• concept ความน่าจะเป็น ม.3

    ก่อนที่เราจะทำอะไร ก่อนที่เราจะเรียนรู้อะไรสักอย่างหนึ่งเราต้องมีการศึกษา ทำความรู้จักกับสิ่งที่เราจะ

    เรียนว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง หลักๆที่เราต้องรู้มีอะไรบ้าง มีอะไรบ้างที่เราจำเป็นต้องรู้ ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับความหมาย และองค์ประกอบอื่นๆของความน่าจะเป็นกันว่า มีอะไรบ้าง......... ก่อนที่เราจะลงลึกหัดทำโจทย์ปัญหา

  • เฉลยคณิตวิชาสามัญความน่าจะเป็น

    1. ร้านขายไอศกรีมแห่งหนึ่ง มีไอศกรีม 10 รส โดยมีรสกะทิเป็น 1 ใน 10 รส ในวันเด็ก ร้านนี้ได้แจกไอศรีมฟรีให้แก่ เด็กคนละ 1 ถ้วย  ถ้วยละ 2 รส ถ้าสุ่มเด็กที่ได้รับแจกไอศกรีมมาหนึ่งคน ความน่าจะเป็นที่ถ้วยไอศกรีมของเด็กคนนี้ไม่มีรสกะทิเท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ตอนนี้ให้เราจินตนาการว่า เรามี ไอศกรีม 10 รศ คือ A,B,C,D,E,F,G,H,I,J   ผมให้ A เป็นรสกะทินะ ฉะนั้นในไอศกรีมหนึ่งถ้วยก็อาจจะประกอบไปด้วยรส AB อยู่ด้วยกัน หรือว่า BC อยู่ด้วยกัน ดังนั้นจะมีได้ทั้งหมด 

    \[C_{10,2}=\frac{10!}{8!2!}=45\]

    นั่นก็คือจะมีไอศกรีมที่เป็นไปได้ทั้งหมด 45 ถ้วย

    ต่อไปเราจะเห็นว่าจะมีไอศกรีมรสกะทิทั้งหมด 9 ถ้วย ก็คือ AB,AC,AD,AE,AF,AG,AH,AI,AJ 

    นั่นก็คือความน่าจะเป็นของถ้วยไอศกรีมของเด็กจะมีรสกะทิด้วยคือ \(\frac{9}{45}=\frac{1}{5}\)

    ดังนั้นความน่าจะเป็นของถ้วยไอศกรีมของเดก็จะไม่มีรสกะทิคือ \(\frac{4}{5}=0.8\quad\underline{Ans}\)


    2. จำนวนนับที่มีค่ามากกว่าเจ็ดแสนที่ได้จา่กการนำเลขโดด \( 0,7,7,8,8,9 \) มาจัดเรียง มีจำนวนทั้งหมดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 120
    2. 150
    3. 250
    4. 350
    5. 550

    วิธีทำ การทำข้อนี้เป็นการสร้างเลขหกหลักที่มีค่ามากกว่าเจ็ดแสนนั่นเอง เช่น 

    779880,988770,807898  พวกนี้มากกว่า เจ็ดแสนแน่นอน

    077889,088977,089877  พวกนี้น้อยกว่า เจ็ดแสนเพราะหลักแสนเป็นเลขศูนย์  

    ดังนั้นแนวคิดข้อนี้ก็คือ หาจำนวนวิธีทั้งหมดในการสร้างเลขหกหลักจากเลขโดดที่เขากำหนดมาให้  แล้วลบด้วยกรณีที่หลักแสนเป็นเลข 0

    ซึ่งจะต้องใช้ความรู้เรื่องวิธีเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมดหรือก็คือมีบางสิ่งซ้ำกันนั่นเอง เอาละเรามาเรียนกันเลย

    ถ้าเราเอาเลขโดย 0,7,7,8,8,9 มาสร้างเลขหกหลักก็จะได้จำนวนเลขทั้งหมด

    \[\frac{6!}{2!2!}\] 

    ในกรณีที่หลักแสนเป็นเลข 0  ก็คือนำเลขโดด 7,7,8,8,9 มาสร้างเป็นเลขห้าหลักจะได้จำนวนเลขทั้งหมด

    \[\frac{5!}{2!2!}\] 

    แล้วก็เอามาลบกันก็จะได้คำตอบคับ

    \(\frac{6!}{2!2!}-\frac{5!}{2!2!}=150\) 


    3. \(\displaystyle\sum_{r=0}^{6}(-1)^{r}\binom{6}{r}7^{6-r}5^{r}\) มีค่าเท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้ลองกระจายดูก่อนคับ 

    เอาที่โจทย์ให้มาไปกระจายดูเลย\(\displaystyle\sum_{r=0}^{6}(-1)^{r}\binom{6}{r}7^{6-r}5^{r}\)

    จะได้แบบนี้

    \(=(-1)^{0}\binom{6}{0}7^{6-0}5^{0}+(-1)^{1}\binom{6}{1}7^{6-1}5^{1}+(-1)^{2}\binom{6}{2}7^{6-2}5^{2}+\cdots +(-1)^{6}\binom{6}{6}7^{6-6}5^{6}\)

    \(=\binom{6}{0}7^{6}-\binom{6}{1}7^{5}5^{1}+\binom{6}{2}7^{4}5^{2}-\binom{6}{3}7^{3}5^{3}+\cdots +\binom{6}{6}5^{6}\)

    ซึ่งมันไปตรงกับสูตรทฤษฎีบททวินาม ไปอ่านดูตามลิงก์นะคับ นั่นก็คือ

    \(\binom{6}{0}7^{6}-\binom{6}{1}7^{5}5^{1}+\binom{6}{2}7^{4}5^{2}-\binom{6}{3}7^{3}5^{3}+\cdots +\binom{6}{6}5^{6}=(7-5)^{6}=2^{6}=64\)


    4. กำหนดให้ \(S=\{1,2,3,\cdots ,10\}\) และ \(M=\{(x,y)|x,y\in S\}\) ถ้าสุ่มหยิบ \((x,y)\) จาก \(M\) มาหนึ่งตัวแล้ว ความน่าจะเป็นที่จะได้ \((x,y)\) ซึ่ง \(x^{2}+y^{2}<25\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{13}{100}\)
    2. \(\frac{15}{100}\)
    3. \(\frac{17}{100}\)
    4. \(\frac{19}{100}\)
    5. \(\frac{21}{100}\)

    วิธีทำ ข้อนี้เราหาสมาชิกทั้งหมดในเซต \(M\) จะได้เท่ากับ \(10\times 10=100\) ตัว หน้าตาคร่าวของเซต \(M\) ก็จะประมาณนี้

    \(M=\{(1,1),(1,2),(1,3),\cdots ,(10,10)\}\) ต่อไปเราก็ไปหาว่าคู่ไหนบ้างที่ยกกำลังสองแล้วรวมกันมีค่าน้อยกว่า 25 ซึ่งก็จะมี

    \((1,1),(2,2),(3,3),(1,2),(2,1),(1,3),(3,1),(1,4),(4,1),(2,3),(3,2),(2,4),(4,2)\) ก็คือคู่อันดับพวกนี้ ยกกำลังสองแล้วบวกกันได้ค่าน้อยกว่า 25 

    อย่างเช่น \((3,2)\to 3^{2}+2^{2}=9+4=13<25\) ซึ่งนับแล้วแบบนี้มีทั้งหมด 13 ตัว ดังนั้นความน่าจะเป็นที่สุ่มหยิบสมาชิกใน \(M\) แล้วได้คู่อันดับที่ยกกำลังสองแล้วบวกกันมีค่าน้อยกว่า 25 เท่ากับ \(\frac{13}{100}\) นั่นเอง


    5.นักเรียนห้องหนึ่งมีจำนวน 30 คน สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้เกรด A   5 คน ได้เกรดB  15 คน และได้เกรดC  10 คน ถ้าสุ่มนักเรียน 3 คน จากห้องนี้แล้ว ความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนอย่างน้อย 1 คนที่ได้เกรด A เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{44}{203}\)
    2. \(\frac{55}{203}\)
    3. \(\frac{66}{203}\)
    4. \(\frac{77}{203}\)
    5. \(\frac{88}{203}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ถ้าทำแบบตรงๆ ยาก ดังนั้นเราก็แบบนี้คือ เอา 1 ลบออกด้วยความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียน 3 คนแล้วไม่ใครได้เกรด A สักคนเลย

     

    มีนักเรียนอยู่ 30 คน จำนวนวิธีในการสุ่มนักเรียนมา 3 คนเท่ากับ \(\binom{30}{3}\) วิธี

    มีนักเรียนอยู่ 25 คนที่ไม่ได้เกรดA จำนวนวิธีสุ่มนักเรียนมา 3 คนซึ่งสามคนนั้นไม่ได้เกรดAเลยเท่ากับ \(\binom{25}{3}\) วิธี

    ดังนั้น

    ความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียนมา 3 คนแล้วสามคนนั้นไม่ได้เกรดA เลยเท่ากับ \(\frac{\binom{25}{3}}{\binom{30}{3}}=\frac{25\times 24\times 23}{30\times 29\times 28}=\frac{115}{203}\)

    ตอนนี้ใกล้ได้คำตอบแล้ว

    ความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียนมา 3 คนแล้วได้เกรด A อย่างน้อย 1 คน จะเท่ากับ 1 ลบออกด้วย ความน่าจะเป็นจะที่สุ่มนักเรียนมา 3 คนแล้วไม่ได้เกรด A เลยก็คือ

    \(1-\frac{115}{203}=\frac{88}{203}\quad\underline{Ans}\)


    6.ต้องการสร้างจำนวนที่มี 7 หลัก จากเลขโดด 7 ตัว คือ 1,2,3,3,4,5,6 โดยให้เลข 3 สองตัวติดกัน จะสร้างได้ทั้งหมดกี่จำนวน

    วิธีทำ  ข้อนี้หลักการทำ คือ เอาเลข 3 ที่มีสองตัวมามัดรวมกันเป็นหนึ่งมัด จะได้ว่ามีตัวเลขทั้งหมด 6 ตัว ก็คือนำตัวเลข 6 ตัวนี้มาการเรียงสับเปลี่ยนกันเพื่อให้ได้เลข 7 หลัก ซึงจะทำได้ทั้งหมด \(6!=720\) วิธี นั่นก็คือจะสร้างเลข 7 หลักที่มีเลข 3 สองตัวติดกันทั้งหมด \(720\) จำนวน


    7. ในการกระจาย \(\left(x^{2}+\frac{2}{x^{3}})^{10}\right)\) โดยใช้ทฤษฎีบททวินาม จะได้ว่าพจน์ค่าคงตัวมีค่าเท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ   เราก็ใช้ทฤษฎีบททวินามกระจายพจน์นี้  พอเรากระจายไปเรื่อยๆ เราก็จะเจอพจน์ๆหนึ่งที่มีรูปแบบ แบบนี้

    \(\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}\) 

    ต่อไปเราจะเห็นว่าการที่ไอ้ก้อนนี้ \(\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}\) มันจะเป็นค่าคงตัว เลขชี้กำลังของ \(x\) มันต้องเป็น \(0\) ถูกต้องไหม

    เราเอาไอก้อนนี้   \(\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}\) มาจัดรูปนิดหน่อย จะได้

    \begin{array}{lcl}\binom{10}{r}(x^{2})^{10-r}(2x^{-3})^{r}&=&\binom{10}{r}x^{(20-2r)}2^{r}x^{-3r}\\&=&\binom{10}{r}x^{(20-5r)}2^{r}\end{array}

    ต่อไปเราจะได้ว่า เลขชี้กำลังของ \(x\) จะเป็น \(0\) ก็ต่อเมื่อ  \(20-5r=0\) นั่นก็คือถ้าเราแก้สมการจะได้ค่า \(r=4\)  ดังนั้นจะได้ว่า \(r=4\) จึงจะทำให้พจน์ที่ได้เป็นค่าคงตัว เราก็หาต่อเลยว่าค่าคงตัวที่ว่านั้นคือเลขอะไร เริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}\binom{10}{r}x^{20-5r}2^{r}&=&\binom{10}{4}x^{20-(5)(4)}2^{4}\\&=&210\cdot x^{0}\cdot 16\\&=&210\times 16\\&=&3360\end{array}

    พจน์ค่าคงตัวที่ว่านั้นก็คือเลขนี้ครับ \(3360\) นั่นเอง

  • โจทย์ความน่าจะเป็น ม.5

    ความน่าจะเป็น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่ถ้าเราหัดทำโจทย์บ่อยๆเราก็จะเข้าใจและทำได้ ไม่ยากนัก วันนี้

    ผมจะรวบรวมโจทย์ความน่าจะเป็นที่ไม่ยากไป ไม่ง่ายไปมายกตัวอย่างให้ผู้สนใจลองอ่านทำความเข้าใจกันดูคับ

    1. มีคน 10 คน ซึ่งใน 10 คนนี้ มีปารมีและภูผารวมอยู่ด้วย ถ้าจัดคน 10 คน นั่งเป็นวงกลม จงหาความน่าจะเป็นที่ปารมีและภูผาจะนั่งติดกัน

    วิธีทำ  ทบทวนสูตรในการหาค่าความน่าจะเป็นก่อน   \(P(E)=\frac{n(E)}{n(S)}\)

    n(S)  คือ จำนวนวิธีทั้งหมดที่จะจัดคน 10 คนนั่งเป็นวงกลม

    n(E)  คือ จำนวนวิธีจัดคนนั่งเป็นวงกลมโดยที่ปารมีและภูผาจะต้องนั่งติดกัน

    ดังนั้น

    n(S)=(10-1)!=9!    จัดของเป็นวงกลมใช้สูตร (n-1)!

    n(E)= (9-1)! 2!=8!2!  แนวคิดคือจับปารมีและภูผามัดรวมกันเป็นหนึ่งมัดเดียวกัน ฉนั้นจะเหลือสิ่งของ 9 สิ่งมาจัดเป็นวงกลมได้ (9-1)! วิธี และปารมี กับ ภูผา สามารถนำมาสลับที่กันอีกสองวิธีหรือก็คือ 2! นั่นเอง

    ดังนั้นข้อนี้ตอบ

    \(P(E)=\frac{8!2!}{9!}\)=\(\frac{2}{9}\)

    ความน่าจะเป็นที่ปารมีและภูผาจะนั่งติดกันคือ \(\frac{2}{9}\)


    2.กล่องใบหนึ่งมีบัตร 5 ใบ ซึ่งเขียนหมายเลข 1,2,3,4,5 กำกับไว้ ถ้าหยิบบัตรจากกล่องใบนี้พร้อมกัน 3 ใบ จงหาความน่าจะเป็นที่ผลรวมของแต้มบนบัตรมากกว่า 10

    วิธีทำ 

    n(S) คือ จำนวนวิธีทั้งหมดในการหยิบบัตร 5 ใบโดยหยิบพร้อมกันครั้งละ 3 ใบ ดังนั้น

    \(n(S)=C_{5,3}=\frac{5!}{(5-3)!3!}=10\)

    n(E) คือ จำนวนวิธีที่บัตร 3 ใบที่หยิบมาพร้อมกันผมรวมของหมายเลขในบัตรมากกว่า 10 ดังนั้น

    n(E)={(3,4,5) ,(4,5,2)}=2

    ดังนั้นข้อนี้ตอบ

    \(P(E)=\frac{2}{10}=\frac{1}{5}\)

    ความน่าจะเป็นที่ผลรวมของแต้มมากกว่า 10 คือ \(\frac{1}{5}\)


    3.นักเรียนชาย 4 คน นักเรียนหญิง 4 คน ยืนเรียงแถวหน้ากระดาน จงหาความน่าจะเป็นที่นักเรียนชายและนักเรียนหญิงจะยื้นสลับกัน

    วิธีทำ 

    n(S) คือ จำนวนวิธีจัดคน 8 คนยืนสลับที่กัน

    n(S)=8!

    n(E)  คือ จำนวนวิธีจัดคนให้ยืนโดยที่หญิง ชาย ยืนสลับกัน

    n(E)=4!4!2

    ดังนั้นข้อนี้ตอบ

    \(P(E)=\frac{4!4!2}{8!}\)


    4.กล่องใบหนึ่งมีลูกแก้วขนาดเดียวกัน 13 ลูก เป็นสีแดง 6 ลูก สีขาว 4 ลูก และสีเหลือง 3 ลูก โดยที่ลูกแก้วทุกลูกแตกต่างกัน ถ้าสุ่มหยิบลูกแก้วออกมา 3 ลูก จงหาความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกแก้วสีต่างกันทั้ง 3 ลูก

    วิธีทำ

    \(n(S)=\binom{13}{3}=\frac{13!}{(13-3)!3!}=286\)

    \(n(E)=\binom{6}{1}\binom{4}{1}\binom{3}{1}=72\)

    \(P(E)=\frac{72}{286}\) 


    5.ชายคนหนึ่งมีเสื้ออยู่ 5 ตัว เป็นเสื้อสีขาว 3 ตัว สีฟ้า 2 ตัว และมีกางเกงขายาว 4 ตัว เป็นกาเกงสีขาว 1 ตัว สีเทา 3 ตัว ถ้าชายคนนี้แต่งตัวออกจากบ้านโดยไม่เจาะจงแล้ว จงหาความน่าจะเป็นที่ชายคนนี้จะสวมเสื้อและกางเกงสีต่างกัน

    วิธีทำ 

    n(S) คือจำนวนวิธีในการแต่งตัวทั้งหมด มีเสื้อให้เลือก 5  ตัว และมีกางเกงให้เลือก  4 ตัว ดังนั้นจำนวนวิธีในการแต่งตัวมีทั้งหมดคือ \(5\times 4 =20 \)  วิธี  อันนี้ใช้กฎการคูณในการคิด

    นั่นคือ  n(S)=20

    n(E) คือจำนวนวิธีที่ชายคนนี้แต่งตัวโดยเสื้อและกางเกงสีต่างกัน จะแบ่งการคิดออกเป็น 2 กรณี

    กรณี 1  คือชายคนนี้แต่งตัวโดยใส่เสื้อสีขาว

    เพราะฉะนั้นเขาเลือกใส่เสื้อได้ 3  วิธีแต่กางเกงเขาห้ามเป็นสีขาวฉนั้นเขาต้องใส่กางเกงเทาเลือกได้ 3 วิธีเพราะกางเกงสีเทามีสามตัว จำนวนวิธีทั้งหมดในการแต่งตัวแบบนี้คือ  \(3\times 3=9\)

    กรณี 2  คือชายคนนี้แต่งตัวโดยใส่เสื้อสีฟ้า

    เพราะฉะนั้นเขาเลือกใส่เสื้อได้ 2 วิธีและกางเกงเขาใส่กางเกงสีขาวก็ได้ สีเทาก็ได้ทำได้ 4 วิธีเพราะฉะนั้นจำนวนวิธีในการแต่งตัวแบบนี้คือ \( 2\times 4=8\)

    ดังนั้น n(E)=9+8=17

    ความน่าจะเป็นที่ชายคนนี้จะสวมเสื้อและกางเกงสีต่างกันคือ \(P(E)=\frac{17}{20}\)


    6.ตะกร้าใบหนึ่งมีส้ม มังคุดและมะม่วงรวมกัน 10 ลูก โดยที่จำนวนส้มเป็นสองเท่าของจำนวนมังคุดและมีมะม่วง 1 ลูก โดยที่ผลไม้ทุกลูกแตกต่างกัน ถ้าหยิบผลไม้อย่างไม่เจาะจงจากตะกร้าใบนี้จำนวน 3 ลูก จงหาความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ผลไม้ชนิดละ 1 ลูก

    วิธีทำ  มะม่วงมีจำนวน 1 ลูก มังคุดไม่รู้มีกี่ลูกให้มังคุดมีจำนวน x ลูก ฉะนั้นส้มมีจำนวนเป็น 2x

    ผลไม้รวมกันมีจำนวน 10 ลูก จะได้ว่า 1+x+2x=10  , x=3 นั่นคือมังคุดมีจำนวน 3 ลูก ส้ม 6ลูก

    จึงได้ว่า

    \(n(S)=\binom{10}{3}=240\)

    \(n(E)=\binom{1}{1}\binom{3}{1}\binom{6}{1}=18\)

    ความน่าจะเป็นที่จะหยิบได้ผลไม้ชนิดละหนึ่งลูก คือ \(P(E)=\frac{18}{240}=\frac{3}{40}\) 


    7.ถ้าความน่าจะเป็นที่นายธงชัยจะสอบผ่านวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษเป็น 0.6 และ 0.5 ตามลำดับ และความน่าจะเป็นที่จะผ่านอย่างน้อย 1 วิชา เป็น 0.8 จงหาความน่าจะเป็นที่นายธงชัยจะสอบผ่านทั้งสองวิชานี้

    วิธีทำ ถ้าวาดแผนภาพเวน-ออยเลอร์ช่วยจะดูง่ายนะข้อนี้

    ให้ x คือความน่าจะเป็นที่นายธงชัยสอบผ่านทั้งสองวิชาดังนั้นจะได้ตามรูป

    โจทย์บอกว่าความน่าจะเป็นที่จะสอบผ่านอย่างน้อย 1 วิชา คือ 0.8 ความหมายของประโยคนี้คือสอบผ่านหนึ่งวิชาก็ได้หรือสอบผ่านทั้งสองวิชาก็ได้ ดังนั้นเราจึงได้ว่า

    (0.6-x)+x+(0.5-x)=0.8

    1.1-x=0.8

          x=0.3

    นั่นก็คือความน่าจะเป็นที่นายธงชัยจะสอบผ่านทั้งสองวิชาคือ 0.3  นั่นเอง

    8.มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งจำนวน 120 คน ในจำนวนนี้พบว่ามีนักเรียนทีี่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ 60 คน มีนักเรียนที่ชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษจำนวน 50 คน และมีนักเรียนที่ชอบเรียนทั้งสองวิชา 20 คน ถ้าสุ่มเลือกนักเรียนจากกลุ่มนี้มา 1 คน แล้วจงหาความน่าจะเป็นที่นักเรียนคนที่เลือกมาจะ

    1) ชอบเรียนอย่างน้อย 1 วิชา

    2) ไม่ชอบเรียนทั้งสองวิชา

    3) ชอบเรียนคณิตศาสตร์แต่ไม่ชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ

    วิธีทำ วาดแผนภาพเวน-ออย์เลอร์  เหมือนข้อที่ผ่านมา จะได้

    จากโจทย์จะได้ว่าชอบเรียนคณิตศาสตร์อย่างเดียว 40 คน

    ชอบเรียนภาษาอังกฤษอย่างเดียว 30 คน

    ชอบเรียนทั้งวิชาคณิตและอังกฤษจำนวน 20 คน

    ดังนั้นมีคนที่รักในการเรียนทั้งหมด 40+30+20=90 คน แต่นักเรียนมีทั้งหมด 120 คน ดังนั้นจะได้ว่ามีนักเรียนจำนวน 120-90=30 คนที่ไม่ชอบเรียนวิชาอะไรเลยถ้าดูจากแผนภาพก็คือตัวเลขที่อยู่ข้างนอกวงกลมนั่นเอง

    1)ความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียนมา 1 คนแล้วชอบเรียนอย่างน้อยหนึ่งวิชาคือ

    ต้องเข้าใจคำว่าชอบเรียนอย่างน้อยหนึ่งวิชาก่อนนะครับก็คือชอบเรียนหนึ่งวิชาก็ได้ชอบเรียนสองวิชาก็ได้หรือชอบเรียนทั้งสองวิชาก็ได้ นั้นคือมีจำนวน 40+30+20=90 คน นั่นเอง

    ดังนั้นความน่าจะเป็นสุ่มนักเรียนมา 1 คนแล้วนักเรียนที่สุ่มเลือกมาชอบเรียนอย่างน้อย 1 วิชาเท่ากับ

    \(P(E)=\frac{90}{120}=\frac{3}{4}\)

    2)ความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียนมา 1 คนแล้วไม่ชอบเรียนทั้งสองวิชา

    คนที่ชอบเรียนทั้งสองวิชามี 20 คนนะคับ ดังนั้นข้อนี้ตอบ

    \(P(E)=\frac{30}{120}=\frac{1}{4}\)

    3)ความน่าจะเป็นที่สุ่มนักเรียนมา 1 คนแล้วชอบเรียนคณิตศาสตร์แต่ไม่ชอบเรียนวิชาภาษาอังกฤษ

    ก็คือชอบเรียนคณิตศาสตร์อย่างเดียว \(P(E)=\frac{40}{120}=\frac{1}{3}\)


    9. บ่อปลาแห่งหนึ่งเป็นรูปวงกลม อนุญาตให้เข้าตกปลาได้ครั้งละ 4 คน โดยให้นั่งอยู่รอบบ่อ ถ้าครอบครัวหนึ่งมากัน 7 คน ความน่าจะเป็นที่ผู้เข้าตกปลาครั้งหนึ่งๆจะมีพ่อและแม่รวมอยู่ด้วยเสมอเท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ถ้าเราเห็นโจทย์ที่มีลักษณะจัดอะไรสักอย่างรอบบ่อหรืออะไรก็ตามที่เป็นวงกลมรำลึกไว้เลยว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับการเรียงสับเปลี่ยนเชิงวงกลมแน่ไปอ่านให้เข้าใจก่อนนะครับ

    ข้อนี้เขาให้หา ความน่าจะเป็นที่ผู้เข้าตกปลาครั้งหนึ่งๆจะมีพ่อและแม่รวมอยู่ด้วยเสมอ

    ดังนั้น  

    \(n(S)\)  ของข้อนี้คือจำนวนวิธีทั้งหมดในการจัดคน 4 คนจากทั้งหมด 7 คนไปนั่งตกปลารอบบ่อ เอาละต่อไปเราจะเริ่มหา \(n(S)\) กันเลยครับ

    จำนวนวิธีในการเลือกคน 4 คนจากทั้งหมด 7 คนจะเท่ากับ \(C_{7,4}=35\) วิธี  และเลือกแต่ละวิธีในจำนวนทั้งหมด 35 วิธีไปจัดนั่งตกปลารอบบ่อจะได้จำนวนวิธีทั้งสิ้น \(35(3!)\)  งงไหมเอ่ยถ้างงดูนี่

    วิธีที่ 1 จัดคน 4 คนนั่งรอบบ่อได้ 3! วิธี

    วิธีที่ 2 จัดคน 4 คนนั่งรอบบ่อได้ 3! วิธี

    ...   ....   ....   ....   ....   ....   ....

    วิธีที่ 35 จัดคน 4 คนนั่งรอบบ่อได้ 3! วิธี เช่นกัน

    ดังนั้นจำนวนวิธีนั่งการเลือกคน 4 คนจาก 7 คนมานั่งตกปลารอบบ่อมีจำนวนทั้งสิ้น \(35(3!)\)  วิธี

    ต่อไปหา \(n(E)\)  ก็คือหาจำนวนวิธีที่การตกปลาครั้งหนึ่งจะมีพ่อและแม่รวมอยู่ด้วยเสมอ

    การคิดอันนี้ก็คือใช้หลักการง่ายๆครับมัดให้พ่อกับแม่อยู่รวมกันจากที่มีคนอยู่ 7 คน พ่อกับแม่มัดรวมกันเป็นมัดเดียวกันก็คือเป็นคนคนเดียวกันแล้วครับจะได้ว่ามีคนมาตกปลาเพียง 6 คนนั่นเองครับ ฉะนั้นจำนวนวิธีในการเลือกคน 4 คนจากทั้งหมด 6 คนเท่ากับ \(C_{6,4}=15\)  วิธี และในแต่ละวิธีใน 15 วิธีนำไปจัดให้นั่งตกปลารอบบ่อจะได้จำนวนวิธีทั้งหมด \(15(3!)\) วิธี 

    ฉะนั้นจำนวนวิธีการนั่งตกปลาที่มีพ่อและแม่รวมอยู่ด้วยเท่ากับ \(15(3!)\) วิธี

    ดังนั้น  ความน่าจะเป็นที่ผู้เข้าตกปลาครั้งหนึ่งๆจะมีพ่อและแม่รวมอยู่ด้วยเสมอคือ

    \(\frac{15(3!)}{35(3!)}=\frac{3}{7}\)  นั่นเองครับ


    10. กล่องใบหนึ่งมีลูกบอลสีขาว 4 ลูก สีแดง 5 ลูก โดยลูกบอลทั้ง 9 ลูกมีขนาดและลัษณะเหมือนกัน สุ่มหยิบลูกบอลจากกล่องใบนี้ 3 ลูก ความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกบอลสีขาวอย่างมาก 2 ลูกมีค่าเท่าใด

    วิธีทำ โจทย์แบบนี้กก็คือพวกหยิบลูกบอลสีต่างๆถือว่าเป็นโจทย์ยอดฮิตเลยทีเดียวครับเป็นโจทย์ที่ครูเขาชอบเอาไปออกข้อสอบครับแต่ไม่ยากผมจะทำให้ดูแล้วพวกเราก็สามารถนำไปขยายต่อยอดได้ครับ

    โจทย์บอกว่าสุ่มหยิบลูกบอลจากกล่องใบนี้ 3 ลูกแสดงว่า

    \(n(S)\)  คือจำนวนวิธีทั้งหมดในการสุ่มหยิบลูกบอล 3 ลูกจากลูกบอลทั้งหมด 9 ลูกจะได้ว่า

    \(n(S)=C_{9,3}=\frac{9!}{6!3!}=84\)  วิธี

    ส่วน \(n(E)\)  คือจำนวนวิธีในการหยิบได้ลูกบอลสีขาวอย่างมาก 2 ลูก อันนี้ต้องแยกคิดครับคำว่าหยิบได้อย่างมาก 2 ลูกความหมายก็คือหยิบได้ไม่เกิน 2 ลูกนั่นเองครับ ดังนั้น

    กรณีที่ 1 กรณีที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว 1 ลูก จะได้จำนวนวิธีทั้งหมดคือ

    \(C_{4,1}\times C_{5,2}=40\) วิธี  ความหมายของบรรทัดนี้ก็คือหยิบสีขาวมา 1 ลูกจากทั้งหมด 4 ลูกแล้วไปหยิบสีแดงอีก 2 ลูกจากทั้งหมด 5 ลูก

    กรณีที่ 2 กรณีที่หยิบได้ลูกบอลสีขาว 2 ลูก จะได้จำนวนวิธีทั้งหมดคือ

    \(C_{4,2}\times C_{5,1}=30\) วิธี 

    กรณีที่ 3  กรณีที่หยิบไม่ได้ลูกบอลสีขาวเลย นั้นก็คือหยิบได้ลูกบอลสีแดงทั้งหมดคือ

    \(C_{5,3}=10\)  วิธี

    ดังนั้นในการหยิบจำนวนวิธีหยิบได้ลูกบอลได้เกิน 2 ลูกจะเท่ากับ \(40+30+10=80\) วิธี

    ดังนั้นความน่าจะเป็นที่จะได้ลูกบอลสีขาวอย่างมาก 2 ลูกมีค่าเท่ากับ\(\frac{80}{84}=\frac{20}{21}\)


    สามารถฝึกทำโจทย์ความน่าจะเป็นเพิ่มเติมได้ที่ลิงค์นี้ต่อได้เลยครับฝึกทำโจทย์ความน่าจะเป็น ม.5