• ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (61)

    61. กำหนดฟังก์ชัน \(f\) และ \(g\) ดังนี้

    \(f(2x-1)=4x-a\quad ,\quad a>0\) และ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ถ้า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\)

    แล้ว \(f(a)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 6
    2. 7
    3. 10
    4. 17

    วิธีทำ  ข้อนี้ต้องทำหลายขั้นตอนหน่อยคับ แต่ไม่ยาก เป็นข้อสอบ Entrance เก่าๆ เอามาเล่าใหม่คับ  เราจะเริ่มทำดังนี้นะคับ

    \begin{array}{lcl}f(2x-1)&=&4x-a\\Let\quad A&=&2x-1\\x&=&\frac{A+1}{2}\\so\\f(A)&=&4(\frac{A+1}{2})-a\\f(A)&=&2A+2-a\quad\cdots (1)\end{array}

    จากโจทย์ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ดังนั้น

    \(g(\sqrt{x+1})=x\) เริ่มทำต่อเลย

    \begin{array}{lcl}g(\sqrt{x+1})&=&x\\Let\quad B&=&\sqrt{x+1}\\B^{2}&=&x+1\\x&=&B^{2}-1\\so\\g(B)&=&B^{2}-1\quad\cdots (2)\end{array}

    ต่อไปเราจะเริ่มหาคำตอบแล้วนะคับ แต่ให้สังเกตสมการที่ \((1)\) และ สมการที่ \((2)\) ไว้ให้ดีๆ

    โจทย์บอกว่า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(a)&=&a^{2}+20\\f(g(a))&=&a^{2}+20\\from\quad (2)\\ we\quad get\\f(a^{2}-1)&=&a^{2}+20 \\and\quad from\quad (1)\\ we\quad get \\2(a^{2}-1)+2-a&=&a^{2}+20\\2a^{2}-2+2-a&=&a^{2}+20\\a^{2}-a-20&=&0\\(a-5)(a+4)&=&20\\so\\a=5,-4\\but\quad a>0\\so\\a&=&5\end{array}

    ต่อไปจะหาคำตอบจริงๆแล้ว

    จากสมการที่ \((1)\)  คือ \(f(A)=2A+2-a\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(a)&=&2a+2-a\\f(a)&=&a+2\\ because\quad a=5\\so\\f(5)&=&5+2\\&=&7\quad\underline{Ans}\end{array}

     

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (62)

    62. ถ้า \(g(x)=2x\) และ \((f\circ g)(x)=x^{2}-1\) แล้ว ค่าของ \((g^{-1}\circ f)(10)\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้สสอบ entrance เก่านะคับ ไม่ได้ยากมาก แต่ก็ต้องทำให้ได้ครับเพราะพวกข้อสอบวิชาสามัญ ข้อสอบ A-level ข้อสอบฟังก์ชันออกประมาณนี้คับผม เริ่มทำกันเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(x)&=&x^{2}-1\\f(g(x))&=&x^{2}-1\\f(2x)&=&x^{2}-1\\so\\ f(10)=f(2\cdot 5)\\f(2\cdot 5)&=&5^{2}-1\\f(10)&=&24\end{array}

    ต่อไปก็เริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}(g^{-1}\circ f)(10)&=&g^{-1}(f(10))\\&=&g^{-1}(24)\\because\\ g(x)&=&2x\\so\\g(12)&=&2\cdot 12\\g(12)&=&24\\then\\g^{-1}(24)&=&12\quad\underline{Ans}\end{array}

     

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (63)

    63. กำหนดให้ \(g(x)=\left[f(x)\right]^{4}\) ถ้า \(f(1)=2\) และ \(f^{\prime}(x)=\frac{5}{x}\) แล้วค่าของ \(g^{\prime}(1)\) คือข้อใดต่อไปนี้

    1. 100
    2. 120
    3. 140
    4. 160

    วิธีทำ  ข้อนี้ให้เอาฟังก์ชัน \(g\) มาดิฟครับซึ่งการดิฟฟังก์ชัน\(g\) นั้นต้องดิฟแบบใช้ กฎลูกโซ่ ก็คือดิฟใน แล้วดิฟนอกนั่นแหละคับ เริ่มทำกันเลย

    \begin{array}{lcl}g(x)&=&\left[f(x)\right]^{4}\\g^{\prime}(x)&=&4\left[f(x)\right]^{3}f^{\prime}(x)\\g^{\prime}(x)&=&4\left[f(x)\right]^{3}\frac{5}{x}\\so\\g^{\prime}(1)&=&4\left[f(1)\right]^{3}(5)\\g^{\prime}(1)&=&(4)(2)^{3}(5)\\g^{\prime}(1)&=&(4)(8)(5)\\g^{\prime}(1)&=&160\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (64)

    64. กำหนดให้ \(f(x)=\frac{\left(x^{2}-1\right)^{3}}{g(x)}\) โดยที่ \(g(2)=f^{\prime}(2)=3\) แล้ว \(g^{\prime}(2)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 11
    2. 12
    3. 13
    4. 14

    วิธีทำ ข้อนี้บอกเลยว่าต้องใช้การดิฟผลหารครับ แต่ก่อนอื่นเราหา \(f(2)\) เอาไว้ก่อนได้ใช้แน่นอนคับ เริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&\frac{\left(x^{2}-1\right)^{3}}{g(x)}\\f(2)&=&\frac{\left(2^{2}-1\right)^{3}}{g(2)}\\f(2)&=&\frac{27}{3}\\f(2)&=&9\end{array}

    ต่อไปหา \(g(x)\) เลยครับผม เริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&\frac{\left(x^{2}-1\right)^{3}}{g(x)}\\g(x)&=&\frac{\left(x^{2}-1\right)^{3}}{f(x)}\\g^{\prime}(x)&=&\frac{f(x)\frac{d}{dx}(x^{2}-1)^{3}-(x^{2}-1)^{3}f^{\prime}(x)}{(f(x))^{2}}\\g^{\prime}(x)&=&\frac{f(x)\cdot 3\cdot (x^{2}-1)^{2}\cdot 2x-(x^{2}-1)^{3}f^{\prime}(x)}{(f(x))^{2}}\\g^{\prime}(2)&=&\frac{f(2)\cdot 3\cdot (2^{2}-1)^{2}\cdot (2)(2)-(2^{2}-1)^{3}f^{\prime}(2)}{(f(2))^{2}}\\g^{\prime}(2)&=&\frac{[9\cdot 3\cdot 9\cdot 4]-[27\cdot 3]}{9^{2}}\\g^{\prime}(2)&=&12-1\\g^{\prime}(2)&=&11\quad\underline{Ans}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (67)

    67.กำหนดให้ \(f(x)=ax^{2}+b\) และ \(g(x-1)=6x+c\) เมื่อ \(a,b,c\) เป็นค่าคงตัว ถ้า \(f(x)=g(x)\) เมื่อ \(x=1,2\) และ \((f+g)(1)=8\) แล้ว \((f\circ g^{-1})(16)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{31}{9}\)
    2. \(\frac{61}{9}\)
    3. \(10\)
    4. \(20\)

    วิธีทำ แน่นอนข้อนี้ถ้าให้เราเราต้องหาค่าของ \(a,b,c\) ให้ได้ก่อน ดังนั้นต้องมีอย่างน้อย 3 สมการถึงจะแก้สมการหาค่า \(a,b,c\) ได้ ไปหาสมการกันเลยคับผม

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{2}+b\\f(1)&=&a(1)^{2}+b\\f(1)&=&a+b\quad\cdots (1)\\g(x-1)&=&6x+c\\g(2-1)&=&6(2)+c\\g(1)&=&12+c\quad \cdots (2)\end{array} 

    จากเงื่อนไขในโจทย์ทำให้เราได้ว่า \((1)=(2)\)

    นั่นคือ 

    \begin{array}{lcl}a+b&=&12+c\\a+b-c&=&12\quad (A)\end{array}

    เริ่มหาสมการอีก

    \begin{array}{lcl}f(2)&=&2^{2}a+b\\f(2)&=&4a+b\quad\cdots (3)\\g(3-1)&=&6(3)+c\\g(2)&=&18+c\quad\cdots (4)\end{array}

    จากเงื่อนไขในโจทย์ทำให้เราได้ว่า \((3)=(4)\)

    นั่นคือ

    \begin{array}{lcl}4a+b&=&18+c\\4a+b-c&=&18\quad\cdots (B)\end{array}

    เริ่มหาสมการอีก

    \begin{array}{lcl}(f+g)(1)&=&8\\f(1)+g(1)&=&8\\a(1)^{2}+b+6(2)+c&=&8\\a+b+c&=&-4\quad\cdots (C)\end{array}

    ต่อไปแก้สมการหาค่า \(a,b,c\) กันเลย

    \begin{array}{lcl}a+b-c&=&12\quad\cdots (A)\\4a+b-c&=&18\quad\cdots (B)\\a+b+c&=&-4\quad\cdots (C)\end{array}

    นำสมการ \((A)-(C)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}-2c&=&16\\\color{red}{c}&=&-8\end{array}

    แทน \(c\) ด้วย \(-8\) ในสมการ \((A),(B)\) เสร็จแล้วนำ \((B)-(A)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}3a&=&6\\\color{green}{a}&=&2\end{array}

    แทน \(a\) ด้วย \(2\) และแทน \(c\) ด้วย \(-8\) ในสมการ \((A)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}2+b+8&=&12\\\color{blue}{b}&=&2\end{array}

    ก่อนจะหาคำตอบหาอันนี้รอไว้ก่อนคับ จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}g(x-1)&=&6x+c\\g(4-1)&=&6(4)-8\\g(3)&=&16\\so\\g^{-1}(16)&=&3\end{array}

    เริ่มหาคำตอบกันเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g^{-1})(16)&=&f(g^{-1}(16))\\&=&f(3)\\from\quad f(x)=ax^{2}+b\\so\\&=&f(3)\\&=&3^{2}a+b\\&=&2\cdot 9+2\\&=&18+2\\&=&20\quad\underline{Ans}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (68)

    68.กำหนดให้ \(f(x)=3x+1\) และ \((f\circ g)^{\prime}(x)=3x^{2}+1\) ถ้า \(g(0)=1\) แล้ว \(\displaystyle\int_{0}^{1} g(x) dx\) มีค่าเท่าใด

    วิธีทำ ต้องหาฟังก์ชัน \(g\) ให้ได้ก่อนครับ ก็หาจากสิ่งที่โจทย์ให้มาแหละคับเริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)^{\prime}(x)&=&3x^{2}+1\\\displaystyle\int (f\circ g)^{\prime}dx&=&\displaystyle\int 3x^{2}+1 dx\\(f\circ g)(x)&=&x^{3}+x+c\\f(g(x))&=&x^{3}+x+c\\3g(x)+1&=&x^{3}+x+c\\g(x)&=&\frac{x^{3}+x+c-1}{3}\\from\quad g(0)=1\\so\\g(0)&=&\frac{c-1}{3}\\1&=&\frac{c-1}{3}\\c&=&4\end{array}

    เมื่อเรารู้ว่า \(c=4\) ดังนั้นเราจะได้ว่า

    \(g(x)=\frac{x^{3}+x+3}{3}=\frac{x^{3}}{3}+\frac{x}{3}+1\)

    เริ่มหาคำตอบกันเลย เราได้หน้าตาของฟังก์ชัน \(g\) แล้ว

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\int_{0}^{1}g(x) dx&=&\displaystyle\int_{0}^{1}\frac{x^{3}}{3}+\frac{x}{3}+1 dx\\&=&\frac{x^{4}}{12}+\frac{x^{2}}{6}+x|_{0}^{1}\\&=&\frac{1}{12}+\frac{1}{6}+1\\&=&\frac{1+2+12}{12}\\&=&\frac{15}{12}\\&=&\frac{5}{4}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (71)

    71.กำหนดให้ \(f\) เป็นฟังก์ชันพหุนามกำลังสาม ซึ่ง \(f(0)=1=f(1)\) ถ้า \(f^{\prime}(0)=1\) และ\(\displaystyle_{-1}^{1} f(x)dx=6\) แล้ว \(f(-1)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. -7
    2. -1
    3. 13
    4. 15

    วิธีทำ  ขั้นตอนแรกเราต้องกำหนดให้พหุนามกำลังสามขึ้นมาก่อนก็คือ

    \[f(x)=ax^{3}+bx^{2}+cx+d\]

    เมื่อ \(a,b,c,d\) คือค่าคงตัว

    ต่อไปเราก็หาค่าคงตัวก็คือหาค่า \(a,b,c,d\) ก็หาจากสิ่งที่โจทย์ให้มานั่นแหละไม่ยากมากเริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f^{\prime}(x)&=&3ax^{2}+2bx+c\\f^{\prime}(0)=1\\so\\f^{\prime}(0)&=&0+0+c\\1&=&c\\\color{red}{c}&=&1\end{array}

    ต่อไปหาค่า \(d\)

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f(0)=1\\so\\f(0)&=&0+0+0+d\\1&=&d\\\color{green}{d}&=&1\end{array}

    ต่อไปหา \(a,b\) ต่อไปอีก

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f(1)=1\\so\\f(1)&=&a+b+c+d\\c=1,d=1\\so\\f(1)&=&a+b+1+1\\1&=&a+b+2\\\color{blue}{a+b}&=&-1\end{array}

    หา \(b\) ต่ออีก

    \begin{array}{lcl}\displaystyle\int_{-1}^{1}f(x)dx&=&6\\\displaystyle\int_{-1}^{1}ax^{3}+bx^{2}+cx+d \quad dx&=&6\\\displaystyle\int_{-1}^{1}ax^{3}+bx^{2}+cx+d\quad dx&=&6\\\displaystyle\int_{-1}^{1}ax^{3}+bx^{2}+x+1\quad dx&=&6\\\frac{ax^{4}}{4}+\frac{bx^{3}}{3}+\frac{x^{2}}{2}+x\quad |_{-1}^{1} &=&6\\\left(\frac{a}{4}+\frac{b}{3}+\frac{1}{2}+1\right)-\left(\frac{a}{4}-\frac{b}{3}+\frac{1}{2}-1\right)&=&6\\\frac{2b}{3}+2&=&6\\b&=&\frac{12}{2}\\b&=&6\end{array}

    จาก \(a+b=-1\) และ\(b=6\) ดังนั้นจะได้ \(a+6=-1\) จึงได้ว่า \(a=-7\)  

    ณ ตอนนี้เราได้ว่า

    \(a=-7\)

    \(b=6\)

    \(c=1\)

    \(d=1\)

    นั่นคือ

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&ax^{3}+bx^{2}+cx+d\\f(x)&=&-7x^{3}+6x^{2}+x+1\\so\\f(-1)&=&7+6-1+1\\f(-1)&=&13\quad\underline{Ans}\end{array}

  • ฟังก์ชัน ม.4

    ฟังก์ชัน หรือ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Function คำว่าฟังก์ชันนั้นเชื่อว่านักเรียนทุกคนที่เรียนในระบบ หรือนอกระบบถ้าได้เรียนคณิตศาสตร์คงเคยได้ยินคำนี้ คำว่าฟังก์ชัน หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของฟังก์ชันอย่างแท้จริง มันนี้ผมจะอธิบายคำว่าฟังก์ชัน ให้ทุกคนได้เข้าใจ โดยใช้ภาษาแบบบ้านๆ ส่วนภาษาในทางคณิตศาสตร์นั้นทุกคนคงได้ยินได้ฟังมามากแล้ว วันนี้ขออธิบายความหมายของฟังก์ชันแบบ บ้านๆแล้วกันครับ

    จุดกำเนิดของฟังก์ชัน มาจากความสัมพันธ์  สมมติ ผมมีความสัมพันธ์ 2  แบบ  

    แบบที่ 1 ให้ชื่อว่าความสัมพันธ์ r ซึ่งผมกำหนดให้  \(r=\{(1,2),(3,4),(5,6),(7,8)\}\)

    แบบที่ 2  ให้ชื่อว่าความสันพันธ์ s ซึ่งกำหนดใด้ \(s=\{(1,2),(1,3),(4,5),(6,7)\}\)

    ดูรูปประกอบ

                                        แบบที่ 1

                                         แบบที่ 2

    จากรูปความสัมพันธ์  แบบที่ 1 สมาชิกของโดเมนทุกตัวจับคู่กับสมาชิกในเรนจ์เพียงแค่ตัวเดียว ความสัมพันธ์แบบนี้เรียกว่า  ฟังก์ชัน จำไว้เลย

    แต่

    ความสัมพันธ์ แบบที่ 2 มีสมาชิกของโดเมนบางตัวคือ 1 ไปจับคู่กับสมาชิกในเรนจ์เกินหนึ่งตัว ความสัมพันธ์แบบที่ 2 นี้เป็นได้แค่ความสัมพันธ์แต่ไม่ใช่ฟังก์ชัน

    นี่คือความหมายของฟังก์ชันแบบบ้านๆ ง่ายๆ ดูที่คู่อันดับของความสัมพันธ์ถ้าโดเมนมันไปจับคู่เกินหนึ่งตัวในเรนจ์ความสัมพันธ์นั้นจะไม่เป็นฟังก์ชัน นะ

    ตัวอย่าง 1  ความสัมพันธ์ต่อไปนี้เป็นฟังก์ชันหรือไม่

    1) \(\{(1,2),(2,3),(3,4),(4,5)\}\)

    เป็นฟังก์ชันเพราะสมาชิกในโดเมนจับคู่กับเรนจ์เพียงตัวเดียวพูดง่ายๆคือสมาชิกในโดเมนไม่ซ้ำกัน

    2) \(\{(1,a),(2,b),(3,c),(4,d)\}\)

    เป็นฟังก์ชัน

    3) \(\{(1,a),(2,a),(3,a),(4,a),(5,a)\}\)

    เป็นฟังก์ชัน ถึงแม้ว่าสมาชิกในเรนจ์ซ้ำกัน แต่โดเมนห้ามซ้ำกันก็พอ

    4) \(\{(1,2),(2,4),(3,6),(1,8)\}\)

    ไม่เป็นฟังก์ชันเพราะมีสมาชิกในโดเมนซ้ำกันคือ 1

    5) \(\{(2,3),(2,4),(2,5)\}\)

    ข้อนี้ไม่เป็นฟังก์ชันชัดเจนเลย สมาชิกในโดเมนซ้ำกันสุดๆ

    6) \(\{(x,y)\in A \times A |y=x^{2}\} \)

    โดยที่ \(\quad\) \(A=\{-3,-2,-1,0,1,2,3\}\)

    ข้อนี้ดูเงื่อนไขดีๆนะ เอา x มายกกำลังสองแล้วได้ค่า y   ฉะนั้นจะได้คู่อันดับ (-1,1) เพราะ \((-1)^{2}=1\)

    (0,0)  เพราะ \(0^{2}=0\)  

    (1,1)  เพราะ \(1^{2}=1\)

    ดังนั้นเซตนี้ถ้าเขียนแบบแจกแจงสมาชิกก็จะได้

    \(\{(-1,1),(0,0),(1,1) \}\)

    นั่นคือ เห็นชัดเจนว่าเป็นฟังก์ชัน

    7) \(\{(x,y) \in A \times A |x+y=6 \}\)

    โดยที่ \(\quad\) \(A=\{1,2,3,4,5\}\)

    ข้อนี้มาดูเงื่อนไขคือ บวกกันแล้วได้ 6 ก็จะมี \(\quad\) \( (1,5),(2,4),(3,3),(4,2),(5,1)\)

    ดังนั้นเซตนี้ถ้าเขียนแบบแจกแจงสมาชิกก็จะได้

    \(\{(1,5),(2,4),(3,3),(4,2),(5,1)\}\)

    นั่นคือ เห็นชัดเจนว่าเป็นฟังก์ชัน

    8) \(\{(x,y)\in A\times A|x=y^{2}\};A=\{-2,-1,0,1,2\}\)

    ข้อนี้มาดูเงื่อนไข วายกำลังสองแล้วได้เอ็กซ์ ก็จะมีคู่อันดับ (1,-1)  เพราะ \((-1)^{2}=1\)

    (1,1)  เพราะ  \(1^{2}=1\)

    (0,0)  เพราะ \(0^{2}=0\)

    ดังนั้นเซตนี้ถ้าเขียนแบบแจกแจงสมาชิกก็จะได้

    \(\{(1,-1) ,(1,1) ,(0,0)\}\) \(\quad\) จะเห็นว่ามีโดเมนคือเลข 1 ซ้ำกัน

    นั่นคือ ความสัมพันธ์นี้ไม่เป็นฟังก์ชัน

     

  • เฉลย o-net ม.6 เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

    1. กำหนดให้

    \(A=\{1,2,3,4,5,6\}\)

    \(B=\{1,2,3,\cdots ,11,12\}\)

    \(S=\{(a,b)\in A\times B|b=2a+\frac{a}{2}\}\)

    จำนวนสมาชิกของ \(S\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (o-net 51)

    1. 1
    2. 2
    3. 3
    4. 4

    วิธีทำ ข้อนี้จะเห็นว่า \(b\) ต้องเป็นตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็มเหล่านี้คือ \(1,2,3,\cdots ,11,12\) ซึ่ง \(b=2a+\frac{a}{2}\) ดังนั้นตรง \(\frac{a}{2}\) ต้องหารกันลงตัว นั่นคือ \(a\) ต้องเป็นตัวเลขที่หารด้วย \(2\) ลงตัว แสดงว่าค่า \(a\) ที่เป็นไปได้คือ \(2,4,6\) ต่อไปเราก็ไปหาว่า ถ้า \(a\) เป็น \(2,4,6\) จะได้ \(b\) เป็นตัวอะไรบ้างเริ่มเลย

    ถ้า \(a=2\) จะได้ \(b=2(2)+\frac{2}{2}=5\) นั่นคือจะได้คู่อันดับ \((2,5)\)

    ถ้า \(a=4\) จะได้ \(b=2(4)+\frac{4}{2}=10\) นั่นคือจะได้คู่อันดับ \((4,10)\)

    ถ้า \(a=6\) จะได้ \(b=2(6)+\frac{6}{2}=15\) นั่นคือจะได้คู่อันดับ \((6,15)\) ซึ่งจะเห็นว่าคูอันดับนี้ไม่อยู่ใน \(A\times B\) เพราะ \(15\) ไม่ได้อยู่ในเซต \(B\) 

    ดังนั้นเราจะได้เซต \(S=\{(2,5),(4,10)\}\) นั่นคือ \(S\) มีสมาชิก \(2\) ตัวนั่นเอง


    2. ถ้า \(A=\{1,2,3,4\}\) และ \(r=\{(m,n)\in A\times A | m\leq n\}\) แล้วจำนวนสมาชิกในความสัมพันธ์ \(r\)เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 8
    2. 10
    3. 12
    4. 16

    วิธีทำ ข้อนี้ง่ายสุดๆแล้ว ดูที่เงื่อนไขในเซต \(r\) คือให้เอา \(A\times A\) แล้วเลือกเอาตัวที่สมาชิกที่ตัวหน้าน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวหลัง ดังนั้น จะได้ \(r\) ที่มีหน้าตาดังนี้

    \(r=\{(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(2,2),(2,3),(2,4),(3,3),(3,4),(4,4)\}\) นั่นคือ \(r\) มีสมาชิก \(10\) ตัวนั่นเอง


    3. ถ้ากราฟของ \(y=x^{2}-2x-8\) ตัดแกน \(X\) ที่จุด \(A,B\) และมี \(C\) เป็นจุดวกกลับ แล้ว รูปสามเหลี่ยม \(ABC\) มีพื้นที่เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (o-net 50 ข้อ 25)

    1. 21 ตารางหน่วย
    2. 24 ตารางหน่วย
    3. 27 ตารางหน่วย
    4. 30 ตารางหน่วย

    วิธีทำ ข้อนี้วาดรูปประกอบจะง่ายครับผม  ก่อนอื่นหาจุดตัดบนแกน \(X\) ก่อน อย่าลืมนะว่าจุดตัดบนแกน \(X\) ค่าของ \(y=0\) ดังนั้นเรามาแก้สมการนี้ \(y=x^{2}-2x-8\) เพื่อหาจุดตัดบนแกน \(X\) กันเลย

    \begin{array}{lcl}y=x^{2}-2x-8\\0&=&x^{2}-2x-8\\x^{2}-2x-8&=&0\\(x-4)(x+2)&=&0\\so\\x=4,-2\end{array}

    นั่นคือ กราฟนี้มีจุดตัดบนแกน \(X\) คือ \((4,0)\) และ \((-2,0)\)

    ต่อไปหาจุดวกกลับ เราจะใช้ความรู้เกี่ยวกับการดิฟในการหาจุดวกกลับ ก็คือ

    • ดิฟสมการเส้นโค้งจะได้ความชันของเส้นโค้ง ณ จุดใดๆ
    • ที่จุดวกกลับความชันของเส้นโค้งจะเท่ากับ \(0\)

    เราก็เอาสมการเส้นโค้ง \(y=x^{2}-2x-8\)  มาดิฟเลย ความจริงสมการนี้ก็คือพาราโบลา แบบหงายนั่นแหละตอน ม.4 เรียนมาแล้ว เริ่มดิฟเลย

    \begin{array}{lcl}y&=&x^{2}-2x-8\\y^{\prime}&=&2x-2\end{array}

    นั้นคือตอนนี้เราได้ความชันเส้นโค้ง ณ จุดใดๆ คือ \(y^{\prime}=2x-2\)

    แต่ที่จุดวกกลับความชันเส้นโค้งเท่ากับ \(0\) ดังนั้นเราสามารถหาพิกัดของ \(x\) ได้โดยการนำสมการนี้ \(y^{\prime}=2x-2\) ไปเท่ากับ \(0\) จะได้

    \begin{array}{cl}2x-2&=&\\x&=&1\end{array}

    นั่นคือที่จุดวกกลับมีพิกัด \(x=1\) 

    ต่อไปหาว่าที่จุดวกกลับ พิกัด \(y\) จะเป็นเท่าใด

    จากสมการนี้ \(y=x^{2}-2x-8\)  เราแทน \(x=1\) ลงไปในสมการก็จะได้ค่า \(y\) ออกมา

    \begin{array}{lcl}y&=&x^{2}-2x-8\\y&=&(1)^{2}-(2)(1)-8\\y&=&-9\end{array}

    นั่นคือจุดวกกลับอยู่ที่พิกัด \((1,-9)\) 

    ตอนนี้ข้อมูลที่เราได้มีดังนี้ จุดตัดบนแกน \(X\) คือ \((4,0)\) และ \((-2,0)\) จุดวกกลับคือ \((1,-9)\) วาดรูปคร่าวได้ประมาณนี้

    ดังนั้น พื้นที่ สามเหลี่ยม \(ABC=\frac{1}{2}\times 6\times 9=27\) ตารางหน่วย

    ภาพข้างล่างเป็นอีกภาพหนึ่งเอาไว้ดูเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


    4. กำหนดให้ \(f(x)=-x^{2}+4x-10\) ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง (o-net 49 ข้อที่ 5)

    1. \(f\) มีค่าต่ำสุดเท่ากับ -6
    2. \(f\) ไม่มีค่าสูงสุด
    3. \(f\) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 6
    4. \(f(\sqrt{\frac{9}{2}})<-6\)

    วิธีทำ ถ้าเราดูจากสมการที่โจทย์ให้มาจะเห็นว่า \(f(x)=-x^{2}+4x-10\) เป็น พาราโบลา คว่ำ เพราะว่าสัมประสิทธิ์หน้า \(x^{2}\) ติดลบ เมื่อเป็นพาราโบลาคว่ำแสดงว่า มันไม่มีค่าต่ำสุด แต่มีค่าสูงสุด ซึ่งค่าสูงสุดก็คือจุดวกกลับนั่นเองครับ หาจุดวกกลับเลยครับผม

    ทำการดิฟสมการพาราโบลาเลยคับ จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+4x-10\\f^{\prime}(x)&=&-2x+4\end{array}

    ดังนั้น เราได้ความชันของเส้นโค้งหรือความชันของพาราโบลา จุดใดๆ

    ที่จุดวกกลับความชันจะเป็น \(0\) ดังนั้นเราสามารถหาค่า \(x\) ได้โดยจับสมการนี้ \(f^{\prime}(x)=-2x+4\) ไปเท่ากับ \(0\) จะได้

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&-2x+4\\0&=&-2x+4\\x&=&\frac{-4}{-2}\\x&=&2\end{array}

    ดังนั้นที่จุดวกกลับมีพิกัด \(x=2\) ต่อไปหาพิกัด \(y\) บ้าง

    จาก 

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+4x-10\\f(x)&=&-(2)^{2}+(4)(2)-10\\f(x)&=&-4+8-10\\f(x)&=&-6\end{array}

    นั่นคือที่จุดวกกลับมีค่า \(y=-6\) หรือก็คือค่าสูงสุดเท่ากับ \(-6\) นั่นเองครับ จากตัวเลือกจะเห็นว่าที่ถูกต้องที่สุดคือ ตัวเลือก 4. เพราะว่าค่าสูงสุดเป็น \(-6\) ดังนั้นไม่ว่าจะเอาไปอะไรใส่เข้าไปใน \(f(x)\) ต้องน้อยกว่า \(-6\) เสมอ

    ดูภาพประกอบด้านล่าง


    5. ถ้าจุด \(P\) เป็นจุดวกกลับของพาราโบลา \(y=-x^{2}+12x-38\) และ \(O\) เป็นจุดกำเนิด แล้ว ระยะห่างระหว่างจุด \(P\) และจุด \(O\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (o-net 49 ข้อ 6)

    1. \(\sqrt{10}\) หน่วย
    2. \(2\sqrt{10}\) หน่วย
    3. \(\sqrt{13}\) หน่วย
    4. \(2\sqrt{13}\) หน่วย

    วิธีทำ ทำเหมือนเดิมคือดิฟสมการพาราโบลาเพื่อหาจุดวกกลับ 

    \begin{array}{lcl}y&=&-x^{2}+12x-38\\y^{\prime}&=&-2x+12\end{array}

    หาพิกัด \(x\) ของจุดวกกลับ จะได้

    \begin{array}{lcl}y^{\prime}&=&-2x+12\\0&=&-2x+12\\x&=&\frac{-12}{-2}\\x&=&6\end{array}

    ต่อไปหาพิกัด \(y\) ของจุดวกกลับ จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&-x^{2}+12x-38\\y&=&-(6)^{2}+12(6)-38\\y&=&72-74\\y&=&-2\end{array}

    ดังนั้นจุดวกกลับคือ \((2,-6)\) นั่นคือ ระยะห่างระหว่างจุดวกกลับกับจุดกำเนิด \(O(0,0)\) คือ

    \(\sqrt{(2-0)^{2}+(-6-0)^{2}}=\sqrt{4+36}=\sqrt{40}=\sqrt{4\times 10}=2\sqrt{10}\)


    6. ถ้าเส้นตรง \(x=3\) เป็นเส้นสมมาตรของกราฟของฟังก์ชัน \(f(x)=-x^{2}+(k+5)x+(k^{2}-10)\) เมื่อ \(k\) เป็นจำนวนจริง แล้ว \(f\) มีค่าสูงสุดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. -4
    2. 0
    3. 6
    4. 14

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องอ่านโจทย์ดีนะคับ ข้อนี้กราฟที่เขาให้มาเป็นพาราโบลาหงายนะคับ \(x=3\) เป็นเส้นสมมาตรแสดงว่าจุดวกกลับคือจุด \((3,y)\) เราแค่หาพิกัด \(y\)  ก็จะได้ค่าสูงสุดที่เป็นคำตอบของข้อนี้คับผม  ก็ทำการดิฟเพื่อที่จะได้ความชัน แล้วเอาความชันไปเท่ากับ \(0\) เพื่อค่า \(k\) แล้วก็หาค่า \(y\) ต่อคับเริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+(k+5)x+(k^{2}-10)\\f^{\prime}(x)&=&-2x+k+5\end{array}

    ต่อไปหาค่า \(k\) จุดวกกลับความชันเท่ากับ \(0\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&-2x+k+5\\0&=&-2x+k+5\\0&=&(-2)(3)+k+5\\0&=&-6+k+5\\k&=&1\end{array}

    ตอนนี้เราได้แค่ \(k\) แล้ว และจุดวกกลับคือจุด \((3,y)\) เราก็หาค่า \(y\) เลยจะได้

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+(k+5)x+(k^{2}-10)\\f(3)&=&-(3)^{2}+(1+5)(3)+(1^{2}-10)\\f(3)&=&-9+18-9\\f(x)&=&0\end{array}

    ดังนั้น \(f\) มีค่าสูงสุดคือ \(0\)


    7. ถ้า \(g(x)=2x\) และ \((f\circ g)(x)=x^{2}-1\) แล้ว ค่าของ \((g^{-1}\circ f)(10)\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้สสอบ entrance เก่านะคับ ไม่ได้ยากมาก แต่ก็ต้องทำให้ได้ครับเพราะพวกข้อสอบวิชาสามัญ ข้อสอบ A-level ข้อสอบฟังก์ชันออกประมาณนี้คับผม เริ่มทำกันเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(x)&=&x^{2}-1\\f(g(x))&=&x^{2}-1\\f(2x)&=&x^{2}-1\\so\\ f(10)=f(2\cdot 5)\\f(2\cdot 5)&=&5^{2}-1\\f(10)&=&24\end{array}

    ต่อไปก็เริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}(g^{-1}\circ f)(10)&=&g^{-1}(f(10))\\&=&g^{-1}(24)\\because\\ g(x)&=&2x\\so\\g(12)&=&2\cdot 12\\g(12)&=&24\\then\\g^{-1}(24)&=&12\quad\underline{Ans}\end{array}


    8. กำหนดฟังก์ชัน \(f\) และ \(g\) ดังนี้

    \(f(2x-1)=4x-a\quad ,\quad a>0\)

    และ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\)

    ถ้า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\)

    แล้ว \(f(a)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 6
    2. 7
    3. 10
    4. 17

    วิธีทำ  ข้อนี้ต้องทำหลายขั้นตอนหน่อยคับ แต่ไม่ยาก เป็นข้อสอบ Entrance เก่าๆ เอามาเล่าใหม่คับ  เราจะเริ่มทำดังนี้นะคับ

    \begin{array}{lcl}f(2x-1)&=&4x-a\\Let\quad A&=&2x-1\\x&=&\frac{A+1}{2}\\so\\f(A)&=&4(\frac{A+1}{2})-a\\f(A)&=&2A+2-a\quad\cdots (1)\end{array}

    จากโจทย์ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ดังนั้น

    \(g(\sqrt{x+1})=x\) เริ่มทำต่อเลย

    \begin{array}{lcl}g(\sqrt{x+1})&=&x\\Let\quad B&=&\sqrt{x+1}\\B^{2}&=&x+1\\x&=&B^{2}-1\\so\\g(B)&=&B^{2}-1\quad\cdots (2)\end{array}

    ต่อไปเราจะเริ่มหาคำตอบแล้วนะคับ แต่ให้สังเกตสมการที่ \((1)\) และ สมการที่ \((2)\) ไว้ให้ดีๆ

    โจทย์บอกว่า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(a)&=&a^{2}+20\\f(g(a))&=&a^{2}+20\\from\quad (2)\\ we\quad get\\f(a^{2}-1)&=&a^{2}+20 \\and\quad from\quad (1)\\ we\quad get \\2(a^{2}-1)+2-a&=&a^{2}+20\\2a^{2}-2+2-a&=&a^{2}+20\\a^{2}-a-20&=&0\\(a-5)(a+4)&=&20\\so\\a=5,-4\\but\quad a>0\\so\\a&=&5\end{array}

    ต่อไปจะหาคำตอบจริงๆแล้ว

    จากสมการที่ \((1)\)  คือ \(f(A)=2A+2-a\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(a)&=&2a+2-a\\f(a)&=&a+2\\ because\quad a=5\\so\\f(5)&=&5+2\\&=&7\quad\underline{Ans}\end{array}

     

  • โจทย์ฟังก์ชัน

    ตอนนี้เรารู้จักความหมายของฟังก์ชันแล้วต่อไปเราก็ลองมาทำโจทย์เกี่ยวกับฟังก์ชันบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมตัวและตรวจสอบความเข้าใจของตัวเองหลังจากที่ได้เรียนฟังก์ชันไปแล้ว ผมจะเอาโจทย์ง่ายๆก่อนให้นะครับมาลองเฉลยให้ดู เผื่อบางคนเรียนไม่ทันในห้องหรือไม่มีเงินเรียนพิเศษจะได้มีแหล่งข้อมูลข่าวสารอ่านทำความเข้าใจครับ มาดูตัวอย่างการทำโจทย์ฟังก์ชันเลย

    ตัวอย่างที่ 1 กำหนด \(f(x)=x^{2}+2x+5\)  จงหา 

    1.1   \(f(0)\)   แทน 0  ลงไปใน x เลยครับก็จะได้

    \(f(0)=0^{2}+2(0)+5=5\)

    1.2  \(f(2)\)  แทน 2 ลงไปใน  x  เลยครับจะได้

    \(f(2)=2^{2}+2(2)+5=13\)

    ตัวอย่างที่ 2 กำหนด \(f(x)=x^{2}-3x+5\)    จงหา

    1.1  \(f(x+h)\)     ทำเหมือนข้อข้างบนเลยครับก็คือแทน  x+h   ลงใน x  พูดง่ายๆก็คือตรงไหนมี x  เปลี่ยนเป็น x+h  ครับ

    \(f(x+h)=(x+h)^{2}-3(x+h)+5\)

    \(f(x+h)=x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5\)

    1.2  \(f(x+h)-f(x)\)    อย่าลืมนะ  \(f(x+h)\)    เราหาไว้แล้วต่อไปก็ไม่ต้องทำอะไรมากก็แค่ลบกันให้ถูกก็พอ

    \(f(x+h)=x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5\)   และ 

    \(f(x)=x^{2}-3x+5\)  

    ดังนั้น  

    \(f(x+h)-f(x)=(x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5)-(x^{2}-3x+5)\)      กระจายลบเข้าไปแล้วลบกันธรรมดาครับ

    \(f(x+h)-f(x)=x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5-x^{2}+3x-5)\) 

    \(f(x+h)-f(x)=2xh+h^{2}-3h\)

    \(f(x+h)-f(x)=h(2x+h-3)\)

    ลองทำแบบฝึกหัดโจทย์ฟังก์ชันเพิ่มเติมครับ

    1.  ถ้า \(f(x)=x^{2}+3x-5\)   จงหา \(f(0),f(3),f(a),f(a+b),f(x+b)\)  และ \(\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\)  เมื่อ \(h\neq 0\)

    วิธีทำ

    จาก

    \(f(x)=x^{2}+3x-5\)

    จะได้

    \(f(0)=0^{2}+3(0)-5=-5\)

    \(f(3)=3^{2}+3(3)-5=13\)

    \(f(a)=a^{2}+3(a)-5\)

    \(f(a+b)=(a+b)^{2}+3(a+b)-5\)

    \(f(x+b)=(x+b)^{2}+3(x+b)-5\)

    ทำอันสุดท้ายต่อครับ

    \begin{array}{lcl}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}&=&\frac{(x+h)^{2}+3(x+h)-5-(x^{2}+3x-5)}{h}\\&=&\frac{x^{2}+2xh+h^{2}+3x+3h-5-x^{2}-3x+5}{h}\\&=&\frac{h^{2}+2xh+3h}{h}\\&=&h+2x+3\end{array}


    2. ถ้า

    \(f(x)=\left\{\begin{matrix}
    & 1 & when \quad x<1\\
    & x & when \quad 1\leq x \leq 3\\
    & 2 & when \quad  x>3
    \end{matrix}\right.\)

    จงหา \(f(-2),f(0),f(1),f(\frac{1}{2}),f(\sqrt{3}),f(9),\frac{f(3+h)-f(3)}{h}\) เมื่อ h>0

    วิธีทำ ข้อนี้เหมือนจะยาก แต่ง่ายที่มองว่ายากเพราะว่าอ่านโจทย์ไม่เข้าใจ เรามาลองทำไปพร้อมก้นช้าๆครับ

    หา \(f(-2)\)  แสดงว่า x เรามีค่าเท่ากับ -2   เนื่องจาก -2<1  กลับไปดูที่โจทย์ครับโจทย์บอกว่า

    \(f(x)=1\)  เมื่อ  x<1  หมายความว่าถ้า x มีค่าน้อยกว่า 1 ค่าของ f(x) จะเท่ากับ 1 

    เนื่องจาก -2<1  ดังนั้น

    \(f(-2)=1\)

    หา \(f(0)\)

    เนื่องจาก 0<1  ดังนั้น

    \(f(0)=1\) ด้วย

    หา \(f(1)\)

    เราจะเห็นโจทย์เขาบอกว่า  f(x)=x หรือว่าเท่ากับตัวมันเองเมื่อ \(1\leq x \leq 3\) ดังนั้นข้อนี้ x=1 ตรงตามเงื่อนไขนี้พอดี ดังนั้น

    \(f(1)=1\)

    หา  \(f(\frac{1}{2})\)

    เราจะเห็นว่าโจทย์เขาบอกว่า \(f(x)=1\)  เมื่อ x<1  ความหมายคือถ้า x มันน้อยกว่าหนึ่ง f(x) มันจะเท่ากับหนึ่งเสมอ ดังนั้น x เราเท่ากับหนึ่งส่วนสองดังนั้นข้อนี้

    \(f\frac{1}{2}=1\)

    หา \(f(\sqrt{3})\)

    เนื่องจาก \(\sqrt{3}\) มีค่าประมาณ 1.732 ดังนั้นต้องใช้ อันนี้ครับ

    \(f(x)=x\)  นั่นคือ

    \(f(\sqrt{3})=\sqrt{3}\)

    หา  \(f(9)\)

    ดูที่โจทย์บอกมาครับโจทย์บอกว่า \(f(x)=2\)  เมื่อ x มีค่ามากกว่า 3 ซึ่งเอ็กซ์คือเราคือเก้ามากกว่าสามอยู่แล้วดังนั้น

    \(f(9)=2\)

    หา \(\frac{f(3+h)-f(3)}{h}\)  เมื่อ h>0

    เราจะเห็นว่า h มันมากกว่าศูนย์ อาจะเป็น หนึ่ง สอง สาม เมื่อนำ h+3  มันต้องมากกว่า 3 จริงไหมครับ เมื่อ มันมากกว่าสาม เราต้องใช้อันนี้ครับ

    \(f(x)=2\)  เมื่อ x>3  ดังนั้นเราจึงได้ว่า

    \(f(3+h)=2\) นั่นเอง

    ส่วน f(3) ใช้อันนี้ครับ \(f(x)=x\) ดังนั้นเราจึงได้ว่า

    \(f(3)=3\)

    สรุปก็คือ

    \begin{array}{lcl}\frac{f(3+h)-f(3)}{h}&=&\frac{2-3}{h}\\&=&-\frac{1}{h}\end{array}


    3. กำหนด \(U=\{0,1,2,3,4,5\}\)  ฟังก์ชันที่กำหนดให้ต่อไปนี้เป็นสับเซตของ  \(U\times U\) จงเขียนกราฟพร้อมทั้งหาโดเมนและเรนจ์ของฟังก์ชัน

    1)  \(f(x)=2x-3\)

    2) \(f=\{(x,y)|x^{2}+y^{2}=25\}\)

    วิธีทำ ลองหาค่าของ \(U\times U\)  ก่อนครับใครทำไม่เป็นก็ไปดูนี่ครับ ผลคูณคาร์ทีเซียน(Cartesian product) ก็จะได้

    \(\{(0,0),(0,1),(0,2),(0,3),(0,4),(0,5),\\(1,0),(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),\\(2,0),(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),\\(3,0),(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),\\(4,0),(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),\\(5,0),(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5)\}\)

    นี่คือ \(U\times U\)  มีสมาชิกทั้งหมด 36 ตัวครับ  ต่อไปมาดูฟังก์ชันแรกก่อนครับ

    1)  ก็คือ \(f(x)=2x-3\)  หรือก็คือ \(y=2x-3\)  นั่นเองครับซึ่งก็คือ

    ถ้า \(x=0\)  จะได้ว่า \(y=-3\)  ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((0,-3)\)   แต่จะเห็นว่าคู่อับดับนี้ไม่อยู่ในอยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=1\) จะได้ว่า  \(y=-1\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((1,-1)\)   แต่จะเห็นว่าคู่อับดับนี้ไม่อยู่ในอยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=2\) จะได้ว่า \(y=1\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((2,1)\)  อันนี้อยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=3\) จะได้ว่า \(y=3\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((3,3)\)  อันนี้อยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=4\) จะได้ว่า \(y=5\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((4,5)\)   อันนี้อยู่ใน  \(U\times U\)

    ถ้า \(x=5\) จะได้ว่า \(y=7\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((5,7)\)   แต่จะเห็นว่าคู่อับดับนี้ไม่อยู่ในอยู่ใน \(U\times U\)

    ดังนั้นฟังก์ชัน

    \(f(x)=2x-3\)  เขียนใหม่ได้คือ

    \(f(x)=\{(2,1),(3,3),(4,5)\}\)

    โดเมนของฟังก์ชันนี้คือ \(\{2,3,4\}\)

    เรนจ์ของฟังก์ชันนี้คือ \(\{1,3,5\}\)

    กราฟของฟังก์ชันคือ

    ฟังก์ชัน 

    มาดูข้อที่สองกันครับจากฟังก์ชัน ข้อที่ 2 คือ

    2) \(f=\{(x,y)|x^{2}+y^{2}=25\}\)

    ดูที่เงื่อนไขฟังก์ชันนะ ก็คือทั้งเอ็กซ์และวายยกกำลังสองบวกกันแล้วต้องได้ 25  เราก็ไปดูที่ \(U\times U\) ว่ามีตัวไหนบ้างที่ยกกำลังสองแล้วบวกกันได้ 25 บ้าง เช่น

    \((3,4)\)  จะเห็นว่า \(3^{2}=9\)  และ \(4^{2}=16\)  เห็นว่า \(9+16=25\)  ตามเงื่อนไขในฟังก์ชันเลย

    \((0,1)\) จะเห็นว่า \(0^{2}=0\)  และ \(1^{2}=1\)  เห็นว่า \(0+1=1\)  ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขฟังก์ชันที่กำหนดให้

    ถ้าลองๆไปดูที่ \(U\times U\) ด้านบนก็จะเห็นว่าคู่อันดับที่สอดคล้องกับเงื่อนไขคือ

    \((3,4),(4,3),(0,5),(5,0)\)

    ดังฟังก์ชัน  \(f=\{(x,y)|x^{2}+y^{2}=25\}\) เขียนแบบแจกแจงสมาชิกได้คือ

    \(f=\{(3,4),(4,3),(0,5),(5,0)\}\)

    จะได้

    โดเมนคือ \(\{3,4,0,5\}\)

    เรนจ์คือ \(\{4,3,0,5\}\)

    กราฟหน้าตาก็เป็นแบบนี้ครับ

    ฟังก์ชัน


    4. ถ้า \(g(x)=2x\) และ \((f\circ g)(x)=x^{2}-1\) แล้ว ค่าของ \((g^{-1}\circ f)(10)\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้สสอบ entrance เก่านะคับ ไม่ได้ยากมาก แต่ก็ต้องทำให้ได้ครับเพราะพวกข้อสอบวิชาสามัญ ข้อสอบ A-level ข้อสอบฟังก์ชันออกประมาณนี้คับผม เริ่มทำกันเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(x)&=&x^{2}-1\\f(g(x))&=&x^{2}-1\\f(2x)&=&x^{2}-1\\so\\ f(10)=f(2\cdot 5)\\f(2\cdot 5)&=&5^{2}-1\\f(10)&=&24\end{array}

    ต่อไปก็เริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}(g^{-1}\circ f)(10)&=&g^{-1}(f(10))\\&=&g^{-1}(24)\\because\\ g(x)&=&2x\\so\\g(12)&=&2\cdot 12\\g(12)&=&24\\then\\g^{-1}(24)&=&12\quad\underline{Ans}\end{array}


    5. กำหนดฟังก์ชัน \(f\) และ \(g\) ดังนี้

    \(f(2x-1)=4x-a\quad ,\quad a>0\)

    และ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\)

    ถ้า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\)

    แล้ว \(f(a)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 6
    2. 7
    3. 10
    4. 17

    วิธีทำ  ข้อนี้ต้องทำหลายขั้นตอนหน่อยคับ แต่ไม่ยาก เป็นข้อสอบ Entrance เก่าๆ เอามาเล่าใหม่คับ  เราจะเริ่มทำดังนี้นะคับ

    \begin{array}{lcl}f(2x-1)&=&4x-a\\Let\quad A&=&2x-1\\x&=&\frac{A+1}{2}\\so\\f(A)&=&4(\frac{A+1}{2})-a\\f(A)&=&2A+2-a\quad\cdots (1)\end{array}

    จากโจทย์ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ดังนั้น

    \(g(\sqrt{x+1})=x\) เริ่มทำต่อเลย

    \begin{array}{lcl}g(\sqrt{x+1})&=&x\\Let\quad B&=&\sqrt{x+1}\\B^{2}&=&x+1\\x&=&B^{2}-1\\so\\g(B)&=&B^{2}-1\quad\cdots (2)\end{array}

    ต่อไปเราจะเริ่มหาคำตอบแล้วนะคับ แต่ให้สังเกตสมการที่ \((1)\) และ สมการที่ \((2)\) ไว้ให้ดีๆ

    โจทย์บอกว่า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(a)&=&a^{2}+20\\f(g(a))&=&a^{2}+20\\from\quad (2)\\ we\quad get\\f(a^{2}-1)&=&a^{2}+20 \\and\quad from\quad (1)\\ we\quad get \\2(a^{2}-1)+2-a&=&a^{2}+20\\2a^{2}-2+2-a&=&a^{2}+20\\a^{2}-a-20&=&0\\(a-5)(a+4)&=&20\\so\\a=5,-4\\but\quad a>0\\so\\a&=&5\end{array}

    ต่อไปจะหาคำตอบจริงๆแล้ว

    จากสมการที่ \((1)\)  คือ \(f(A)=2A+2-a\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(a)&=&2a+2-a\\f(a)&=&a+2\\ because\quad a=5\\so\\f(5)&=&5+2\\&=&7\quad\underline{Ans}\end{array}