• ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (61)

    61. กำหนดฟังก์ชัน \(f\) และ \(g\) ดังนี้

    \(f(2x-1)=4x-a\quad ,\quad a>0\) และ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ถ้า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\)

    แล้ว \(f(a)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 6
    2. 7
    3. 10
    4. 17

    วิธีทำ  ข้อนี้ต้องทำหลายขั้นตอนหน่อยคับ แต่ไม่ยาก เป็นข้อสอบ Entrance เก่าๆ เอามาเล่าใหม่คับ  เราจะเริ่มทำดังนี้นะคับ

    \begin{array}{lcl}f(2x-1)&=&4x-a\\Let\quad A&=&2x-1\\x&=&\frac{A+1}{2}\\so\\f(A)&=&4(\frac{A+1}{2})-a\\f(A)&=&2A+2-a\quad\cdots (1)\end{array}

    จากโจทย์ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ดังนั้น

    \(g(\sqrt{x+1})=x\) เริ่มทำต่อเลย

    \begin{array}{lcl}g(\sqrt{x+1})&=&x\\Let\quad B&=&\sqrt{x+1}\\B^{2}&=&x+1\\x&=&B^{2}-1\\so\\g(B)&=&B^{2}-1\quad\cdots (2)\end{array}

    ต่อไปเราจะเริ่มหาคำตอบแล้วนะคับ แต่ให้สังเกตสมการที่ \((1)\) และ สมการที่ \((2)\) ไว้ให้ดีๆ

    โจทย์บอกว่า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(a)&=&a^{2}+20\\f(g(a))&=&a^{2}+20\\from\quad (2)\\ we\quad get\\f(a^{2}-1)&=&a^{2}+20 \\and\quad from\quad (1)\\ we\quad get \\2(a^{2}-1)+2-a&=&a^{2}+20\\2a^{2}-2+2-a&=&a^{2}+20\\a^{2}-a-20&=&0\\(a-5)(a+4)&=&20\\so\\a=5,-4\\but\quad a>0\\so\\a&=&5\end{array}

    ต่อไปจะหาคำตอบจริงๆแล้ว

    จากสมการที่ \((1)\)  คือ \(f(A)=2A+2-a\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(a)&=&2a+2-a\\f(a)&=&a+2\\ because\quad a=5\\so\\f(5)&=&5+2\\&=&7\quad\underline{Ans}\end{array}

     

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (62)

    62. ถ้า \(g(x)=2x\) และ \((f\circ g)(x)=x^{2}-1\) แล้ว ค่าของ \((g^{-1}\circ f)(10)\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้สสอบ entrance เก่านะคับ ไม่ได้ยากมาก แต่ก็ต้องทำให้ได้ครับเพราะพวกข้อสอบวิชาสามัญ ข้อสอบ A-level ข้อสอบฟังก์ชันออกประมาณนี้คับผม เริ่มทำกันเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(x)&=&x^{2}-1\\f(g(x))&=&x^{2}-1\\f(2x)&=&x^{2}-1\\so\\ f(10)=f(2\cdot 5)\\f(2\cdot 5)&=&5^{2}-1\\f(10)&=&24\end{array}

    ต่อไปก็เริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}(g^{-1}\circ f)(10)&=&g^{-1}(f(10))\\&=&g^{-1}(24)\\because\\ g(x)&=&2x\\so\\g(12)&=&2\cdot 12\\g(12)&=&24\\then\\g^{-1}(24)&=&12\quad\underline{Ans}\end{array}

     

  • ฟังก์ชันเชิงเส้น

    ฟังก์ชันเชิงเส้น \(n\)  ตัวแปรมีรูปแบบทั่วไปคือ \(y=a_{1}x_{1}+a_{2}x_{2}+a_{3}x_{3}+\cdots +a_{n}x_{n}\)   แต่ในระดับนี้เราจะเรียนแค่รูปแบบนี้ก็พอแล้วคือ \(y=ax+b\)   เมื่อ  \(a,b\)  เป็นจำนวนจริง และ \(a \neq  0\)  ซึ่งเราจะเห็นว่ารูปทั่วไปของฟังก์ชันเชิงเส้นที่เราจะเรียนนี้คือ \(y=ax+b\)  นี้มันคือสมการเส้นตรงนั้่นเอง นั่นก็คือฟังก์ชันเชิงเส้นก็คือสมการเส้นตรงนั้นเองครับ กราฟของฟังก์ชันเชิงเส้นเวลาวาดกราฟออกมาก็จะได้เป็นเส้นตรง  สำหรับการเรียนเรื่องนี้ก็ไม่มีอะไรมากครับ สิ่งที่ต้องได้จากการเรียนเรื่องนี้คือ

    1. ต้องจำรูปแบบทั่วไปของฟังก์ชันเชิงเส้นได้ ซึ่งก็คือ \(y=ax+b\)  ตัวอย่างของฟังก์ชันเชิงเส้น เช่น

    \(y=5x+2\)

    \(y=-2x+4\)

    \(y=x-1\)

    \(y=6x-3\)

    \(y=x\)

    นี้คือตัวอย่างของฟังก์ชันเชิงเส้น

    2. ต้องวาดกราฟของฟังก์ชันเชิงเส้นให้ได้ครับ เดี๋ยวผมจะพาวาดไม่ยากครับ  ไปดูต้วอย่างกันเลยครับ

    ตัวอย่าง จงเขียนกราฟของฟังก์ชันเชิงเส้น  \(y=5x+3\)

    วิธีทำ  การทำก็ไม่ยากครับกำหนดค่า \(x\)  ออกมากก่อน แล้วค่อยหาค่า \(y\) ครับ

    เช่น

    กำหนดให้ \(x=3\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+3\\y&=&5(3)+3\\y&=&18\end{array}

    กำหนดให้ \(x=2\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+3\\y&=&5(2)+3\\y&=&13\end{array}

    กำหนดให้ \(x=1\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+3\\y&=&5(1)+3\\y&=&8\end{array}

    กำหนดให้ \(x=0\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+3\\y&=&5(0)+3\\y&=&3\end{array}

    กำหนดให้ \(x=-1\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+3\\y&=&5(-1)+3\\y&=&-2\end{array}

    กำหนดให้ \(x=-2\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+3\\y&=&5(-2)+3\\y&=&-7\end{array}

    กำหนดให้ \(x=-3\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+3\\y&=&5(-3)+3\\y&=&-12\end{array}

    ซึ่งที่เราคำนวณมาถ้านำมาเขียนในตารางก็จะได้ดังนี้

    \(x\) -3 -2 -1 0 1 2 3
    \(y\) -12 -7 -2 3 8 13 18

    เราก็จะได้คู่อันดับ \((x,y)\)  คือ  \((-3,-12),(-2,-7),(-1,-2),(0,3),(1,8),(2,13),(3,18)\)

    นำคู่อันดับเหล่านี้ไปพลอตกราฟก็จะได้กราฟออกมาหน้าตาแบบนี้ครับ

    ผมจะพลอตให้ดูแค่บางจุดเท่านั้นครับ  ที่เหลือก็ทำเหมือนกันเลยครับ นี่คือการวาดกราฟของฟังก์ชันเชิงเส้นง่ายๆครับ   ต่อไปเราไปทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมกันครับ

    1. จงเขียนกราฟของฟังก์ชันต่อไปนี้บนระนาบเดียวกัน

    1) \(y_{1}=5x+3\)  และ  \(y_{2}=5x-3\)

    2)  \(y_{1}=5-x\)  และ  \(y_{2}=5+x\)

    วิธีทำ มาเริ่มทำข้อแรกก่อน ทำเหมือนกันกับตัวอย่างที่ผมทำให้ดูข้างบนเลยครับ

    1) \(y_{1}=5x+3\)  และ  \(y_{2}=5x-3\)

    มันมีสองฟังก์ชันดังนั้นก็จะได้กราฟออกมาสองรูปดังนี้

    กราฟของสองฟังก์ชันจะขนานก้นนะครับเพราะความชันเท่ากันครับ  ไปดูรูปกราฟคร่าวๆกันเลยครับ

    ต่อไปทำข้อ 2)

    2)  \(y_{1}=5-x\)  และ  \(y_{2}=5+x\)

    วิธีทำ  ทำเหมือนเดิมเหมือนตัวอย่างที่ผมทำให้ดูข้างบน กำหนดค่า x แล้วแก้สมการหาค่า y  จะได้กราฟออกมาหน้าตาแบบนี้ครับ


    3. จงหาว่า จุดที่กำหนดให้ต่อไปนี้อยู่บนกราฟของฟังก์ชันที่กำหนดให้หรือไม่

    1)  จุด \((3,5)\)   เมื่อ  \(y=\frac{2}{7}x+1\)

    วิธีทำ  การทำข้อนี้ง่ายครับ จากโจทย์จะเห็นว่า  ถ้า \(x=3\)  จะได้ค่า  \(y=5\)  เราก็นำค่า \(x\)  ไปแทนในสมการ \(y=\frac{2}{7}x+1\)  แล้วบวก ลบ คูณ หาร ออกมา ถ้าบวก ลบ คูณ หารออกมากแล้วได้ \(y=5\)  จะได้ว่า จุด \((3,5)\) เป็นจุดที่อยู่บนกราฟฟังกชัน \(y=\frac{2}{7}x+1\)  ครับ เริ่มทำกันเลยครับ

    แทน \(x=3\)  ในสมการ  \(y=\frac{2}{7}x+1\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&\frac{2}{7}x+1\\y&=&\frac{2}{7}(3)+1\\y&=&\frac{6}{7}+1\\y&=&\frac{6}{7}+\frac{7}{7}\\y&=&\frac{13}{7}\end{array}

    จะเห็นได้ว่า  เมื่อเรา แทน  \(x\)  ด้วย \(3\)  ได้ค่า \(y=\frac{13}{7}\)  ดังนั้น เราจะได้ว่า  

    จุด \((3,5)\)  ไม่เป็นจุดที่อยู่บนกราฟของฟังก์ชัน \(y=\frac{2}{7}x+1\)  ครับ


    4. จงเขียนฟังก์ชันแทนสิ่งที่กำหนดให้ต่อไปนี้ ในรูปของสมการพร้อมทั้งเขียนกราฟ

    1) ค่าขนส่งสินค้าจาก กทม. ไปยังจังหวัดที่อยู่ในเขตชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยค่าขนส่งเบื้องต้น 150 บาท กับค่าส่งที่คิดตามน้ำหนักสินค้ากิโลกรัมละ 5 บาท

    วิธีทำ  การทำข้อนี้ต้องกำหนดตัวแปรขึ้นมาก่อน พยายามอ่านโจทย์ให้เข้าใจนะครับ

    ผมกำหนดให้ \(y\)  คือค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากการขนส่งสินค้าจาก กทม. ไปยังชายแดนภาคใต้

    ให้ \(x\) คือน้ำหนักสินค้าในการขนส่งแต่ละครั้ง ดังนั้นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากน้ำหนักสินค้าเท่ากับ \(5x\)

    แต่อย่าลืมนะในส่งสินค้าไปยังชายแดนภาคแต่ละครั้งต้องมีค่าขนส่งเบื้องต้น 150 บาท ดังน้้น ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากการขนส่งสินค้าจาก กทม. ไปยังชายแดนภาคใต้เขียนเป็นสมการได้คือ

    \[y=5x+150\]

    ซึ่งจะมีกราฟหน้าตาเป็นแบบนี้ พยายามหัดวาดเองไม่ยากครับ ผมจะบอกวิธีการวาดง่ายๆครับ ก็คือ

    1. หาจุดตัดบนแกน \(Y\) 

    จุดตัดบนแกนวาย ค่าของ \(x\)  จะเท่ากับ 0  เมื่อค่าเอ็กซ์เท่ากับศูนย์เราก็เอาไปแทนค่าในสมการนี้ \(y=5x+150\) เพื่อหาค่า \(y\)  ออกมาครับ ก็จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+150\\y&=&5(0)+150\\y&=&150\end{array}

    จะได้ว่า เมื่อ \(x=0\)  จะได้  \(y=150\)   ดังนั้นจุดตัดบนแกน \(Y\)  คือ  \((0,150)\)  ดูที่รูปกราฟประกอบนะครับ

    2. หาจุดตัดบนแกน \(X\)

    จุดตัดบนแกนเอ็กซ์ ค่าของ \(y\) จะเท่ากับ 0 เมื่อค่าวายเท่ากับศูนย์เราก็เอาไปแทนค่าในสมการนี้ \(y=5x+150\)  เพื่อหาค่า \(x\) ออกมาครับ จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&5x+150\\0&=&5x+150\\x&=&\frac{-150}{5}\\x&=&-30\end{array}

    จะได้ว่า เมื่อ \(y=0\)  จะได้  \(x=-30\)  ดังนั้นจุดตัดบนแกน \(X\)  คือ  \(-30,0\)  ดูที่กราฟประกอบครับ

    เมื่อเราได้จุดตัดบนแกน  \(Y\)  และแกน  \(X\)  แล้วเราก็ลากเส้นจากจุดสองจุดนี้เข้าหากันครับ ดูรูปประกอบครับ

    แต่ในความเป็นจริงเราจะเห็นว่า \(x\)  ของเราคือน้ำหนักสินค้านั่นคือ \(x\)  ไม่มีทางติดลบดังนั้นกราฟของเราจึงควรตัดแกนทางซ้ายที่เป็นทางลบออกครับ ก็จะได้กราฟหน้าตาแบบนี้ครับ


    5.บริษัทแห่งหนึ่งจ่ายค่าจ้างให้กับพนักงานโดยจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ  ให้กับพนักงานขายทุกคนคนละเท่าๆกัน และจ่ายค่านายหน้า (คิดเป็นร้อยละ) จากยอดขายที่พนักงานแต่ละคนขายได้ ปรากฏว่า เมื่อเดือนที่ผ่านมา นาย ก. ได้รับเงินจากบริษัท 34,000 บาท โดยที่เขามียอดขาย 200,000 บาท นาย ข. ได้รับเงินจากบริษัท 28,000 บาท และเขามียอดขาย 150,000  บาท ถามว่า

    1)  บริษัทจ่ายค่านายหน้าให้กับพนักงานร้อยละเท่าใด

    วิธีทำ  พยายามอ่านโจทย์ดีๆนะครับจะเห็นว่า บริษัทจ่ายค่าจ้างให้พนักงานดังนี้

    1.จ่ายเป็น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ อันนี้จ่ายให้เท่ากันทุกคนเลย 

    ผมให้เงินที่บริบัทจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะให้กับพนักงาน แทนด้วยตัวแปร B

    2. จ่ายเป็นค่านายหน้า คิดเป็นร้อยละ พน้กงานแต่ละคนได้ค่านายหน้าไม่เท่ากันโดยขึ้นอยู่กับยอดขายของแต่ละคนใครขายได้เยอะค่านายหน้าก็เยอะตาม

    ผมให้ C  แทนยอดขายของพนักงานแต่ละคน

    ผมให้ x แทนร้อยละที่บริษัทจ่ายให้พนักงานแต่ละคน

    ผมให้เงินที่พนักงานได้รับทั้งหมดจากบริบัทแทนด้วยตัวแปร A  จะได้ว่าทั้งนาย ก และ นาย ข ได้รับเงินเป็นไปตามสมการนี้คือ   \(A=B+Cx\)

    ดังนั้น

    นาย ก  ได้รับเงินจากบริษัท 34000 บาท ทำยอดขายได้ 200,000 บาท  ดังนั้นนาย ก ได้รับเงินเป็นไปตามสมการนี้คือ

    \[34000=B+200,000x\quad \cdots (1)\]

    นาย ข ได้รับเงินจากบริษัท 28000 บาท ทำยอดขายได้ 150,000 บาท ดังนั้นนาย ข ได้รับเงินเป็นไปตามสมการนี้คือ

    \[28000=B+150,000x\quad \cdots (2)\]

    นำ \((1)-(2)\)  จะได้

    \begin{array}{lcl}50,000x&=&6,000\\x&=\frac{6,000}{50,000}\\x&=&\frac{12}{100}\\x&=&0.12\end{array}

    ดังนั้น บริบัทจ่ายค่านายหน้าให้กับพนักงานคิดเป็นร้อยละ \(0.12\)

    2)  ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะที่บริษัทจ่ายให้กับ นาย ก และนาย ข  เป็นเงินคนละเท่าใด

    วิธีทำ  การทำข้อนี้เราก็เอา ค่าของ \(x=0.12\)  ไปแทนในสมการไหนก็ได้คำนวณหาค่า \(B\) ออกมาก็จะได้คำตอบ  จะได้

    \begin{array}{lcl}34000&=&B+200,000(0.12)\\B&=&34,000-24,000\\B&=&10,000\end{array}

  • เฉลย o-net ม.6 เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

    1. กำหนดให้

    \(A=\{1,2,3,4,5,6\}\)

    \(B=\{1,2,3,\cdots ,11,12\}\)

    \(S=\{(a,b)\in A\times B|b=2a+\frac{a}{2}\}\)

    จำนวนสมาชิกของ \(S\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (o-net 51)

    1. 1
    2. 2
    3. 3
    4. 4

    วิธีทำ ข้อนี้จะเห็นว่า \(b\) ต้องเป็นตัวเลขที่เป็นจำนวนเต็มเหล่านี้คือ \(1,2,3,\cdots ,11,12\) ซึ่ง \(b=2a+\frac{a}{2}\) ดังนั้นตรง \(\frac{a}{2}\) ต้องหารกันลงตัว นั่นคือ \(a\) ต้องเป็นตัวเลขที่หารด้วย \(2\) ลงตัว แสดงว่าค่า \(a\) ที่เป็นไปได้คือ \(2,4,6\) ต่อไปเราก็ไปหาว่า ถ้า \(a\) เป็น \(2,4,6\) จะได้ \(b\) เป็นตัวอะไรบ้างเริ่มเลย

    ถ้า \(a=2\) จะได้ \(b=2(2)+\frac{2}{2}=5\) นั่นคือจะได้คู่อันดับ \((2,5)\)

    ถ้า \(a=4\) จะได้ \(b=2(4)+\frac{4}{2}=10\) นั่นคือจะได้คู่อันดับ \((4,10)\)

    ถ้า \(a=6\) จะได้ \(b=2(6)+\frac{6}{2}=15\) นั่นคือจะได้คู่อันดับ \((6,15)\) ซึ่งจะเห็นว่าคูอันดับนี้ไม่อยู่ใน \(A\times B\) เพราะ \(15\) ไม่ได้อยู่ในเซต \(B\) 

    ดังนั้นเราจะได้เซต \(S=\{(2,5),(4,10)\}\) นั่นคือ \(S\) มีสมาชิก \(2\) ตัวนั่นเอง


    2. ถ้า \(A=\{1,2,3,4\}\) และ \(r=\{(m,n)\in A\times A | m\leq n\}\) แล้วจำนวนสมาชิกในความสัมพันธ์ \(r\)เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 8
    2. 10
    3. 12
    4. 16

    วิธีทำ ข้อนี้ง่ายสุดๆแล้ว ดูที่เงื่อนไขในเซต \(r\) คือให้เอา \(A\times A\) แล้วเลือกเอาตัวที่สมาชิกที่ตัวหน้าน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวหลัง ดังนั้น จะได้ \(r\) ที่มีหน้าตาดังนี้

    \(r=\{(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(2,2),(2,3),(2,4),(3,3),(3,4),(4,4)\}\) นั่นคือ \(r\) มีสมาชิก \(10\) ตัวนั่นเอง


    3. ถ้ากราฟของ \(y=x^{2}-2x-8\) ตัดแกน \(X\) ที่จุด \(A,B\) และมี \(C\) เป็นจุดวกกลับ แล้ว รูปสามเหลี่ยม \(ABC\) มีพื้นที่เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (o-net 50 ข้อ 25)

    1. 21 ตารางหน่วย
    2. 24 ตารางหน่วย
    3. 27 ตารางหน่วย
    4. 30 ตารางหน่วย

    วิธีทำ ข้อนี้วาดรูปประกอบจะง่ายครับผม  ก่อนอื่นหาจุดตัดบนแกน \(X\) ก่อน อย่าลืมนะว่าจุดตัดบนแกน \(X\) ค่าของ \(y=0\) ดังนั้นเรามาแก้สมการนี้ \(y=x^{2}-2x-8\) เพื่อหาจุดตัดบนแกน \(X\) กันเลย

    \begin{array}{lcl}y=x^{2}-2x-8\\0&=&x^{2}-2x-8\\x^{2}-2x-8&=&0\\(x-4)(x+2)&=&0\\so\\x=4,-2\end{array}

    นั่นคือ กราฟนี้มีจุดตัดบนแกน \(X\) คือ \((4,0)\) และ \((-2,0)\)

    ต่อไปหาจุดวกกลับ เราจะใช้ความรู้เกี่ยวกับการดิฟในการหาจุดวกกลับ ก็คือ

    • ดิฟสมการเส้นโค้งจะได้ความชันของเส้นโค้ง ณ จุดใดๆ
    • ที่จุดวกกลับความชันของเส้นโค้งจะเท่ากับ \(0\)

    เราก็เอาสมการเส้นโค้ง \(y=x^{2}-2x-8\)  มาดิฟเลย ความจริงสมการนี้ก็คือพาราโบลา แบบหงายนั่นแหละตอน ม.4 เรียนมาแล้ว เริ่มดิฟเลย

    \begin{array}{lcl}y&=&x^{2}-2x-8\\y^{\prime}&=&2x-2\end{array}

    นั้นคือตอนนี้เราได้ความชันเส้นโค้ง ณ จุดใดๆ คือ \(y^{\prime}=2x-2\)

    แต่ที่จุดวกกลับความชันเส้นโค้งเท่ากับ \(0\) ดังนั้นเราสามารถหาพิกัดของ \(x\) ได้โดยการนำสมการนี้ \(y^{\prime}=2x-2\) ไปเท่ากับ \(0\) จะได้

    \begin{array}{cl}2x-2&=&\\x&=&1\end{array}

    นั่นคือที่จุดวกกลับมีพิกัด \(x=1\) 

    ต่อไปหาว่าที่จุดวกกลับ พิกัด \(y\) จะเป็นเท่าใด

    จากสมการนี้ \(y=x^{2}-2x-8\)  เราแทน \(x=1\) ลงไปในสมการก็จะได้ค่า \(y\) ออกมา

    \begin{array}{lcl}y&=&x^{2}-2x-8\\y&=&(1)^{2}-(2)(1)-8\\y&=&-9\end{array}

    นั่นคือจุดวกกลับอยู่ที่พิกัด \((1,-9)\) 

    ตอนนี้ข้อมูลที่เราได้มีดังนี้ จุดตัดบนแกน \(X\) คือ \((4,0)\) และ \((-2,0)\) จุดวกกลับคือ \((1,-9)\) วาดรูปคร่าวได้ประมาณนี้

    ดังนั้น พื้นที่ สามเหลี่ยม \(ABC=\frac{1}{2}\times 6\times 9=27\) ตารางหน่วย

    ภาพข้างล่างเป็นอีกภาพหนึ่งเอาไว้ดูเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น


    4. กำหนดให้ \(f(x)=-x^{2}+4x-10\) ข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง (o-net 49 ข้อที่ 5)

    1. \(f\) มีค่าต่ำสุดเท่ากับ -6
    2. \(f\) ไม่มีค่าสูงสุด
    3. \(f\) มีค่าสูงสุดเท่ากับ 6
    4. \(f(\sqrt{\frac{9}{2}})<-6\)

    วิธีทำ ถ้าเราดูจากสมการที่โจทย์ให้มาจะเห็นว่า \(f(x)=-x^{2}+4x-10\) เป็น พาราโบลา คว่ำ เพราะว่าสัมประสิทธิ์หน้า \(x^{2}\) ติดลบ เมื่อเป็นพาราโบลาคว่ำแสดงว่า มันไม่มีค่าต่ำสุด แต่มีค่าสูงสุด ซึ่งค่าสูงสุดก็คือจุดวกกลับนั่นเองครับ หาจุดวกกลับเลยครับผม

    ทำการดิฟสมการพาราโบลาเลยคับ จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+4x-10\\f^{\prime}(x)&=&-2x+4\end{array}

    ดังนั้น เราได้ความชันของเส้นโค้งหรือความชันของพาราโบลา จุดใดๆ

    ที่จุดวกกลับความชันจะเป็น \(0\) ดังนั้นเราสามารถหาค่า \(x\) ได้โดยจับสมการนี้ \(f^{\prime}(x)=-2x+4\) ไปเท่ากับ \(0\) จะได้

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&-2x+4\\0&=&-2x+4\\x&=&\frac{-4}{-2}\\x&=&2\end{array}

    ดังนั้นที่จุดวกกลับมีพิกัด \(x=2\) ต่อไปหาพิกัด \(y\) บ้าง

    จาก 

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+4x-10\\f(x)&=&-(2)^{2}+(4)(2)-10\\f(x)&=&-4+8-10\\f(x)&=&-6\end{array}

    นั่นคือที่จุดวกกลับมีค่า \(y=-6\) หรือก็คือค่าสูงสุดเท่ากับ \(-6\) นั่นเองครับ จากตัวเลือกจะเห็นว่าที่ถูกต้องที่สุดคือ ตัวเลือก 4. เพราะว่าค่าสูงสุดเป็น \(-6\) ดังนั้นไม่ว่าจะเอาไปอะไรใส่เข้าไปใน \(f(x)\) ต้องน้อยกว่า \(-6\) เสมอ

    ดูภาพประกอบด้านล่าง


    5. ถ้าจุด \(P\) เป็นจุดวกกลับของพาราโบลา \(y=-x^{2}+12x-38\) และ \(O\) เป็นจุดกำเนิด แล้ว ระยะห่างระหว่างจุด \(P\) และจุด \(O\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (o-net 49 ข้อ 6)

    1. \(\sqrt{10}\) หน่วย
    2. \(2\sqrt{10}\) หน่วย
    3. \(\sqrt{13}\) หน่วย
    4. \(2\sqrt{13}\) หน่วย

    วิธีทำ ทำเหมือนเดิมคือดิฟสมการพาราโบลาเพื่อหาจุดวกกลับ 

    \begin{array}{lcl}y&=&-x^{2}+12x-38\\y^{\prime}&=&-2x+12\end{array}

    หาพิกัด \(x\) ของจุดวกกลับ จะได้

    \begin{array}{lcl}y^{\prime}&=&-2x+12\\0&=&-2x+12\\x&=&\frac{-12}{-2}\\x&=&6\end{array}

    ต่อไปหาพิกัด \(y\) ของจุดวกกลับ จะได้

    \begin{array}{lcl}y&=&-x^{2}+12x-38\\y&=&-(6)^{2}+12(6)-38\\y&=&72-74\\y&=&-2\end{array}

    ดังนั้นจุดวกกลับคือ \((2,-6)\) นั่นคือ ระยะห่างระหว่างจุดวกกลับกับจุดกำเนิด \(O(0,0)\) คือ

    \(\sqrt{(2-0)^{2}+(-6-0)^{2}}=\sqrt{4+36}=\sqrt{40}=\sqrt{4\times 10}=2\sqrt{10}\)


    6. ถ้าเส้นตรง \(x=3\) เป็นเส้นสมมาตรของกราฟของฟังก์ชัน \(f(x)=-x^{2}+(k+5)x+(k^{2}-10)\) เมื่อ \(k\) เป็นจำนวนจริง แล้ว \(f\) มีค่าสูงสุดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. -4
    2. 0
    3. 6
    4. 14

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องอ่านโจทย์ดีนะคับ ข้อนี้กราฟที่เขาให้มาเป็นพาราโบลาหงายนะคับ \(x=3\) เป็นเส้นสมมาตรแสดงว่าจุดวกกลับคือจุด \((3,y)\) เราแค่หาพิกัด \(y\)  ก็จะได้ค่าสูงสุดที่เป็นคำตอบของข้อนี้คับผม  ก็ทำการดิฟเพื่อที่จะได้ความชัน แล้วเอาความชันไปเท่ากับ \(0\) เพื่อค่า \(k\) แล้วก็หาค่า \(y\) ต่อคับเริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+(k+5)x+(k^{2}-10)\\f^{\prime}(x)&=&-2x+k+5\end{array}

    ต่อไปหาค่า \(k\) จุดวกกลับความชันเท่ากับ \(0\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}f^{\prime}(x)&=&-2x+k+5\\0&=&-2x+k+5\\0&=&(-2)(3)+k+5\\0&=&-6+k+5\\k&=&1\end{array}

    ตอนนี้เราได้แค่ \(k\) แล้ว และจุดวกกลับคือจุด \((3,y)\) เราก็หาค่า \(y\) เลยจะได้

    \begin{array}{lcl}f(x)&=&-x^{2}+(k+5)x+(k^{2}-10)\\f(3)&=&-(3)^{2}+(1+5)(3)+(1^{2}-10)\\f(3)&=&-9+18-9\\f(x)&=&0\end{array}

    ดังนั้น \(f\) มีค่าสูงสุดคือ \(0\)


    7. ถ้า \(g(x)=2x\) และ \((f\circ g)(x)=x^{2}-1\) แล้ว ค่าของ \((g^{-1}\circ f)(10)\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้สสอบ entrance เก่านะคับ ไม่ได้ยากมาก แต่ก็ต้องทำให้ได้ครับเพราะพวกข้อสอบวิชาสามัญ ข้อสอบ A-level ข้อสอบฟังก์ชันออกประมาณนี้คับผม เริ่มทำกันเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(x)&=&x^{2}-1\\f(g(x))&=&x^{2}-1\\f(2x)&=&x^{2}-1\\so\\ f(10)=f(2\cdot 5)\\f(2\cdot 5)&=&5^{2}-1\\f(10)&=&24\end{array}

    ต่อไปก็เริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}(g^{-1}\circ f)(10)&=&g^{-1}(f(10))\\&=&g^{-1}(24)\\because\\ g(x)&=&2x\\so\\g(12)&=&2\cdot 12\\g(12)&=&24\\then\\g^{-1}(24)&=&12\quad\underline{Ans}\end{array}


    8. กำหนดฟังก์ชัน \(f\) และ \(g\) ดังนี้

    \(f(2x-1)=4x-a\quad ,\quad a>0\)

    และ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\)

    ถ้า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\)

    แล้ว \(f(a)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 6
    2. 7
    3. 10
    4. 17

    วิธีทำ  ข้อนี้ต้องทำหลายขั้นตอนหน่อยคับ แต่ไม่ยาก เป็นข้อสอบ Entrance เก่าๆ เอามาเล่าใหม่คับ  เราจะเริ่มทำดังนี้นะคับ

    \begin{array}{lcl}f(2x-1)&=&4x-a\\Let\quad A&=&2x-1\\x&=&\frac{A+1}{2}\\so\\f(A)&=&4(\frac{A+1}{2})-a\\f(A)&=&2A+2-a\quad\cdots (1)\end{array}

    จากโจทย์ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ดังนั้น

    \(g(\sqrt{x+1})=x\) เริ่มทำต่อเลย

    \begin{array}{lcl}g(\sqrt{x+1})&=&x\\Let\quad B&=&\sqrt{x+1}\\B^{2}&=&x+1\\x&=&B^{2}-1\\so\\g(B)&=&B^{2}-1\quad\cdots (2)\end{array}

    ต่อไปเราจะเริ่มหาคำตอบแล้วนะคับ แต่ให้สังเกตสมการที่ \((1)\) และ สมการที่ \((2)\) ไว้ให้ดีๆ

    โจทย์บอกว่า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(a)&=&a^{2}+20\\f(g(a))&=&a^{2}+20\\from\quad (2)\\ we\quad get\\f(a^{2}-1)&=&a^{2}+20 \\and\quad from\quad (1)\\ we\quad get \\2(a^{2}-1)+2-a&=&a^{2}+20\\2a^{2}-2+2-a&=&a^{2}+20\\a^{2}-a-20&=&0\\(a-5)(a+4)&=&20\\so\\a=5,-4\\but\quad a>0\\so\\a&=&5\end{array}

    ต่อไปจะหาคำตอบจริงๆแล้ว

    จากสมการที่ \((1)\)  คือ \(f(A)=2A+2-a\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(a)&=&2a+2-a\\f(a)&=&a+2\\ because\quad a=5\\so\\f(5)&=&5+2\\&=&7\quad\underline{Ans}\end{array}

     

  • โจทย์ฟังก์ชัน

    ตอนนี้เรารู้จักความหมายของฟังก์ชันแล้วต่อไปเราก็ลองมาทำโจทย์เกี่ยวกับฟังก์ชันบ้าง เพื่อเป็นการเตรียมตัวและตรวจสอบความเข้าใจของตัวเองหลังจากที่ได้เรียนฟังก์ชันไปแล้ว ผมจะเอาโจทย์ง่ายๆก่อนให้นะครับมาลองเฉลยให้ดู เผื่อบางคนเรียนไม่ทันในห้องหรือไม่มีเงินเรียนพิเศษจะได้มีแหล่งข้อมูลข่าวสารอ่านทำความเข้าใจครับ มาดูตัวอย่างการทำโจทย์ฟังก์ชันเลย

    ตัวอย่างที่ 1 กำหนด \(f(x)=x^{2}+2x+5\)  จงหา 

    1.1   \(f(0)\)   แทน 0  ลงไปใน x เลยครับก็จะได้

    \(f(0)=0^{2}+2(0)+5=5\)

    1.2  \(f(2)\)  แทน 2 ลงไปใน  x  เลยครับจะได้

    \(f(2)=2^{2}+2(2)+5=13\)

    ตัวอย่างที่ 2 กำหนด \(f(x)=x^{2}-3x+5\)    จงหา

    1.1  \(f(x+h)\)     ทำเหมือนข้อข้างบนเลยครับก็คือแทน  x+h   ลงใน x  พูดง่ายๆก็คือตรงไหนมี x  เปลี่ยนเป็น x+h  ครับ

    \(f(x+h)=(x+h)^{2}-3(x+h)+5\)

    \(f(x+h)=x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5\)

    1.2  \(f(x+h)-f(x)\)    อย่าลืมนะ  \(f(x+h)\)    เราหาไว้แล้วต่อไปก็ไม่ต้องทำอะไรมากก็แค่ลบกันให้ถูกก็พอ

    \(f(x+h)=x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5\)   และ 

    \(f(x)=x^{2}-3x+5\)  

    ดังนั้น  

    \(f(x+h)-f(x)=(x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5)-(x^{2}-3x+5)\)      กระจายลบเข้าไปแล้วลบกันธรรมดาครับ

    \(f(x+h)-f(x)=x^{2}+2xh+h^{2}-3x-3h+5-x^{2}+3x-5)\) 

    \(f(x+h)-f(x)=2xh+h^{2}-3h\)

    \(f(x+h)-f(x)=h(2x+h-3)\)

    ลองทำแบบฝึกหัดโจทย์ฟังก์ชันเพิ่มเติมครับ

    1.  ถ้า \(f(x)=x^{2}+3x-5\)   จงหา \(f(0),f(3),f(a),f(a+b),f(x+b)\)  และ \(\frac{f(x+h)-f(x)}{h}\)  เมื่อ \(h\neq 0\)

    วิธีทำ

    จาก

    \(f(x)=x^{2}+3x-5\)

    จะได้

    \(f(0)=0^{2}+3(0)-5=-5\)

    \(f(3)=3^{2}+3(3)-5=13\)

    \(f(a)=a^{2}+3(a)-5\)

    \(f(a+b)=(a+b)^{2}+3(a+b)-5\)

    \(f(x+b)=(x+b)^{2}+3(x+b)-5\)

    ทำอันสุดท้ายต่อครับ

    \begin{array}{lcl}\frac{f(x+h)-f(x)}{h}&=&\frac{(x+h)^{2}+3(x+h)-5-(x^{2}+3x-5)}{h}\\&=&\frac{x^{2}+2xh+h^{2}+3x+3h-5-x^{2}-3x+5}{h}\\&=&\frac{h^{2}+2xh+3h}{h}\\&=&h+2x+3\end{array}


    2. ถ้า

    \(f(x)=\left\{\begin{matrix}
    & 1 & when \quad x<1\\
    & x & when \quad 1\leq x \leq 3\\
    & 2 & when \quad  x>3
    \end{matrix}\right.\)

    จงหา \(f(-2),f(0),f(1),f(\frac{1}{2}),f(\sqrt{3}),f(9),\frac{f(3+h)-f(3)}{h}\) เมื่อ h>0

    วิธีทำ ข้อนี้เหมือนจะยาก แต่ง่ายที่มองว่ายากเพราะว่าอ่านโจทย์ไม่เข้าใจ เรามาลองทำไปพร้อมก้นช้าๆครับ

    หา \(f(-2)\)  แสดงว่า x เรามีค่าเท่ากับ -2   เนื่องจาก -2<1  กลับไปดูที่โจทย์ครับโจทย์บอกว่า

    \(f(x)=1\)  เมื่อ  x<1  หมายความว่าถ้า x มีค่าน้อยกว่า 1 ค่าของ f(x) จะเท่ากับ 1 

    เนื่องจาก -2<1  ดังนั้น

    \(f(-2)=1\)

    หา \(f(0)\)

    เนื่องจาก 0<1  ดังนั้น

    \(f(0)=1\) ด้วย

    หา \(f(1)\)

    เราจะเห็นโจทย์เขาบอกว่า  f(x)=x หรือว่าเท่ากับตัวมันเองเมื่อ \(1\leq x \leq 3\) ดังนั้นข้อนี้ x=1 ตรงตามเงื่อนไขนี้พอดี ดังนั้น

    \(f(1)=1\)

    หา  \(f(\frac{1}{2})\)

    เราจะเห็นว่าโจทย์เขาบอกว่า \(f(x)=1\)  เมื่อ x<1  ความหมายคือถ้า x มันน้อยกว่าหนึ่ง f(x) มันจะเท่ากับหนึ่งเสมอ ดังนั้น x เราเท่ากับหนึ่งส่วนสองดังนั้นข้อนี้

    \(f\frac{1}{2}=1\)

    หา \(f(\sqrt{3})\)

    เนื่องจาก \(\sqrt{3}\) มีค่าประมาณ 1.732 ดังนั้นต้องใช้ อันนี้ครับ

    \(f(x)=x\)  นั่นคือ

    \(f(\sqrt{3})=\sqrt{3}\)

    หา  \(f(9)\)

    ดูที่โจทย์บอกมาครับโจทย์บอกว่า \(f(x)=2\)  เมื่อ x มีค่ามากกว่า 3 ซึ่งเอ็กซ์คือเราคือเก้ามากกว่าสามอยู่แล้วดังนั้น

    \(f(9)=2\)

    หา \(\frac{f(3+h)-f(3)}{h}\)  เมื่อ h>0

    เราจะเห็นว่า h มันมากกว่าศูนย์ อาจะเป็น หนึ่ง สอง สาม เมื่อนำ h+3  มันต้องมากกว่า 3 จริงไหมครับ เมื่อ มันมากกว่าสาม เราต้องใช้อันนี้ครับ

    \(f(x)=2\)  เมื่อ x>3  ดังนั้นเราจึงได้ว่า

    \(f(3+h)=2\) นั่นเอง

    ส่วน f(3) ใช้อันนี้ครับ \(f(x)=x\) ดังนั้นเราจึงได้ว่า

    \(f(3)=3\)

    สรุปก็คือ

    \begin{array}{lcl}\frac{f(3+h)-f(3)}{h}&=&\frac{2-3}{h}\\&=&-\frac{1}{h}\end{array}


    3. กำหนด \(U=\{0,1,2,3,4,5\}\)  ฟังก์ชันที่กำหนดให้ต่อไปนี้เป็นสับเซตของ  \(U\times U\) จงเขียนกราฟพร้อมทั้งหาโดเมนและเรนจ์ของฟังก์ชัน

    1)  \(f(x)=2x-3\)

    2) \(f=\{(x,y)|x^{2}+y^{2}=25\}\)

    วิธีทำ ลองหาค่าของ \(U\times U\)  ก่อนครับใครทำไม่เป็นก็ไปดูนี่ครับ ผลคูณคาร์ทีเซียน(Cartesian product) ก็จะได้

    \(\{(0,0),(0,1),(0,2),(0,3),(0,4),(0,5),\\(1,0),(1,1),(1,2),(1,3),(1,4),(1,5),\\(2,0),(2,1),(2,2),(2,3),(2,4),(2,5),\\(3,0),(3,1),(3,2),(3,3),(3,4),(3,5),\\(4,0),(4,1),(4,2),(4,3),(4,4),(4,5),\\(5,0),(5,1),(5,2),(5,3),(5,4),(5,5)\}\)

    นี่คือ \(U\times U\)  มีสมาชิกทั้งหมด 36 ตัวครับ  ต่อไปมาดูฟังก์ชันแรกก่อนครับ

    1)  ก็คือ \(f(x)=2x-3\)  หรือก็คือ \(y=2x-3\)  นั่นเองครับซึ่งก็คือ

    ถ้า \(x=0\)  จะได้ว่า \(y=-3\)  ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((0,-3)\)   แต่จะเห็นว่าคู่อับดับนี้ไม่อยู่ในอยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=1\) จะได้ว่า  \(y=-1\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((1,-1)\)   แต่จะเห็นว่าคู่อับดับนี้ไม่อยู่ในอยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=2\) จะได้ว่า \(y=1\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((2,1)\)  อันนี้อยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=3\) จะได้ว่า \(y=3\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((3,3)\)  อันนี้อยู่ใน \(U\times U\)

    ถ้า \(x=4\) จะได้ว่า \(y=5\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((4,5)\)   อันนี้อยู่ใน  \(U\times U\)

    ถ้า \(x=5\) จะได้ว่า \(y=7\) ถ้าเขียนเป็นคู่อันดับคือ \((5,7)\)   แต่จะเห็นว่าคู่อับดับนี้ไม่อยู่ในอยู่ใน \(U\times U\)

    ดังนั้นฟังก์ชัน

    \(f(x)=2x-3\)  เขียนใหม่ได้คือ

    \(f(x)=\{(2,1),(3,3),(4,5)\}\)

    โดเมนของฟังก์ชันนี้คือ \(\{2,3,4\}\)

    เรนจ์ของฟังก์ชันนี้คือ \(\{1,3,5\}\)

    กราฟของฟังก์ชันคือ

    ฟังก์ชัน 

    มาดูข้อที่สองกันครับจากฟังก์ชัน ข้อที่ 2 คือ

    2) \(f=\{(x,y)|x^{2}+y^{2}=25\}\)

    ดูที่เงื่อนไขฟังก์ชันนะ ก็คือทั้งเอ็กซ์และวายยกกำลังสองบวกกันแล้วต้องได้ 25  เราก็ไปดูที่ \(U\times U\) ว่ามีตัวไหนบ้างที่ยกกำลังสองแล้วบวกกันได้ 25 บ้าง เช่น

    \((3,4)\)  จะเห็นว่า \(3^{2}=9\)  และ \(4^{2}=16\)  เห็นว่า \(9+16=25\)  ตามเงื่อนไขในฟังก์ชันเลย

    \((0,1)\) จะเห็นว่า \(0^{2}=0\)  และ \(1^{2}=1\)  เห็นว่า \(0+1=1\)  ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขฟังก์ชันที่กำหนดให้

    ถ้าลองๆไปดูที่ \(U\times U\) ด้านบนก็จะเห็นว่าคู่อันดับที่สอดคล้องกับเงื่อนไขคือ

    \((3,4),(4,3),(0,5),(5,0)\)

    ดังฟังก์ชัน  \(f=\{(x,y)|x^{2}+y^{2}=25\}\) เขียนแบบแจกแจงสมาชิกได้คือ

    \(f=\{(3,4),(4,3),(0,5),(5,0)\}\)

    จะได้

    โดเมนคือ \(\{3,4,0,5\}\)

    เรนจ์คือ \(\{4,3,0,5\}\)

    กราฟหน้าตาก็เป็นแบบนี้ครับ

    ฟังก์ชัน


    4. ถ้า \(g(x)=2x\) และ \((f\circ g)(x)=x^{2}-1\) แล้ว ค่าของ \((g^{-1}\circ f)(10)\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นข้สสอบ entrance เก่านะคับ ไม่ได้ยากมาก แต่ก็ต้องทำให้ได้ครับเพราะพวกข้อสอบวิชาสามัญ ข้อสอบ A-level ข้อสอบฟังก์ชันออกประมาณนี้คับผม เริ่มทำกันเลย

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(x)&=&x^{2}-1\\f(g(x))&=&x^{2}-1\\f(2x)&=&x^{2}-1\\so\\ f(10)=f(2\cdot 5)\\f(2\cdot 5)&=&5^{2}-1\\f(10)&=&24\end{array}

    ต่อไปก็เริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}(g^{-1}\circ f)(10)&=&g^{-1}(f(10))\\&=&g^{-1}(24)\\because\\ g(x)&=&2x\\so\\g(12)&=&2\cdot 12\\g(12)&=&24\\then\\g^{-1}(24)&=&12\quad\underline{Ans}\end{array}


    5. กำหนดฟังก์ชัน \(f\) และ \(g\) ดังนี้

    \(f(2x-1)=4x-a\quad ,\quad a>0\)

    และ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\)

    ถ้า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\)

    แล้ว \(f(a)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. 6
    2. 7
    3. 10
    4. 17

    วิธีทำ  ข้อนี้ต้องทำหลายขั้นตอนหน่อยคับ แต่ไม่ยาก เป็นข้อสอบ Entrance เก่าๆ เอามาเล่าใหม่คับ  เราจะเริ่มทำดังนี้นะคับ

    \begin{array}{lcl}f(2x-1)&=&4x-a\\Let\quad A&=&2x-1\\x&=&\frac{A+1}{2}\\so\\f(A)&=&4(\frac{A+1}{2})-a\\f(A)&=&2A+2-a\quad\cdots (1)\end{array}

    จากโจทย์ \(g^{-1}(x)=\sqrt{x+1}\) ดังนั้น

    \(g(\sqrt{x+1})=x\) เริ่มทำต่อเลย

    \begin{array}{lcl}g(\sqrt{x+1})&=&x\\Let\quad B&=&\sqrt{x+1}\\B^{2}&=&x+1\\x&=&B^{2}-1\\so\\g(B)&=&B^{2}-1\quad\cdots (2)\end{array}

    ต่อไปเราจะเริ่มหาคำตอบแล้วนะคับ แต่ให้สังเกตสมการที่ \((1)\) และ สมการที่ \((2)\) ไว้ให้ดีๆ

    โจทย์บอกว่า \((f\circ g)(a)=a^{2}+20\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}(f\circ g)(a)&=&a^{2}+20\\f(g(a))&=&a^{2}+20\\from\quad (2)\\ we\quad get\\f(a^{2}-1)&=&a^{2}+20 \\and\quad from\quad (1)\\ we\quad get \\2(a^{2}-1)+2-a&=&a^{2}+20\\2a^{2}-2+2-a&=&a^{2}+20\\a^{2}-a-20&=&0\\(a-5)(a+4)&=&20\\so\\a=5,-4\\but\quad a>0\\so\\a&=&5\end{array}

    ต่อไปจะหาคำตอบจริงๆแล้ว

    จากสมการที่ \((1)\)  คือ \(f(A)=2A+2-a\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}f(a)&=&2a+2-a\\f(a)&=&a+2\\ because\quad a=5\\so\\f(5)&=&5+2\\&=&7\quad\underline{Ans}\end{array}