• ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (40)

    40. ถ้า \(\arctan x=\arctan\frac{1}{4}-2\arctan\frac{1}{2}\) แล้ว \(\sin(180^{\circ}+\arctan x)\) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{13}{5\sqrt{17}}\)
    2. \(\frac{16}{5\sqrt{17}}\)
    3. \(\frac{-13}{5\sqrt{17}}\)
    4. \(\frac{-16}{5\sqrt{17}}\)

    วิธีทำ

    ข้อนี้ถ้าใครหัดทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับผกผันฟังก์ชันตรีโกณมบ่อยๆก็ไม่ยากคับ ส่งที่ต้องใช้ในข้อนี้คือ พวกสูตรผลบวกและผลต่างของมุม

    ค่าฟังชันตรีโกณมิติของมุมสองเท่า  เช่น

    \(\sin (A+B)=\sin A\cos B +\cos A \sin B\)

    \(\sin (A-B)=\sin A \cos B - \cos A \sin B\)

    \(\sin 2A =2\sin A\cos A\)

    \(\cos 2A=\cos^{2} A-\sin^{2} A\)

    หาอ่านเพิ่มเติมตามลิงก์นี้คับ

    เริ่มทำกันเลยครับผม

    กำหนดให้

    \(\arctan\frac{1}{4}=A\) ดังนั้น \(\tan A=\frac{1}{4}\) แล้ววาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากครับ จะได้รูปแบบนี้

    จากรูปจะได้

    \(\sin A=\frac{1}{\sqrt{17}}\)

    \(\cos A=\frac{4}{\sqrt{17}}\)

    และกำหนดให้

    \(\arctan\frac{1}{2}=B\) ดังนั้น \(\tan B=\frac{1}{2}\) แล้ววาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากครับ จะได้รูปแบบนี้

    จากรูปจะได้

    \(\sin B=\frac{1}{\sqrt{5}}\)

    \(\cos B=\frac{2}{\sqrt{5}}\)

    \(\cos 2B=\cos^{2}B-\sin^{2}B=\frac{4}{5}-\frac{1}{5}=\frac{3}{5}\)

    \(\sin 2B=2\sin B\cos B=2\frac{1}{\sqrt{5}}\frac{2}{\sqrt{5}}=\frac{4}{5}\)

    จากด้านบนที่เรากำหนดให้ \(arctan\frac{1}{4}=A\) และ \(arctan\frac{1}{2}=B\) จะได้ว่า

    \(\arctan x=A-2B\) 

    ตอนนี้ข้อมูลครับแล้วเราก็เริ่มหาคำตอบกันเลยครับ

    \begin{array}{lcl}\sin (180^{\circ}+\arctan x)&=&\sin 180^{\circ}\cos(\arctan x)+\cos 180^{\circ}\sin(\arctan x)\\\color{red}{hint:}\quad \sin 180^{\circ}=0\\\quad  \cos 180^{\circ}=-1\\&=&(-1)\sin(\arctan x)\\&=&(-1)\sin(A-2B)\\&=&(-1)[\sin A\cos 2B-\cos A\sin 2B]\\&=&(-1)[\frac{1}{\sqrt{17}}\frac{3}{5}-\frac{4}{\sqrt{17}}\frac{4}{5}]\\&=&\frac{13}{5\sqrt{17}}\quad\underline{Ans}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (75)

    75. \(\cos(2\arctan(-3))\) มีค่าเท่ากับในข้อใด

    1. \(-\frac{4}{5}\)
    2. \(-\frac{3}{5}\)
    3. \(\frac{4}{5}\)
    4. \(\frac{3}{5}\)

    วิธีทำ ข้อนี้เป็นแบบฝึกหัดตามห้องเรียนทั่วไป ถ้าทำได้ก็จะสามารถต่อยอดไปทำข้ออื่นได้คับ แนวทางการทำก็คือ เราจะต้องหาค่าของ \(\arctan (-3)\)  ก่อนคับ

    กำหนดให้   \(\arctan (-3)=A\)  จึงได้ว่า \(\cos 2\arctan (-3))=\cos 2A\) นั่นคือตอนนี้เรากำลังหาค่าของ \(\cos 2A\) นั่นเองคับ มองให้ออกนะ

    จาก \(\arctan (-3)=A\)  ดังนั้นเราจะได้ว่า \(\tan A=-3\) เรานำตรงนี้ไปวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากเพื่อหาค่าของ \(\cos A\) จะได้รูปประมาณนี้ การวาดรูปไม่ต้องสนใจเครื่องหมายลบ นะ 

    จากรูปเราใช้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัสเพื่อหาความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉากจะได้

    \begin{array}{lcl}c^{2}&=&3^{2}+1^{2}\\c^{2}&=&10\\so\\c&=&\sqrt{10}\end{array}

    ตอนนี้เราเดินทางมาใกล้คำตอบแล้วครับ สิ่งที่เราหาตอนนี้คือ \(\cos 2A\) นะ ดังนั้นเราจะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\cos 2A&=&2\cos^{2} A-1\\&=&2\frac{1}{10}-1\\&=&\frac{1}{5}-1\\&=&-\frac{4}{5}\quad\underline{Ans}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (76)

    76. \(\arcsin (\sin (\frac{3\pi}{2})) +\cos (\arcsin (-\frac{3}{5}))\) เท่ากับค่าในข้อใด

    1. \(-\frac{4}{5}+\frac{3\pi}{2}\)
    2. \(\frac{4}{5} +\frac{3\pi}{2}\)
    3. \(-\frac{4}{5}-\frac{\pi}{2}\)
    4. \(\frac{4}{5}-\frac{\pi}{2}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องแม่นเรื่องเกี่ยวกับเรนจ์ของฟังก์ชันอาร์ไซน์ ก็คือเรนจ์ของอาร์คไซน์จะอยู่ในช่วง \([-\frac{\pi}{2},\frac{\pi}{2}]\) เริ่มทำกันเลยคับ

    เราจะหาค่าอันนี้ก่อน \(\arcsin (\sin (\frac{3\pi}{2}))\)

    เนื่องจาก \(\sin \frac{3\pi}{2}=-1\) ดังนั้น \(\arcsin (\sin (\frac{3\pi}{2}))=\arcsin (-1)\)

    เราจะหาค่าของ \(\arcsin (-1)\)

    กำหนดให้ \(\arcsin (-1)=\theta \) เมื่อ \(\theta \in [-\frac{\pi}{2},\frac{\pi}{2}]\)

    เนื่องจาก \(\sin (-\frac{\pi}{2})=-1\) ดังนั้น \(\arcsin (-1)=-\frac{\pi}{2}\)

    ต่อไปหาค่าของ \(\cos (\arcsin (-\frac{3}{5}))\)

    เรากำหนดให้ \(\arcsin (-\frac{3}{5})=\theta\) เราจะได้ \(\sin\theta=-\frac{3}{5}\) เมื่อ \(\theta\in [-\frac{\pi}{2},\frac{\pi}{2}]\)  จาก \(\theta\in [-\frac{\pi}{2},\frac{\pi}{2}]\) และ ไซน์ทีต้ามีค่า ติดลบสามส่วนห้า ทำให้เรารู้ว่า \(\theta\) อยู่ในควอร์ดเรนต์ที่ 2  จึงได้่ว่าค่าของฟังก์ชันคอสต้องเป็นบวก  

    จาก \(\sin\theta=-\frac{3}{5}\) วาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากได้ดังนี้

    จากรูป เราได้ว่า \(\cos\theta=\frac{4}{5}\) ดังนั้น

    \begin{array}{lcl}\cos (\arcsin (-\frac{3}{5})&=&\cos\theta\\&=&\frac{4}{5}\end{array}

    ทำให้เราได้คำตอบคือ

    \begin{array}{lcl}\arcsin (\sin (\frac{3\pi}{2})) +\cos (\arcsin (-\frac{3}{5}))&=&-\frac{\pi}{2}+\frac{4}{5}\\&=&\frac{4}{5}-\frac{\pi}{2}\quad\underline{Ans}\end{array}

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (77)

    77. ให้ \(A\) เป็นผลบวกของคำตอบของสมการ \(\sin^{2}6x+8\sin^{2}3x=0\) เมื่อ \(0\leq x\leq 2\pi\) จงหาค่าของ \(\frac{A}{\pi}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องใช้สูตรมุมสองเท่า ก็คือ \(\sin 2x=2\sin x\cos x\) ดังนั้น

    \(\sin 6x=\sin 2(3x)=2\sin3x\cos 3x\) ประมาณนี้คับ เรามาเริ่มทำกันเลยดีกว่า

    \begin{array}{lcl}\sin^{2}6x+8\sin^{2}3x&=&0\\\sin 6x\sin 6x + 8\sin^{2}3x&=&0\\\sin 2(3x)\sin 2(3x)+8\sin^{2}3x&=&0\\(2\sin 3x\cos 3x) (2\sin 3x\cos 3x) +8\sin^{2}3x&=&0\\4\sin^{2}3x\cos^{2}3x+8\sin^{2}3x&=&0\\\sin^{2}3x\cos^{2}3x+2\sin^{2}3x&=&0\\\sin^{2}3x(1-\sin^{2}3x)+2\sin^{2}3x&=&0\\\sin^{2}3x-\sin^{4}3x+2\sin^{2}3x&=&0\\3\sin^{2}3x-\sin^{4}3x&=&0\\\sin^{2}3x(3-\sin^{2}3x)&=&0\\so\\\sin^{2}3x=0\quad or\quad 3-\sin^{2}3x=0\end{array}

    พิจารณา \(\sin^{2}3x=0\) เราจะได้ \(\sin 3x=0\)

    เนื่องจาก \(\sin 0=0\)

    \( \sin\pi=0\)

    \(\sin 2\pi=0\)

    ทำให้ได้ว่า

    \(x=0\)

    \(x=\frac{\pi}{3}\)

    \(x=\frac{2\pi}{3}\)

    พิจาณา \(3-\sin^{2} 3x=0\) เราจะได้ว่า 

    \begin{array}{lcl}3-\sin^{2}3x&=&0\\-\sin^{2}3x&=&-3\\\sin^{2}3x&=&3\\\sin 3x&=&\pm\sqrt{3}\\\sin 3x&=&\pm 1.732\end{array}

    เนื่องจาก \(-1\leq \sin\theta\leq 1\) เสมอ ดังนั้นทำให้ได้ว่า \(\sin 3x=\pm 1.732\) ไม่มีคำตอบ

    นั่นคือ \(A=0+\frac{\pi}{3}+\frac{2\pi}{3}=\frac{3\pi}{3}=\pi\)

    คำตอบข้อนี้คือ \(\frac{A}{\pi}=\frac{\pi}{\pi}=1\quad\underline{Ans}\)

  • ฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ (78)

    78.ค่าของ \(\cos\left[\arcsin(-\frac{1}{\sqrt{2}}-\arccos\frac{2}{\sqrt{5}}\right]\) เท่ากับข้อใดต่อไปนี้

    1. \(\frac{\sqrt{3}-1}{\sqrt{10}}\)
    2. \(\frac{\sqrt{3}+1}{\sqrt{10}}\)
    3. \(\frac{-1}{\sqrt{10}}\)
    4. \(\frac{1}{\sqrt{10}}\)

    วิธีทำ ข้อนี้ต้องระวังเรื่องเครื่องหมาย บวก ลบ คือเราต้องรู้ว่ามุมตกควอร์ดเรนจ์ไหน มาดูวิธีการทำกันครับ

    ขั้นตอนที่ 1 กำหนดให้ \(\arcsin(-\frac{1}{\sqrt{2}})=A\) จะได้ว่า

    \(\sin A =-\frac{1}{\sqrt{2}}\) เมื่อ \(A\in [\frac{-\pi}{2},\frac{\pi}{2}]\) จากตรงนี้จะเห็นว่ามุม \(A\) ตกควอร์ดเรนจ์ที่ 4  นั่นค่าของ \(\cos A\) เป็นบวก แน่นอน

    จาก \(\sin A=-\frac{1}{\sqrt{2}}\) จะได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากดังนี้

    ซึ่งจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ทำให้เราได้ว่า \(\cos A=\frac{1}{\sqrt{2}}\)

    ขั้นตอนที่ 2 กำหนดให้ \(\arccos \frac{2}{\sqrt{5}}=B\) จะได้ว่า

    \(\cos B=\frac{2}{\sqrt{5}}\) เมื่อ \(0\leq B\leq \pi\) จากตรงนี้ค่าคอส เป็นบวกทำให้เราได้ว่า มุม \(B\) ตกควอร์ดเรนจ์ที่ 1 นั่นคือค่าของ \(\sin B\)  ก็เป็นบวกด้วย

    จาก \(\cos B=\frac{2}{\sqrt{5}}\) จะได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉากดังนี้

    ซึ่งจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉากจะได้ \(\sin B=\frac{1}{\sqrt{5}}\)

    ต่อไปจะเริ่มกระบวกการหาคำตอบกันเลยคับ

    \begin{array}{lcl}\cos\left[\arcsin(-\frac{1}{\sqrt{2}}-\arccos\frac{2}{\sqrt{5}}\right]&=&\cos (A-B)\\&=&\cos A\cos B +\sin A\sin B\\&=&\frac{1}{\sqrt{2}}\cdot \frac{2}{\sqrt{5}}+(-\frac{1}{\sqrt{2}})\cdot \frac{1}{\sqrt{5}}\\&=&\frac{2}{\sqrt{10}}-\frac{1}{\sqrt{10}}\\&=&\frac{1}{\sqrt{10}}\quad\underline{Ans}\end{array}

  • พื้นฐานเรื่องผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติ

    หลักจากที่ไม่ได้อัพเดทเว็บไซด์มาระยะหนึ่งวันนี้ก็ได้ฤกษ์ยาม ยังอยู่ที่เรื่องของฟังก์ชันตรีโกณมิติน่ะจ๊ะ ในหัวข้อย่อยคือ ผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ เป็นพื้นฐานน่ะจ๊ะ ดูพื้นฐานเบื้องต้นให้เข้าใจก่อน และค่อยต่อยอดน่ะทุกคนจริงๆแล้วไม่ยากดอก ง่ายๆ ฟังจากใน youtube น่ะ ผมอัพโหลดลงเมื่อตะกี๊(2/09/2558)เวลา

  • แบบฝึกหัดผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติ

    วันนี้ผมจะพาทำทุกคนหัดทำแบบฝึกหัดเรื่องผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติ หรือบางคนอาจจะเรียกว่าอินเวอร์สของฟังก์ชันตรีโกณมิติ ซึ่งก่อนหน้านี้ผมได้เขียนมาอธิบายมาบ้างแล้วใครสนใจอ่านก็ไปตามอ่านที่ลิงค์นี้ได้เลยครับพื้นฐานเรื่องผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติ   แต่วันนี้ผมจะพยายามเขียนใหม่หมดเลยและจะพยายามทำให้ครอบคลุมทุกฟังก์ชัน อย่างไรก็พยายามอ่านนะครับ อ่านหนังสือหลายๆเล่มหลากหลายสำนักก็จะได้ดี เพราะบางทีบางเล่มเขียนสรุปมากไปทำให้ไม่ค่อยรู้ที่มาทีไป พอเจอโจทย์ยากๆอาจจะงงได้ หรือเจอโจทย์ง่ายมากๆที่ต้องใช้เบสิคบางทีก็ทำไม่ได้เพราะเราอ่านทึ่เขาสรุปมาแล้วเลยไม่เข้าใจที่มาที่ไป ไม่เข้าใจพื้นฐานฉะนั้นแล้วผมจะแนะนำให้อ่านหนังสือหลายๆเล่ม บทความนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จะช่วยฝึกได้บ้าง อย่างไรเราต้องหัดทำแบบฝึกหัดเองเยอะๆครับ เรามาดูผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติตัวแรกกันเลยครับ

    ฟังก์ชัน  arcsine

    ผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติ

    นี่คือกราฟของฟังก์ชัน arcsine  หรือก็คือกราฟของฟังก์ชัน  \(y=\arcsin x\)  นั่นเองตามรูปจะเห็นว่า

    โดเมนของฟังก์ชัน arcsine ก็คือ x  จะอยู่ในช่วง \(x\in[-1,1]\)

    เรนจ์ของฟังก์ชัน arcsine  ก็คือ  y  จะอยู่ในช่วง \(y\in[-\frac{\pi}{2},\frac{\pi}{2}]\)  หรือก็คือ  \(y\in[-90^{\circ},90^{\circ}]\)  หรือ ก็คือ y จะตกอยู่ในควอดเรนต์ที่ 1 หรือ ควอดเรนต์ที่ 4  นั่นเองครับ

    เพราะฉะนั้นถ้ามีคนมาถามว่าจงหาค่าของ  \(y=\arcsin\frac{1}{2}\)  ถ้าเราตอบว่า  \(y=150^{\circ}\) จะผิดครับเพราะอยู่นอกเหนือเรนจ์ ข้อนี้ต้องตอบว่า  \(y=30^{\circ}\)

    ฟังก์ชัน arccosine

    ผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิตินี่คือกราฟของฟังก์ชัน arccosine  หรือก็คือกราฟของฟังก์ชัน  \(y=\arccos x\)   นั่นเองครับตามรูปจะเห็นว่า

    โดเมนของฟังก์ชัน  arccosine  ก็คือ x  จะอยู่ในช่วง  \(x\in[-1,1]\)

    เรนจ์ของฟังก์ชัน  arccosine  ก็คือ  y  จะอยู่ในช่วง  \(y\in[0,\pi]\)    หรือก็คือ 

    \(y\in[0^{\circ},180^{\circ}]\)  พูดอีกอย่างก็คือ  y  ต้องตกอยู่ในควอดเรนจ์ที่ 1  หรือ ควอดเรนจ์ที่ 2 เท่านั้นครับ

    เพราะฉะนั้นถ้ามีคนมาถามว่าจงหาค่าของ  \(y=\arccos\frac{\sqrt{2}}{2}\)     ถ้าเราตอบว่า \(y=315^{\circ}\)  จะผิดเพราะ y จะตกอยู่ในควอร์เรนจ์ที่ 1  หรือ 2 เท่านั้นข้อนี้ต้องตอบ  \(y=45^{\circ}\)  ครับถึงจะถูก

    ฟังก์ชัน  arctangent

    ผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิตินี่คือกราฟของฟังก์ชัน arctangent  หรือก็คือกราฟของฟังก์ชัน   \(y=\arctan x\)   นั่นเองครับดูตามรูปจะเห็นว่า 

     

    โดเมนของฟังก์ชัน arctangent  ซึ่งก็คือ x จะเป็นจำนวนจริง ก็คือ  \(x\in R\)

    เรนจ์ของฟังก์ชัน  arctangent  ก็คือ y จะอยู่ในช่วง  \(y\in(-\frac{\pi}{2},\frac{\pi}{2})\)      หรือก็คือ  \(y\in(-90^{\circ},90^{\circ})\)    พูดอีกอย่างก็คือ y  ตกอยู่ในควอดเรนจ์ที่ควอร์ดเรนจ์ที่ 1 หรือ ควอดเรนจ์ที่ 4  แต่ไม่เอาจุดปลายของควอดเรนจ์ในครับเพราะเป็นช่วงเปิดดูดีๆด้วย

    เพราะฉนั้นถ้ามีคนมาถามว่าจงหาค่าของ  \(y=\arctan 1\)  ถ้าเราตอบว่า  \(y=225^{\circ}\)  ก็จะผิดเพราะอยู่เหนือจากควอดเรนจ์ที่กำหนด  ต้องตอบว่า  \(y=45^{\circ}\)

    ตอนนี้เราได้รู้โดเมนและเรนจ์ของผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติแล้ว ต่อไปเราก็นำความรู้อันนี้มาทำแบบฝึกหัดกันเลยครับ อย่าลืมตั้งใจเรียนที่โรงเรียนด้วยจะได้อ่านเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นครับ

    1. จงหาค่าต่อไปนี้

    1) \(\arcsin 0\)

    วิธีทำ  ผมกำหนดให้

    \(y=\arcsin 0\)   ความหมายของสมการตรงนี้ก็คือ ไซน์ของมุมอะไรเอ่ยมีค่าเป็นศูนย์โดยที่มุมนั้นต้องตกอยู่ควอดเรนต์ที่ 1  หรือ  4  อย่าลืมนะข้างบนที่ผมทำให้อ่านเรนจ์ของฟังก์ชัน arcsine ต้องตกอยู่ในควอดเรนจ์ที่ 1  หรือ 4  เท่านั้น   เริ่มทำเลยนะ

    \[y=\arcsin 0\]     ความหมายคือ

    \[\sin y= 0\]      เนื่องจาก

    \[\sin 0^{\circ}=0\]

    ดังนั้นจึงได้ว่า

    \(\arcsin 0=0^{\circ}\)   นั่นเองครับ   พอเข้าใจไหมเอ่ย 


    2) \(\arccos 1\)

    วิธีทำ  ผมกำหนดให้

    \(y=\arccos 1\)   ตรงนี้ความหมายของมันก็คือ คอสของมุมอะไรเอ่ยมีค่าเท่ากับ 1 โดยที่มุมนั้นต้องตกอยู่ในควอดเรนจ์ที่ 1 หรือ 2  เท่านั้น  เริ่มทำกันเลย

    \[y=\arccos 1\]     ความหมายคือ

    \[\cos y=1\]      เนื่องจาก

    \[\cos 0^{\circ}=1\]      

    ดังนั้นจึงได้ว่า

    \(\arccos 1=0^{\circ}\)    นั่นเองครับ


    3) \(\arctan 0\)

    วิธีทำ  ผมกำหนดให้

    \(y=\arctan 0 \)  ความหมายตรงนี้ก็คือ แทนของมุนอะไรเอ่ยมีค่าเท่ากับศูนย์ โดยที่มุมนั้น มุมในที่นี้ก็คือค่า y   ค่า  \(y\in(\frac{-\pi}{2},\frac{\pi}{2})\)  ตามที่ผมเขียนให้ดูด้านบนตรงที่เป็นฟังก์ชัน arctangent    เริ่มทำกันเลยครับ

    \[y=\arctan 0\]    ความหมายคือ

    \[\tan y=0\]     เนื่องจาก

    \[\tan 0^{\circ}=0\]

    ดังนั้นจึงได้ว่า

    \(\arctan 0 =0^{\circ}\)  นั่นเองครับ


    4)  \(\arcsin (-1)\)

    วิธีทำ  ผมกำหนดให้

    \(y=\arcsin (-1)\)     ความหมายก็คือ ไซน์ของมุมอะไรเอ่ยมีค่าเท่ากับลบหนึ่ง โดยที่มุมนั้นในที่นี้ก็คือค่า  y  ค่า  \(y\in[-\frac{\pi}{2},\frac{\pi}{2}]\)  ก็คือตกอยู่ในคอดเรนต์ที่ 1 หรือ 4  ตามที่ผมเขียนไว้ในดูด้านบนครับ  เริ่มทำกันเลย

    \[y=\arcsin (-1)\]    ความหมายคือ

    \[\sin y=-1\]    เนื่องจาก

    \[\sin -\frac{\pi}{2}=-1\]

    ดังนั้น

    \(\arcsin (-1)=-\frac{\pi}{2}\) 


    5) \(arctan \frac{\sqrt{3}}{3}\)

    วิธีทำ  กำหนดให้

    \(y=\arctan \frac{\sqrt{3}}{3}\)    ความหมายคือ

    \[\tan y=\frac{\sqrt{3}}{3}\]  

    เนื่องจาก

    \[\tan 30^{\circ}=\frac{\sqrt{3}}{3}\]

    ดังนั้น

    \(arctan \frac{\sqrt{3}}{3}=30^{\circ}\)


    6) \(\arcsin -\frac{\sqrt{2}}{2}\)

    วิธีทำ  ผมกำหนดให้

    \(y=\arcsin -\frac{\sqrt{2}}{2}\)     ความหมายคือ

    \[\sin y= -\frac{\sqrt{2}}{2}\]     เนื่องจาก

    \[\sin -45^{\circ}=-\frac{\sqrt{2}}{2}\]

    ดังนั้น

    \(\arcsin -\frac{\sqrt{2}}{2}=-45^{\circ}\)  หรือใครจะตอบเป็นมุมในหน่วยเรเดียนก็ได้ก็คือ 

    \(\arcsin -\frac{\sqrt{2}}{2}=-\frac{\pi}{4}\)


    3. จงหาค่าต่อไปนี้

    1) \(\cos\left[\arcsin\left(-\frac{\sqrt{3}}{2}\right)\right]\)

    วิธีทำ ผมกำหนดให้  \(y=arcsin (-\frac{\sqrt{3}}{2})\)

    แสดงว่าตอนนี้  เรากำลังหาค่าของ  \(\cos y\)  นั่นเองครับ  เราต้องหา y  ให้ได้ครับ ไปหา  y  กันเลย

    จาก

    \[y=arcsin \left(-\frac{\sqrt{3}}{2}\right)\]      จะได้

    \[\sin y=-\frac{\sqrt{3}}{2}\]     เนื่องจาก

    \[\sin -60^{\circ}=-\frac{\sqrt{3}}{2}\]    ดังนั้น

    \(y=-60^{\circ}\)

    ข้อนี้ก็คือเขาให้เราหาค่า  \(\cos-60^{\circ}\)  นั่นเองครับ

    \(\cos -60^{\circ}=\frac{1}{2}\)


    2) \(\sin\left[\arcsin\left(-\frac{1}{2}\right)\right]\)

    วิธีทำ  กำหนดให้  \(y=\arcsin\left(-\frac{1}{2}\right)\)

    แสดงว่าเรากำลังหาค่าของ  \(\sin y\)  นั่นเองครับ ถ้าหาค่า y ได้ก็หาคำตอบข้อนี้ได้ครับ

    จาก

    \[y=\arcsin\left(-\frac{1}{2}\right)\]      จะได้

    \[\sin y=-\frac{1}{2}\]     เนื่องจาก

    \[\sin -30^{\circ}=-\frac{1}{2}\]    ดังนั้น

    \(y=-30^{\circ}\)

    ข้อนี้ก็คือให้เราหาค่าของ  \(sin-30^{\circ}\)   นั่นเองครับ

    \(\sin-30^{\circ}=-\frac{1}{2}\)


    3) \(\tan\left(\arcsin\frac{1}{3}\right)\)

    วิธีทำ  กำหนดให้  \(y=\arcsin\frac{1}{3}\)  ดังข้อนี้เรากำลังหาค่าของ \(\tan y\)  นั่นเองครับ

    จาก

    \[y=\arcsin\frac{1}{3}\]    จะได้

    \[\sin y=\frac{1}{3}\]   ลองวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากดูครับแล้วหาความด้านทั้งหมดของสามเหลี่ยมมุมฉากออกมาก็จะได้รูปดังนี้ครับ

    อย่าลืมนะโจทย์ข้อนี้จริงๆแล้วเขาต้องการให้เราหาค่าของ  \(\tan y\)   จากรูปสามเหลี่ยมมุมฉากนี้เราก็สามารถหาค่าของ \(\tan y\)  ได้ใช่ไหมใครหาไม่เป็นให้ไปอ่านเรื่องนี้ก่อนอัตราส่วนตรีโกณมิติ 

      

    ดังนั้นจะได้

    \(\tan y=\frac{1}{2\sqrt{2}}=\frac{\sqrt{2}}{4}\)


    4)  \(\cot\left[\arcsin\left(-\frac{\sqrt{2}}{3}\right)\right]\)

    วิธีทำ  ผมกำหนดให้  \(y=\arcsin\left(-\frac{\sqrt{2}}{3}\right)\)   ดังนั้นข้อนี้เขาให้หาค่าของ  \(\cot y\)   นั่นเองครับ

    จาก 

    \[y=\arcsin\left(-\frac{\sqrt{2}}{3}\right)\]   จะได้

    \[\sin y= -\frac{\sqrt{2}}{3}\]    ทำเหมือนเดิมครับคือวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และเป็นที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ ค่าของ \(\sin y\)  ติดลบ นั่นคือเราจะได้ว่า มุม y  ต้องตกอยู่ในควอดเรนต์ที่ 4  อาจจะมีคนแย้งว่ามุม y ตกอยู่ในควอดเรนต์ที่ 3 ไม่ได้เหรอ คำตอบคือไม่ได้เพราะตามนิยามฟังก์ชัน arcsine มุมต้องตกอยู่ในควอดเรนต์ที่ 1 หรือ 4  เท่านั้น ข้อนี้ค่าไซน์ y เท่ากับลบรูทสองส่วนสามมันติดลบดังนั้น มุม y จึงตกอยู่ในควอดเรนต์ที่ 4 ครับ  วาดรูปสามเหลี่ยมฉากเลยครับ

    อย่าลืมนะโจทย์ข้อนี้จริงๆแล้วเขาให้เราหาค่าของ  \(\cot y\)  นั่นเอง ดังเราสามารถหาค่าคอทวายได้จากรูปสามเหลี่ยมมุมฉากได้เลยครับ

    \(\cot y=\frac{\sqrt{7}}{\sqrt{2}}=\frac{\sqrt{14}}{2}\)   แต่อย่าพึ่งตอบนะ หยุดก่อนดูดี เนื่องจากมุม y เรานี้ตกอยู่ในควอดเรนต์ที่ 4  ตามที่ผมได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น ควอดเรนต์ที่ 4 ค่า \(\cot\) จะมีค่าเป็นลบครับ ดังนั้นข้อนี้ตอบ

    \(\cot y=-\frac{\sqrt{14}}{2}\)


    5)  \(\sin (\arcsin\frac{4}{5} +\arcsin\frac{12}{13})\) 

    วิธีทำ กำหนดให้

    \(arcsin\frac{4}{5}=A\)  

    \(\arcsin\frac{12}{13}=B\) จะได้ว่า

    \begin{array}{lcl}\sin(\arcsin\frac{4}{5}+\arcsin\frac{12}{13}&=&\sin (A+B)\\&=&\sin A\cos B +\cos A\sin B\quad\cdots (1)\end{array}

    เก็บสมการที่ \((1)\) ไว้ก่อนคับ ต่อไปเราก็ไปหาค่าพวก \(\sin A ,\cos B ,\cos A ,\sin B\) ครับผมวิธีการหาก็คือ

    จากที่เราให้\(\arcsin\frac{4}{5}=A\) เราจะได้

    \(\sin A=\frac{4}{5}\) เราวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากจะได้รูปดังนี้

    จากรูปจะได้ \(\cos A=\frac{3}{5}\)

    จากที่เราให้ \(\arcsin\frac{12}{13}=B\) เราจะได้

    \(\sin B=\frac{12}{13}\) เราวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากจะได้รูปดังนี้

    จากรูปจะได้ว่า \(\cos B=\frac{5}{13}\)

    นำค่า   \(\sin A ,\cos B ,\cos A ,\sin B\) ที่เราหาได้ไปแทนค่าในสมการที่ \((1)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}\sin (A+B)&=&\sin A\cos B +\cos A\sin B\\&=&\frac{4}{5}\frac{5}{13}+\frac{3}{5}\frac{12}{13}\\&=&\frac{20}{65}+\frac{36}{65}\\&=&\frac{56}{65}\quad\underline{Ans}\end{array}

  • แบบฝึกหัดโจทย์ผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติ

    ผมจะนำเอาแบบฝึกหัดที่น่าสนใจมาเฉลยให้ได้อ่านกันครับ บทความผมเหมาะสำหรับคนที่อ่านพอมีพื้นฐานมาบ้างแล้วนะครับ อ่านเพื่อนำไปทำข้อสอบในห้องเรียนหรือข้อสอบ สอบเข้ามหาลัยก็ได้ครับ มาเริ่มกันเลย

    แต่ก่อนที่จะอ่านควรไปอ่านความรู้พื้นฐาน พวกนี้ก่อนครับ

    ผกผันของฟังก์ชันไซน์หรืออาร์คไซน์(arcsine)

    พื้นฐานเรื่องผกผันฟังก์ชันตรีโกณมิติ

    1. ค่าของ \(\sin(\arctan 2+\arctan 3)\) มีค่าเท่าใด

    วิธีทำ

    กำหนดให้ \(\arctan2=A\) ดังนั้นจะได้ว่า \(\tan A=2\) เมื่อ \(-\frac{\pi}{2}<A<\frac{\pi}{2}\)

    กำหนดให้ \(\arctan3=B\) ดังนั้นจะได้ว่า \(\tan B=3\) เมื่อ \(-\frac{\pi}{2}<B<\frac{\pi}{2}\)

    เอาไปแทนค่าในโจทย์ครับ

    \begin{array}{lcl}\sin(\arctan 2+\arctan 3)&=&\sin(A+B)\\&=&\sin A\cos B+\cos A\sin B\end{array}

    ติดตรงนี้ไว้ก่อนแล้วไปวาดรูป สามเหลี่ยมมุมฉาก

    จาก \(\tan A=2\) และ \(tanB=3\) จะได้รูปคือ 

    เมื่อเราวาดรูปเสร็จแล้วเราก็สามารถหาคำตอบได้แล้วครับ เริ่มทำต่อครับ

    \begin{array}{lcl}\sin(\arctan 2+\arctan 3)&=&\sin(A+B)\\&=&\sin A\cos B+\cos A\sin B\\&=&\frac{2}{\sqrt{5}}\frac{1}{\sqrt{10}}+\frac{1}{\sqrt{5}}\frac{3}{\sqrt{10}}\\&=&\frac{5}{\sqrt{50}}\\&=&\frac{5}{5\sqrt{2}}\\&=&\frac{1}{\sqrt{2}}\\&=&\frac{\sqrt{2}}{2}\quad Ans\end{array}

    ***ข้อนี้เนื่องจาก \(tanA\) และ \(tanB\) เป็นบวก ดังนั้นมุม \(A\) และ มุม\(B\) ตกอยู่ในควอร์ดเร็นจ์ที่ 1 จึงทำให้ค่าของคอสและไซน์เป็นบวกทั้งหมด


    2. ค่าของ \(\cot(arccot 7+arccot 13+arccot 21+arccot 31)\) เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ ข้อนี้ทำเหมือนข้อ 1 เลยแต่อาจจะยาวนิดหนึ่งครับ เริ่มทำเลย

    กำหนดให้

    \(arccot7=A\) จะได้ว่า \(cotA=7\)

    \(arccot13=B\) จะได้ว่า \(cotB=13\)

    \(arccot21=C\) จะได้ว่า \(cotC=21\)

    \(arccot31=D\) จะได้ว่า \(cotD=31\)

    เอาไอ้พวกนี้ไปแทนค่าในโจทย์จะได้

    \begin{array}{lcl}\cot(arccot 7+arccot 13+arccot 21+arccot 31)&=&\cot(A+B+C+D)\\&=&\cot\left[(A+B)+(C+D)\right]\\&=&\frac{\cot(A+B)\cot(C+D)-1}{\cot(A+B)+\cot(C+D)}\quad\cdots (1)\end{array}

    เก็บสมการที่ \((1)\) ไว้ก่อนนะครับแล้วไปหาค่าของ \(\cot(A+B)\) และ \(\cot(C+D)\) ข้อนี้ไม่ต้องวาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

    หาค่า \(\cot(A+B)\) ครับจะได้

    \begin{array}{lcl}\cot(A+B)&=&\frac{\cot A\cot B-1}{\cot A+\cot B}\\&=&\frac{(7)(13)-1}{7+13}\\&=&\frac{90}{20}\\&=&\frac{9}{2}\end{array}

    หาค่า \(\cot(C+D)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}\cot(C+D)&=&\frac{\cot C\cot D-1}{\cot C+\cot D}\\&=&\frac{(21)(31)-1}{21+31}\\&=&\frac{650}{52}\\&=&\frac{25}{2}\end{array}

    เอาค่าของ \(\cot(A+B)=\frac{9}{2}\) และ \(\cot(C+D)=\frac{25}{2}\) ไปแทนในสมการที่ \((1)\) จะได้

    \begin{array}{lcl}\cot(arccot 7+arccot 13+arccot 21+arccot 31)&=&\cot(A+B+C+D)\\&=&\cot\left[(A+B)+(C+D)\right]\\&=&\frac{\cot(A+B)\cot(C+D)-1}{\cot(A+B)+\cot(C+D)}\\&=&\frac{\frac{9}{2}\frac{25}{2}-1}{\frac{9}{2}+\frac{25}{2}}\\&=&\frac{13}{4}\quad Ans\end{array}


    3. ค่าของ \(\frac{tan(arccot\frac{1}{5}-arccot\frac{1}{3}+arctan\frac{7}{9})}{sin(arcsin\frac{5}{13}+arcsin\frac{12}{13})}\)  เท่ากับเท่าใด

    วิธีทำ   ข้อนี้จะแบ่งการหาออกเป็น 2 ส่วนนะครับ คือหาส่วนที่เป็นตัวเศษ และ หาส่วนที่เป็นตัวส่วน แล้วค่อยเอาแต่ละส่วนมาหารกันก็จะได้คำตอบครับ

    หาตัวเศษก่อน

    กำหนดให้

    \(arccot\frac{1}{5}=A\) จะได้ \(cotA=\frac{1}{5}\)

    \(arccot\frac{1}{3}=B\) จะได้ \(cotB=\frac{1}{3}\)

    \(arctan\frac{7}{9}=C\) จะได้ \(tanC=\frac{7}{9}\)

    จะได้

    \begin{array}{lcl}tan(arccot\frac{1}{5}-arccot\frac{1}{3}+arctan\frac{7}{9})&=&tan(A-B+C)\\&=&tan[(A-B)+C]\\&=&\frac{tan(A-B)+tanC}{1-tan(A-B)tanC} \quad \cdots (1)\end{array}

    เก็บสมการที่ \((1)\) ไว้ก่อนครับ ไปหาค่าของ \(\tan(A-B)\) แล้วเอาไปแทนค่าในสมการที่ \((1)\) เริ่มเลย

    \begin{array}{lcl}\tan(A-B)&=&\frac{\tan A-\tan B}{1+\tan A\tan B}\\&=&\frac{5-3}{1+(5)(3)}\\&=&\frac{2}{16}\\&=&\frac{1}{8}\end{array}

    เอาค่า \(tan(A-B)\) ที่เราได้ไปแทนในสมการที่ \((1)\) ครับ จะได้

    \begin{array}{lcl}tan(arccot\frac{1}{5}-arccot\frac{1}{3}+arctan\frac{7}{9})&=&tan(A-B+C)\\&=&tan[(A-B)+C]\\&=&\frac{tan(A-B)+tanC}{1-tan(A-B)tanC}\\&=&\frac{\frac{1}{8}+\frac{7}{9}}{1-(\frac{1}{8})(\frac{7}{9})}\\&=&1\end{array}

    ***นิดหนึ่งนะครับเผื่อใครยังคงงงอยู่

    จากที่เรามี \(cotA=\frac{1}{5}\) ดังนั้น \(tanA=5\)

    จากที่เรามี \(cotB=\frac{1}{3}\) ดังนั้น \(tanB=3\) และ \(tanC=\frac{7}{9}\)

    หาตัวส่วนครับต่อไป

    ตัวส่วนคือตัวนี้นะครับ \(sin(arcsin\frac{5}{13}+arcsin\frac{12}{13})\) นั่นคือ

    กำหนดให้

    \(arcsin\frac{5}{13}=\alpha\) จะได้ \(sin\alpha=\frac{5}{13}\)

    \(arcsin\frac{12}{13}=\beta\) จะได้ \(sin\beta=\frac{12}{13}\)

    ดูภาพประกอบการหาค่าของ \(cos\alpha\) และ \(cos\beta\)

    แทนค่าลงไปจะได้

    \begin{array}{lcl}sin(arcsin\frac{5}{13}+arcsin\frac{12}{13})&=&sin(\alpha+\beta)\\&=&sin\alpha cos\beta+cos\alpha sin\beta\\&=&(\frac{5}{13})(\frac{5}{13})+(\frac{12}{13})(\frac{12}{13})\\&=&\frac{25+144}{169}\\&=&1\end{array}

    ดังนั้นข้อนี้หาตัวเศษได้แล้วคือ 1 ตัวส่วนก็ได้แล้วคือ 1 คำตอบสวยงามมาก ดังนั้นคำตอบคือ

    \[\frac{tan(arccot\frac{1}{5}-arccot\frac{1}{3}+arctan\frac{7}{9})}{sin(arcsin\frac{5}{13}+arcsin\frac{12}{13})}=1\]


    4. ค่าของ \(sec^{2}(2arctan\frac{1}{3}+arctan\frac{1}{7})\) เท่ากับเท่าใด (Pat1 ต.ค.55/28)

    วิธีทำ  เนื่องจาก \(sec\theta=\frac{1}{cos\theta}\) ดังนั้นจะหาคำตอบนี้โดยใช้ฟังก์ชันคอส แล้วทำให้เป็นฟังก์ชันเซคอีกที ครับ

    กำหนดให้

    \(arctan\frac{1}{3}=A\) จะได้ \(tanA=\frac{1}{3}\)

    \(arctan\frac{1}{7}=B\) จะได้ \(tanB=\frac{1}{7}\)

    แทนค่าลงไป จะได้ \(sec^{2}(2A+B)\)  แต่ผมจะหาค่าของ \(cos(2A+B)\) นะครับแล้วค่อยแปลงเป็นค่า \(sec^{2}(2A+B)\) อีกทีครับ เริ่มเลยครับ

    \begin{array}{lcl}cos(2A+B)&=&cos2AcosB-sin2AsinB\\&=&[cos^{2}A-sin^{2}A]cosB-2sinAcosAsinB\\\\ hint: \\cos2A=cos^{2}A-sin^{2}A ,\\\quad sin2A=2sinAcosA\\\\&=&[(\frac{3}{\sqrt{10}})^{2}-(\frac{1}{\sqrt{10}})^{2}]\frac{7}{5\sqrt{2}}-(2)(\frac{1}{\sqrt{10}})(\frac{3}{\sqrt{10}})(\frac{1}{5\sqrt{2}})\\&=&\frac{56}{50\sqrt{2}}-\frac{6}{50\sqrt{2}}\\&=&\frac{1}{\sqrt{2}}\end{array}

    นั่นคือ

    \(cos(2A+B)=\frac{1}{\sqrt{2}}\)

    ดังนั้น

    \(cos^{2}(2A+B)=(\frac{1}{\sqrt{2}})^{2}=\frac{1}{2}\)

    ดังนั้น

    \(sec^{2}(2A+B)=\frac{2}{1}=2\)  ตอบ