มาดูการแก้อมการที่ติดอยู่ในค่าสัมบูรณ์กันครับก่อนที่จะมาแก้อสมการที่ติดในค่าสมบูรณ์ควรไปศึกษาพวกนี้ก่อนครับก็คือการแก้อสมการธรรมดาที่ไม่ติดค่าสัมบูรณ์ครับตามลิงค์ด้านล่างครับ

ช่วงและการแก้อสมการ โดยเฉพาะเรื่องช่วงและการแก้อสมการต้องอ่านให้เข้าใจนะครับเพราะต้องใช้ต่อยอดในการอ่านเรื่องนี้ครับ

อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ต่อไปมาดูตัวอย่างพวกนี้กันก่อนครับแล้วผมจะโยงจากตัวอย่างไปยังทฤษฎีบท แล้วนำทฤษฏีบทไปใช้แก้อสมการที่ติดค่าสัมบูรณ์ต่อไปครับ

สมมุติถ้าเราต้องการแก้อสมการนี้ \(|x|<2\) ความหมายก็คือค่าสัมบูรณ์ของอะไรเอ่ยน้อยกว่าสอง

จะเห็นว่าถ้าผมให้

\(x=0\)  จะได้ว่า

\(|0|<2\)

\(0<2\)  เป็นจริง

ถ้าให้ \(x=-1\)  จะได้ว่า

\(|-1|<2\)

\(1<2\)   เป็นจริง

ถ้าผมให้ \(x=-1.5\)  จะได้ว่า

\(|-1.5|<2\)

\(1.5<2\)  เป็นจริง

ถ้าผมให้ x=2  จะได้ว่า

\(|2|<2\)

\(2<2\)  เป็นเท็จ

ถ้าผมให้ x=-3  จะได้ว่า

\(|-3|<2\) 

\(3<2\) เป็นเท็จ

หรือถ้าเขียนคำตอบบนเส้นจำนวนจะได้ดังนี้ครับ

ซึ่งความหมายของมันก็คือ \(-2<x<2\)

ดังนั้นเซตคำตอบของ x คือ \(\{x|-2<x<2\}\)

*** ถ้าสรุปก็คือ ถ้า \(a\)  เป็นจำนวนจริงบวก

\(|x|<a\)  จะหมายถึง \(-a<x<a\)  ครับ

เหมือนข้อข้างบน

ถ้าให้คำตอบของอสมการ \(|x|<2\)  จะหมายถึง \(-2<x<2\)  เห็นไหมได้แล้วคำตอบ

ในขณะเดียวกัน

\(|x|\leq a\)  จะหมายถึง \(-a\leq x\leq a\)

ถ้าให้หาของอสมการ \(|x|\leq 2\) จะหมายถึง \(-2\leq x\leq 2\)  ได้แล้วคำตอบ

ไปดูกันต่อกันครับ

สมมติผมให้แก้อสมการนี้ \(|x|>3\)  ก็คือค่าสัมบูรณ์ของอะไรเอ่ยมีค่ามากกว่า 3 ถ้าเราลองคิดเล่นๆจะเห็นว่า

ถ้าผมให้ x=-3  จะได้

\(|-3|>3\)

\(3>3\)   เป็นเท็จ

ถ้าผมให้ x=-4  จะได้

\(|-4|>4\)

\(4>4\)  เป็นจริง

ถ้าผมให้ x=-5  จะได้

\(|-5|>3\)

\(5>3\)  เป็นจริง

.................

ถ้าผมให้ x=3 จะได้ว่า

\(|3|>3\)  เป็นเท็จ

ถ้าผมให้ x=4  จะได้ว่า

\(|4|>4\)  เป็นจริง

ถ้าผมให้ x=5  จะได้

\(|5|>3\)  เป็นจริง

ซึ่งจะเห็นว่า ถ้าคำตอบของอสมการ \(|x|>3\)  ถ้าเขียนบนเส้นจำนวนคือ

จะเห็นว่าคำตอบของอสมการความหมายคือ \(x>-3 \)  หรือ \(x>3\) ดังนั้นถ้าเขียนเป็นเซตคำตอบคือ

\(\{x|x<-3\quad หรือ \quad x>3\}\) 

***ถ้าสรุปก็คือ ถ้า \(a\)  เป็นจำนวนจริงบวก

\(|x|>a\)  จะหมายถึง \(x<-a\quad หรือ \quad x>a\)

เหมือนข้อข้างบนคำตอบของอสมการ \(|x|>3\)  คือ \(x<-3\quad หรือ \quad x>3\)

ในขณะเดียวกัน

\(|x|\geq a\)  จะหมายถึง \(x \leq -a\quad หรือ \quad x\geq a\)  เช่นถ้าต้องการหาคำตอบของ อสมการ

\(|x| \geq 3\)  คำตอบคือ \(x \leq -3 \quad หรือ \quad x\geq 3\)

 

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาสรุปเป็นทฤษฎีเพื่อคำตอบอสมการติดค่าสัมบูรณ์ได้ดังนี้

ทฤษฏีบท เมื่อ \(a\)  เป็นจำนวนจริงบวก

1. \(|x|<a\)  ความหมายตรงกับ  \(-a<x< a\)

2.\(|x|\leq a\)  ความหมายตรงกับ \(-a\leq x\leq a\)

3. \(|x|>a\)  ความหมายตรงกับ \(x<-a\quad  หรือ\quad x>a\)

4. \(|x|\geq a\)  ความหมายตรงกับ \(x\leq -a \quad หรือ \quad x\geq a\)

เราจะนำทฤษฏีบททั้ง 4 ข้อนี้แหละครับไปใช้ในการแก้อสมการที่ติดค่าสัมบูรณ์ครับไปทำแบบฝึกหัดกันเลยครับ

แบบฝึกหัดการแก้อมการที่ติดเครื่องหมายค่าสัมบูรณ์

1. จงหาเซตคำตอบของอสมการต่อไปนี้

1) \(|x-2|<1\)

วิธีทำ  

ถ้าเราดูจากโจทย์อสมการนี้ \(|x-2|<1\)  เข้ากับทฤษฏีข้อที่ \(|x|<a\)  ดังนั้นการทำข้อนี้ก็คือ

\begin{array}{lcl}|x-2|&<&1\\ความหมายคือ\\-1&<&x-2&<&1\\-1+2&<&x&<&1+2\\1&<&x&<&3\end{array}

เซตของคำตอบคือ \(\{x|1<x<3\}\)


2) \(|x+3|>5\)

วิธีทำ 

ถ้าเราดูจากโจทย์อสมการนี้ \(|x+3|>5\)  เข้ากับทฤษฎีข้อที่ \(|x|>a\) ดังนั้นการทำข้อนี้คือ

\(|x+3|>5\)  จะได้คือ

\(x+3<-5\)   หรือ  \(x+3>5\)

\(x<-5-3\)  หรือ \(x>5-3\)

\(x<-8\)  หรือ  \(x>2\)

เซตคำตอบของอสมการคือ

\(\{x|x>2\quad หรือ \quad  x<-8\}=(-\infty,-8)\cup (2,\infty)\)


3) \(|2x-1|\leq 11\)

วิธีทำ

ถ้าเราดูจากโจทย์อสมการนี้  \(|2x-1|\leq 11\) เข้ากับทฤษฎีข้อที่ \(|x|\leq a\)  ดังนั้นการทำข้อนี้คือ

\(-11\leq 2x-1\leq 11\)

\(-10\leq 2x \leq 12\)

\(-5\leq x \leq 6\)

เซตคำตอบของอสมการนี้คือ

\(\{x|-5\leq x\leq 6\}=[-5,6]\)


4) \(|x|\geq |x-1|\)  

วิธีทำ ข้อนี้ต้องยกกำลังสองทั้งสองข้างครับจะได้

\begin{array}{lcl}|x|&\geq& |x-1|\\|x|^{2}&\geq& |x-1|^{2}\\x^{2}&\geq& (x-1)^{2}\\x^{2}&\geq& x^{2}-2x+1\\0&\geq& -2x+1\\-2x+1&\leq& 0\\-2x&\leq& -1\\x&\geq& \frac{1}{2}\end{array}

เซตคำตอบของอสมการนี้คือ

\(\{x|x\geq \frac{1}{2}\}=[\frac{1}{2},\infty)\)


5) \(3|x-2|\leq |x+6|\)

วิธีทำ ถ้าทั้งสองของอสมการมีเครื่องหมายค่าสัมบูรณ์ติดอยู่ก็ทำการยกกำลังสองเพื่อให้ค่าสัมบูรณ์หายไปครับ

\begin{array}{lcl}3|x-2|\leq |x+6|\\(3|x-2|)^{2}\leq (|x+6|)^{2}\\3^{2}(x-2)^{2}\leq (x+6)^{2}\\9(x^{2}-4x+4)\leq x^{2}+12x+36\\9x^{2}-36x+36\leq x^{2}+12x+36\\8x^{2}-48x\leq 0\\x^{2}-6x\leq 0\\x(x-6)\leq 0\end{array}

คำของอสมการคือ ใครที่ไม่รู้ว่าควรทำไงต่อไปอ่านตามลิงค์นี้ครับ ช่วงและการแก้อสมการ

ดังนั้นเซตคำตอบของอสมการคือ

\(\{x|0\leq x\leq 6\}=[0,6]\)


6) \(|\frac{x}{x+4}|>2\)

วิธีทำ เริ่มทำเลยครับไม่ยากดูแนวทางการทำให้ดีแล้วค่อยปรับไปใช้ในการทำโจทย์ข้ออื่นต่อไปครับ

\begin{array}{lcl}|\frac{x}{x+4}|>2\\\frac{|x|}{|x+4|}>2\\|x|>2|x+4|\end{array}

สามารถย้ายไปคูณได้เลยไม่เพราะติดค่าสัมบูรณ์ค่ามากกว่าเท่ากับศูนย์เสมอ แต่ x ไม่เท่ากับ -4 ต่อไปทำการยกกำลังสองทั้งสองข้างเลยครับจะได้

\begin{array}{lcl}|x|^{2}>(2|x+4|)^{2}\\x^{2}>2^{2}(x+4)^{2}\\x^{2}>4(x^{2}+8x+16)\\x^{2}>4x^{2}+32x+64\\x^{2}-4x^{2}-32x-64>0\\-3x^{2}-32x-64>0\\3x^{2}+32x+64<0\\(3x+8)(x+8)<0\end{array}

จะได้คำตอบดังแสดงบนเส้นจำนวนดังนี้ครับ

่ดังนั้นเซตคำตอบคือ

\(\{x|-8<x<-4  \quad หรือ \quad -4<x<-\frac{8}{3}\}=(-8,-4)\cup (-4,-\frac{8}{3})\)


7) \(|x^{2}-3x+2|<2\)

วิธีทำ ข้อนี้ถ้าเราทำการยกกำลังสองทั้งสองข้างก็ทำให้เกิดกำลังสี่ซึ่งอาจจะยากต่อการแก้อสมการครับ ฉนั้นเราจะทำการแก้อสมการข้อนี้โดยการใช้นิยามของค่าสัมบูรณ์(Absolute) ไปดูตามลิงค์นะครับสำหรับคนที่ยังจำนิยามไม่ได้ จะแบ่งการทำออกเป็น 2 กรณีครับ

กรณีที่ 1  คือกรณีที่ \(x^{2}-3x+2\geq 0\)

ดังนั้น \(|x^{2}-3x+2|=x^{2}-3x+2\) จะได้

\(x^{2}-3x+2\geq 0\)

\((x-2)(x-1)\geq 0\)

จะได้คำตอบด้งแสดงบนเส้นจำนวน

แต่โจทย์บอกว่า \(x^{2}-3x+2<2\)  ดังนั้นจะได้

\(x^{2}-3x+2<2\)

\(x^{2}-3x+2-2<0\)

\(x^{2}-3x<0\)

\(x(x-3)<0\)

เขียนคำตอบแสดงบนเส้นจำนวนได้ดังนี้

ใครที่เขียนคำตอบแสดงบนเส้นจำนวนยังไม่ได้ให้ไปดูที่ ช่วงและการแก้อสมการ

เอาทั้งสองคำตอบมาอินเตอร์เซคกันก็จะได้ ดังรูป

ดังนั้นค่า \(x\) ที่สอดคล้องกับกรณีที่ 1 คือ 

\(\{x|0<x\leq 1 \quad หรือ \quad 2\leq x <3\}=(0,1] \cup [2,3)\)

ต่อไปทำกรณีที่ 2

กรณีที่ 2  คือ กรณีที่ \(x^{2}-3x+2<0\)

ดังนั้น \(|x^{2}-3x+2|=-(x^{2}-3x+2)\)  จะได้

\(x^{2}-3x+2<0\)

\((x-1)(x-2)<0\)

จะได้คำตอบด้งแสดงบนเส้นจำนวน

หรือถ้าตอบเป็นเซตก็คือ \(\{1<x<2\}=(1,2)\)

แต่โจทย์บอกว่า \(x^{2}-3x+2<2\)  ดังนั้นจะได้

\(-(x^{2}-3x+2)<2\)

\(x^{2}-3x+2>-2\)

\(x^{2}-3x+4>0\)

จะเห็นว่าอสมการนี้คำตอบคือจำนวนจริงใดๆทั้งหมดเลยครับหรือว่า \(\mathbb{R}\) นั่นเอง

เอาทั้งสองคำตอบมาอินเตอร์เซคกันก็คือ

\((1,2)\cup \mathbb{R}=(1,2)\)

ดังนั้นในกรณีที่ 2 ตอบ \(\{1<x<2\}=(1,2)\)