) จะได้ค่า y คือ

\(y=\left(\frac{1}{4}\right)^{0}=1\)   จำนวนจริงใดๆ ยกเว้นศูนย์ยกกำลังศูนย์เท่ากับ 1

นั้นคือ ถ้าให้ \(x=0 \) จะได้ \(y=1\)

ถ้าให้ \(x=1\) จะได้ค่า y คือ

\(y=\left(\frac{1}{4}\right)^{1}=\frac{1}{4}\)

นั่นคือ ถ้าให้ \(x=1\) จะได้ \(y=\frac{1}{4}\)

ถ้าให้ \(x=2\) จะได้ค่า y คือ

\(y=\left(\frac{1}{4}\right)^{2}=\frac{1}{16}\)

นั้นคือ ถ้าให้ \(x=2\) จะได้ \(y=\frac{1}{16}\)

จากนั้นนำค่า x และ y ที่ได้มาเขียนลงในตารางคับ จะได้

\(x\) \(-2\) \(-1\) \(0\) \(1\) \(2\)
\(y\) \(16\) \(4\) \(1\) \(\frac{1}{4}\) \(\frac{1}{16}\)

นำคู่อันดับในตารางเป็นพลอตกราฟ ก็จะได้กราฟดังรูปข้างล่างครับ

กราฟจะไม่เตะแกน x น่ะคับ แต่จะเข้าใกล้แกน x  เรื่อยๆคับ

 

จากตัวอย่าง 2 ข้อที่ผมได้ยกตัวอย่างให้ดูนั้น จะเห็นได้ว่า

ตัวอย่างที่ 1 ตารางของค่า x และ y    เมื่อ ค่า x เพิ่มขึ้น ค่า y ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และเมื่อค่า x ลดลง ค่า y ก็จะลดลงด้วย เรียก ฟังก์ชันในลักษณะนี้ว่า "ฟังก์ชันเพิ่ม"

\(x\) \(-2\) \(-1\) \(0\) \(1\) \(2\)
\(y\) \(\frac{1}{9}\) \(\frac{1}{3}\) \(1\) \(3\) \(9\)

 

ตัวอย่างที่ 2 ตารางของค่า x และ y  เมื่อค่า x เพิ่มขึ้น ค่า y จะลดลง และเมื่อค่า x ลดลง ค่า y จะเพิ่มขึ้น

เรียก ฟังก์ชันในลักษณะนี้ว่า "ฟังก์ชันลด"

\(x\) \(-2\) \(-1\) \(0\) \(1\) \(2\)
\(y\) \(16\) \(4\) \(1\) \(\frac{1}{4}\) \(\frac{1}{16}\)

 

ที่นี้มาดูหลักในการพิจารณาว่าฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียลใด เป็นฟังก์ชันเพิ่ม และ ฟังก์ชันเอ็กซ์ชันโพเนนเชียลใดเป็น ฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเอ็กซ์โพเนนเชียลมีรูปแบบทั่วไปคือ \(y=a^{x}\) ถ้า ค่า \(a>1\)  ฟังก์ชันนั้นเป็น ฟังก์ชันเพิ่ม ตัวอย่างเช่น

\(y=5^{x}\)  \(,a=5\)  ซึ่งค่า a มากกว่า 1 ดังนั้นเป็นฟังก์ชันเพิ่ม

\(y=4^{2x}=(4^{2})^{x}=16^{x} \) \(,a=16\)  ซึ่งค่า a มากกว่า 1 ดังนั้นเป็นฟังก์ชันเพิ่มคับ

แต่ถ้า ค่าของ \( 0<a<1\)  ฟังก์ชันนั้นจะเป็นฟังก์ชันลดคับ  ยกตัวอย่างเช่น

\(y=\left(\frac{1}{2}\right)^{x}\) \(,a=\frac{1}{2}\)  ซึ่ง a มากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 ดังนั้นฟังชันนี้เป็นฟังก์ชันลดคับ

\(y=3^{-x}=\left(\frac{1}{3}\right)^{x}\) \(,a=\frac{1}{3}\) ซึ่งค่า a มากกว่า 0 แต่น้อยกว่า 1 ดังนั้นฟังก์นี้เป็นฟังก์ชันลดคับ

 

มาดูกราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล กันหลายๆแบบครับ เป็นกราฟที่ plot โดยใช้โปรแกรม geogebra นะครับใครอยากใช้ก็ไปดาวน์โหลดมาใช้ได้ฟรีเลยครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่า กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลตัดแกน \(Y\) ที่จุด \((0,1)\) เสมอครับ และจะมีกราฟฟังก์ชันเอกซ์โพที่เป็นฟังก์ชันเพิ่ม และเป็นฟังก์ชันลด ดูตามรูปได้เลยครับผม หวังว่าคงจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นนะครับ

ติดตามข้อมูลและเรียนรู้การทำแบบฝึกหัด 1.4 คณิตศาสตร์ ม.5 เพิ่มเติมได้ทีคลิปวิดีโอข้างล่างนี้ได้

We have 205 guests and no members online