สำหรับการหาเลขยกำลัง เรามีทฤษฎีบทเกี่ยวกับเลขยกกำลังรองรับคือ  \(\frac{a^{m}}{a^{n}}=a^{m-n}\)

และอีกข้อที่ต้องใช้บ่อยก็คือ \((a^{m})^{n}=a^{mn}\)

ยกตัวอย่างเช่น

\(\frac{5^{4}}{5^{2}}=5^{4-2}=5^{2}\)

\((2^{3})^{4}=2^{3\times 4}=2^{12}\)

ดูตัวอย่างกันเลยครับ

ตัวอย่าง จงหาผลลัพธ์ในรูปอย่างง่าย

\(1) \quad (5^{0})^{0}\)

\(=5^{0\times 0}\)

\(=5^{0}\)

\(=1\)


\(2)\quad (3a^{2}b^{2})^{0})\)   เมื่อ a,b ไม่เท่ากับ 0

ข้อนี้ตอบ 1  เพราะจำนวนจริงใดๆ ยกกำลัง 0 มีค่าเท่ากับ 1   (ยกเว้น 0 นะ)


\(3)\quad (5^{-3})^{-2}\)

ข้อนี้เอาเลขชี้กำลังที่ซ้อนกันอยู่คูณกันเลยครับ

\(=5^{(-3\times -2)}\)

\(=5^{6}\)


\(4)\quad  (9^{-1}\times 3^{5}\times 3^{-1})^{2}\)

ขอนี้ทำฐานให้เท่ากันให้หมดก่อนคือ ทำ 9 ให้เป็นสามยกกำลังสอง จะได้

\(=\left( (3^{2})^{-1}\times 3^{5}\times 3^{-1}\right)^{2}\) 

\(=\left((3^{-2})\times 3^{5}\times 3^{-1}\right)^{2}\)       ต่อไปทำข้างในวงเล็บก่อน

\(=\left(3^{(-2+5+(-1))}\right)^{2}\)

\(=(3^{2})^{2}\)      ต่อไปเอาเลขชี้กำลังคูณกันเลย

\(=3^{4}\)


\(5)\quad (2a^{-1}a^{2}a^{3})^{-3}\)       เมื่อ a ไม่เท่ากับ 0

วิธีทำ ข้อนี้ไม่ยาก ทำข้างในวงเล็บก่อนแล้วกัน   ฐานเท่ากันจับเลขชี้กำลังบวกกัน

\(=\left(2a^{(-1)+(2)+(3)}\right)^{-3}\)

\(=\left(2a^{4}\right)^{-3}\)     กระจายเลขชี้กำลังเข้าไปข้างในวงเล็บ

\(=2^{-3}a^{4\times -3}\)

\(=2^{-3}a^{-12}\)         ทำเลขชี้กำลังให้เป็นบวกโดยใช้ทฤษฏีนี้คือ \(a^{-n}=\frac{1}{a^{n}}\)    จะได้

\(=\frac{1}{2^{3}a^{12}}\)

ตัวอย่าง จงหาผลลัพธ์ต่อไปนี้

\(1)\quad \left[(4^{-1})^{-2} \div (2^{-5})^{2}\right]^{2}\)

วิธีทำ ข้อนี้จัดการข้างในก่อนครับ เลขชี้กำลังที่มันซ้อนกันจับคูณกันให้หมด

\(\quad \left[(4^{-1})^{-2} \div (2^{-5})^{2}\right]^{2}\)

\(=\quad \left[(4^{2}) \div (2^{-10})\right]^{2}\)       กระจายเลขชี้กำลังที่อยู่ข้างนอกคูณเข้าไปอีกครับ

\(=\quad \left[(4^{8}) \div (2^{-20})\right]\)     สังเกตว่าฐานยังไม่เท่ากัน ทำฐานให้เท่ากันคือฐานเป็น 2

\(=\quad \left[(2^{16}) \div (2^{-20})\right]\)     อย่าล้มนะ  \(4=2^{2}\) แล้วเอา 8 คูณเข้าก็จะเป็น 16

\(=\quad \left[(2^{16-(-20)}) )\right]\)      ฐานเท่ากันจับเลขชี้กำลังลบกัน

\(=\quad (2^{36} )\)  


\(2)\quad (3^{2}\times 2^{4})^{3} \div (3^{-1}\times 2^{5})^{-2}\)

วิธีทำ ข้อนี้ไม่ยาก จับเลขชี้กำลังที่อยู่ข้างนอกคูณเข้าไปเลย ไม่ต้องคิดไรมาก

\( (3^{2}\times 2^{4})^{3} \div (3^{-1}\times 2^{5})^{-2}\)

\(= (3^{6}\times 2^{12}) \div (3^{2}\times 2^{-10})\)        จะเห็นว่ามันหารกันอยู่ฉะนั้นฐานเท่ากันจับเลขชี้กำลังลบกันได้

\(=3^{6-2}\times 2^{12-(-10)}\)

\(=3^{4} \times 2^{22}\)


\(3)\quad 12^{-7} \div (3^{-7} \times 4^{-7})\)

วิธีทำ จะเห็นว่าข้อนี้ไม่มีฐานเท่ากันเลย  เราจำเป็นต้องทำฐานให้เท่ากันก่อนจะเห็นว่า 12 คือ 3 คูณ 4

\( 12^{-7} \div (3^{-7} \times 4^{-7})\)

\( =(3\times 4)^{-7} \div (3^{-7} \times 4^{-7})\)

\(=3^{-7}\times 4^{-7} \div (3^{-7} \times 4^{-7})\)    ฐานเท่ากันแล้วจับเลขชี้กำลังลบกันได้

\(=3^{-7-(-7)}\times 4^{-7-(-7)}\)

\(=3^{-7+7}\times 4^{-7+7}\)

\(=3^{0}\times 4^{0}\)

\(=1\)


\(4)\quad (2^{5}\times (0.4)^{-5})\div (0.2)^{-5}\)

วิธีทำ  ข้อนี้จะเห็นว่าเขาเพิ่มความยากโดยเอาทศนิยมมาเล่น ฉะนั้นทำทศนิยมให้เป็นเศษส่วนก่อนเพื่อความง่าย

จะเห็นว่า \(0.4=\frac{4}{10}=\frac{2}{5}\)     และ     \(0.2=\frac{2}{10}=\frac{1}{5}\)

เป็นทศนิยมเป็นเศษส่วนก่อนก็ได้เหมือนบรรทัดบน

\(=2^{5}\times (0.4)^{-5})\div (0.2)^{-5}\)

\(=2^{5}\times (\frac{2}{5})^{-5})\div (\frac{1}{5})^{-5}\)

\(=(\frac{2^{5}\times 2^{-5}}{5^{-5}})\div (\frac{1}{5})^{-5}\)

\(=\frac{1}{2^{-5}}\div (\frac{1}{5})^{-5}\)

\(=(\frac{1}{5})^{-5}\div (\frac{1}{5})^{-5}\)

\(=1\)