ความชันของเส้นตรง ถ้าพูดถึงความชันของเส้นตรงแน่นอนทุกคนต้องนึกถึงความเอียงของเส้นถูกหรือเปล่าครับ เอียงมาก เอียงน้อย ถ้าใครยังคิดไม่ออก ให้เราลองนึกถึงบันได ถ้าบันไดชันมากๆ ก็จะขึ้นยาก ถูกต้องไหมครับ ที่นี้เรามาดู นิยามในทางคณิตศาสตร์บ้างว่าเขานิยามความชันของเส้นตรงไว้อย่างไรครับ
บทนิยาม
กำหนดให้ \(l\) เป็นเส้นตรงที่ผ่านจุด \(P_{1}(x_{1},y_{1})\) และ \(P_{2}(x_{2},y_{2})\) โดยที่ \(x_{1}\) กับ \(x_{2}\) ต้องไม่เท่ากัน
ให้ \(m\) เป็นความชันของเส้นตรง \(l\) สามารถหา \(m\) ได้จาก
\[m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\]
ดูภาพประกอบครับด้านล่างจะได้อ่านนิยามเข้าใจ
นี่คือนิยามของการหาความชันของเส้นตรงหรือว่าหาค่า \(m\) นั่นเองพยายามอ่านนิยามให้มันเข้าใจในครับ แล้วตรงนิยามเขาบอกว่า \(x_{1} กับ x_{2}\) ต้องไม่เท่ากัน ลองคิดเองนะครับว่าถ้ามันเท่ากันจะเกิดอะไรขึ้น (ดูรูปประกอบ) หรือในกรณีที่ \(y_{1}=y_{2}\) ความชันจะเป็นอยางไรลองคิดต่อเองในครับ
จากนิยามนี้ ก็คือถ้าเรารู้จุดสองจุดบนตรง เราก็จะหาความชัน(m) ของเส้นตรงนั้นได้ครับ
จากสูตรกาหาความชันของเส้นตรงคือ
\[m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\]
ถ้าเราลองเอา \(\frac{-1}{-1}\) คูณเข้าทั้งเศษและส่วน จะเห็นว่าลบหนึ่งส่วนลบหนึ่งก็คือ 1 นั่นเองนะครับ ลองเอาคูณเข้าดู อย่าลืมนะเอา 1 คูณตัวอะไรก็จะได้ตัวนั้นเหมือนเดิมหน้าตาอาจเปลี่ยนแต่ค่าเท่าเดิมจะได้
\begin{array}{lcl}m&=&\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\\&=&\frac{-1}{-1}\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\\&=&\frac{-1(y_{1}-y_{2})}{-1(x_{1}-x_{2})}\\&=&\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\end{array}
จากตรงนี้เราจะเห็นว่า
\[m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}=\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\]
เลือกใช้ก้อนไหนก็ได้ครับได้คำตอบเท่ากัน
มาดูตัวอย่างการทำแบบฝึกหัดกันดีกว่าครับ
1. จงหาความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุดสองจุดต่อไปนี้
1.1 (0,0) และ (2,6)
วิธีทำ จากสูตร
\(m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\) แทนค่าลงไปเลย
\(m=\frac{0-6}{0-2}=\frac{-6}{-2}=3\)
หรือใครจะใช้สูตรอีกสูตรก็ได้คำตอบเท่ากัน
\(m=\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\)
\(m=\frac{6-0}{2-0}=3\)
ดูรูปประกอบด้านล่างครับ
1.2 (5,3) และ (12,7)
วิธีทำ จากสูตร
\(m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\)
\(m=\frac{3-7}{5-12}=\frac{-4}{-7}=\frac{4}{7}\)
หรือใครจะใชูสูตรอีกสูตรก็ได้ครับคำตอบเท่ากัน
\(m=\frac{y_{2}-y_{1}}{x_{2}-x_{1}}\)
\(m=\frac{7-3}{12-5}=\frac{4}{7}\)
1.3 (t+1,s) และ (2t,s-3)
วิธีทำ
เลือกใช้สูตรไหนก็ได้นะครับไม่ต้องใช้ทั้งสองสูตรเหมือนข้อข้างบนเพราะความชันของเส้นตรงจะออกมาเท่ากันครับ
\(m=\frac{s-(s-3)}{(t+1)-2t}=\frac{3}{1-t}\)
2. จงหาค่า x ที่ทำให้เส้นตรงที่ผ่านจุด P และจุด Q มีความชันเท่ากับ m ตามที่กำหนดให้
2.1 P(5,2) และ Q(x,6) ; m=4
วิธีทำ ข้อนี้ก็ไม่มีอะไรมาก โจทย์เขากำหนดจุดสองจุดบนเส้นตรงมาให้และกำหนดความชันของเส้นตรงมาให้ด้วย แล้วให้พิกัดของจุดที่ขาดหายไป ก็แค่แทนลงไปในสูตรแล้วแก้สมการหาค่า x ก็จบครับ จากสูตร
\begin{array}{lcl}m=\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\end{array}
\begin{array}{lcl}4&=&\frac{2-6}{5-x}\\5-x&=&\frac{-4}{4}\\5-x&=&-1\\-x&=&-1-5\\-x&=&-6\\x&=&6\end{array}
2.2 P(6,-3) และ Q(9,x) ; \(m=\frac{-2}{3}\)
วิธีทำ ทำเหมือนเดิมครับ เหมือนข้อ 2.1 แทนค่าลงไปในสูตรได้เลยครับ
\begin{array}{lcl}m&=&\frac{y_{1}-y_{2}}{x_{1}-x_{2}}\\ \frac{-2}{3}&=&\frac{-3-x}{6-9}\\\frac{-2}{3}\times -3&=&-3-x\\2&=&-3-x\\2+3&=&-x\\-x&=&5\\x&=&-5\end{array}
3. จงหาความชันของเส้นตรงที่ผ่านจุด \((a,\frac{a}{b})\) และ \((b,\frac{b}{a})\) เมื่อ \(a\neq 0, b\neq 0\) และ \(a\neq b\)
วิธีทำ การทำก็ทำเหมือนเดิมครับแต่คำตอบออกมาจะติดตัวแปรก็เท่านั้นเองครับ มาหาความชันของเส้นตรงกันเลยครับ
\begin{array}{lcl}m&=&\frac{\frac{a}{b}-\frac{b}{a}}{a-b}\\m&=&\frac{\frac{a^{2}-b^{2}}{ab}}{a-b}\\m&=&\frac{(a-b)(a+b)}{ab}\cdot \frac{1}{(a-b)}\\m&=&\frac{a+b}{ab}\end{array}
4. กำหนดให้ P(-6,4) , Q(1,4) , R(-1,-1) , และ S(-8,-1) เป็นจุดยอดของรูปสี่เหลี่ยมจงหาความชันของส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้นซึ่งแบ่งรูปสี่เหลี่ยมนี้ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีพื้นที่เท่ากัน
วิธีทำ การทำข้อนี้ควรวาดภาพประกอบครับจะได้เห็นภาพชัดเจนครับ เรามาหาความชันของเส้นตรงกันเลยครับ ดูภาพประกอบนะ
ตามรูปนะครับ จะเห็นว่าเส้นตรงที่แบ่งสี่เหลี่ยมออกเป็นสามเหลี่ยมสองรูปเท่าๆกันคือเส้นสีแดงและเส้นสีเขียว
เรามาหาความชันของเส้นตรงสีเขียวก่อนครับ ผมให้เส้นตรงสีเขียวนี้มีความชันเป็น \(m_{1}\) จะได้
\begin{array}{lcl}m_{1}&=&\frac{-1-4}{-8-1}\\m_{1}&=&\frac{-5}{-9}\\m_{1}&=&\frac{5}{9}\end{array}
ต่อไปหาความชันของเส้นตรงสีแดง ผมให้เส้นตรงสีแดงมีความชันเป็น \(m_{2}\) จะได้
\begin{array}{lcl}m_{2}&=&\frac{-1-4}{-1-(-6)}\\m_{2}&=&\frac{-5}{5}\\m_{2}&=&-1\end{array}