• การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น

    การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้น หรือ ภาษาอังกฤษ คือ Linear Permutation เป็นนำสิ่งของมาเรียงสับเปลี่ยนในแนวเส้นตรง ซึ่งก็จะแบ่งการเรียงออกเป็น

    • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด
    • การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่มีสิ่งของบางสิ่งเหมือนกันหรือซ้ำกัน
    • ชุดการสอนกฎการนับเบื้องต้น

      ชุดการสอนกฎการนับเบื้องต้น เป็นเอกสารช่วยสอนและนักเรียนสามารถนำไปศึกษาเองได้ ก่อนที่จะศึกษาสามารถอ่านความรู้เกี่ยวกับกฎการนับเบื้องต้นและความน่าจะเป็นตามลิงก์ด้านล่างนี้คับ

    • แฟกทอเรียล

      แฟกทอเรียล วันนี้เราจะมาดูความหมายของเจ้าแฟกทอเรียลว่ามันมีความหมายว่าอย่างไรกันครับเรื่องแฟกทอเรียลนี้เราจะได้เรียนในชั้น ม.5  ในเรื่องของความน่าจะเป็นเพราะแฟกทอเรียลสามารถใช้ในการคำนวณหาความน่าจะเป็นได้  

      นิยาม

      ให้ n เป็นจำนวนเต็มบวก

      \(n!\) อ่านว่า เอ็นแฟกทอเรียล หรืออ่านว่า เอ็นแฟกก็ได้ โดยที่

      \(n!=n(n-1)(n-2)(n-3)(n-4)(n-5)...(3)(2)(1)\)

      อ่านนิยามของแฟกทอเรียลบางคนอาจจะงงๆอยู่ไปดูตัวอย่างกันครับ

      \(6!=(6)(6-1)(6-2)(6-3)(6-4)(6-5)\)              หรือก็คือ 

      \(6!=6\times 5\times 4\times 3\times 2\times 1=720\)

      \(3!=3\times 2 \times 1=6\)

      \(2!=2\times 1=2\)

      \(4!=4\times 3 \times 2 \times 1=24\)

      \(5!=5\times 4 \times 3 \times 2\times 1=120\)

      \(1!=1\)

      อีกอันหนึ่งที่สำคัญคือ

      \(0!=1\)    หาอ่านพิสูจน์เองนะครับว่าทำไมศูนย์แฟกทอเรียลเท่ากับ 1 หรือถ้าพิสูจน์เองได้จะดีมากครับ

      ก่อนที่จะทำแบบฝึกหัดต้องหัดกระจายพวกนี้ให้คล่องในครับและพยายามจินตนาการมมองภาพให้ออกว่ามันค่อยๆลดลงทีละ 1  ไปเรื่อยๆจนเหลือ 1  ครับ

      \((n+1)!=(n+1)(n)(n-1)(n-2)(n-3)...(3)(2)(1)\)

      \((n+2)!=(n+2)(n+1)(n)(n-1)(n-2)...(3)(2)(1)\)

      \((n-1)!=(n-1)(n-2)(n-3)(n-4)(n-5)...(3)(2)(1)\)

      \((n+k)!=(n+k)(n+k-1)(n+k-2)...(n+k-k)(n-1)(n-2)...(2)(1)\)

      ต่อไปเราทำแบบฝึกหัดกันดีกว่าครับ

      1. จงหาคำตอบของแต่ละข้อต่อไปนี้

      1)  \(4!\)

      วิธีทำ 

      \(4!=4\times 3\times 2\times 1=24\)


      2)  \(\frac{4!}{3!}\)

      วิธีทำ 

      \(\frac{4!}{3!}=\frac{4\times 3\times 2\times 1}{3\times 2\times 1}=4\)

      หรือมองแบบนี้ก็ได้ง่ายกว่า

      \(\frac{4!}{3!}=\frac{4\times 3!}{3!}=4\)        สามแฟกตัดสามแฟกก็เหลือแค่ 4  มองเห็นไหมครับถ้าเข้าใจตรงนี้จะง่ายไม่ต้องทำเยอะ


      3) \(\frac{5!}{4!}\)

      วิธีทำ

      \(\frac{5!}{4!}=\frac{5\times 4!}{4!}=5\)


      4) \(\frac{12!}{10!}\)

      วิธีทำ

      \(\frac{12!}{10!}=\frac{12\times 11\times 10!}{10!}\)

      \(\frac{12!}{10!}=12\times 11\)

      \(\frac{12!}{10!}=121\)


      5)  \(\frac{8!}{9!}\)

      วิธีทำ  

      \(\frac{8!}{9!}=\frac{8!}{9\times 8!}\)

      \(\frac{8!}{9!}=\frac{1}{9}\)


      6)   \(\frac{5!}{7!}\)

      วิธีทำ

       \(\frac{5!}{7!}=\frac{5!}{7\times 6\times 5!}\)

      \(\frac{5!}{7!}=\frac{1}{7\times 6}\)

      \(\frac{5!}{7!}=\frac{1}{42}\)


      7)  \(\frac{n!}{(n-1)!}\)

      วิธีทำ

      \(\frac{n!}{(n-1)!}=\frac{n(n-1)(n-2)...(2)(1)}{(n-1)(n-2)...(2)(1)}\)        มีตัวตัดทอนกันได้ครับ

      \(\frac{n!}{(n-1)!}=n\)


      8)  \(\frac{n!}{(n-2)!}\)

      วิธีทำ

      \(\frac{n!}{(n-2)!}=\frac{n(n-1)(n-2)...(2)(1)}{(n-2)(n-3)...(2)(1)}\)     มีตัวทอนกันได้

      \(\frac{n!}{(n-2)!}=n(n-1)\)

      \(\frac{n!}{(n-2)!}=n^{2}-n\)

      หรือถ้าใครมองภาพออกแล้วไม่อยากเขียนเยอะก็ทำอย่างนี้ก็ได้

      \(\frac{n!}{(n-2)!}=\frac{n(n-1)(n-2)!}{(n-2)!}\)        ตัดทอนกันได้

      \(\frac{n!}{(n-2)!}=n(n-1)=n^{2}-n\)


      9)  \(\frac{(n!)^{2}}{(n+1)!(n-1)!}\)

      วิธีทำ    ทำเหมือนเดิมพยายามกระจายออกมาแล้วจะเห็นตัวที่ตัดทอนกันได้ครับ

       \(\frac{(n!)^{2}}{(n+1)!(n-1)!}=\frac{n!\times n!}{(n+1)!(n-1)!}\)             พยายามกระจ่ายออก

       \(\frac{(n!)^{2}}{(n+1)!(n-1)!}=\frac{n(n-1)!\times n!}{(n+1)n!(n-1)!}\)       เห็นตัวตัดทอนกันไหม

       \(\frac{(n!)^{2}}{(n+1)!(n-1)!}=\frac{n}{(n+1)}\)      ตอบแค่นี้ครับเข้าใจไหมไม่ยากนะ


      2.  จงแก้สมการเพื่อหาค่าของ  n   เมื่อ n เป็นจำนวนนับ

      1)  \(\frac{n!}{(n-1)!}=10\)

      วิธีทำ  การแก้สมการที่ติดแฟกทอเรียลทำได้โดยกระจ่ายแฟกทอเรียลออกแล้วหาตัวที่ตัดกันได้ ก็ตัดทิ้งให้หมดครับ

      \(\frac{n!}{(n-1)!}=10\)

      \(\frac{n(n-1)!}{(n-1)!}=10\)       จะเห็นว่ามีตัวตัดทอนกันได้

      \(n=10\)


      2)  \(\frac{n!}{(n-2)!}=72\)

      วิธีทำ

       \(\frac{n!}{(n-2)!}=72\)

      \(\frac{n(n-1)(n-2)!}{(n-2)!}=72\)

      \(n(n-1)=72\)         บรรทัดนี้ถ้าทำอะไรไม่ถูกก็ลองกระจ่าย 72 ออกมาดูในรูปการคูณครับ

      \(n(n-1)=(9)(8)\)

      \(n(n-1)=9(9-1)\)      ลองเทียบกันดูจะเห็นว่า   n=9    นั่นเอง


      3)   \(\frac{(n+1)!}{(n-1)!}=420\)

      วิธีทำ 

       \(\frac{(n+1)!}{(n-1)!}=420\)

      \(\frac{(n+1)n(n-1)!}{(n-1)!}=420\)

      \(n(n+1)=420\)       ข้อนี้ผมจะไม่ทำเหมือนข้อข้างบนนะครับเป็นวิธีอีกวิธีหนึ่งครับใครสะดวกวิธีไหนก็เลือกทำตามวิธีที่ตนเองถนัดแล้วกันครับ

      \(n^{2}+n=420\)

      \(n^{2}+n-420=0\)

      \((n+21)(n-20)=0\)

      \(n=-21,n=20\)

      แต่   n    ต้องเป็นจำนวนนับ ดังนั้น  n=20  ครับ


      4)  \(\frac{n!}{(n-6)!6!}=\frac{n!}{(n-8)!8!}\)

      วิธีทำ   ข้อนี้จัดรูปสมการเพื่อหาตัวที่ตัดทอนกันได้ครับ

      \(\frac{n!}{(n-6)!6!}=\frac{n!}{(n-8)!8!}\)

      \(\frac{n!\times 8!}{n!\times 6!}=\frac{(n-6)!}{(n-8)!}\)

      \(8\times 7=(n-6)(n-7)\)

      ผมจะไม่ทำเหมือนข้อข้างบนนะ เราสามารถเทียบกันได้เลยว่า

      \(n-6=8\)

      \(n=14\)

      และ

      \(n-7=7\)

      \(n=14\)

      ได้  n=14


      5) \(\frac{n!}{10!}=\frac{(n-6)!}{720}\)

      วิธีทำ  ข้อนี้จัดสมการให้ตัวแปรอยู่ฝั่งซ้ายและตัวเลขอยู่ฝั่งขวาจะได้

      \begin{array}{lcl}\frac{n!}{10!}&=&\frac{(n-6)!}{720}\\\frac{n!}{(n-6)!}&=&\frac{10!}{720}\\\frac{n(n-1)(n-2)(n-3)(n-4)(n-5)(n-6)!}{(n-6)!}&=&5040\\n(n-1)(n-2)(n-3)(n-4)(n-5)&=&7\times 6\times 5\times 4\times 3\times 2\end{array}

      ลองเทียบสมการกันดูนะครับ จะได้ว่า \(n=7\)  ดูดีๆนะค่อยๆอ่าน


      6) \(\frac{(n+1)!}{(n-2)!}=\frac{63n!}{(n-1)!}\)

      วิธีทำ  ทำเหมือนเดิมครับย้ายมาเพื่อหาตัวตัดทอนกันครับจะได้

      \begin{array}{lcl}\frac{(n+1)!}{(n-2)!}=\frac{63n!}{(n-1)!}\\\frac{(n+1)!(n-1)!}{(n-2)!n!}&=&63\\\frac{(n+1)n!(n-1)(n-2)!}{(n-2)!n!}&=&63\\(n+1)(n-1)&=&63\end{array}

      ต่อไปในการหาค่า \(n\)  ถ้าใครมองไม่ออกเทียบไม่เป็นเหมือนข้อห้าข้างบนก็ทำแก้สมการธรรมดา เพราะแก้ไม่ยากสามารถทำได้โดยง่ายเพราะเป็นแค่สมการกำลังสองเท่าจะได้

      \begin{array}{lcl}(n+1)(n-1)&=&63\\n^{2}-1&=&63\\n^{2}&=&64\\n&=&\pm 8\end{array}

      แต่เนื่องจาก \(n\)  ต้องเป็นจำนวนนับดังนั้นข้อนี้  \(n=8\)

      3.  จงเขียนจำนวนต่อไปนี้ให้อยู่ในรูปแฟกทอเรียล

      1) \(6\times 5\times 4\)

      วิธีทำ  ทำยังไงก็ได้ให้มีเครื่องหมายแฟกและค่ายังเท่าเดิม

      จะเห็นว่าถ้าผมเติม \(3 \times 2 \times 1 \)    เข้าไปต่อท้ายในโจทย์ จะได้ดังนี้

      \(6\times 5 \times 4\times 3\times 2 \times 1=6!\)       แต่ค่าคงไม่เท่าเดิมเพราะเราเอาตัวเลขข้างนอกมาคูณเข้าดังนั้นเพื่อให้ได้ค่าเท่าเดิมคูณเข้าเท่าไร ต้องหารออกเท่านั้นครับ  จะได้

      \(\frac{6\times 5 \times 4\times 3\times 2 \times 1}{3\times 2 \times 1}=\frac{6!}{3!}\) 

      ดังนั้น  \(6\times 5\times 4\)   ถ้าเขียนให้อยู่ในรูปแฟกทอเรียลคือ   \(\frac{6!}{3!}\)     นั่นเองครับเข้าใจไหม เหมือนจะยากแต่ไม่ยากนะต้องอาศัยจินตนาการนิดหนึ่ง


      2) \(17\times 16 \times 15 \times 14\)

      วิธีทำ  ทำเหมือนข้อข้างบนครับ

      \(17\times 16 \times 15 \times 14=\frac{17\times 16 \times 15 \times 14\times 13!}{13!}=\frac{17!}{13!}\)


      3)  \(n(n-1)(n-2)(n-3)(n-4)(n-5)\)

      วิธีทำ ทำเหมือนเดิมครับ แค่มีตัวแปร n เข้ามาเพิ่มแต่มองออกก็ไม่ยากครับ

      \(n(n-1)(n-2)(n-3)(n-4)(n-5)=\frac{n(n-1)(n-2)(n-3)(n-4)(n-5)(n-6)!}{(n-6)!}=\frac{n!}{(n-6)!}\)


      4)  \(n(n+1)(n+2)(n+3)(n+4)...(n+k)\)

      วิธีทำ ข้อนี้ผมอยากให้มองอย่างนี้ครับ  มองสลับกันคือเอามาเรียงใหม่เรียงจากมากไปหาน้อยครับเพราะในโจทย์เรียงน้อยไปมาก  เราควรเรียงจากมากไปหาน้อยนะจะมองง่าย

      \((n+k)(n+k-1)(n+k-2)...(n+4)(n+3)(n+2)(n+1)n\)    เรียงใหม่นะ พยายามมองภาพให้ออกมันจะลดลงทีละหนึ่งครับ 

      \((n+k)(n+k-1)(n+k-2)...(n+4)(n+3)(n+2)(n+1)n=\frac{(n+k)(n+k-1)(n+k-2)...(n+4)(n+3)(n+2)(n+1)n(n-1)!}{(n-1)!}=\frac{(n+k)!}{(n-1)!}\)     ตอบแล้วนะ

      ***ปล. ถ้าสมการมันยาวเกินมองเห็นไม่หมด ให้กลับโทรศัพท์ให้อยู่ในแนวนอนครับจะมองเห็นทั้งหมดเอง