• ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (59)

    59. กำหนดให้ \(f(x)=\sqrt{2x+4}\) ค่าของ \(f^{\prime}(0)\) คือข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{1}{4}\)
    2. \(\frac{1}{2}\)
    3. \(1\)
    4. \(2\)

    วิธีทำ ดิฟเลยครับ

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&\sqrt{2x+4}\\f(x)&=&(2x+4)^{\frac{1}{2}}\\f^{\prime}(x)&=&\frac{1}{2}(2x+4)^{\frac{1}{2}-1}\frac{d}{dx}(2x+4)\\&=&\frac{1}{2}(2x+4)^{-\frac{1}{2}}(2)\\&=&\frac{1}{(2x+4)^{\frac{1}{2}}}\\so\\f^{\prime}(0)&=&\frac{1}{(2(0)+4)^{\frac{1}{2}}}\\&=&\frac{1}{\sqrt{4}}\\&=&\frac{1}{2}\quad \underline{Ans}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (60)

    60. ค่า \(x\) ที่ทำให้ความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง \(y=\frac{2x^{2}-1}{x}\) มีค่าเท่ากับ \(4\) คือข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\pm\sqrt{2}\)
    2. \(\pm\frac{1}{\sqrt{2}}\)
    3. \(\pm 2\)
    4. \(\pm\frac{1}{2}\)

    วิธีทำ  ข้อนี้ให้ไปอ่านเรื่องความชันของเส้นโค้ง  นั่นก็คือต้องอาศัยความรู้การดิฟนั่นเอง  ก็คือดิฟสมการเส้นโค้งก็จะได้ความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง ณ จุดสัมผัส

    \begin{array}{lcl}y&=&\frac{2x^{2}-1}{x}\\y^{\prime}&=&\frac{d}{dx}\left(\frac{2x^{2}-1}{x}\right)\\&=&\frac{x\frac{d}{dx}(2x^{2}-1)-(2x^{2}-1)\frac{d}{dx}x}{x^{2}}\\&=&\frac{x(4x)-(2x^{2}-1)(1)}{x^{2}}\end{array}

    นี้คือ  \(\frac{x(4x)-(2x^{2}-1)(1)}{x^{2}}\) ความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้ง ณ จุดสัมผัส แต่เขาต้องการให้หา \(x\) เมื่อความชันของเส้นสัมผัสเส้นโค้งเท่ากับ \(4\) นั่นก็คือ

    \begin{array}{lcl}\frac{x(4x)-(2x^{2}-1)(1)}{x^{2}}&=&4\\\frac{4x^{2}-(2x^{2}-1)}{x^{2}}&=&4\\\frac{4x^{2}-2x^{2}+1}{x^{2}}&=&4\\4x^{2}-2x^{2}+1&=&4x^{2}\\-2x^{2}+1&=&0\\2x^{2}-1&=&0\\x^{2}&=&\frac{1}{2}\\x&=&\pm\sqrt{\frac{1}{2}}\\x&=&\pm\frac{1}{\sqrt{2}}\end{array}

     

  • สูตรการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน,สูตรดิฟ

    วันนี้เราจะมารู้จักสูตรในการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันหรือสูตรการดิฟนั่นเองครับ ซึ่งสูตรก็มีไม่มากครับความจริงไม่ต้องจำสูตรก็ได้หัดดิฟไปเรื่อยๆก็จะได้เองครับ เอาโจทย์ดิฟมาใช้บ่อยๆ ทำไปเรื่อยๆก็ได้เองครับ จริงๆถ้าทำได้หัดทำเรื่อยๆมันจะสนุกและอยากจะดิฟอีกบ่อยๆ เรามาดูสูตรการดิฟหรือสูตรการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันกันเลย  จะพยายามพิมพ์ตัวอย่างประกอบด้วยครับ

    สูตร การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชัน

    1) ถ้า \(f(x)=c\)  เมื่อ \(c\)  เป็นค่าคงตัวแล้ว  \(f^{\prime}(x)=0\)

    ตัวอย่างเช่น

    \(y=-4\)

    \begin{array}{lcl}\frac{dy}{dx}&=&\frac{d}{dx}(-4)\\&=&0\end{array}

    2) ถ้า \(f(x)=x\)  แล้ว  \(f^{\prime}(x)=1\)

    ตัวอย่างเช่น

    \(y=x\)

    \begin{array}{lcl}\frac{dy}{dx}&=&\frac{d}{dx}(x)\\&=&1\end{array}

    3) ถ้า \(f(x)=x^{n}\)  แล้ว \(f^{\prime}(x)=nx^{n-1}\)

    ตัวอย่างเช่น

    \(y=x^{6}\)

    \begin{array}{lcl}\frac{dx}{dx}&=&\frac{d}{dx}(x^{6})\\&=&6x^{6-1}\\&=&6x^{5}\end{array}

    4) ถ้า \(f\) และ \(g\)  หาอนุพ้นธ์ได้ที่ \(x\)  แล้ว  \((f+g)^{\prime}(x)=f^{\prime}(x)+g^{\prime}(x)\)

    ตัวอย่างเช่น

    \(y=5x^{3}+3x^{2}+4\)

    \begin{array}{lcl}\frac{dy}{dx}&=&\frac{d}{dx}(5x^{3}+3x^{2}+4\\&=&\frac{d}{dx}(5x^{3})+\frac{d}{dx}(3x^{2})+\frac{d}{dx}(4)\\&=&(5)(3)x^{3-1}+(3)(2)x^{2-1}+0\\&=&15x^{2}+6x\end{array}

    5) ถ้า \(f\) และ \(g\)  หาอนุพ้นธ์ได้ที่ \(x\)  แล้ว  \((f-g)^{\prime}(x)=f^{\prime}(x)-g^{\prime}(x)\)

    \(y=6x^{4}-4x^{3}\)

    ตัวอย่างเช่น

    \begin{array}{lcl}\frac{dy}{dx}&=&\frac{d}{dx}(6x^{4}-4x^{3})\\&=&24x^{3}-12x^{2}\end{array}

    6) ถ้า \(c\) เป็นค่าคงตัว  และ \(f\)  หาอนุพันธ์ได้ที่ \(x)\)  แล้ว  \(cf)^{\prime}(x)=c(f^{\prime}(x)\)  พูดง่ายสูตรข้อนี้คือดึงค่าคงตัวออกก่อนแล้วค่อยหาอนุพันธ์หรือดิฟ

    \(y=5x\)

    \begin{array}{lcl}\frac{dy}{dx}&=&\frac{d}{dx}(5x)\\&=&5\frac{d}{dx}(x)\\&=&5(1)\\&=&5\end{array}

    7) ถ้า \(f\)  และ \(g\)  หาอนุพันธ์ได้ที่ \(x\)  แล้ว  \((fg)^{\prime}(x)=f(x)g^{\prime}(x)+g(x)f^{\prime}(x)\)

    สูตรดิฟผลคูณที่เราชอบท่องกันว่าหน้าดิฟหลังบวกหลังดิฟหน้า

    ตัวอย่างเช่น

    \(y=x(x^{2}+3)\)

    \begin{array}{lcl}\frac{dy}{dx}&=&\frac{d}{dx}x(x^{2}+3)\\&=&x\frac{d}{dx}(x^{2}+3)+(x^{2}+3)\frac{d}{dx}(x)\\&=&x(2x)+(x^{2}+3)(1)\\&=&3x^{2}+3\end{array}

    8) ถ้า \(f\)  และ \(g\)  หาอนุพันธ์ได้ที่ \(x\)  แล้ว  \((\frac{f}{g})^{\prime}=\frac{g(x)f^{\prime}(x)-f(x)g^{\prime}(x)}{(g(x))^{2}}\) นี่คือสูตรการดิฟผลหารนะครับ เรามักท่องว่าล่างดิฟบน ลบ บนดิฟล่าง หาร ล่างกำลังสอง

    ตัวอย่างเช่น

    \(y=\frac{x}{x+1}\)

    \begin{array}{lcl}\frac{dy}{dx}&=&\frac{d}{dx}(\frac{x}{x+1})\\&=&\frac{(x+1)\frac{d}{dx}(x)-((x)\frac{d}{dx}(x+1))}{(x+1)^{2}}\\&=&\frac{(x+1)-((x)(1)}{(x+1)^{2}}\\&=&\frac{1}{(x+1)^{2}}\end{array}

    หลังจากที่เรียนรู้สูตรการหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันแล้วหรือสูตรดิฟแล้วต่อไปก็ทำแบบฝึกหัดต่อที่ลิงค์นี้เลยครับ การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันหรือการดิฟ