อินเวอร์สฟังก์ชัน หรือก็คือ ผกผันฟังก์ชัน หรือไม่ก็ฟังก์ชันผกผัน ใช้กันหลายคำเหลือเกินแต่ความหมายเหมือนกันครับผมขอใช้อินเวอร์สฟังก์ชันนะครับ เรามาดูความหมายกันดีกว่าครับว่าอินเวอร์สฟังก์ชันมันหมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าเข้าใจความหมายแล้วมันก็ไม่ยากเลยครับ

สมมติ เรามีฟังก์ชันอันหนึ่งผมให้ชื่อว่าฟังก์ชัน f  แล้วกันครับซึ่งผมกำหนดให้

\(f=\{(1,2),(3,4),(5,6)\}\)

อินเวอร์สของฟังก์ชัน f  เขียนแทนด้วย \(f^{-1}\)  ซึ่งก็คือ

\(f^{-1}=\{(2,1),(4,3),(6,5)\}\)

ซึ่งถ้าเราสังเกตจะเห็นว่า อินเวอร์ของฟังก์ชัน \(f\)  คือการสลับตำแหน่งของคู่อันดับนั่นเองครับหรือถ้าเขียนเป็นแผนภาพก็จะได้ดังนี้ครับ

ซึ่งจากแผนภาพเราจะได้ว่า

\(f(1)=2\)     ฟังก์ชัน f  ส่งหนึ่งไปยังสอง

\(f(3)=4\)

\(f(5)=6\)

ต่อไปมาดูแผนภาพของ อินเวอร์สของฟังก์ชัน \(f\)  หรือว่า \(f^{-1}\)  กันบ้างครับก็จะได้ดังรูป

ซึ่งจากแผนภาพเราจะได้ว่า

\(f^{-1}(2)=1\)

\(f^{-1}(4)=3\)

\(f^{-1}(6)=5\)

มองภาพให้ออกหรือว่าเข้าใจ concept มันได้ก็จะไม่ยากครับเรื่องนี้ concept มีเพียงเท่านี้ครับ เรามาสรุปอีกทีกันครับ

\(f=\{(1,2),(3,4),(5,6)\}\)

\(f^{-1}=\{(2,1),(4,3),(6,5)\}\)

จะสังเกตเห็นว่าโดเมนของ \(f\)  จะกลายมาเป็นเรนจ์ของ \(f^{-1}\)

เรนจ์ของ \(f\)  จะกลายมาเป็นโดเมนของ \(f^{-1}\)

\(f(1)=2\)   เราจะได้ว่า  \(f^{-1}(2)=1\)

\(f(3)=4\)   เราจะได้ว่า  \(f^{-1}(4)=3\)

\(f(5)=6\)   เราจะได้ว่า  \(f^{-1}(6)=5\)

อีกทฤษฎีบทหนึ่งที่สำคัญครับ เพราะฟังก์ชันทุกฟังก์ชันไม่ได้มีตัวผกผันเสมอไปครับก็คือ

ทฤษฎีบท 1 ให้ \(f\)  เป็นฟังก์ชัน 

\(f\)  มีฟังก์ชันผกผัน ก็ต่อเมื่อ \(f\)  เป็นฟังก์ชัน 1-1\)

สำหรับคำอธิบายทฤษฎีบทนี้คือ ฟังก์ชันใดๆจะมีอินเวอร์ส  ฟังก์ชันนี้ต้องเป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งเท่านั้นครับ

ยกตัวอย่างเช่น 

ฟังก์ชัน \(f\) ซึ่งกำหนดโดย \(f(x)=3x+1\) ฟังก์ชันนี้จะมีอินเวอร์สของหรือไม่

วิธีทำ การที่เราต้องการรู้ว่าฟังก์ชันที่กำหนดมาให้ มีอินเวอร์สไหม เราต้องเช็คว่ามันเป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งหรือไม่ถ้ามันเป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งฟังก์ชันนั้นๆจะมีอินเวอร์สครับ ซึ่งการเช็คว่าฟังก์ชันนั้นเป็นฟังก์ชัน 1-1 หรือไม่ง่ายมากครับ มาเริ่มกันเลย

กำหนดให้ \(x_{1},x_{2}\) เป็นจำนวนจริงใดๆ ซึ่ง \(f(x_{1})=f(x_{2})\)  เพราะฉะนั้นเราจะได้ว่า

\begin{array}{lcl}3x_{1}+1&=&3x_{2}+1\\3x_{1}&=&3x_{2}\\x_{1}&=&x_{2}\end{array}

ดังนั้น \(f\)  เป็นฟังก์ชัน 1-1 เมื่อ \(f\)  เป็นฟังก์ชัน 1-1 แสดงว่ามันต้องมีอินเวอร์สครับ

 

ต่อไปเราก็จะลองทำแบบฝึกหัดอินเวอร์สของฟังก์ชันกันครับ

1. สมมติว่า f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง

1) ถ้า  \(f(3)=10\)  จงหา \(f^{-1}(10)\)

เนื่องจาก \(f(3)=10\) 

ดังนั้น  \(f^{-10}=3\)

2) ถ้า \(f^{-1}(4)=3\)  จงหา \(f(3)\)

เนื่องจาก \(f^{-1}(4)=3\)

ดังนั้น \(f(3)=4\) 

3)  ถ้า  \(f(x)=5+2x\)  แล้ว  จงหา  \(f^{-1}(10)\)

จาก \(f(\frac{5}{2})=5+2(\frac{5}{2})=5+5=10\)

นั่นคือ \(f(\frac{5}{2})=10\)

ดังนั้น \(f^{-1}(10)=\frac{5}{2}\)


2. จงแสดงว่า f  และ g เป็นผกผันของกันและกัน โดยใช้สมบัติของฟังก์ชันผกผัน

1)  \(f(x)=x+5\quad ,\quad g(x)=x-5\)

วิธีทำ

\(f\circ g(x)=f(g(x))=f(x-5)=x-5+5=x\)

\(g\circ f(x)=g(f(x))=g(x+5)=x+5-5=x\)

จะเห็นว่า

\(f\circ g(x)=g\circ f(x)\)

ดังนั้น \(f\) และ \(g\)  เป็นอินเวอร์สของกันและกัน


2)  \(f(x)=2x+5 \quad , \quad g(x)=\frac{x-5}{2}\)

วิธีทำ

\(f\circ g(x)=f(g(x))=f(\frac{x-5}{2})=2(\frac{x-5}{2})+5)=x\)

\(g\circ f(x)=g(f(x))=g(2x+5)=\frac{2x+5-5}{2}=x\)

ดังนั้น \(f\) และ \(g\)  เป็นอินเวอร์สของกันและกัน


3)  \(f(x)=x^{2}-4\quad , x\geq 0 \quad , g(x)=\sqrt{x+4} \quad , x\geq -4\)

วิธีทำ 

\(f\circ g(x)=f(g(x))=f(\sqrt{x+4})=(\sqrt{x+4})^{2}-4)=x+4-4=x\)

\(g\circ f(x)=g(f(x))=g(x^{2}-4)=\sqrt{x^{2}-4+4}=\sqrt{x^{2}}=|x|=x\)  เนื่องจาก \(x\geq 0\) ดังนั้น \(|x|=x\)

ดังนั้น \(f\) และ \(g\)  เป็นอินเวอร์สของกันและกัน


3. จงหาฟังก์ชันผกผันของ f

1)  \(f(x)=3x+1\)

วิธีทำ

ให้   \(y=3x+1\)

จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&3x+1\\y-1&=&3x\\x&=&\frac{y-1}{3}\end{array}

ต่อไปเปลี่ยน y  เป็น x  และ ก็เปลี่ยน x เป็น y จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&\frac{x-1}{3}\end{array}

ดังนั้น

\(f^{-1}=\frac{x-1}{3}\)


2)  \(f(x)=\frac{x+2}{x-2}\)

วิธีทำ 

ให้   \(y=\frac{x+2}{x-2}\)

จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&\frac{x+2}{x-2}\\y(x-2)&=&(x+2)\\yx-2y&=&x+2\\yx-x&=&2+2y\\x(y-1)&=&2+2y\\x&=&\frac{2+2y}{y-1}\end{array}

ต่อไปเปลี่ยน y  เป็น x  และ ก็เปลี่ยน x เป็น y จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&\frac{2+2x}{x-1}\end{array}

ดังนั้น

\(f^{-1}=\frac{2+2x}{x-1}\)     เมื่อ \(x \neq 1\)


3)  \(f(x)=\sqrt{2x+1}\)

วิธีทำ

ให้  \(y=\sqrt{2x+1}\)

จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&\sqrt{2x+1}\\y^{2}&=&2x+1\\2x&=&y^{2}-1\\x&=&\frac{y^{2}-1}{2}\end{array}

ต่อไปเปลี่ยน y  เป็น x  และ ก็เปลี่ยน x เป็น y จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&\frac{x^{2}-1}{2}\end{array}

ดังนั้น

\(f^{-1}=\frac{x^{2}-1}{2}\)  


4. กำหนดฟังก์ชัน f ให้ดังนี้

ก.  \(f(x)=\sqrt{x+3}\)

ข.  \(f(x)=3x+6\)

1)  จงเขียนกราฟของ \(f\)

2)  จงเขียนกราฟของ  \(f^{-1}\)

วิธีทำ

ทำข้อ ก. ก่อนครับ

เรามาเขียนกราฟของ   \(f(x)=\sqrt{x+3}\)  ได้ดังรูปนะครับ ก็คือลองกำหนดค่า x แล้วเอาไปบวกกับ 3 ให้มันถอดรากได้ครับอย่างเช่น

ถ้า x=-3  จะได้ \(y=\sqrt{-3+3}=0\)

ถ้า  x=-2  จะได้  \(y=\sqrt{-2+3}=1\)

ถ้า x=1  จะได้  \(y=\sqrt{1+3}=2\)

ถ้า  x=6  จะได้  \(y=\sqrt{6+3}=3\)

ถ้า  x=13  จะได้  \(y=\sqrt{13+3}=4\)

ลองกำหนด คร่าวอย่างนี้เราจะได้มองเห็นกราฟว่ามันจะเป็นอย่างไร เราก็จะได้คู่อันดับไปวาดกราฟครับ

(-3,0),(-2,1),(1,2),(6,3),(13,4)

ต่อไปหา  \(f^{-1}\)  บ้างครับจาก

\(y=\sqrt{x+3}\)

จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&\sqrt{x+3}\\y^{2}&=&x+3\\x&=&y^{2}-3\end{array}

ต่อไปเปลี่ยน y  เป็น x  และ ก็เปลี่ยน x เป็น y จะได้

\begin{array}{lcl}y&=&x^{2}-3\end{array}

ดังนั้น 

\(f^{-1}=x^{2}-3\)

ข้อสังเกตโดเมนของ \(f^{-1}\geq 0\) จึงได้กราฟของ \(f\) และ \(f^{-1}\)  ออกมาดังรูปครับ