• กฎของไซน์

    วันนี้เราจะมาดูอีกกฎหนึ่ง นอกจากจะมีกฎของโคไซน์ แล้วยังมีอีกกฎอีกข้อหนึ่งเขาเรียกว่า กฎของไซน์ ซึ่งกฎนี้ก็ศึกษาได้จากสามเหลี่ยมใดๆนี่แหละครับ เรามาดูว่ากฎของไซน์ที่ว่านี้น่าตาเป็นอย่างไร  ไปดูกันเลย

    ในรูปสามเหลี่ยม ABC ใดๆ ถ้า a,b และ c เป็นความยาวของด้านตรงข้ามมุม A,B และ C  ตามลำดับ  จะได้

    \[\frac{\sin A}{a}=\frac{\sin B}{b}=\frac{\sin C}{c}\]

    นี่คือกฎของไซน์ครับ ต่อไปเราก็จำนำกฎของไซน์นี้ไปแก้โจทย์ปัญหากันครับ ไปดูตัวอย่างกันเลย

    แบบฝึกหัด โจทย์กฎของไซน์

    1. กำหนด \(\hat{A}=45^{\circ}\quad ,\hat{C}=60^{\circ}\quad ,b=20\)  จงหา c และพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม ABC

    วิธีทำ จากกฎของไซน์  \(\frac{\sin B}{b}=\frac{\sin C}{c}\)

    เนื่องจาก

    \begin{array}{lcl}\hat{A}+\hat{B}+\hat{C}&=&180^{\circ}\\45^{\circ}+\hat{B}+60^{\circ}&=&180^{\circ}\\\hat{B}&=&75^{\circ}\end{array}

    แทนค่าลงไปในกฎของไซน์เลยครับจะได้

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin 75^{\circ}}{20}&=&\frac{\sin 60^{\circ}}{c}\\c&=&\frac{20\sin 60^{\circ}}{\sin 75^{\circ}}\\&=&\frac{20\times \frac{\sqrt{3}}{2}}{\frac{\sqrt{3}+1}{2\sqrt{2}}}\\&=&\frac{10\sqrt{3}\times 2\sqrt{2}}{\sqrt{3}+1} \times \frac{\sqrt{3}-1}{\sqrt{3}-1}\\&=&10\sqrt{6}(\sqrt{3}-1)\\&=&17.93\end{array}

    2.  จงหาส่วนที่เหลือของรูปสามเหลี่ยม ABC โดยใช้กฎของไซน์

    เมื่อกำหนดให้ \(a=4,b=8,\hat{A}=30^{\circ}\)

    วิธีทำ จาก

    \(\frac{a}{\sin A}=\frac{b}{\sin B}\)

    จะได้

    \begin{array}{lcl}\sin B&=&\frac{b\sin A}{a}\\\sin B&=&\frac{8\sin 30^{\circ}}{4}\\\sin B&=&2\times \frac{1}{2}\\\sin B&=&1\end{array}

    เนื่องจาก

    \(\sin 90^{\circ}=1\)

    นั่นคือ

    \(\hat{B}=90^{\circ}\) ครับ

    จาก

    \begin{array}{lcl}\hat{A}+\hat{B}+\hat{C}&=&180^{\circ}\\30^{\circ}+90^{\circ}+\hat{C}&=&180^{\circ}\\\hat{C}&=&180^{\circ}-30^{\circ}-90^{\circ}\\\hat{C}&=&60^{\circ}\end{array}

    นั่นคือ

    \(\hat{C}=60^{\circ}\)

    ต่อไปเมื่อหา มุมครบทั้ง 3 มุมแล้วก็หาความยาวของด้าน c ครับ วิธีการหาก็ง่ายๆครับเริ่มหากันเลยเริ่มต้นหาจากอันนี้ครับ

    \(\frac{\sin C}{c}=\frac{\sin A}{a}\)

    เริ่มทำกันเลย ก็แค่แทนค่าสิ่งที่เรารู้ลงไปครับ

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin C}{c}=\frac{\sin A}{a}\\c&=&\frac{a\sin C}{\sin A}\\c&=&\frac{4\sin 60^{\circ}}{\sin 30^{\circ}}\\c&=&\frac{4\times \frac{\sqrt{3}}{2}}{\frac{1}{2}}\\c&=&\frac{2\sqrt{3}}{\frac{1}{2}}\\c&=&2\sqrt{3}\times 2\\c&=&4\sqrt{3}\end{array}

    ดังนั้นจากตรงนี้เราจึงสรุปได้ว่า สามเหลี่ยม ABC  นี้

    มุม \(\hat{A}=30^{\circ}\)

    มุม \(\hat{B}=90^{\circ}\)

    มุม \(\hat{C}=60^{\circ}\)

    ด้าน \(a\) ยาว 4  หน่วย

    ด้าน \(b\)  ยาว 8  หน่วย

    ด้าน \(c\) ยาว  \(4\sqrt{3}\)  หน่วย


    3.กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC ดังรูป จงหาความยาวด้าน AC

    วิธีทำ ใช้กฎของไซน์ \(\frac{sinA}{a}=\frac{sinB}{b}\)

    จากรูป 

    \(\hat{B}=180^{\circ}-30^{\circ}=135^{\circ}\) และ

    \(sin 135^{\circ}=sin 45^{\circ}=\frac{\sqrt{2}}{2}\)

    แทนค่าลงไปใน สูตรกฎของไซน์จะได้

    \begin{array}{lcl}\frac{sin A}{a}&=&\frac{sin B}{b}\\\frac{sin 30^{\circ}}{6}&=&\frac{sin 45^{\circ}}{AC}\\AC&=&\frac{sin 45^{\circ}\times 6}{sin 30^{\circ}}\\AC&=&6\times \frac{\sqrt{2}}{2}\times 2\\AC&=&6\sqrt{2}\end{array}


    4.กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC ดังรูป จงหาความยาวด้าน BC

    วิธีทำ  จากรูป

    ใช้กฎของไซน์จะได้ว่า  \(\frac{sin A}{a}=\frac{sin C}{c}\)

    แทนค่าต่างๆลงไปจะได้ 

    \begin{array}{lcl}\frac{sin 60^{\circ}}{BC}&=&\frac{sin 45^{\circ}}{4}\\BC&=&\frac{4\times sin 60^{\circ}}{sin 45^{\circ}}\\BC&=&4\times \frac{\sqrt{3}}{2}\times \sqrt{2}\\BC&=&2\sqrt{6}\end{array}


    5.  กำหนดให้ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมซึ่งมี \(a=6,\quad b=7\) และ \(cos A=-\frac{3}{5}\) จงหาค่าของ \(sin B\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องใช้เอกลักษณ์ตรีโกณมิติหน่อยหนึ่งคือ \(sin^{2}A+cos^{2}A=1\)

    ควรวาดรูปประกอบด้วยถ้าใครมองภาพไม่ออกครับ เริ่มทำกันต่อเลย

    \begin{array}{lcl}sin^{2}A+cos^{2}A&=&1\\sin^{2}A&=&1-cos^{2}A\\sin A&=&\sqrt{1-cos^{2}A}\\sin A&=&\sqrt{1-(-\frac{3}{5})^{2}}\\sin A&=&\frac{4}{5}\end{array}

    เอาไปแทนค่าในกฎของไซน์

    \begin{array}{lcl}\frac{sin A}{a}&=&\frac{sinB}{b}\\\frac{4}{5\times 6}&=&\frac{sin B}{7}\\sin B&=&\frac{14}{15}\end{array}

    นี่คือการใช้กฎของไซน์ครับคล้ายๆกฎของกฎของโคไซน์ อย่างไรก็ลองอ่านดูครับไม่ยากครับ


    6.กำหนดให้ \(ABC\) เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมี \(A\hat{C}B=60^{\circ}\) ลากเส้นตรงจากจุด \(A\) ไปพบด้าน \(BC\) ที่จุด \(D\) โดยทำให้ \(B\hat{A}D=30^{\circ}\) ถ้าระยะ \(BD\) ยาว \(3\) หน่วย และระยะ \(AD\) ยาว \(2\) หน่วย แล้ว ระยะ \(CD\) ยาวเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{4\sqrt{3}}{3}\)
    2. \(\frac{5\sqrt{3}}{3}\)
    3. \(\frac{7\sqrt{6}}{9}\)
    4. \(\frac{8\sqrt{6}}{9}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องวาดรูปครับเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สิ่งที่โจทย์ให้หาคือความยาวของ \(CD\) ผมกำหนดให้ยาว \(CD\) ยาว \(m\) แสดงว่าเรากำลังหาความยาวของ \(m\) นั่นเองคับ

    ข้อนี้ต้องความรู้เรื่องของ กฎของไซน์  หรือ กฎของโคไซน์  แต่ผมขอใช้กฎของไซน์นะคับน่าจะง่ายกว่า

    จากรูปที่เราวาดเราจะเห็นว่า \(x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\)

    จากกฎของไซน์จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sin 60^{\circ}}{2}\\\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sqrt{3}}{2}\times\frac{1}{2}\\m&=&\frac{4\sin x}{\sqrt{3}}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\quad \cdots (1)\end{array}

    เก็บสมการที่ \((1)\) ไว้ก่อน ต่อไปเราก็ต้องไปหาค่าของ \(\sin x\) กันคับ

    เราจะเห็นค่าของ \(\sin x\) โดยกฎของไซน์ ดูจากรูปนะคับ

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin y}{2}&=&\frac{\sin 30^{\circ}}{3}\\\frac{\sin y}{2}&=&\frac{1}{6}\\\sin y&=&\frac{1}{3}\\from\quad x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\\so\quad y^{\circ}=90^{\circ}-x^{\circ}\\then\\\sin(90^{\circ}-x)&=&\frac{1}{3}\\\cos x&=&\frac{1}{3}\end{array}

    วาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

    จากรูปจะได้ \(\sin x=\frac{2\sqrt{2}}{3}\) เอาค่า \(\sin x\) ที่ได้นี้ไปแทนในสมการที่ \((1)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}}{3}\cdot \frac{2\sqrt{2}}{3}\\m&=&\frac{8\sqrt{6}}{9}\quad\underline{Ans}\end{array}

  • การหาระยะทางและความสูง

    ในการวัดระยะทางที่การวัดแบบว่า วัดได้ยาก เข้าไปวัดแบบโดยตรงไม่ได้ เช่นการวัดความสูงของตึก การวัดระยะระหว่างสถานที่สองแห่งที่มีเนินเขากั้นกลาง  ปัญหาการวัดระยะนี้ อาจนำความรู้เรื่องฟังก์ชันตรีโกณมิติ ความรู้เรื่องมุมก้ม (angle of depression) และ มุมเงย (angle of elevation) กฎของไซน์และโคไซน์มาช่วยหาได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    ตัวอย่างที่ 1 ต้องการขึงเชือกจากจุด \(A\) กับยอดเสาธง ซึ่งจุด \(A\) ทำมุม \(45^{\circ}\) กับยอดเสาธง และจุด \(A\) อยู่ห่างจากโคนเสาธง \(10\) เมตร  ถามว่าจะต้องใช้เชือกยาวกี่เมตรจึงจะขึงเชือกยอดเสาธงถึงจุด \(A\) ได้

    วิธีทำ กำหนดให้ \(AB\) คือความยาวของเชือกที่ขึงระหว่างจุด \(A\) และยอดเสาธง ข้อนี้ใช้ความรู้เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติในการหาคำตอบครับ จากรูปจะได้ว่า

    \(\cos 45^{\circ}=\frac{AC}{AB}\)  เราต้องการหาความยาวของ \(AB\) เริ่มหากันเลยครับผม

    \begin{array}{lcl}\cos 45^{\circ}&=&\frac{AC}{AB}\\AB&=&\frac{AC}{\cos 45^{\circ}}\\AB&=&\frac{10}{\frac{\sqrt{2}}{2}}\\AB&=&10\times \frac{2}{\sqrt{2}}\\AB&=&\frac{20}{\sqrt{2}}\\AB&=&\frac{20}{\sqrt{2}}\times \frac{\sqrt{2}}{\sqrt{2}}\\AB&=&10\sqrt{2}\end{array}

    เนื่องจาก \(\sqrt{2}\approx 1.414\) ดังนั้น

    \(AB=10\sqrt{2}=10\times 1.414=14.14\)

     ดังนั้นต้องใช้เชือกในการขึงยาวประเมาณ 14.14 เมตร 


    ตัวอย่างที่ 2 เนตรยืนอยู่บนสนามแห่งหนึ่งมองเห็นยอดเสาธงเป็นมุมเงย 15 องศา แต่เมื่อเดินตรงเข้าไปหาเสาธงอีก 60 เมตร เขามองเห็นยอดเสาธงเป็ฯมุมเงย 75 องศา ถ้าเนตรสูง 150 เซนติเมตร จงหาความสูงของเสาธง

    วิธีทำ  ให้ CD เป็นความสูงของเสาธงที่อยู่เหนือระดับสายตา

    จุด A เป็นจุดที่เนตรมองเห็นยอดเสาธงในครั้งแรก

    จุด B เป็นจุดที่เนตรมองยอดเสาธงในครั้งหลัง และระยะทาง AB เท่ากับ 60 เมตร

    เนื่องจาก \(C\hat{A}D=15^{\circ}\)  และ  \(C\hat{B}D=75^{\circ}\)

    จะได้ \(A\hat{D}B=60^{\circ}\) 

    ในรูป \(\triangle{ABD}\) จากกฎของไซน์ จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{sin 15^{\circ}}{BD}&=&\frac{sin 60^{\circ}}{AB}\\BD&=&\frac{ABsin 15^{\circ}}{sin 60^{\circ}}\end{array}

    ใน \(\triangle{BCD}\) จะได้

    \begin{array}{lcl}CD&=&BD sin 75^{\circ}\\&=&(\frac{AB sin 15^{\circ}}{sin 60^{\circ}})sin 75^{\circ}\\&=&60\times \frac{2}{\sqrt{3}}sin 15^{\circ}sin 75^{\circ}\\&=&\frac{60}{\sqrt{3}}\times 2 sin 15^{\circ} cos 15^{\circ}\\&=&\frac{60\sqrt{3}}{3} sin 2(15^{\circ})\\&=&20\sqrt{3} sin 30^{\circ}\\&=&20\sqrt{3}\times \frac{1}{2}\\&=&10\sqrt{3}\\&\approx&17.32\end{array}

    นั่นคือ เสาธงมีความสูงเหนือระดับสายตายเนตรเท่ากับ 17.32 เมตร

    นั่นคือ เสาธงนี้มีความสูงจริงๆเท่ากับ \(17.32+1.50=18.82 \) เมตร


    ตัวอย่างที่ 3 จากหน้าผาซึ่งสูง 200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ผู้สังเกตการณ์คนหนึ่งมองเห็นเรือสองลำทอดสมออยู่ในทะเลเป็นมุมก้ม 40 องศา และ 60 องศา ตามลำดับ เส้นระดับสายตาเส้นเดียวกัน อยากทราบว่าเรือทั้งสองลำนั้นอยู่ห่างกันเท่าใด

    วิธีทำ

    ให้ CD เป็นหน้าผาสูง 200 เมตร

    A และ B เป็นเรือสองลำ ให้เรือทั้งสองห่างกัน \(x\) เมตร โดยใช้ความรู้เรื่องเส้นขนาน จะได้ว่า 

    \(D\hat{A}C=40^{\circ}\) และ \(D\hat{B}C=60^{\circ}\)

    ฉะนั้น \(A\hat{D}B=60^{\circ}-40^{\circ}=20^{\circ}\)

    ใน \(\triangle{BCD}\) เราจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl} sin C\hat{B}D&=&\frac{CD}{BD}\\sin 60^{\circ}&=&\frac{200}{BD}\\\frac{\sqrt{3}}{2}&=&\frac{200}{BD}\\BD&=&\frac{200}{\frac{\sqrt{3}}{2}}\\BD&=&\frac{400\sqrt{3}}{3}\end{array}

    ทำต่ออีก  ใน \(\triangle{ADB}\) เราจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{sin A\hat{D}B}{x}&=&\frac{sin B\hat{A}D}{BD}\\\frac{sin 20^{\circ}}{x}&=&\frac{sin 40^{\circ}}{BD}\\x&=&\frac{BDsin 20^{\circ}}{sin 40^{\circ}}\\x&=&\frac{400\sqrt{3}}{3}\times \frac{sin 20^{\circ}}{2sin 20^{\circ}cos 20^{\circ}}\\x&=&\frac{400\sqrt{3}}{3}\times \frac{1}{2 cos 20^{\circ}}\\x&\approx&122.88\end{array}

    นั่นคือ เรือสองลำหางกันประมาณ 122.88 เมตร


    ลองทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมครับผม

    1. พิเชษฐ์ยืนอยูห่างจากตึกหลังหนึ่ง 18 เมตร มองเห็นยอดตึกและยอดเสาอากาศซึ่งอยู่บนยอดตึกเป็นมุมเงย \(30^{\circ}\) และ \(60^{\circ}\) ตามลำดับ จงหาความสูงของเสาอากาศ

    วิธีทำ   จากรูปกำหนดให้ \(BC\) เป็นความสูงของตึก

    \(CD\) เป็นความสูงของเสาอากาศ

    \(A\) เป็นจุดที่พิเชษฐ์มองยอดตึกและยอดเสาอากาศ

    มุมเงย \(BAC=30^{\circ}\) และมุมเงย \(BAD=60^{\circ}\)

    จะเห็นว่าใน \(\triangle{ABD}\) จะได้

    \begin{array}{lcl}BD&=&AB\tan 60^{\circ}\\&=&18\sqrt{3}\end{array}

    ใน \(\triangle{ABC}\) จะได้

    \begin{array}{lcl}BC&=&AB\tan 30^{\circ}\\&=&\frac{18}{\sqrt{3}}\\&=&6\sqrt{3}\end{array}

    ดังนั้นจากรูปจะได้ว่า \(DC=18\sqrt{3}-6\sqrt{3}=12\sqrt{3}\)


    2. เรือสองลำทอดสมออยู่ห่างกัน 60 เมตร และอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันกับประภาคาร ทหารในเรือแต่ละลำมองเห็นยอดประภาคารเป็นมุมเงย \(45^{\circ}\) และ \(30^{\circ}\) จงหาว่าเรือลำที่อยู่ใกล้ประภาคารอยู่ห่างจากประภาคารเท่าไร

    วิธีทำ จากรูป กำหนดให้ \(AB\) เป็นประภาคารหลังนี้

    ให้ \(C\) และ \(D\) เป็นตำแหน่งที่เรือสองลำจอดอยู่ห่างกัน \(60\) เมตร

    มุมเงย \(ACB=45^{\circ}\) และมุมเงย \(ADB=30^{\circ}\)

    พิจารณา \(\triangle{ABC}\) จะได้

    \begin{array}{lcl}BC&=&\frac{AB}{\tan 45^{\circ}}\\BC&=&AB\end{array}

    พิจารณา \(\triangle{ABD}\) จะได้

    \begin{array}{lcl}BD&=&\frac{AB}{\tan 30^{\circ}}=\sqrt{3} AB\end{array}

    จากรูปจะเห็นว่า \(BD-BC=CD\)

    นั่นคือ \(\sqrt{3}AB-AB=60\)

    เนื่อง \(\sqrt{3}\approx 1.732\)

    ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}1.732AB-AB&=&60\\0.732AB&=&60\\AB&=&\frac{60}{0.732}\\AB&\approx&81.97\end{array}

    อย่าลืมนะ \(AB=BC\) นั่นคือเรือลำที่อยู่ใกล้ประภาคารอยู่ห่างจากประภาคาร \(81.97\) เมตร


    3. \(A\) และ \(B\) เป็นจุดสองจุดที่อยู่ตรงข้ามกันของบึงแห่งหนึ่ง \(C\) เป็นจุดๆหนึ่งบนพื้นราบเดียวกัน ถ้าระยะ \(CA\) และ \(CB\) เท่ากับ \(3.2\) และ \(2.4\)   กิโลเมตร ตามลำดับ และวัดมุม \(ACB\) ได้ \(75^{\circ}\) จงหาความกว้างของบึงตามแนว \(AB\)

    วิธีทำ ข้อนี้ใช้กฎของโคไซน์ ได้เลยครับ จากรูปถ้าใช้กฎของโคไซน์จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}AB^{2}&=&AC^{2}+BC^{2}-2AC\cdot BC \cos 75^{\circ}\\&=&(3.2)^{2}+(2.4)^{2}-2\times 3.2\times 2.4\times 0.2588\\&=&10.24+5.76-3.98\\AB&\approx&3.47\end{array}

    นั่นคือ บึงกว้าง \(3.47\) กิโลเมตร


    4.กำหนดให้ \(ABC\) เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมี \(A\hat{C}B=60^{\circ}\) ลากเส้นตรงจากจุด \(A\) ไปพบด้าน \(BC\) ที่จุด \(D\) โดยทำให้ \(B\hat{A}D=30^{\circ}\) ถ้าระยะ \(BD\) ยาว \(3\) หน่วย และระยะ \(AD\) ยาว \(2\) หน่วย แล้ว ระยะ \(CD\) ยาวเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{4\sqrt{3}}{3}\)
    2. \(\frac{5\sqrt{3}}{3}\)
    3. \(\frac{7\sqrt{6}}{9}\)
    4. \(\frac{8\sqrt{6}}{9}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องวาดรูปครับเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สิ่งที่โจทย์ให้หาคือความยาวของ \(CD\) ผมกำหนดให้ยาว \(CD\) ยาว \(m\) แสดงว่าเรากำลังหาความยาวของ \(m\) นั่นเองคับ

    ข้อนี้ต้องความรู้เรื่องของ กฎของไซน์  หรือ กฎของโคไซน์  แต่ผมขอใช้กฎของไซน์นะคับน่าจะง่ายกว่า

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (55)

    55. รูปสี่เหลี่ยม \(ABCD\) มีมุม \(A\) ขนาด \(60\) องศา ด้านประกอบมุม \(A\)  ยาวเท่ากัน มุม \(C\) เป็นมุมที่อยู่ตรงข้ามมุม \(A\) มีขนาด \(120\) องศา และด้านประกอบมุม \(C\) ยาว \(30\) และ \(50\) หน่วย ด้าน \(AB\) ยาวกี่หน่วย

    วิธีทำ ข้อนี้อ่านปุ๊ป รู้เลยว่าน่าจะต้องใช้กฎของไซน์ หรือว่า กฎของโคไซน์ ที่สำคัญต้องวาดรูป เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน มาดูวิธีการทำเลยดีกว่าคับผม  จากรูปใช้กฎโคไซน์เพื่อหาความยาวของ \(c\) ก่อนนะคับ จะได้

    \begin{array}{lcl} c^{2}&=&a^{2}+b^{2}-2ab\cos C\\c^{2}&=&50^{2}+30^{2}-2(50)(30)\cos 120^{\circ}\\c^{2}&=&2500+900-3000\cos 120^{\circ}\\c^{2}&=&3400-3000(-\frac{1}{2})\\c^{2}&=&3400+1500\\c^{2}&=&4900\\c&=&\sqrt{4900}\\c&=&70\end{array}

    จากข้อมูลที่โจทย์ให้มา เราจะเห็นได้ว่า สามเหลี่ยม \(BAD\) มีมุมยอดกาง 60  องศาแขนของสามเหลี่ยมก็คือ \(AB\) และ \(AD\) ยาวเท่ากัน ทำให้สามเหลี่ยมนี้เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ดังนั้นมุมที่ฐานจะกางเท่ากัน เราสามารคำนวณมุมที่ฐานได้จาก \(\frac{180^{\circ}-60^{\circ}}{2}=60^{\circ}\)  จะเห็นว่าสามเหลี่ยม \(BAD\) มีมุมสามมุมเท่ากันหมดคือ 60 องศา แน่นอนมันต้องเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าแน่นอน จึงทำให้ได้ว่าสามเหลี่ยม \(BAD\) มีความยาวด้านยาวเท่ากันหมด นั่นหมายความว่า AB ยาว 70 หน่วย ตอบ

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (70)

    70.กำหนดให้ \(ABC\) เป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมี \(A\hat{C}B=60^{\circ}\) ลากเส้นตรงจากจุด \(A\) ไปพบด้าน \(BC\) ที่จุด \(D\) โดยทำให้ \(B\hat{A}D=30^{\circ}\) ถ้าระยะ \(BD\) ยาว \(3\) หน่วย และระยะ \(AD\) ยาว \(2\) หน่วย แล้ว ระยะ \(CD\) ยาวเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{4\sqrt{3}}{3}\)
    2. \(\frac{5\sqrt{3}}{3}\)
    3. \(\frac{7\sqrt{6}}{9}\)
    4. \(\frac{8\sqrt{6}}{9}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องวาดรูปครับเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน สิ่งที่โจทย์ให้หาคือความยาวของ \(CD\) ผมกำหนดให้ยาว \(CD\) ยาว \(m\) แสดงว่าเรากำลังหาความยาวของ \(m\) นั่นเองคับ

    ข้อนี้ต้องความรู้เรื่องของ กฎของไซน์  หรือ กฎของโคไซน์  แต่ผมขอใช้กฎของไซน์นะคับน่าจะง่ายกว่า

    จากรูปที่เราวาดเราจะเห็นว่า \(x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\)

    จากกฎของไซน์จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sin 60^{\circ}}{2}\\\frac{\sin x}{m}&=&\frac{\sqrt{3}}{2}\times\frac{1}{2}\\m&=&\frac{4\sin x}{\sqrt{3}}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\quad \cdots (1)\end{array}

    เก็บสมการที่ \((1)\) ไว้ก่อน ต่อไปเราก็ต้องไปหาค่าของ \(\sin x\) กันคับ

    เราจะเห็นค่าของ \(\sin x\) โดยกฎของไซน์ ดูจากรูปนะคับ

    \begin{array}{lcl}\frac{\sin y}{2}&=&\frac{\sin 30^{\circ}}{3}\\\frac{\sin y}{2}&=&\frac{1}{6}\\\sin y&=&\frac{1}{3}\\from\quad x^{\circ}+y^{\circ}=90^{\circ}\\so\quad y^{\circ}=90^{\circ}-x^{\circ}\\then\\\sin(90^{\circ}-x)&=&\frac{1}{3}\\\cos x&=&\frac{1}{3}\end{array}

    วาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

    จากรูปจะได้ \(\sin x=\frac{2\sqrt{2}}{3}\) เอาค่า \(\sin x\) ที่ได้นี้ไปแทนในสมการที่ \((1)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}m&=&\frac{4\sqrt{3}\sin x}{3}\\m&=&\frac{4\sqrt{3}}{3}\cdot \frac{2\sqrt{2}}{3}\\m&=&\frac{8\sqrt{6}}{9}\quad\underline{Ans}\end{array}