• การหาอนุพันธ์ฟังก์ชันโดยนิยาม

    เราเคยหาความชันของเส้นโค้งมาแล้ว ใครยังไม่ได้ไปอ่าน  ไปอ่านได้เลยครับตามลิงค์ความชันของเส้นโค้ง ซึ่งความชันของเส้นโค้งที่มีสมการเป็น \(y=f(x)\) หาได้จาก  \[\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\]  เมื่อลิมิตหาค่าได้ ในหัวข้อนี้เราจะเรียกลิมิตดังกล่าวว่า อนุพันธ์ของฟังก์ชัน \(f\)  ซึ่งมีนิยามของการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน \(f)\)  ดังต่อไปนี้

    บทนิยาม  ถ้า  \(y=f(x)\)  เป็นฟังก์ชันที่มีโดเมนและเรนจ์เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ \(\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\)  หาค่าได้แล้ว เรียกค่าลิมิตที่ได้นี้ว่า อนุพันธ์(derivative) ของฟ้งก์ชัน \(f\) ที่ \(x\)  เขียนแทนด้วย \(f^{\prime}(x)\)

    จากบทนิยามจะได้ว่า

    \[f^{\prime}(x)=\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\]

    อนุพันธ์ของฟังก์ชัน \(f\) ที่ \(x\) นอกจากจะเขียนแทนด้วย \(f^{\prime}(x)\) ยังนิยมเขียนแทนด้วย \(\frac{dy}{dx}\) (อ่านว่าดีวายบายดีเอ็กซ์) 

    ต่อไปเรามาทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันโดยใช้นิยามกันเลยครับ

    แบบฝึกหัด

    1. กำหนด \(f(x)=5x^{2}+3x-1\)  จงหา \(f^{\prime}(x)\)

    วิธีทำ  ข้อนี้ให้หาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน \(f\) ที่ \(x\)  โดยใช้นิยาม

    จาก

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\\&=&\frac{5(x+h)^{2}+3(x+h)-1-(5x^{2}+3x-1)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}f\frac{5(x^{2}+2xh+h^{2})+3x+3h-1-5x^{2}-3x+1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{5x^{2}+10xh+5h^{2}+3x+3h-1-5x^{2}-3x+1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{5h^{2}+3h+10xh}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}(5h+3+10x)\\&=&10x+3\end{array}

    2. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้

    \(1)\quad f(x)=3x^{2}\)

    วิธีทำ  ผมจะหาอนุพันธ์นี้ให้ดูโดยใช้นิยามครับ  

    จาก

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{3(x+h)^{2}-3x^{2}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{3(x^{2}+2xh+h^{2})-3x^{2}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{3x^{2}+6xh+3h^{2}-3x^{2}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{3h^{2}+6xh}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}(3h+6x)\\&=&6x\end{array}


    \(2)\quad f(x)=\frac{1}{x^{2}}\)

    วิธีทำ

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{\frac{1}{(x+h)^{2}-\frac{1}{x^{2}}}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{\frac{x^{2}-(x+h)^{2}}{x^{2}(x+h)^{2}}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{x^{2}-(x^{2}+2xh+h^{2}}{x^{2}(x+h)^{2}}\cdot\frac{1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{-2xh-h^{2}}{x^{2}(x+h)^{2}}\cdot \frac{1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{h(-2x-h)}{x^{2}(x+h)^{2}}\cdot \frac{1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{-2x-h}{x^{2}(x+h)^{2}}\\&=&\frac{-2x}{x^{2}x^{2}}\\&=&-\frac{2}{x^{3}}\end{array}


    \(3)\quad f(x)=x^{3}\)

    วิธีทำ

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{f(h)}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{(x+h)^{3}-x^{3}}{h}\\&=&\frac{x^{3}-h^{3}+3x^{2}h+3xh^{2}-x^{3}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{h^{3}+3x^{2}h+3xh^{2}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}(h^{2}+3x^{2}+3xh)\\&=&3x^{2}\end{array}


    \(4)\quad f(x)=x^{\frac{1}{3}}\)

    วิธีทำ

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{(x+h)^{\frac{1}{3}}-x^{\frac{1}{3}}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{(x+h)^{\frac{1}{3}}-x^{\frac{1}{3}}}{h}\cdot \frac{(x+h)^{\frac{2}{3}}+(x+h)^{\frac{1}{3}}x^{\frac{1}{3}}+x^{\frac{2}{3}}}{(x+h)^{\frac{2}{3}}+(x+h)^{\frac{1}{3}}x^{\frac{1}{3}}+x^{\frac{2}{3}}}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{(x+h)-x}{h\left[(x+h)^{\frac{2}{3}}+(x+h)^{\frac{1}{3}+x^{\frac{2}{3}}}x^{\frac{1}{3}}\right]}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{1}{(x+h)^{\frac{2}{3}}+(x+h)^{\frac{1}{3}+x^{\frac{2}{3}}}x^{\frac{1}{3}}}\\&=&\frac{1}{2x^{\frac{2}{3}}}\end{array}


    3. จงหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันต่อไปนี้ ณ จุดที่กำหนดให้ (ให้หาอนุพันธ์โดยใช้นิยาม)

    1) \(f(x)=x^{2}-x\) ที่จุดซึ่ง \(x=0\)

    วิธีทำ ข้อนี้ให้หาอนุพันธ์ของ \(f\) ที่จุด \(x=0\) ไม่ยาก เราก็หาอนุพันธ์ตามนิยามเลย แต่แทนค่า \(x=0\) ลงไป ไปทำกันเลยดีกว่า

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&\displaystyle\lim_{h\rightarrow 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\\f^{\prime}(0)&=&\displaystyle\lim_{h\rightarrow 0}\frac{f(0+h)-f(0)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(h)-f(0)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{(h^{2}-h)-(0^{2}-0)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{h^{2}-h}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{\not{h}(h-1)}{\not{h}}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0} h-1\\&=&-1\end{array}

    นั่นก็คือ อนุพันธ์ของฟังก์ชัน \(f\) ที่จุด \(x=0\) มีค่าเท่ากับ \(-1\)


    2) \(f(x)=\frac{1}{x^{2}}\) ที่จุดซึ่ง \(x=-1\)

    วิธีทำ ข้อนี้หาอนุพันธ์ของ \(f\) ที่จุด \(x=-1\) ทำเหมือนข้อข้างบนนั่นแหละคับ พยายามทำเองก่อนนะคับแล้วค่อยดูคำตอบ

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{\frac{1}{(x+h)^{2}}-\frac{1}{x^{2}}}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{x^{2}-(x+h)^{2}}{x^{2}\cdot (x+h)^{2})}\cdot \frac{1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{x^{2}-[x^{2}+2xh+h^{2}]}{x^{2}\cdot (x+h)^{2}}\cdot \frac{1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{-2xh-h^{2}}{x^{2}\cdot (x+h)^{2}}\cdot \frac{1}{h}\\&=&\displaystyle\lim_{h\to 0}\frac{-2x-h}{x^{2}\cdot (x+h)^{2}}\\&=&\frac{-2x}{x^{4}}\\&=&\frac{-2}{x^{3}}\end{array}

    จึงได้ว่า

    \(f^{\prime}(x)=\frac{-2}{x^{3}}\)

    ดังนั้น อนุพันธ์ของฟังก์ชัน \(f\) ที่จุด \(x=-1\) คือ 

    \(f^{\prime}(-1)=\frac{-2}{(-1)^{3}}=2\quad\underline{Ans}\)