• กฎของไซน์

    วันนี้เราจะมาดูอีกกฎหนึ่ง นอกจากจะมีกฎของโคไซน์ แล้วยังมีอีกกฎอีกข้อหนึ่งเขาเรียกว่า กฎของไซน์ ซึ่งกฎนี้ก็ศึกษาได้จากสามเหลี่ยมใดๆนี่แหละครับ เรามาดูว่ากฎของไซน์ที่ว่านี้น่าตาเป็นอย่างไร  ไปดูกันเลย

    ในรูปสามเหลี่ยม ABC ใดๆ ถ้า a,b และ c เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุม A,B และ C  ตามลำดับ  จะได้

    \[\frac{\sin A}{a}=\frac{\sin B}{b}=\frac{\sin C}{c}\]

    นี่คือกฎของไซน์ครับ ต่อไปเราก็จำนำกฎของไซน์นี้ไปแก้โจทย์ปัญหากันครับ ไปดูตัวอย่างกันเลย

    แบบฝึกหัด โจทย์กฎของไซน์

    1. กำหนด \(\hat{A}=45^{\circ}\quad ,\hat{C}=60^{\circ}\quad ,b=20\)  จงหา c และพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC

    วิธีทำ จากกฎของไซน์  \(\frac{\sin B}{b}=\frac{\sin C}{c}\)

    เนื่องจาก

    \begin{array}{lcl}\hat{A}+\hat{B}+\hat{C}&=&180^{\circ}\\45^{\circ}+\hat{B}+60^{\circ}&=&180^{\circ}\\\hat{B}&=&75^{\circ}\end{array}

    แทนค่าลงไปในกฎของไซน์เลยครับจะได้

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin 75^{\circ}}{20}&=&\frac{\sin 60^{\circ}}{c}\\c&=&\frac{20\sin 60^{\circ}}{\sin 75^{\circ}}\\&=&\frac{20\times \frac{\sqrt{3}}{2}}{\frac{\sqrt{3}+1}{2\sqrt{2}}}\\&=&\frac{10\sqrt{3}\times 2\sqrt{2}}{\sqrt{3}+1} \times \frac{\sqrt{3}-1}{\sqrt{3}-1}\\&=&10\sqrt{6}(\sqrt{3}-1)\\&=&17.93\end{array}

    2.  จงหาส่วนที่เหลือของรูปสามเหลี่ยม ABC โดยใช้กฎของไซน์

    เมื่อกำหนดให้ \(a=4,b=8,\hat{A}=30^{\circ}\)

    วิธีทำ จาก

    \(\frac{a}{\sin A}=\frac{b}{\sin B}\)

    จะได้

    \begin{array}{lcl}\sin B&=&\frac{b\sin A}{a}\\\sin B&=&\frac{8\sin 30^{\circ}}{4}\\\sin B&=&2\times \frac{1}{2}\\\sin B&=&1\end{array}

    เนื่องจาก

    \(\sin 90^{\circ}=1\)

    นั่นคือ

    \(\hat{B}=90^{\circ}\) ครับ

    จาก

    \begin{array}{lcl}\hat{A}+\hat{B}+\hat{C}&=&180^{\circ}\\30^{\circ}+90^{\circ}+\hat{C}&=&180^{\circ}\\\hat{C}&=&180^{\circ}-30^{\circ}-90^{\circ}\\\hat{C}&=&60^{\circ}\end{array}

    นั่นคือ

    \(\hat{C}=60^{\circ}\)

    ต่อไปเมื่อหา มุมครบทั้ง 3 มุมแล้วก็หาความยาวของด้าน c ครับ วิธีการหาก็ง่ายๆครับเริ่มหากันเลยเริ่มต้นหาจากอันนี้ครับ

    \(\frac{\sin C}{c}=\frac{\sin A}{a}\)

    เริ่มทำกันเลย ก็แค่แทนค่าสิ่งที่เรารู้ลงไปครับ

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin C}{c}=\frac{\sin A}{a}\\c&=&\frac{a\sin C}{\sin A}\\c&=&\frac{4\sin 60^{\circ}}{\sin 30^{\circ}}\\c&=&\frac{4\times \frac{\sqrt{3}}{2}}{\frac{1}{2}}\\c&=&\frac{2\sqrt{3}}{\frac{1}{2}}\\c&=&2\sqrt{3}\times 2\\c&=&4\sqrt{3}\end{array}

    ดังนั้นจากตรงนี้เราจึงสรุปได้ว่า สามเหลี่ยม ABC  นี้

    มุม \(\hat{A}=30^{\circ}\)

    มุม \(\hat{B}=90^{\circ}\)

    มุม \(\hat{C}=60^{\circ}\)

    ด้าน \(a\) ยาว 4  หน่วย

    ด้าน \(b\)  ยาว 8  หน่วย

    ด้าน \(c\) ยาว  \(4\sqrt{3}\)  หน่วย


    3.กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC ดังรูป จงหาความยาวด้าน AC

    วิธีทำ ใช้กฎของไซน์ \(\frac{sinA}{a}=\frac{sinB}{b}\)

    จากรูป 

    \(\hat{B}=180^{\circ}-30^{\circ}=135^{\circ}\) และ

    \(sin 135^{\circ}=sin 45^{\circ}=\frac{\sqrt{2}}{2}\)

    แทนค่าลงไปใน สูตรกฎของไซน์จะได้

    \begin{array}{lcl}\frac{sin A}{a}&=&\frac{sin B}{b}\\\frac{sin 30^{\circ}}{6}&=&\frac{sin 45^{\circ}}{AC}\\AC&=&\frac{sin 45^{\circ}\times 6}{sin 30^{\circ}}\\AC&=&6\times \frac{\sqrt{2}}{2}\times 2\\AC&=&6\sqrt{2}\end{array}


    4.กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC ดังรูป จงหาความยาวด้าน BC

    วิธีทำ  จากรูป

    ใช้กฎของไซน์จะได้ว่า  \(\frac{sin A}{a}=\frac{sin C}{c}\)

    แทนค่าต่างๆลงไปจะได้ 

    \begin{array}{lcl}\frac{sin 60^{\circ}}{BC}&=&\frac{sin 45^{\circ}}{4}\\BC&=&\frac{4\times sin 60^{\circ}}{sin 45^{\circ}}\\BC&=&4\times \frac{\sqrt{3}}{2}\times \sqrt{2}\\BC&=&2\sqrt{6}\end{array}


    5.  กำหนดให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งมี \(a=6,\quad b=7\) และ \(cos A=-\frac{3}{5}\) จงหาค่าของ \(sin B\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องใช้เอกลักษณ์ตรีโกณมิติหน่อยหนึ่งคือ \(sin^{2}A+cos^{2}A=1\)

    ควรวาดรูปประกอบด้วยถ้าใครมองภาพไม่ออกครับ เริ่มทำกันต่อเลย

    \begin{array}{lcl}sin^{2}A+cos^{2}A&=&1\\sin^{2}A&=&1-cos^{2}A\\sin A&=&\sqrt{1-cos^{2}A}\\sin A&=&\sqrt{1-(-\frac{3}{5})^{2}}\\sin A&=&\frac{4}{5}\end{array}

    เอาไปแทนค่าในกฎของไซน์

    \begin{array}{lcl}\frac{sin A}{a}&=&\frac{sinB}{b}\\\frac{4}{5\times 6}&=&\frac{sin B}{7}\\sin B&=&\frac{14}{15}\end{array}

    นี่คือการใช้กฎของไซน์ครับคล้ายๆกฎของกฎของโคไซน์ อย่างไรก็ลองอ่านดูครับไม่ยากครับ


    6.กำหนดให้ \(ABC\) เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมี \(A\hat{C}B=60^{\circ}\) ลากเส้นตรงจากจุด \(A\) ไปพบด้าน \(BC\) ที่จุด \(D\) โดยทำให้ \(B\hat{A}D=30^{\circ}\) ถ้าระยะ \(BD\) ยาว \(3\) หน่วย และระยะ \(AD\) ยาว \(2\) หน่วย แล้ว ระยะ \(CD\) ยาวเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{4\sqrt{3}}{3}\)
    2. \(\frac{5\sqrt{3}}{3}\)
    3. \(\frac{7\sqrt{6}}{9}\)
    4. \(\frac{8\sqrt{6}}{9}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องวาดรูปครับเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สิ่งที่โจทย์ให้หาคือความยาวของ \(CD\) ผมกำหนดให้ยาว \(CD\) ยาว \(m\) แสดงว่าเรากำลังหาความยาวของ \(m\) นั่นเองคับ

    ข้อนี้ต้องความรู้เรื่องของ กฎของไซน์  หรือ กฎของโคไซน์  แต่ผมขอใช้กฎของไซน์นะคับน่าจะง่ายกว่า

    จากรูปที่เราวาดเราจะเห็นว่า \(x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\)

    จากกฎของไซน์จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sin 60^{\circ}}{2}\\\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sqrt{3}}{2}\times\frac{1}{2}\\m&=&\frac{4\sin x}{\sqrt{3}}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\quad \cdots (1)\end{array}

    เก็บสมการที่ \((1)\) ไว้ก่อน ต่อไปเราก็ต้องไปหาค่าของ \(\sin x\) กันคับ

    เราจะเห็นค่าของ \(\sin x\) โดยกฎของไซน์ ดูจากรูปนะคับ

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin y}{2}&=&\frac{\sin 30^{\circ}}{3}\\\frac{\sin y}{2}&=&\frac{1}{6}\\\sin y&=&\frac{1}{3}\\from\quad x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\\so\quad y^{\circ}=90^{\circ}-x^{\circ}\\then\\\sin(90^{\circ}-x)&=&\frac{1}{3}\\\cos x&=&\frac{1}{3}\end{array}

    วาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

    จากรูปจะได้ \(\sin x=\frac{2\sqrt{2}}{3}\) เอาค่า \(\sin x\) ที่ได้นี้ไปแทนในสมการที่ \((1)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}}{3}\cdot \frac{2\sqrt{2}}{3}\\m&=&\frac{8\sqrt{6}}{9}\quad\underline{Ans}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (55)

    55. รูปสี่เหลี่ยม \(ABCD\) มีมุม \(A\) ขนาด \(60\) องศา ด้านประกอบมุม \(A\)  ยาวเท่ากัน มุม \(C\) เป็นมุมที่อยู่ตรงข้ามมุม \(A\) มีขนาด \(120\) องศา และด้านประกอบมุม \(C\) ยาว \(30\) และ \(50\) หน่วย ด้าน \(AB\) ยาวกี่หน่วย

    วิธีทำ ข้อนี้อ่านปุ๊ป รู้เลยว่าน่าจะต้องใช้กฎของไซน์ หรือว่า กฎของโคไซน์ ที่สำคัญต้องวาดรูป เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน มาดูวิธีการทำเลยดีกว่าคับผม  จากรูปใช้กฎโคไซน์เพื่อหาความยาวของ \(c\) ก่อนนะคับ จะได้

    \begin{array}{lcl} c^{2}&=&a^{2}+b^{2}-2ab\cos C\\c^{2}&=&50^{2}+30^{2}-2(50)(30)\cos 120^{\circ}\\c^{2}&=&2500+900-3000\cos 120^{\circ}\\c^{2}&=&3400-3000(-\frac{1}{2})\\c^{2}&=&3400+1500\\c^{2}&=&4900\\c&=&\sqrt{4900}\\c&=&70\end{array}

    จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา เราจะเห็นได้ว่า สามเหลี่ยม \(BAD\) มีมุมยอดกาง 60  องศาแขนของสามเหลี่ยมก็คือ \(AB\) และ \(AD\) ยาวเท่ากัน ทำให้สามเหลี่ยมนี้เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ดังนั้นมุมที่ฐานจะกางเท่ากัน เราสามารคำนวณมุมที่ฐานได้จาก \(\frac{180^{\circ}-60^{\circ}}{2}=60^{\circ}\)  จะเห็นว่าสามเหลี่ยม \(BAD\) มีมุมสามมุมเท่ากันหมดคือ 60 องศา แน่นอนมันต้องเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าแน่นอน จึงทำให้ได้ว่าสามเหลี่ยม \(BAD\) มีความยาวด้านยาวเท่ากันหมด นั่นหมายความว่า AB ยาว 70 หน่วย ตอบ

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (70)

    70.กำหนดให้ \(ABC\) เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมี \(A\hat{C}B=60^{\circ}\) ลากเส้นตรงจากจุด \(A\) ไปพบด้าน \(BC\) ที่จุด \(D\) โดยทำให้ \(B\hat{A}D=30^{\circ}\) ถ้าระยะ \(BD\) ยาว \(3\) หน่วย และระยะ \(AD\) ยาว \(2\) หน่วย แล้ว ระยะ \(CD\) ยาวเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{4\sqrt{3}}{3}\)
    2. \(\frac{5\sqrt{3}}{3}\)
    3. \(\frac{7\sqrt{6}}{9}\)
    4. \(\frac{8\sqrt{6}}{9}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องวาดรูปครับเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สิ่งที่โจทย์ให้หาคือความยาวของ \(CD\) ผมกำหนดให้ยาว \(CD\) ยาว \(m\) แสดงว่าเรากำลังหาความยาวของ \(m\) นั่นเองคับ

    ข้อนี้ต้องความรู้เรื่องของ กฎของไซน์  หรือ กฎของโคไซน์  แต่ผมขอใช้กฎของไซน์นะคับน่าจะง่ายกว่า

    จากรูปที่เราวาดเราจะเห็นว่า \(x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\)

    จากกฎของไซน์จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sin 60^{\circ}}{2}\\\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sqrt{3}}{2}\times\frac{1}{2}\\m&=&\frac{4\sin x}{\sqrt{3}}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\quad \cdots (1)\end{array}

    เก็บสมการที่ \((1)\) ไว้ก่อน ต่อไปเราก็ต้องไปหาค่าของ \(\sin x\) กันคับ

    เราจะเห็นค่าของ \(\sin x\) โดยกฎของไซน์ ดูจากรูปนะคับ

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin y}{2}&=&\frac{\sin 30^{\circ}}{3}\\\frac{\sin y}{2}&=&\frac{1}{6}\\\sin y&=&\frac{1}{3}\\from\quad x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\\so\quad y^{\circ}=90^{\circ}-x^{\circ}\\then\\\sin(90^{\circ}-x)&=&\frac{1}{3}\\\cos x&=&\frac{1}{3}\end{array}

    วาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

    จากรูปจะได้ \(\sin x=\frac{2\sqrt{2}}{3}\) เอาค่า \(\sin x\) ที่ได้นี้ไปแทนในสมการที่ \((1)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}}{3}\cdot \frac{2\sqrt{2}}{3}\\m&=&\frac{8\sqrt{6}}{9}\quad\underline{Ans}\end{array}